เมื่อเวลา 10.45 น.วานนี้ (5 ก.ค.)ที่โรงแรมสวิสโฮเทล นายดามาโซ แมกบัว ประธานคณะกรรมการเครือข่ายเอเชียเพื่อการเลือกตั้งเสรี (มูลนิธิอัลเฟรล) ร่วมด้วยนางสมศรี หาญอนันทสุข ผู้อำนวยการบริหาร นางโคว ปัญญา รองประธานนายโรฮาน่า เลขาธิการ และนายอิเชาว์ สุเปรียดี ผู้ประสานงานสังเกตการณ์ พร้อมกับสมาชิกองค์กรเครือข่าย ร่วมกันแถลงการณ์ผลสรุปการเลือกตั้งวันที่ 3 ก.ค. 54 ในประเทศไทยที่ผ่านมา
นายดามาโซ กล่าวว่า มูลนิธิอัลเฟล ขอแสดงความยินดีกับประเทศไทยที่ประชาชนจำนวนมากออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง พร้อมทั้งยินดีกับ คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ที่ดูแลจัดการการเลือกตั้ง และเปิดโอกาสให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิและแสดงความต้องการของตน โดยเฉพาะทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้ผ่านไปด้วยความเรียบร้อย ถือเป็นสิ่งที่ดีมาก นอกจากนี้ยังขอขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมไปถึงไปรษณีย์ไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติอีกด้วย
อัลเฟรลมีความเป็นห่วงในกรณีของการเลือกตั้งล่วงหน้า เมื่อวันที่ 26 มิ.ย.ที่ผ่านมา เนื่องจากผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งเกือบ 1 ล้านคน ที่ไม่สามรถใช้สิทธิได้ เนื่องจากการใช้บัญชีรายชื่อของปี 50 ทำให้ประชาชนไม่สามารถใช้สิทธิออกเสียงได้ ซึ่งปัญหาเรื่องนี้ควรที่จะให้ความสำคัญต่อไป ส่วนเหตุการณ์ก่อนวันเลือกตั้ง ที่กกต.ได้พิมพ์บัตรเลือกตั้งเกิน 12 เปอร์เซ็นต์ แต่กฎหมาย ไทยได้กำหนดไว้เพียงแค่ 7 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเรื่องนี้ทาง กกต.ต้องชี้แจงว่าเป็นเพราะเหตุใดด้วย ซึ่งอาจจะทำให้ กกตจ.ถูกมองว่าไม่มีความเป็นกลาง ขาดความชอบธรรมในสายตาประชาชนด้วย อีกทั้งช่วงเวลาการหาเสียงได้มีการกล่าวว่ามีการซื้อเสียงอย่ามากมาย ซึ่งเรื่องนี้อยู่ในการตรวจสอบ แต่การซื้อเสียงยังเป็นประเด็นที่มีอยู่ในการเลือกตั้งของไทยอยู่ตลอดเวลา
"เรารู้สึกยินดีที่ทหารออกมาแสดงความเป็นมืออาชีพในการเลือกตั้งครั้งนี้ แต่เราเห็นทหารบางคนถืออาวุธเข้าไปในหน่วย ซึ่งเป็นการขัดต่อหลักปฏิบัติของนานาชาติ เราหวังว่าทหารจะมีการทำหน้าที่เป็นมืออาชีพกว่านี้ และปฏิบัติหน้าที่อย่างสมควร ไม่ควรออกมาพูดอะไรเพื่อแสดงความไม่เป็นกลางอีกต่อไป" นายดามาโซ กล่าว
นายดามาโซ กล่าวด้วยว่า ผลการเลือกตั้งที่ออกมานั้น อัลเฟลเห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้แสดงสปิริต ในการยอมรับความพ่ายแพ้ และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปตย์ ได้แสดงออกถึงความเป็นผู้นำในการยอมรับผลการเลือกตั้ง ถือเป็นสิ่งที่ดีมากๆ และควรได้รับการชื่นชมอย่างมาก อย่างไรก็ตามการการเลือกตั้งในภายภาคหน้าต้องมีการดำเนินการอย่างเป็นประชาธิปไตยที่สร้างสรรค์ต่อไป ซึ่งหลังจากนี้ข้อร้องเรียนต่างๆ ควรจะได้รับการตรวจสอบอย่างเป็นธรรม เพื่อประโยชน์สุขและนำไปสู่ความสันติ
เมื่อถามว่าเหตุใด กกต.จึงพิมพ์บัตรเลือกตั้งมากกว่าที่กฎหมายกำหนด นายดามาโซ กล่าวว่า เราเห็นว่าควรที่จะต้องแก้ กฎหมาย นี้ เพราะประเทศไทยไม่เคยมีผู้มาลงคะแนนเกิน 67 เปอร์เซ็นต์ แต่กกต.กลับพิมพ์บัตรเลือกตั้งมากเกินความจำเป็น ซึ่งเรื่องนี้ได้เคยสอบถามไปยัง กกต.แล้ว แต่ กกต. กลับระบุว่าไม่รู้จำนวนผู้มาที่จะมาใช้สิทธิเลือกตั้งจึงพิมพ์บัตรเลือกตั้งมากไว้ก่อน ซึ่งเราไม่พอใจในคำตอบ ส่วนประชาชนจำนวนมากที่ไม่สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้นั้น ทาง กกต.ได้ทำรายชื่อถาวร ซึ่งมีจำนวนถึง 2.47 เปอร์เซ็นต์ สามารถเป็นตัวกำหนดเสียงในบางพื้นที่ได้ ทำให้ส่งผลต่อทุกพรรคการเมือง เรื่องนี้ถือว่าไม่อยู่ในพื้นฐานของประชาธิปไตยอย่างแน่นอน
เมื่อถามว่าในระหว่างการเลือกตั้งสื่อมวลชนไทยมักถามทหารเสมอว่าจะมีการปฏิวัติหรือไม่ ทั้งที่ทหารไทยวางตัวเป็นกลางอย่างน่าพอใจ นายดามาโซ กล่าวว่า ในประวัติศาสตร์ของทหารไทย มีการทำรัฐปหารหลายครั้ง แต่เราต้องมองว่าทหารมองหลักการในประชาธิปไตยอย่างไรในการเลือกตั้งครั้งนี้ ซึ่งทหารก็ออกมาระบุว่าจะยอมรับในหลักการประชาธิปไตย จึงไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ดังนั้นทหารควรจะอยู่ในที่ของทหาร ซึ่งความแตกต่างการเลือกตั้งในครั้งนี้กับเมื่อปี 2007 นั้น ไม่มีพรรคการเมืองใดได้รับเสียงข้างมาก แต่ครั้งนี้คนไทยได้พูดเลยว่าให้พรรคเดียวได้เสียงข้างมากไปเลย ดังนั้นทหารควรจะคิดให้รอบขอบในการจะทำอะไรลงไป
เมื่อถามว่าอะไรควรจะเป็นบทบาทของสื่อไทยในการเลือกตั้งครั้งนี้ นายดามาโซ กล่าวว่า สื่อมีบทบาทที่สำคัญ สื่อต้องมีการแบ่งแยกกับคนที่เป็นผู้รายงานข่าวและผู้ที่เขียนความเห็น เพราะความรับผิดชอบของผู้รายงานข่าวต้องรายงานอย่างชัดเจน ยุติธรรม ตนคิดว่าสื่อไทยต้องแก้ไขด้วย เพราะมีความพยามที่จะกระตุ้นในสื่อเลือกข้างในการเลือกตั้งครั้งนี้ แต่สื่อสาธารณต้องรับผิดชอบผู้เสียภาษี ไม่สามารถเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฝ่ายได้ เรื่องนี้เป็นหน้าที่ของรัฐบาล แต่ถ้าเป็นสื่อของเอกชน ก็ต้องรับผิดชอบต่อสาธารณะ ต้องเข้าใจความเห็นของสาธารณะชนด้วย
เมื่อถามว่ามองอย่างไรที่ กกต.เลื่อนการประกาศผลการเลือกตั้ง นายดามาโซ กล่าวว่า เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ทำให้ทุกคนมีความกังวลใจ ไม่รู้ว่าใครชนะใครจะเป็นรัฐบาล ยิ่งเลื่อนการประกาศผลมากเท่าใดก็ทำให้ประชาชนเกิดความไม่สบายใจ ตนคิดว่าหากนับคะแนนเสร็จเรียบร้อย น่าจะประกาศผลได้ทันที หากรอถึง 10 วัน คิดว่าเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเกินไป เรื่องนี้ควรสอบถามไปยัง กกต. และตรวจสอบต่อไป ส่วนการให้ใบเหลืองใบแดงนั้น หากเรามีข้อกำหนดพื้นฐานว่าเมื่อใดควรให้ ถือเป็นการกระทำที่ชัดเจน หากเห็นว่ามีการทำผิดและมีหลักฐานก็ต้องให้ใบเหลืองใบแดงทันที
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายในงานมีการเปิดไสลด์รูปภาพเกี่ยวข้องกับการซื้อเสียงด้วย ทำให้ผู้สื่อข่าวหลายสำนักสอบถามถึงลายละเอียดภายในภาพ แต่ตัวแทนของมูลนิธิอัลเฟรลกลับตอบว่า เป็นภาพถ่ายของผู้สังเกตการณ์ การเลือกตั้งในพื้นที่ ซึ่งขณะนี้จึงไม่ทราบถึงรายละเอียดใดๆ แต่คาดว่าจะเป็นการกระทำภายนอกหน่วยเลือกตั้ง
**ยูเอ็นยินดีเลือกตั้งไทยสงบเรียบร้อย
เว็ปไซด์สหประชาชาติ หรือยูเอ็น ในวานนี้ (5 ก.ค.) ได้เผยแพร่แถลงการณ์ของนายบัน คี-มูน เลขาธิการยูเอ็น มีใจความสำคัญว่า ว่า ขอแสดงความยินดีที่การเลือกตั้งทั่วไปในไทยเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย และขอให้ทุกพรรคการเมืองแสดงคำสัญญา ที่จะเคารพในเจตนารมณ์ของประชาชนได้แสดงผ่านกระบวนการประชาธิปไตย นอกจากนี้ เลขาธิการยูเอ็น ยังแสดงความหวังว่า การเลือกตั้งจะเป็นก้าวที่สำคัญที่มุ่งไปสู่การปรองดองอย่างแท้จริง เสถียรภาพในระยะยาวและเป็นบรรทัดฐานประชาธิปไตยที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวในประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า ก่อนหน้าที่การเลือกตั้งไทยจะเริ่มขึ้นในวันที่ 3 ก.ค. ที่ผ่านมา นายบัน คี-มุน ได้กล่าวเรียกร้องให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความสงบ ยุติธรรม น่าเชื่อถือและโปร่งใส
** “อองซาน ซูจี”ยินดีกับ “ยิ่งลักษณ์”
นิตยสารอิระวดี รายงานว่า นางออง ซาน ซู จี ผู้นำการเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า แสดงความยินดีกับผลการเลือกตั้งของไทย ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งเป็นผู้หญิงเหมือนกัน จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย และในฐานะที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศรวมทั้งประชาชนของทั้งไทยกับพม่ามีความแน่นแฟ้นต่อกัน นอกจากนี้ นางซู จี ยินดีกับรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ด้วยคะแนนเสียงของประชาชน พร้อมทั้งแสดงความหวังว่าความสัมพันธ์ระหว่างพม่ากับไทยภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะยังคงแข็งแกร่งแน่นแฟ้น ทั้งนี้ นางซูจี ยังเรียกร้องให้รัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ร่วมผลักดันกระบวนการปองดองแห่งชาติและประชาธิปไตยในพม่า รวมไปถึงมีนโยบายช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวพม่า
นายดามาโซ กล่าวว่า มูลนิธิอัลเฟล ขอแสดงความยินดีกับประเทศไทยที่ประชาชนจำนวนมากออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง พร้อมทั้งยินดีกับ คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ที่ดูแลจัดการการเลือกตั้ง และเปิดโอกาสให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิและแสดงความต้องการของตน โดยเฉพาะทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้ผ่านไปด้วยความเรียบร้อย ถือเป็นสิ่งที่ดีมาก นอกจากนี้ยังขอขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมไปถึงไปรษณีย์ไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติอีกด้วย
อัลเฟรลมีความเป็นห่วงในกรณีของการเลือกตั้งล่วงหน้า เมื่อวันที่ 26 มิ.ย.ที่ผ่านมา เนื่องจากผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งเกือบ 1 ล้านคน ที่ไม่สามรถใช้สิทธิได้ เนื่องจากการใช้บัญชีรายชื่อของปี 50 ทำให้ประชาชนไม่สามารถใช้สิทธิออกเสียงได้ ซึ่งปัญหาเรื่องนี้ควรที่จะให้ความสำคัญต่อไป ส่วนเหตุการณ์ก่อนวันเลือกตั้ง ที่กกต.ได้พิมพ์บัตรเลือกตั้งเกิน 12 เปอร์เซ็นต์ แต่กฎหมาย ไทยได้กำหนดไว้เพียงแค่ 7 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเรื่องนี้ทาง กกต.ต้องชี้แจงว่าเป็นเพราะเหตุใดด้วย ซึ่งอาจจะทำให้ กกตจ.ถูกมองว่าไม่มีความเป็นกลาง ขาดความชอบธรรมในสายตาประชาชนด้วย อีกทั้งช่วงเวลาการหาเสียงได้มีการกล่าวว่ามีการซื้อเสียงอย่ามากมาย ซึ่งเรื่องนี้อยู่ในการตรวจสอบ แต่การซื้อเสียงยังเป็นประเด็นที่มีอยู่ในการเลือกตั้งของไทยอยู่ตลอดเวลา
"เรารู้สึกยินดีที่ทหารออกมาแสดงความเป็นมืออาชีพในการเลือกตั้งครั้งนี้ แต่เราเห็นทหารบางคนถืออาวุธเข้าไปในหน่วย ซึ่งเป็นการขัดต่อหลักปฏิบัติของนานาชาติ เราหวังว่าทหารจะมีการทำหน้าที่เป็นมืออาชีพกว่านี้ และปฏิบัติหน้าที่อย่างสมควร ไม่ควรออกมาพูดอะไรเพื่อแสดงความไม่เป็นกลางอีกต่อไป" นายดามาโซ กล่าว
นายดามาโซ กล่าวด้วยว่า ผลการเลือกตั้งที่ออกมานั้น อัลเฟลเห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้แสดงสปิริต ในการยอมรับความพ่ายแพ้ และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปตย์ ได้แสดงออกถึงความเป็นผู้นำในการยอมรับผลการเลือกตั้ง ถือเป็นสิ่งที่ดีมากๆ และควรได้รับการชื่นชมอย่างมาก อย่างไรก็ตามการการเลือกตั้งในภายภาคหน้าต้องมีการดำเนินการอย่างเป็นประชาธิปไตยที่สร้างสรรค์ต่อไป ซึ่งหลังจากนี้ข้อร้องเรียนต่างๆ ควรจะได้รับการตรวจสอบอย่างเป็นธรรม เพื่อประโยชน์สุขและนำไปสู่ความสันติ
เมื่อถามว่าเหตุใด กกต.จึงพิมพ์บัตรเลือกตั้งมากกว่าที่กฎหมายกำหนด นายดามาโซ กล่าวว่า เราเห็นว่าควรที่จะต้องแก้ กฎหมาย นี้ เพราะประเทศไทยไม่เคยมีผู้มาลงคะแนนเกิน 67 เปอร์เซ็นต์ แต่กกต.กลับพิมพ์บัตรเลือกตั้งมากเกินความจำเป็น ซึ่งเรื่องนี้ได้เคยสอบถามไปยัง กกต.แล้ว แต่ กกต. กลับระบุว่าไม่รู้จำนวนผู้มาที่จะมาใช้สิทธิเลือกตั้งจึงพิมพ์บัตรเลือกตั้งมากไว้ก่อน ซึ่งเราไม่พอใจในคำตอบ ส่วนประชาชนจำนวนมากที่ไม่สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้นั้น ทาง กกต.ได้ทำรายชื่อถาวร ซึ่งมีจำนวนถึง 2.47 เปอร์เซ็นต์ สามารถเป็นตัวกำหนดเสียงในบางพื้นที่ได้ ทำให้ส่งผลต่อทุกพรรคการเมือง เรื่องนี้ถือว่าไม่อยู่ในพื้นฐานของประชาธิปไตยอย่างแน่นอน
เมื่อถามว่าในระหว่างการเลือกตั้งสื่อมวลชนไทยมักถามทหารเสมอว่าจะมีการปฏิวัติหรือไม่ ทั้งที่ทหารไทยวางตัวเป็นกลางอย่างน่าพอใจ นายดามาโซ กล่าวว่า ในประวัติศาสตร์ของทหารไทย มีการทำรัฐปหารหลายครั้ง แต่เราต้องมองว่าทหารมองหลักการในประชาธิปไตยอย่างไรในการเลือกตั้งครั้งนี้ ซึ่งทหารก็ออกมาระบุว่าจะยอมรับในหลักการประชาธิปไตย จึงไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ดังนั้นทหารควรจะอยู่ในที่ของทหาร ซึ่งความแตกต่างการเลือกตั้งในครั้งนี้กับเมื่อปี 2007 นั้น ไม่มีพรรคการเมืองใดได้รับเสียงข้างมาก แต่ครั้งนี้คนไทยได้พูดเลยว่าให้พรรคเดียวได้เสียงข้างมากไปเลย ดังนั้นทหารควรจะคิดให้รอบขอบในการจะทำอะไรลงไป
เมื่อถามว่าอะไรควรจะเป็นบทบาทของสื่อไทยในการเลือกตั้งครั้งนี้ นายดามาโซ กล่าวว่า สื่อมีบทบาทที่สำคัญ สื่อต้องมีการแบ่งแยกกับคนที่เป็นผู้รายงานข่าวและผู้ที่เขียนความเห็น เพราะความรับผิดชอบของผู้รายงานข่าวต้องรายงานอย่างชัดเจน ยุติธรรม ตนคิดว่าสื่อไทยต้องแก้ไขด้วย เพราะมีความพยามที่จะกระตุ้นในสื่อเลือกข้างในการเลือกตั้งครั้งนี้ แต่สื่อสาธารณต้องรับผิดชอบผู้เสียภาษี ไม่สามารถเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฝ่ายได้ เรื่องนี้เป็นหน้าที่ของรัฐบาล แต่ถ้าเป็นสื่อของเอกชน ก็ต้องรับผิดชอบต่อสาธารณะ ต้องเข้าใจความเห็นของสาธารณะชนด้วย
เมื่อถามว่ามองอย่างไรที่ กกต.เลื่อนการประกาศผลการเลือกตั้ง นายดามาโซ กล่าวว่า เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ทำให้ทุกคนมีความกังวลใจ ไม่รู้ว่าใครชนะใครจะเป็นรัฐบาล ยิ่งเลื่อนการประกาศผลมากเท่าใดก็ทำให้ประชาชนเกิดความไม่สบายใจ ตนคิดว่าหากนับคะแนนเสร็จเรียบร้อย น่าจะประกาศผลได้ทันที หากรอถึง 10 วัน คิดว่าเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเกินไป เรื่องนี้ควรสอบถามไปยัง กกต. และตรวจสอบต่อไป ส่วนการให้ใบเหลืองใบแดงนั้น หากเรามีข้อกำหนดพื้นฐานว่าเมื่อใดควรให้ ถือเป็นการกระทำที่ชัดเจน หากเห็นว่ามีการทำผิดและมีหลักฐานก็ต้องให้ใบเหลืองใบแดงทันที
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายในงานมีการเปิดไสลด์รูปภาพเกี่ยวข้องกับการซื้อเสียงด้วย ทำให้ผู้สื่อข่าวหลายสำนักสอบถามถึงลายละเอียดภายในภาพ แต่ตัวแทนของมูลนิธิอัลเฟรลกลับตอบว่า เป็นภาพถ่ายของผู้สังเกตการณ์ การเลือกตั้งในพื้นที่ ซึ่งขณะนี้จึงไม่ทราบถึงรายละเอียดใดๆ แต่คาดว่าจะเป็นการกระทำภายนอกหน่วยเลือกตั้ง
**ยูเอ็นยินดีเลือกตั้งไทยสงบเรียบร้อย
เว็ปไซด์สหประชาชาติ หรือยูเอ็น ในวานนี้ (5 ก.ค.) ได้เผยแพร่แถลงการณ์ของนายบัน คี-มูน เลขาธิการยูเอ็น มีใจความสำคัญว่า ว่า ขอแสดงความยินดีที่การเลือกตั้งทั่วไปในไทยเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย และขอให้ทุกพรรคการเมืองแสดงคำสัญญา ที่จะเคารพในเจตนารมณ์ของประชาชนได้แสดงผ่านกระบวนการประชาธิปไตย นอกจากนี้ เลขาธิการยูเอ็น ยังแสดงความหวังว่า การเลือกตั้งจะเป็นก้าวที่สำคัญที่มุ่งไปสู่การปรองดองอย่างแท้จริง เสถียรภาพในระยะยาวและเป็นบรรทัดฐานประชาธิปไตยที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวในประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า ก่อนหน้าที่การเลือกตั้งไทยจะเริ่มขึ้นในวันที่ 3 ก.ค. ที่ผ่านมา นายบัน คี-มุน ได้กล่าวเรียกร้องให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความสงบ ยุติธรรม น่าเชื่อถือและโปร่งใส
** “อองซาน ซูจี”ยินดีกับ “ยิ่งลักษณ์”
นิตยสารอิระวดี รายงานว่า นางออง ซาน ซู จี ผู้นำการเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า แสดงความยินดีกับผลการเลือกตั้งของไทย ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งเป็นผู้หญิงเหมือนกัน จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย และในฐานะที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศรวมทั้งประชาชนของทั้งไทยกับพม่ามีความแน่นแฟ้นต่อกัน นอกจากนี้ นางซู จี ยินดีกับรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ด้วยคะแนนเสียงของประชาชน พร้อมทั้งแสดงความหวังว่าความสัมพันธ์ระหว่างพม่ากับไทยภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะยังคงแข็งแกร่งแน่นแฟ้น ทั้งนี้ นางซูจี ยังเรียกร้องให้รัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ร่วมผลักดันกระบวนการปองดองแห่งชาติและประชาธิปไตยในพม่า รวมไปถึงมีนโยบายช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวพม่า