ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ - เห็นบทสัมภาษณ์ของ “พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ” รองนายกรัฐมนตรี อ้างว่า “น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” นายกรัฐมนตรี เปรยว่า ได้พูดชัดเจนแล้วว่าจะมอบหมายให้ “ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง” ดูแลงานปราบปรามยาเสพติด และกระบวนการยุติธรรม แล้วอึ้ง !
ดูเอกสาร “ร่างนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550” ที่นายกรัฐมนตรีจะแถลงต่อรัฐสภา ในวันที่ 23-24 ส.ค.นี้ จำนวน 35 หน้าแบ่งเป็น 8 หัวข้อ
ข้อ 1.2 “กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ” ก็หมายความว่า “ร.ต.อ.เฉลิม” มีงานหลักก็คือ ทำให้ปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ และแก้เพื่อชาติให้ได้
ย้อนไปการในประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 16 ส.ค. “น.ส.ยิ่งลักษณ์” สั่งให้คณะรัฐมนตรี น้อมนำพระราชเสาวนีย์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในวันที่คณะรัฐมนตรีได้เข้าเฝ้าถวายพระพร ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 12 ส.ค. 54 โดยน้อมนำพระราชเสาวนีย์ “ปัญหายาเสพติด” ที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน ของประชาชนหลักกฎหมายต่างๆ ต้องยึดหลักละมุนละม่อม ต้องมีกระบวนการในการช่วยเหลือผู้หลงผิดให้กับเข้ามาเป็นคนดีของสังคมได้
“นายกฯ ยิ่งลักษณ์” ถึงกับย้ำว่า ปัญหายาเสพติด เป็นเรื่องที่ตนมีนโยบายที่ได้เคยเรียนกับพี่น้องประชาชนอยู่แล้ว และจะนำเรื่องยาเสพติดเข้าไปมอบหมายแก่ผู้ที่ทำหน้าที่รับผิดชอบ และจะให้ติดตามงานอย่างดี แต่ต้องดูแลในเรื่องวิธีการและขั้นตอนของการปราบยาเสพติด พร้อมกับต้องดูแลผู้ที่เสพยาด้วย คำสัญญาที่จะ “ปิดตาย” ไม่สานการปราบยาเสพติดสมัยรัฐบาลพี่ชาย “พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร” รัฐบาลยิ่งลักษณ์ จะใช้วิธีการที่เป็นขั้นตอน ละมุนละม่อม ชัดเจน ที่สำคัญ “ผู้ที่เสพยา” จะถือว่าเป็นผู้ป่วยที่จะต้องดูแลและรักษา
“ฆ่าตัดตอน”ในสมองของ“ยิ่งลักษณ์” ลบทิ้งไปได้เลย “นายกฯ” ย้ำว่า เรื่องในอดีตจะนำมาดู และปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้แน่ใจ ดังนั้นรองนายากฯที่ดูแล “วาระแห่งชาติเรื่องยาเสพติด” จะต้องหารือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ และทำงานในเชิงลึกมากขึ้น เป็นคำสัมภาษณ์เรื่อง “ปัญหายาเสพติด” จากปากนายกฯหญิง
ก่อนได้เป็นนายกฯ “สำนักข่าวต่างประเทศ” แห่งหนึ่ง ทำรายงานในหัวข้อว่า การเลือกตั้งไทย จะทำให้สงครามกวาดล้างยาเสพติดอันอื้อฉาวของอดีตนายกรัฐมนตรี “ทักษิณ ชินวัตร” กลับมาอีกครั้ง หลังจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย กลายเป็นว่า “อาจจะกระทำการกวาดล้างยาเสพติด แบบพี่ชายอีกก็ได้” แม้ว่าจะยืนยันกับสื่อว่า “จะคำนึงถึงหลักมนุษยชนก็ตาม” โดยมีการอ้างคำพูดของนักวิจัยขององค์การนิรโทษกรรมสากลในไทย ที่ว่า เป็นเรื่องที่น่าตกใจเป็นอย่างยิ่ง หากคนที่อยู่เบื้องหลังสงครามยาเสพติดครั้งนั้น อาจจะกลับมามีอำนาจในการเมืองไทยอีก
พวกเขาตกตะลึงกับประโยชน์ในอดีตที่ว่า “จะจัดการกับกลุ่มค้ายาเสพติดแบบไม่ปราณี” ก่อนที่จะมีการตามกวาดล้างฆ่าตัดตอน จำนวนมากในอดีต ตัดกลับมาที่ ร.ต.อ.เฉลิม “ว่าที่หัวหน้าทีมปราบปรามยาเสพติด” ของรัฐบาล หากจำกันได้ เมื่อวันที่ 4 ก.ค. 52 สมัย” ร.ต.อ.เฉลิม” ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาล “สมัคร สุนทรเวช” มีการลงนามในคำสั่ง “ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด” ที่ 6/2551 เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานปฏิบัติการพิเศษสนับสนุนการป้องกันและการแก้ไขปัญหายาเสพติด จำนวน 38 คน โดยมี พล.ต.ท.ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน
นอกจากนี้ ยังมีคณะทำงาน อาทิ พล.ต.ท.พงศพัศ พงษ์เจริญ พล.ต.ต.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง พล.ต.เดชา บุญตาล ร.อ.ทศพรหม อินทรทัต ร.อ.สุขชาต สะสมทรัพย์ นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ แถมยังมีชื่อ “ร.ต.ดวง อยู่บำรุง” ยศในขณะนั้น บุตรชายของ ร.ต.อ.เฉลิม เองเป็นทีมงานอยู่ด้วย
“ร.ต.ดวง” หรือ “อดีตนายดวงเฉลิม อยู่บำรุง” ขณะนั้น เข้ารับราชการในสังกัดสำนักรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สังกัด “ศูนย์รักษาความปลอดภัย (ศรภ.)” มี พล.อ.วินัย ภัททิยกุล ปลัดกระทรวงกลาโหมขณะนั้น เป็นผู้บังคับบัญชา โยกงานมาช่วยราชการ“ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ของกระทรวงมหาดไทย” ที่มีพ่อบังเกิดเกล้า เป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรง คณะทำงานชุดนั้น มีอำนาจหน้าที่ในการจัดเตรียมข้อมูลอำนวยความสะดวก ในการปฏิบัติงานของศูนย์ประสานงาน รวบรวมวิเคราะห์กลั่นกรองข้อมูลและปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมายงานส่วนใหญ่ของ “ร.ต.ดวง” จะเริ่มเวลา 02.30 น. ตอนสถาบันบันเทิงใกล้ปิด โดยทำงานควบคู่กับเจ้าหน้าที่ชุดเฉพาะกิจ กองบัญชาการปราบปรามยาเสพติด ร่วมกันนำกำลังเข้าตรวจค้นโรงแรม สถานบันเทิง ผับ เธค คาราโอเกะ คอนโดมีเนียม แห่งรวมอาชญากรรม ที่ถูกร้องเรียนว่ามีการมั่วสุมยาเสพติด
เคยมีผู้เล่าว่า ทีมงานชุดนี้เคยบุกเข้าไปในโรงแรมชื่อดังที่มีการแบ่งห้อง มีห้องโถงใหญ่จัดแบ่งเป็นผับ พบนักเที่ยวชาย-หญิง กว่า 100 คน ที่จะต้องถูกมาตรวจปัสสาวะ ซึ่งแหล่งบันเทิงเหล่านี้ “กระทรวงมหาดไทย” จะได้รับการร้องเรียนว่ามีการค้าประเวณี, ค้ายาเสพติด และเปิดเกินเวลาที่กำหนด และสุดท้าย “ ร.ต.ดวง อยู่บำรุง” ในฐานะ เจ้าหน้าที่ชุดเฉพาะกิจของกระทรวงมหาดไทย ก็จะได้เป็นผู้ร่วมตรวจค้น งานหลักก็คือ “ตรวจปัสสาวะ” นักท่องเที่ยว
กลับมาดูนโยบายของหน่วยงานด้านปราบปรามยาเสพติดล่าสุด ที่ทำมาตั้งแต่สมัย “พรรคประชาธิปัตย์” เป็นรัฐบาล ที่ชัดเจนที่สุดก็น่าจะเป็น “ชุดปฏิบัติการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ กทม.และปริมณฑลในระยะเร่งด่วน” หรือ “ฉก.315”
“ชุดเฉพาะกิจ315” ตั้งขึ้นมาโดยเลข 3 มาจาก 3 หน่วยงาน คือ “ป.ป.ส.ตำรวจ และทหาร” 1 คือ กทม. และ 5 คือ จังหวัดในพื้นที่ปริมณฑล คือ “นนทบุรี ปทุมธานี นครนายก สมุทรสาคร สมุทรปราการ” โดยมี ป.ป.ส. เป็นเจ้าของเรื่อง มี “พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา” ผู้ช่วย ผบ.ตร. เป็นหัวหน้าทีมและมีทหารเป็นลูกทีม 1 ชุดปฏิบัติการ มีเจ้าหน้าที่ ป.ป.ส. ตำรวจ และ ทหาร รวม 6 นาย ในพื้นที่ กทม.มี 115 ชุด และพื้นที่ปริมณฑล 5 จังหวัดมี 38 ชุดรวมทั้งสิ้น 153 ชุด รวมถึงพลเรือน 866 นาย
ก่อนการเลือกตั้ง จะเห็นข่าว “เฉพาะกิจ 315” บ่อยๆ โดยเฉพาะที่ ส.ส.ท่านหนึ่งของพรรคเพื่อไทย อ้างว่าตัวเอง ถูกทหารเฉพาะกิจชุดนี้เข้าจับกุมโดยไม่เป็นธรรม ถึงกับขั้นที่พรรคเพื่อไทย บีบให้ผู้รับผิดชอบ “ยุบ” ชุดเฉพาะกิจ 315 นี้ทิ้งเสีย โดยอ้างว่า เป็นการจับผิด ติดตามกลั่นแกล้งนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามโดยตรง ถึงขั้นไปสร้างข่าวว่า ชุด ฉก.315 ตั้งศูนย์บัญชาการ และมีดาวเทียมติดตามความเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง หรืออ้างว่า เอาอำนาจข้อไหน ในรัฐธรรมนูญฉบับไหน มามีสิทธิเข้าค้นบ้านประชาชน โดยไม่มีหมายค้นจากศาล กลายเป็นข้อบาดหมางระหว่าง “เพื่อไทย” กับ “กองทัพบก” ในขณะนั้น
แต่สุดท้ายก็ไม่ยุบ! โดยเฉพาะผลงานคณะทำงานชุดนี้ปราบปรามยาเสพติดได้ชัดเจน แม้แต่ในช่วงการเลือกตั้งที่ผ่านมา ก็มีการจับยาเสพติดได้จำนวนมาก สามารถจับกุมผู้ค้านับพันราย และมีผู้สมัครใจเข้ารับการบำบัดยาเสพติดนับหมื่นราย และยังคงกระพันมาถึงปัจจุบัน หาก “ร.ต.อ.เฉลิม อบู่บำรุง” รองนายกรัฐมนตรี “ ว่าที่หัวหน้าทีมปราบปรามยาเสพติด”ของรัฐบาล รับงานนี้จริง! เชื่อร้อยทั้งร้อยบุคคลที่กล่าวข้างต้น เขากลับมาแน่ !.
ดูเอกสาร “ร่างนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550” ที่นายกรัฐมนตรีจะแถลงต่อรัฐสภา ในวันที่ 23-24 ส.ค.นี้ จำนวน 35 หน้าแบ่งเป็น 8 หัวข้อ
ข้อ 1.2 “กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ” ก็หมายความว่า “ร.ต.อ.เฉลิม” มีงานหลักก็คือ ทำให้ปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ และแก้เพื่อชาติให้ได้
ย้อนไปการในประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 16 ส.ค. “น.ส.ยิ่งลักษณ์” สั่งให้คณะรัฐมนตรี น้อมนำพระราชเสาวนีย์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในวันที่คณะรัฐมนตรีได้เข้าเฝ้าถวายพระพร ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 12 ส.ค. 54 โดยน้อมนำพระราชเสาวนีย์ “ปัญหายาเสพติด” ที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน ของประชาชนหลักกฎหมายต่างๆ ต้องยึดหลักละมุนละม่อม ต้องมีกระบวนการในการช่วยเหลือผู้หลงผิดให้กับเข้ามาเป็นคนดีของสังคมได้
“นายกฯ ยิ่งลักษณ์” ถึงกับย้ำว่า ปัญหายาเสพติด เป็นเรื่องที่ตนมีนโยบายที่ได้เคยเรียนกับพี่น้องประชาชนอยู่แล้ว และจะนำเรื่องยาเสพติดเข้าไปมอบหมายแก่ผู้ที่ทำหน้าที่รับผิดชอบ และจะให้ติดตามงานอย่างดี แต่ต้องดูแลในเรื่องวิธีการและขั้นตอนของการปราบยาเสพติด พร้อมกับต้องดูแลผู้ที่เสพยาด้วย คำสัญญาที่จะ “ปิดตาย” ไม่สานการปราบยาเสพติดสมัยรัฐบาลพี่ชาย “พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร” รัฐบาลยิ่งลักษณ์ จะใช้วิธีการที่เป็นขั้นตอน ละมุนละม่อม ชัดเจน ที่สำคัญ “ผู้ที่เสพยา” จะถือว่าเป็นผู้ป่วยที่จะต้องดูแลและรักษา
“ฆ่าตัดตอน”ในสมองของ“ยิ่งลักษณ์” ลบทิ้งไปได้เลย “นายกฯ” ย้ำว่า เรื่องในอดีตจะนำมาดู และปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้แน่ใจ ดังนั้นรองนายากฯที่ดูแล “วาระแห่งชาติเรื่องยาเสพติด” จะต้องหารือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ และทำงานในเชิงลึกมากขึ้น เป็นคำสัมภาษณ์เรื่อง “ปัญหายาเสพติด” จากปากนายกฯหญิง
ก่อนได้เป็นนายกฯ “สำนักข่าวต่างประเทศ” แห่งหนึ่ง ทำรายงานในหัวข้อว่า การเลือกตั้งไทย จะทำให้สงครามกวาดล้างยาเสพติดอันอื้อฉาวของอดีตนายกรัฐมนตรี “ทักษิณ ชินวัตร” กลับมาอีกครั้ง หลังจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย กลายเป็นว่า “อาจจะกระทำการกวาดล้างยาเสพติด แบบพี่ชายอีกก็ได้” แม้ว่าจะยืนยันกับสื่อว่า “จะคำนึงถึงหลักมนุษยชนก็ตาม” โดยมีการอ้างคำพูดของนักวิจัยขององค์การนิรโทษกรรมสากลในไทย ที่ว่า เป็นเรื่องที่น่าตกใจเป็นอย่างยิ่ง หากคนที่อยู่เบื้องหลังสงครามยาเสพติดครั้งนั้น อาจจะกลับมามีอำนาจในการเมืองไทยอีก
พวกเขาตกตะลึงกับประโยชน์ในอดีตที่ว่า “จะจัดการกับกลุ่มค้ายาเสพติดแบบไม่ปราณี” ก่อนที่จะมีการตามกวาดล้างฆ่าตัดตอน จำนวนมากในอดีต ตัดกลับมาที่ ร.ต.อ.เฉลิม “ว่าที่หัวหน้าทีมปราบปรามยาเสพติด” ของรัฐบาล หากจำกันได้ เมื่อวันที่ 4 ก.ค. 52 สมัย” ร.ต.อ.เฉลิม” ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาล “สมัคร สุนทรเวช” มีการลงนามในคำสั่ง “ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด” ที่ 6/2551 เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานปฏิบัติการพิเศษสนับสนุนการป้องกันและการแก้ไขปัญหายาเสพติด จำนวน 38 คน โดยมี พล.ต.ท.ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน
นอกจากนี้ ยังมีคณะทำงาน อาทิ พล.ต.ท.พงศพัศ พงษ์เจริญ พล.ต.ต.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง พล.ต.เดชา บุญตาล ร.อ.ทศพรหม อินทรทัต ร.อ.สุขชาต สะสมทรัพย์ นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ แถมยังมีชื่อ “ร.ต.ดวง อยู่บำรุง” ยศในขณะนั้น บุตรชายของ ร.ต.อ.เฉลิม เองเป็นทีมงานอยู่ด้วย
“ร.ต.ดวง” หรือ “อดีตนายดวงเฉลิม อยู่บำรุง” ขณะนั้น เข้ารับราชการในสังกัดสำนักรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สังกัด “ศูนย์รักษาความปลอดภัย (ศรภ.)” มี พล.อ.วินัย ภัททิยกุล ปลัดกระทรวงกลาโหมขณะนั้น เป็นผู้บังคับบัญชา โยกงานมาช่วยราชการ“ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ของกระทรวงมหาดไทย” ที่มีพ่อบังเกิดเกล้า เป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรง คณะทำงานชุดนั้น มีอำนาจหน้าที่ในการจัดเตรียมข้อมูลอำนวยความสะดวก ในการปฏิบัติงานของศูนย์ประสานงาน รวบรวมวิเคราะห์กลั่นกรองข้อมูลและปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมายงานส่วนใหญ่ของ “ร.ต.ดวง” จะเริ่มเวลา 02.30 น. ตอนสถาบันบันเทิงใกล้ปิด โดยทำงานควบคู่กับเจ้าหน้าที่ชุดเฉพาะกิจ กองบัญชาการปราบปรามยาเสพติด ร่วมกันนำกำลังเข้าตรวจค้นโรงแรม สถานบันเทิง ผับ เธค คาราโอเกะ คอนโดมีเนียม แห่งรวมอาชญากรรม ที่ถูกร้องเรียนว่ามีการมั่วสุมยาเสพติด
เคยมีผู้เล่าว่า ทีมงานชุดนี้เคยบุกเข้าไปในโรงแรมชื่อดังที่มีการแบ่งห้อง มีห้องโถงใหญ่จัดแบ่งเป็นผับ พบนักเที่ยวชาย-หญิง กว่า 100 คน ที่จะต้องถูกมาตรวจปัสสาวะ ซึ่งแหล่งบันเทิงเหล่านี้ “กระทรวงมหาดไทย” จะได้รับการร้องเรียนว่ามีการค้าประเวณี, ค้ายาเสพติด และเปิดเกินเวลาที่กำหนด และสุดท้าย “ ร.ต.ดวง อยู่บำรุง” ในฐานะ เจ้าหน้าที่ชุดเฉพาะกิจของกระทรวงมหาดไทย ก็จะได้เป็นผู้ร่วมตรวจค้น งานหลักก็คือ “ตรวจปัสสาวะ” นักท่องเที่ยว
กลับมาดูนโยบายของหน่วยงานด้านปราบปรามยาเสพติดล่าสุด ที่ทำมาตั้งแต่สมัย “พรรคประชาธิปัตย์” เป็นรัฐบาล ที่ชัดเจนที่สุดก็น่าจะเป็น “ชุดปฏิบัติการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ กทม.และปริมณฑลในระยะเร่งด่วน” หรือ “ฉก.315”
“ชุดเฉพาะกิจ315” ตั้งขึ้นมาโดยเลข 3 มาจาก 3 หน่วยงาน คือ “ป.ป.ส.ตำรวจ และทหาร” 1 คือ กทม. และ 5 คือ จังหวัดในพื้นที่ปริมณฑล คือ “นนทบุรี ปทุมธานี นครนายก สมุทรสาคร สมุทรปราการ” โดยมี ป.ป.ส. เป็นเจ้าของเรื่อง มี “พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา” ผู้ช่วย ผบ.ตร. เป็นหัวหน้าทีมและมีทหารเป็นลูกทีม 1 ชุดปฏิบัติการ มีเจ้าหน้าที่ ป.ป.ส. ตำรวจ และ ทหาร รวม 6 นาย ในพื้นที่ กทม.มี 115 ชุด และพื้นที่ปริมณฑล 5 จังหวัดมี 38 ชุดรวมทั้งสิ้น 153 ชุด รวมถึงพลเรือน 866 นาย
ก่อนการเลือกตั้ง จะเห็นข่าว “เฉพาะกิจ 315” บ่อยๆ โดยเฉพาะที่ ส.ส.ท่านหนึ่งของพรรคเพื่อไทย อ้างว่าตัวเอง ถูกทหารเฉพาะกิจชุดนี้เข้าจับกุมโดยไม่เป็นธรรม ถึงกับขั้นที่พรรคเพื่อไทย บีบให้ผู้รับผิดชอบ “ยุบ” ชุดเฉพาะกิจ 315 นี้ทิ้งเสีย โดยอ้างว่า เป็นการจับผิด ติดตามกลั่นแกล้งนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามโดยตรง ถึงขั้นไปสร้างข่าวว่า ชุด ฉก.315 ตั้งศูนย์บัญชาการ และมีดาวเทียมติดตามความเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง หรืออ้างว่า เอาอำนาจข้อไหน ในรัฐธรรมนูญฉบับไหน มามีสิทธิเข้าค้นบ้านประชาชน โดยไม่มีหมายค้นจากศาล กลายเป็นข้อบาดหมางระหว่าง “เพื่อไทย” กับ “กองทัพบก” ในขณะนั้น
แต่สุดท้ายก็ไม่ยุบ! โดยเฉพาะผลงานคณะทำงานชุดนี้ปราบปรามยาเสพติดได้ชัดเจน แม้แต่ในช่วงการเลือกตั้งที่ผ่านมา ก็มีการจับยาเสพติดได้จำนวนมาก สามารถจับกุมผู้ค้านับพันราย และมีผู้สมัครใจเข้ารับการบำบัดยาเสพติดนับหมื่นราย และยังคงกระพันมาถึงปัจจุบัน หาก “ร.ต.อ.เฉลิม อบู่บำรุง” รองนายกรัฐมนตรี “ ว่าที่หัวหน้าทีมปราบปรามยาเสพติด”ของรัฐบาล รับงานนี้จริง! เชื่อร้อยทั้งร้อยบุคคลที่กล่าวข้างต้น เขากลับมาแน่ !.