ASTVผู้จัดการรายวัน-“พาณิชย์”สรุปผลตรวจสอบดีแทค พบเข้าข่ายเป็นบริษัทต่างด้าว หลังพบพฤติกรรมนอมินีชัดเจน เตรียมส่งตำรวจสอบเชิงลึกต่อ เน้นประเด็นเส้นทางเงินที่นำมาซื้อหุ้น ด้านเทเลนอร์ยันทำตามกฎหมายไทยทุกประการ
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงผลการตรวจสอบของคณะทำงานตรวจสอบโครงสร้างการถือหุ้นบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ว่า จากการตรวจสอบของคณะทำงานฯ ในชั้นนี้ยังฟันธงไม่ได้ 100% ว่าดีแทคเป็นบริษัทต่างด้าว แต่มีข้อเท็จจริงหลายส่วนที่มีมูลว่าอาจมีการถือหุ้นแทนคนต่างด้าว หรือร่วมมือกับคนต่างด้าวทำธุรกิจ ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 36 แห่งพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ซึ่งได้สั่งการให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าส่งรายละเอียดการสอบสวนทั้งหมดให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อสอบสวนเชิงลึกต่อไป โดยจะส่งรายละเอียดทั้งหมดให้ตำรวจได้ภายในวันนี้ (5 ก.ค.)
ทั้งนี้ ผลการตรวจสอบพบว่า มีผู้ถือหุ้นของดีแทคในลำดับชั้นถัดไป จากบริษัท ไทย เทลโก โฮลดิ้ง มีข้อสงสัยว่าจะว่ามีการถือหุ้นแทน เพราะเงินที่ซื้อหุ้น เป็นการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ ซึ่งหากเป็นนักลงทุนไทยจริง ทำไมไม่กู้เงินในประเทศ ซึ่งคณะทำงานฯ ไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบเชิงลึกได้ว่าการกู้เงินตรงนี้เป็นอย่างไร การโอนเงินส่งเงินเป็นยังไง หรือความสัมพันธ์ระหว่างผู้กู้กับผู้ให้กู้เป็นอย่างไร เพราะมีเรื่องต่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง
“เราพยายามหาข้อมูลให้รอบด้าน แต่ผู้ที่ถือหุ้นในลำดับชั้นถัดๆ ไปของดีแทคที่เราเชิญมา เขาไม่มาให้ข้อมูล ซึ่งผลจากการตรวจสอบข้อมูลที่มีอยู่ ก็พบว่ามีข้อเท็จจริง มีพฤติกรรมน่าสงสัยถือหุ้นแทน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่สรุปออกมาได้ เราทำได้มาพอสมควร แต่ด้านลึกไปไม่ได้ ต้องส่งให้ตำรวจต่อยอดต่อ โดยตำรวจเองก็ได้มีการตั้งทีมงานเพื่อดูในเรื่องนี้อยู่แล้ว แค่เอาประเด็นที่เราตั้งข้อสงสัยไปสอบต่อ”นายยรรยงกล่าว
นายยรรยงกล่าวว่า การสอบสวนตามพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เป็นการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจภายในประเทศไทย มีเงื่อนไขชัดเจนธุรกิจใดคนต่างชาติทำได้ ทำไม่ได้ และในการตรวจสอบกรณีดีแทคก็เช่นเดียวกัน ไม่อยากให้นักลงทุนมีความรู้สึกว่ากระทรวงพาณิชย์เข้าข้างใคร แต่กระทรวงพาณิชย์ได้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างตรงไปตรงมา และในที่สุดการตัดสินใดๆ ก็ต้องผ่านกระบวนการยุติธรรม
“สมมติว่า ศาลตัดสินให้ดีแทคเป็นต่างด้าว ศาลก็มีดุลพินิจได้มากตามมาตรา 37 ซึ่งทำได้ตั้งแต่เบาไปหาหนัก ให้ไปแก้ไข ปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นให้ถูกต้อง หรือทำอะไรที่เป็นประโยชน์กับคนไทย หรือถ้าหนักสุด ก็ให้เลิกกิจการไปเลย”นายยรรยงกล่าว
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า บริษัท ไทย เทลโก้ โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นลำดับที่ 1 ของดีแทค มีผู้ถือหุ้นที่เข้าข่ายน่าสงสัย คือ บริษัท โบเลโร จำกัด และบริษัท เทเลนอร์ เอเชีย จำกัด โดยบริษัท โบเลโร ยังมีบริษัทต่างๆ ถือหุ้นอีกจำนวน 5 บริษัท คือ บริษัท ไกอาเคาน์ตี้ จำกัด บริษัท เบย์วิว เคาวน์ตี้ จำกัด บริษัท อาลิบี้ เคาน์ตี้ จำกัด บริษัท กีเคาน์ตี้ จำกัด และเทเลนอร์ เอเชีย พีทีอี โดยในจำนวนนี้ 4 รายแรกยังมีผู้ถือหุ้นอีกชั้น คือ บริษัท ตั๊กวู โฮลดิ้ง ถึง 99% และถัดจากตั๊กวู โฮลดิ้ง ก็ยังมีบริษัท ตั๊ก วู โฮลดิ้ง ลิมิเต็ด และคนไทยที่ถือหุ้นรวมกัน 100%
ทั้งนี้ ประเด็นที่คณะทำงานฯ ตรวจสอบพบ ก็คือ ผู้ถือหุ้นในลำดับชั้นถัดไปของดีแทค ที่มีการซื้อหุ้นได้มีการนำเงินจากต่างประเทศ เข้ามาซื้อหุ้น และเงินที่นำมาซื้อหุ้นนั้น มีข้อสงสัยว่ามาจากแหล่งเดียวกัน จึงได้สรุปผลสอบกรณีดังกล่าวออกมาว่า น่าจะเข้าข่ายผิดมาตรา 36 เพราะมีการถือหุ้นแทนคนต่างด้าว และช่วยคนต่างด้าวประกอบธุรกิจโทรคมนาคม
ซึ่งเป็นธุรกิจในบัญชีที่ห้ามคนต่างด้าวเข้ามาทำธุรกิจ
***เทเลนอร์ยันทำตามกม.
เทเลนอร์ กรุ๊ป ได้ออกแถลงการณ์ของอันเกี่ยวเนื่องกับผลการตรวจสอบโครงสร้างผู้ถือหุ้นของดีแทค โดยระบุว่าเทเลนอร์ กรุ๊ป รับทราบถึงความคิดเห็นของปลัดกระทรวงพาณิชย์อันเกี่ยวเนื่องกับการถือหุ้นของเทเลนอร์ กรุ๊ป ในดีแทคเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และตระหนักดีว่าคณะทำงานตรวจสอบโครงสร้างผู้ถือหุ้นของดีแทคไม่สามารถชี้ชัดถึงผลการตรวจสอบได้และจำเป็นต้องพิจารณาส่งเรื่องให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อสอบสวนเพิ่มเติมต่อไป
เทเลนอร์ กรุ๊ป ใคร่ขอย้ำจุดยืนว่าการถือหุ้นของเทเลนอร์ กรุ๊ปในดีแทคเป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบในประเทศไทย ทั้งนี้ เทเลนอร์ กรุ๊ป เคารพต่อกระบวนการการสอบสวนของคณะทำงานที่ได้รับมอบหมายสำหรับการสอบสวนในครั้งนี้ โดยมีความเชื่อมั่นในระบบกฏหมายของประเทศ และเชื่อว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐจะดำเนินการสอบสวนอย่างเป็นระบบ มีความโปร่งใสและยุติธรรมโดยไม่ถูกแทรกแซง เพื่อป้องกันผลกระทบในแง่ลบที่อาจเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ และเพื่อประโยชน์สูงสุดของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของไทย
เทเลนอร์ กรุ๊ป ยังคงย้ำถึงความมุ่งมั่นของบริษัทที่ต้องการผลักดันให้เกิดการพัฒนาในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของไทยเพื่อประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมและผู้บริโภคชาวไทย และขอเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนร่วมสร้างสรรค์สภาวะที่เอื้อต่อการลงทุนและการแข่งขันที่เท่าเทียมและเป็นธรรม
ด้านบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค ก็ได้ออกแถลงการณ์เช่นกันโดยระบุว่า รับทราบคำประกาศของปลัดกระทรวงพาณิชย์ ที่กล่าวว่าคณะทำงานตรวจสอบไม่สามารถชี้ชัดข้อสรุปในการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นได้ โดยคณะทำงานได้พิจารณาส่งข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการสอบสวนในเชิงลึกต่อไป ดีแทคขอยืนยันว่าบริษัทฯ ดำเนินธุรกิจภายใต้กฏหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องของไทยทุกประการ
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงผลการตรวจสอบของคณะทำงานตรวจสอบโครงสร้างการถือหุ้นบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ว่า จากการตรวจสอบของคณะทำงานฯ ในชั้นนี้ยังฟันธงไม่ได้ 100% ว่าดีแทคเป็นบริษัทต่างด้าว แต่มีข้อเท็จจริงหลายส่วนที่มีมูลว่าอาจมีการถือหุ้นแทนคนต่างด้าว หรือร่วมมือกับคนต่างด้าวทำธุรกิจ ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 36 แห่งพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ซึ่งได้สั่งการให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าส่งรายละเอียดการสอบสวนทั้งหมดให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อสอบสวนเชิงลึกต่อไป โดยจะส่งรายละเอียดทั้งหมดให้ตำรวจได้ภายในวันนี้ (5 ก.ค.)
ทั้งนี้ ผลการตรวจสอบพบว่า มีผู้ถือหุ้นของดีแทคในลำดับชั้นถัดไป จากบริษัท ไทย เทลโก โฮลดิ้ง มีข้อสงสัยว่าจะว่ามีการถือหุ้นแทน เพราะเงินที่ซื้อหุ้น เป็นการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ ซึ่งหากเป็นนักลงทุนไทยจริง ทำไมไม่กู้เงินในประเทศ ซึ่งคณะทำงานฯ ไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบเชิงลึกได้ว่าการกู้เงินตรงนี้เป็นอย่างไร การโอนเงินส่งเงินเป็นยังไง หรือความสัมพันธ์ระหว่างผู้กู้กับผู้ให้กู้เป็นอย่างไร เพราะมีเรื่องต่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง
“เราพยายามหาข้อมูลให้รอบด้าน แต่ผู้ที่ถือหุ้นในลำดับชั้นถัดๆ ไปของดีแทคที่เราเชิญมา เขาไม่มาให้ข้อมูล ซึ่งผลจากการตรวจสอบข้อมูลที่มีอยู่ ก็พบว่ามีข้อเท็จจริง มีพฤติกรรมน่าสงสัยถือหุ้นแทน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่สรุปออกมาได้ เราทำได้มาพอสมควร แต่ด้านลึกไปไม่ได้ ต้องส่งให้ตำรวจต่อยอดต่อ โดยตำรวจเองก็ได้มีการตั้งทีมงานเพื่อดูในเรื่องนี้อยู่แล้ว แค่เอาประเด็นที่เราตั้งข้อสงสัยไปสอบต่อ”นายยรรยงกล่าว
นายยรรยงกล่าวว่า การสอบสวนตามพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เป็นการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจภายในประเทศไทย มีเงื่อนไขชัดเจนธุรกิจใดคนต่างชาติทำได้ ทำไม่ได้ และในการตรวจสอบกรณีดีแทคก็เช่นเดียวกัน ไม่อยากให้นักลงทุนมีความรู้สึกว่ากระทรวงพาณิชย์เข้าข้างใคร แต่กระทรวงพาณิชย์ได้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างตรงไปตรงมา และในที่สุดการตัดสินใดๆ ก็ต้องผ่านกระบวนการยุติธรรม
“สมมติว่า ศาลตัดสินให้ดีแทคเป็นต่างด้าว ศาลก็มีดุลพินิจได้มากตามมาตรา 37 ซึ่งทำได้ตั้งแต่เบาไปหาหนัก ให้ไปแก้ไข ปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นให้ถูกต้อง หรือทำอะไรที่เป็นประโยชน์กับคนไทย หรือถ้าหนักสุด ก็ให้เลิกกิจการไปเลย”นายยรรยงกล่าว
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า บริษัท ไทย เทลโก้ โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นลำดับที่ 1 ของดีแทค มีผู้ถือหุ้นที่เข้าข่ายน่าสงสัย คือ บริษัท โบเลโร จำกัด และบริษัท เทเลนอร์ เอเชีย จำกัด โดยบริษัท โบเลโร ยังมีบริษัทต่างๆ ถือหุ้นอีกจำนวน 5 บริษัท คือ บริษัท ไกอาเคาน์ตี้ จำกัด บริษัท เบย์วิว เคาวน์ตี้ จำกัด บริษัท อาลิบี้ เคาน์ตี้ จำกัด บริษัท กีเคาน์ตี้ จำกัด และเทเลนอร์ เอเชีย พีทีอี โดยในจำนวนนี้ 4 รายแรกยังมีผู้ถือหุ้นอีกชั้น คือ บริษัท ตั๊กวู โฮลดิ้ง ถึง 99% และถัดจากตั๊กวู โฮลดิ้ง ก็ยังมีบริษัท ตั๊ก วู โฮลดิ้ง ลิมิเต็ด และคนไทยที่ถือหุ้นรวมกัน 100%
ทั้งนี้ ประเด็นที่คณะทำงานฯ ตรวจสอบพบ ก็คือ ผู้ถือหุ้นในลำดับชั้นถัดไปของดีแทค ที่มีการซื้อหุ้นได้มีการนำเงินจากต่างประเทศ เข้ามาซื้อหุ้น และเงินที่นำมาซื้อหุ้นนั้น มีข้อสงสัยว่ามาจากแหล่งเดียวกัน จึงได้สรุปผลสอบกรณีดังกล่าวออกมาว่า น่าจะเข้าข่ายผิดมาตรา 36 เพราะมีการถือหุ้นแทนคนต่างด้าว และช่วยคนต่างด้าวประกอบธุรกิจโทรคมนาคม
ซึ่งเป็นธุรกิจในบัญชีที่ห้ามคนต่างด้าวเข้ามาทำธุรกิจ
***เทเลนอร์ยันทำตามกม.
เทเลนอร์ กรุ๊ป ได้ออกแถลงการณ์ของอันเกี่ยวเนื่องกับผลการตรวจสอบโครงสร้างผู้ถือหุ้นของดีแทค โดยระบุว่าเทเลนอร์ กรุ๊ป รับทราบถึงความคิดเห็นของปลัดกระทรวงพาณิชย์อันเกี่ยวเนื่องกับการถือหุ้นของเทเลนอร์ กรุ๊ป ในดีแทคเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และตระหนักดีว่าคณะทำงานตรวจสอบโครงสร้างผู้ถือหุ้นของดีแทคไม่สามารถชี้ชัดถึงผลการตรวจสอบได้และจำเป็นต้องพิจารณาส่งเรื่องให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อสอบสวนเพิ่มเติมต่อไป
เทเลนอร์ กรุ๊ป ใคร่ขอย้ำจุดยืนว่าการถือหุ้นของเทเลนอร์ กรุ๊ปในดีแทคเป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบในประเทศไทย ทั้งนี้ เทเลนอร์ กรุ๊ป เคารพต่อกระบวนการการสอบสวนของคณะทำงานที่ได้รับมอบหมายสำหรับการสอบสวนในครั้งนี้ โดยมีความเชื่อมั่นในระบบกฏหมายของประเทศ และเชื่อว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐจะดำเนินการสอบสวนอย่างเป็นระบบ มีความโปร่งใสและยุติธรรมโดยไม่ถูกแทรกแซง เพื่อป้องกันผลกระทบในแง่ลบที่อาจเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ และเพื่อประโยชน์สูงสุดของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของไทย
เทเลนอร์ กรุ๊ป ยังคงย้ำถึงความมุ่งมั่นของบริษัทที่ต้องการผลักดันให้เกิดการพัฒนาในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของไทยเพื่อประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมและผู้บริโภคชาวไทย และขอเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนร่วมสร้างสรรค์สภาวะที่เอื้อต่อการลงทุนและการแข่งขันที่เท่าเทียมและเป็นธรรม
ด้านบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค ก็ได้ออกแถลงการณ์เช่นกันโดยระบุว่า รับทราบคำประกาศของปลัดกระทรวงพาณิชย์ ที่กล่าวว่าคณะทำงานตรวจสอบไม่สามารถชี้ชัดข้อสรุปในการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นได้ โดยคณะทำงานได้พิจารณาส่งข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการสอบสวนในเชิงลึกต่อไป ดีแทคขอยืนยันว่าบริษัทฯ ดำเนินธุรกิจภายใต้กฏหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องของไทยทุกประการ