ASTVผู้จัดการรายวัน- นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันพรรคเพื่อไทยฉุดดัชนีเชื่อมั่นอุตสาหกรรมกรกฏาคม 54 ต่ำสุดรอบ 3 เดือนแถมดัชนีฯคาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือนข้างหน้ายังดิ่งสุดรอบ 13 เดือนตอกย้ำความกังวลขึ้นค่าจ้างหนักขึ้น เสนอรัฐทยอยขึ้น 3-4 ปี ขณะที่ยานยนต์ส่งสัญญาณขึ้นค่าแรงระยะยาวอาจทำให้ญี่ปุ่นทบทวนแผนย้ายฐานผลิตที่เหลือมาไทย
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทยเดือนกรกฏาคม 2554 ครอบคลุม 40 กลุ่มอุตสาหกรรม ของส.อ.ท. ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมกรกฎาคม ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 105.2 จากระดับ 107.4 ในเดือนมิถุนายนและเป็นค่าดัชนีฯที่ต่ำสุดในรอบ 3 เดือนนับตั้งแต่เม.ย.ที่ค่าดัชนีฯอยู่ที่ 106.6 ทำให้ดัชนีเชื่อมั่นอุตสาหกรรมคาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือนข้างหน้าที่อยู่ระดับ 107.4 ที่ต่ำสุดในรอบ 13 เดือนนับตั้งแต่ก.ค.2553
โดยปัจจัยที่มีผลต่อความเชื่อมั่นลดลงคือความกังวลต่อนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท ต้นทุนการผลิตที่สูงจากทั้งราคาน้ำมัน ดอกเบี้ย และการแข็งค่าของเงินบาท รวมถึงสภาวะความเปราะบางของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตามดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 107.4 ซึ่งอยู่ระดับสูงกว่า 100 แสดงว่าผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับที่ดีอยู่
“ค่าแรงนับเป็นปัจจัยสำคัญต่อผลสำรวจครั้งนี้เนื่องจากเอกชนกังวลมากโดยส.อ.ท.จะได้หารือกับทุกส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อขอเวลาให้เอกชนปรับตัว 3-4 ปีเพราะถ้าทำทันทีถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จะมีผู้ที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่น้อยไปมาก ดังนั้นเราเห็นว่าควรจะหารือและใช้เวทีของคณะกรรมการไตรภาคีเป็นหลัก”นายพยุงศักดิ์กล่าว
สำหรับข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการ ที่มีต่อภาครัฐในเดือนนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความเห็นสอดคล้องกันว่า ในเรื่องของการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำควรดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป ในทางกลับกันควรเร่งแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานมีฝีมือ และต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เร่งสร้างเสถียรภาพของรัฐบาล เพื่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเร่งสร้างความปรองดองในประเทศไทยอย่างแท้จริงให้เกิดขึ้นอีกด้วย หวั่นญี่ปุ่นทบทวนแผนย้ายฐานผลิต
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ส.อ.ท.กล่าวว่า การขึ้นค่าแรงทันทีเป็น 300 บาทต่อวันผลกระทบระยะสั้นจะทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น 40% ส่งผลให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนอาจจะต้องปรับราคาจำหน่ายในที่สุดและระยะยาวญี่ปุ่นอาจจะทบทวนแผนลงทุนในไทยที่เดิมจะมีการย้ายฐานผลิตที่เหลือมาไทยโดยเฉพาะชิ้นส่วนต่างๆ
ดังนั้นจึงต้องการให้รัฐบาลได้พิจารณาประเด็นดังกล่าวอย่างรอบคอบและค่อยเป็นค่อยไป สำหรับประมาณการผลิตรถยนต์เดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2554 มีจำนวน 510,012 คันเปรียบเทียบกับยอดผลิตจริงเดือนพฤษภาคม-กรกฏาคม 2554 ซึ่งมีจำนวน 399,686 คันเพิ่มขึ้น 110,326 คัน ขณะที่รถจักรยานยนต์เดือนสิงหาคม -ตุลาคม 2554 มีจำนวน 499,240 คันเปรียบเทียบกับยอดผลิตจริงเดือนพฤษภาคม -กรกฏาคม 2554 ซึ่งมีจำนวน 638,105 คันลดลง 138,865 คัน
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทยเดือนกรกฏาคม 2554 ครอบคลุม 40 กลุ่มอุตสาหกรรม ของส.อ.ท. ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมกรกฎาคม ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 105.2 จากระดับ 107.4 ในเดือนมิถุนายนและเป็นค่าดัชนีฯที่ต่ำสุดในรอบ 3 เดือนนับตั้งแต่เม.ย.ที่ค่าดัชนีฯอยู่ที่ 106.6 ทำให้ดัชนีเชื่อมั่นอุตสาหกรรมคาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือนข้างหน้าที่อยู่ระดับ 107.4 ที่ต่ำสุดในรอบ 13 เดือนนับตั้งแต่ก.ค.2553
โดยปัจจัยที่มีผลต่อความเชื่อมั่นลดลงคือความกังวลต่อนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท ต้นทุนการผลิตที่สูงจากทั้งราคาน้ำมัน ดอกเบี้ย และการแข็งค่าของเงินบาท รวมถึงสภาวะความเปราะบางของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตามดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 107.4 ซึ่งอยู่ระดับสูงกว่า 100 แสดงว่าผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับที่ดีอยู่
“ค่าแรงนับเป็นปัจจัยสำคัญต่อผลสำรวจครั้งนี้เนื่องจากเอกชนกังวลมากโดยส.อ.ท.จะได้หารือกับทุกส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อขอเวลาให้เอกชนปรับตัว 3-4 ปีเพราะถ้าทำทันทีถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จะมีผู้ที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่น้อยไปมาก ดังนั้นเราเห็นว่าควรจะหารือและใช้เวทีของคณะกรรมการไตรภาคีเป็นหลัก”นายพยุงศักดิ์กล่าว
สำหรับข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการ ที่มีต่อภาครัฐในเดือนนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความเห็นสอดคล้องกันว่า ในเรื่องของการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำควรดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป ในทางกลับกันควรเร่งแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานมีฝีมือ และต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เร่งสร้างเสถียรภาพของรัฐบาล เพื่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเร่งสร้างความปรองดองในประเทศไทยอย่างแท้จริงให้เกิดขึ้นอีกด้วย หวั่นญี่ปุ่นทบทวนแผนย้ายฐานผลิต
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ส.อ.ท.กล่าวว่า การขึ้นค่าแรงทันทีเป็น 300 บาทต่อวันผลกระทบระยะสั้นจะทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น 40% ส่งผลให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนอาจจะต้องปรับราคาจำหน่ายในที่สุดและระยะยาวญี่ปุ่นอาจจะทบทวนแผนลงทุนในไทยที่เดิมจะมีการย้ายฐานผลิตที่เหลือมาไทยโดยเฉพาะชิ้นส่วนต่างๆ
ดังนั้นจึงต้องการให้รัฐบาลได้พิจารณาประเด็นดังกล่าวอย่างรอบคอบและค่อยเป็นค่อยไป สำหรับประมาณการผลิตรถยนต์เดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2554 มีจำนวน 510,012 คันเปรียบเทียบกับยอดผลิตจริงเดือนพฤษภาคม-กรกฏาคม 2554 ซึ่งมีจำนวน 399,686 คันเพิ่มขึ้น 110,326 คัน ขณะที่รถจักรยานยนต์เดือนสิงหาคม -ตุลาคม 2554 มีจำนวน 499,240 คันเปรียบเทียบกับยอดผลิตจริงเดือนพฤษภาคม -กรกฏาคม 2554 ซึ่งมีจำนวน 638,105 คันลดลง 138,865 คัน