วานนี้ (9 ส.ค) ที่ห้องประชุม 3601 อาคารรัฐสภา ได้มีการประชุมเพื่อหารือกรอบการทำงานของสภาผู้แทนราษฎร โดยมี นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาฯ เป็นประธานในที่ประชุม และมีตัวแทนของพรรคการเมืองต่างๆเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง โดยที่ประชุมได้สรุปกรอบเวลาการประชุมประจำสัปดาห์จำนวน 2 วัน ในวันพุธ เวลา 10.30 – 19.00 น. และวันพฤหัสบดี เวลา 10.30 – 17.00 น. นอกจากนี้ ยังกำหนดให้วันที่ 1 ก.พ.เป็นวันเริ่มต้นของสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติด้วย โดยจะมีเวลา 120 วัน และปิดสมัยประชุมเป็นเวลา 60 วันก่อนที่จะเริ่มสมัยสามัญทั่วไประหว่างเดือน ส.ค.-พ.ย. ทั้งจะมีการข้อสรุปดังกล่าวเข้าขอความเห็นชอบต่อที่ประชุมสภาฯในวันพรุ่งนี้ (10 ส.ค.) ต่อไป
ภายหลังปิดการประชุม นายสมศักดิ์ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า การกำหนดเวลาประชุมสภาฯดังกล่าวจะช่วยสามารถแก้ไขปัญหาองค์ประชุมสภาฯล่มได้ส่วนหนึ่ง เพราะเห็นว่าการเริ่มประชุมเวล 10.30 น.และเปิดโอกาสให้ ส.ส.หารือต่อประชุมได้เป็นเวลา 1 ชั่วโมงครึ่ง และจะสิ้นสุดในเวลาประมาณ 12.00 น. สอดคล้องกับเวลาเลิกของการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) สามัญประจำสภาฯพอดี ทั้งนี้ในส่วนของปัญหาเรื่ององค์ประชุมนั้น คงไม่ได้อยู่เรื่องเวลาการประชุมอย่างเดียว เพราะมีปัจจัยในหลายเรื่องประกอบกัน เรื่องเวลาเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เสริมให้องค์ประชุมมีความพร้อมมากขึ้น หากมีเวลาเลิกการประชุมในแต่ละวันที่ชัดเจน ก็ทำให้สมาชิกสามารถบริหารเวลาได้ เอื้อให้องค์ประชุมมีโอกาสครบมากขึ้น แต่หากยังมีปัญหาก็ต้องใช้ข้อบังคับการประชุม รวมทั้งมาตรการที่ตนคิดไว้ แต่ยังขออุบไว้ก่อน อย่างไรก็ตามในการประชุมนัดแรกเมื่อสัปดาห์ก่อนตนก็ได้ชี้แจงและขอความร่วมมือจากสมาชิกเพื่อให้การทำงานเป็นไปด้วยความราบรื่นแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้นายสมศักดิ์ได้เสนอกรอบเวลาการประชุมแต่ละสัปดาห์ ในวันพุธ เวลา 11.00 - 20.00 น. ส่วนวันพฤหัสบดี เวลา 11.00 - 18.00 น. แต่ตัวแทนของพรรคการเมืองต่างๆทักท้วงถึงความเหมาะสม เนื่องจากเห็นว่าหากเริ่มประชุมในเวลา 11.00 น. เป็นเวลาที่สายเกินไป และจะทำให้ภาพของผู้แทนฯไม่ดีในสายตาประชาชน จึงมีข้อสรุปมาเริ่มประชุมที่ 10.30 น.ดังกล่าว ทั้งนี้สำหรับการกำหนดเวลาประชุมสภาฯชุดที่ผ่านมา ในช่วงรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์นั้นพบว่า ได้กำหนดไว้ที่วันพุธและพฤหัสบดีเช่นกัน แต่เริ่มตั้งแต่ 09.00 - 17.00 น.
**“ขุนค้อน” แก้เกมองค์ประชุมล่ม
ก่อนหน้านั้น นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร์ กล่าวถึงการวางกรอบขั้นตอนการทำงานของสภาผู้แทนราษฎรว่า หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้รับการโปรดเกล้าฯ จะมีการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อสภา จากนั้นจึงเริ่มการประชุมสภาฯได้ หากยังไม่มีการโปรดเกล้าฯครม. สภาก็ยังไม่สามารถเริ่มประชุมได้ เบื้องต้นได้นัดประชุมสมาชิกวันที่ 10 ส.ค. เวลา 10.00 น. เพื่อหารือเรื่องกำหนดวันและเวลาการประชุมสภา และกำหนดวันเริ่มสมัยประชุมนิติบัญญัติ ส่วนตัวมองว่าอยากให้คงวันประชุมสภาฯในวันพุธ และพฤหัสบดี เหมือนในสมัยที่ผ่านมา แต่ขอเพิ่มรายละเอียดคือ กำหนดกรอบเวลาการประชุมให้ชัดเจน เพื่อให้สมาชิกบริหารจัดการเวลาได้เหมาะสม และป้องกันองค์ประชุมล่ม เบื้องต้นในวันพุธ จะเริ่มประชุมเวลา 11.00 น. เลิกประชุมเวลาประมาณ 20.00 น. ส่วนวันพฤหัสบดีนั้น กำหนดเวลาเลิกประชุมไว้ 18.00 น. ส่วนการตอบกระทู้สด และกระทู้ทั่วไป อยากให้จำกัดเวลาเพียง 2 ชั่วโมง เพื่อมีเวลาพิจารณาร่างกฎหมายสำคัญได้
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ส่วนปัญหาการตั้งกรรมาธิการสามัญประจำสภาฯ ที่พรรคเล็กต่อรองของโควตาประธานกรรมาธิการ 1 คณะนั้น คงต้องมีการหารือเพื่อความเหมาะสม ส่วนตัวมองว่า ควรยึดจำนวนส.ส.แต่ละพรรคมากกว่าการนำมารวมกัน ส่วนที่มีผู้เสนอให้แก้ไขข้อบังคับการประชุม เพื่อเปลี่ยนแปลงจำนวนคณะกรรมาธิการนั้น ยังไม่สมควรแก้ไข เพราะข้อบังคับการประชุมไม่มีส่วนใดที่ขัดรัฐธรรมนูญ อีกทั้งข้อบังคับดังกล่าวเพิ่งใช้มาไม่นาน จึงควรคงจำนวนคณะกรรมาธิการ ไว้เท่าเดิมคือ 35 คณะ
**"เจริญ" ยังกั๊กเกลี่ยเก้าอี้ประธานกมธ.
นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่1 กล่าวถึงกรณีปัญหาการแบ่งโควต้าประธานกรรมาธิการ (กมธ.) สามัญประจำสภาฯ หลังพรรคการเมืองขนาดเล็ก ได้แก่ พรรครักประเทศไทย พรรครักษ์สันติ และพรรคมาตุภูมิ รวมตัวต่อรองขอตำแหน่งประธาน กมธ. 1 คณะว่า เรื่องดังกล่าวพรรคเล็กที่รวมตัวต้องหารือและทำบันทึกเสนอที่ประชุมอย่างเป็นทางการว่า ได้รวมตัวเป็นกลุ่มการเมืองแล้ว เพื่อให้ที่ประชุมพิจารณากรอบการจัดสรรสัดส่วน กมธ. เบื้องต้นหากพรรคเล็กสามารถรวมตัวกันได้ ที่ประชุมจะหารือเพื่อแบ่งสัดส่วนกมธ.ใหม่ ส่วนจะไปลดโควต้าประธาน กมธ.ของพรรคการเพื่อไทยหรือพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่ ต้องหารือกันอีกครั้ง ทั้งนี้ตามธรรมเนียมปฏิบัติ การพิจารณาโควต้าประธาน กมธ.นั้น ต้องอิงสัดส่วนของจำนวนส.ส.ในพรรคเป็นหลัก
นายเจริญ กล่าวอีกว่า ในการประชุมสภา วันที่ 10 ส.ค. จะมีการหารือเรื่องดังกล่าว และให้ที่ประชุมใหม่ยืนยันว่าสภาฯ จะใช้ข้อบังคับการประชุมสภา ปี 51 ตามเดิมและคงจำนวน กมธ.ไว้ 35 คณะ
ขณะที่ นายปาน พึ่งสุจริต ตัวแทนพรรคมาตุภูมิ กล่าวว่า ในส่วนของพรรคเล็กที่รวมตัวขอโควต้าประธาน กมธ. คงไม่ต้องประสานไปยังพรรคใหญ่ เนื่องจากตนเสนอเงื่อนไขดังกล่าวตามข้อบังการประชุมเท่านั้น ส่วนจะเห็นด้วยหรือไม่ขึ้นอยู่กับที่ประชุม เบื้องต้นควรแบ่งสัดส่วนให้กับพรรคเล็กที่รวมกันเป็นกลุ่มการเมืองให้ชัดเจน มิเช่นนั้นอาจกระทบต่อการตั้ง กมธ.วิสามัญได้
**ภท.โวยได้ ปธ.กมธ.น้อย
นายศุภชัย ใจสมุทร โฆษกพรรคภูมิใจไทย(ภท.) แถลงว่า ส่วนเรื่องการจัดสรรกรรมาธิการและแต่งตั้งประธานกรรมาธิการ โดย ภท.เห็นว่าตำแหน่งที่ไม่สอดคล้องกับตัวเลข ส.ส.ที่มี โดย ภท.ควรจะได้ประธานกรรมาธิการไม่น้อยกว่า 4 คน เพราะ 7 ส.ส. จะมีประธานกรรมาธิการ 1 คน ซึ่งพรรคเห็นว่าตำแหน่งที่ได้รับนั้นไม่เป็นธรรม โดยในส่วนของพรรคขณะนี้ที่พรรคต้องการนั้นคือ กรรมาธิการ กิจการสภาผู้แทนราษฎร และกรรมาธิการปกครอง ดังนั้น ในการประชุมในวันที่ 10 สิงหาคมนี้ พรรคจะอภิปรายเพื่อขอความเป็นธรรมด้วย
ส่วนการกำหนดวันและเวลารวมถึงสมัยประชุม ซึ่งประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เชิญผู้แทนจากพรรคต่างๆ เข้าร่วมประชุม โดยนายชัย ชิดชอบ และนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ เป็นตัวแทนของพรรค ซึ่งในการประชุมนอกรอบมีข้อเสนอว่าจะมีการประชุม 2 วัน คือในวันพุธและวันพฤหัสบดี ซึ่งที่ประชุมของ ภท.มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับเงื่อนเวลา ที่กำหนดให้มีการประชุมในเวลา 10.00 น. ซึ่งเรื่องนี้จะมีการหารือกันในการประชุมในวันที่ 10 สิงหาคมนี้ โดย ภท.เห็นว่าควรจะมีการประชุมในเวลา 09.00 น. เพราะการเริ่มประชุมช้าไม่เป็นประโยน์ต่อประชาชน และจะเสนอว่าหลังจากนี้เป็นต้นไปจะต้องมีการนัดวัน โดยให้เปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญเมื่อครบ 4 เดือน แล้วให้พัก 2 เดือน
ภายหลังปิดการประชุม นายสมศักดิ์ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า การกำหนดเวลาประชุมสภาฯดังกล่าวจะช่วยสามารถแก้ไขปัญหาองค์ประชุมสภาฯล่มได้ส่วนหนึ่ง เพราะเห็นว่าการเริ่มประชุมเวล 10.30 น.และเปิดโอกาสให้ ส.ส.หารือต่อประชุมได้เป็นเวลา 1 ชั่วโมงครึ่ง และจะสิ้นสุดในเวลาประมาณ 12.00 น. สอดคล้องกับเวลาเลิกของการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) สามัญประจำสภาฯพอดี ทั้งนี้ในส่วนของปัญหาเรื่ององค์ประชุมนั้น คงไม่ได้อยู่เรื่องเวลาการประชุมอย่างเดียว เพราะมีปัจจัยในหลายเรื่องประกอบกัน เรื่องเวลาเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เสริมให้องค์ประชุมมีความพร้อมมากขึ้น หากมีเวลาเลิกการประชุมในแต่ละวันที่ชัดเจน ก็ทำให้สมาชิกสามารถบริหารเวลาได้ เอื้อให้องค์ประชุมมีโอกาสครบมากขึ้น แต่หากยังมีปัญหาก็ต้องใช้ข้อบังคับการประชุม รวมทั้งมาตรการที่ตนคิดไว้ แต่ยังขออุบไว้ก่อน อย่างไรก็ตามในการประชุมนัดแรกเมื่อสัปดาห์ก่อนตนก็ได้ชี้แจงและขอความร่วมมือจากสมาชิกเพื่อให้การทำงานเป็นไปด้วยความราบรื่นแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้นายสมศักดิ์ได้เสนอกรอบเวลาการประชุมแต่ละสัปดาห์ ในวันพุธ เวลา 11.00 - 20.00 น. ส่วนวันพฤหัสบดี เวลา 11.00 - 18.00 น. แต่ตัวแทนของพรรคการเมืองต่างๆทักท้วงถึงความเหมาะสม เนื่องจากเห็นว่าหากเริ่มประชุมในเวลา 11.00 น. เป็นเวลาที่สายเกินไป และจะทำให้ภาพของผู้แทนฯไม่ดีในสายตาประชาชน จึงมีข้อสรุปมาเริ่มประชุมที่ 10.30 น.ดังกล่าว ทั้งนี้สำหรับการกำหนดเวลาประชุมสภาฯชุดที่ผ่านมา ในช่วงรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์นั้นพบว่า ได้กำหนดไว้ที่วันพุธและพฤหัสบดีเช่นกัน แต่เริ่มตั้งแต่ 09.00 - 17.00 น.
**“ขุนค้อน” แก้เกมองค์ประชุมล่ม
ก่อนหน้านั้น นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร์ กล่าวถึงการวางกรอบขั้นตอนการทำงานของสภาผู้แทนราษฎรว่า หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้รับการโปรดเกล้าฯ จะมีการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อสภา จากนั้นจึงเริ่มการประชุมสภาฯได้ หากยังไม่มีการโปรดเกล้าฯครม. สภาก็ยังไม่สามารถเริ่มประชุมได้ เบื้องต้นได้นัดประชุมสมาชิกวันที่ 10 ส.ค. เวลา 10.00 น. เพื่อหารือเรื่องกำหนดวันและเวลาการประชุมสภา และกำหนดวันเริ่มสมัยประชุมนิติบัญญัติ ส่วนตัวมองว่าอยากให้คงวันประชุมสภาฯในวันพุธ และพฤหัสบดี เหมือนในสมัยที่ผ่านมา แต่ขอเพิ่มรายละเอียดคือ กำหนดกรอบเวลาการประชุมให้ชัดเจน เพื่อให้สมาชิกบริหารจัดการเวลาได้เหมาะสม และป้องกันองค์ประชุมล่ม เบื้องต้นในวันพุธ จะเริ่มประชุมเวลา 11.00 น. เลิกประชุมเวลาประมาณ 20.00 น. ส่วนวันพฤหัสบดีนั้น กำหนดเวลาเลิกประชุมไว้ 18.00 น. ส่วนการตอบกระทู้สด และกระทู้ทั่วไป อยากให้จำกัดเวลาเพียง 2 ชั่วโมง เพื่อมีเวลาพิจารณาร่างกฎหมายสำคัญได้
นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ส่วนปัญหาการตั้งกรรมาธิการสามัญประจำสภาฯ ที่พรรคเล็กต่อรองของโควตาประธานกรรมาธิการ 1 คณะนั้น คงต้องมีการหารือเพื่อความเหมาะสม ส่วนตัวมองว่า ควรยึดจำนวนส.ส.แต่ละพรรคมากกว่าการนำมารวมกัน ส่วนที่มีผู้เสนอให้แก้ไขข้อบังคับการประชุม เพื่อเปลี่ยนแปลงจำนวนคณะกรรมาธิการนั้น ยังไม่สมควรแก้ไข เพราะข้อบังคับการประชุมไม่มีส่วนใดที่ขัดรัฐธรรมนูญ อีกทั้งข้อบังคับดังกล่าวเพิ่งใช้มาไม่นาน จึงควรคงจำนวนคณะกรรมาธิการ ไว้เท่าเดิมคือ 35 คณะ
**"เจริญ" ยังกั๊กเกลี่ยเก้าอี้ประธานกมธ.
นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่1 กล่าวถึงกรณีปัญหาการแบ่งโควต้าประธานกรรมาธิการ (กมธ.) สามัญประจำสภาฯ หลังพรรคการเมืองขนาดเล็ก ได้แก่ พรรครักประเทศไทย พรรครักษ์สันติ และพรรคมาตุภูมิ รวมตัวต่อรองขอตำแหน่งประธาน กมธ. 1 คณะว่า เรื่องดังกล่าวพรรคเล็กที่รวมตัวต้องหารือและทำบันทึกเสนอที่ประชุมอย่างเป็นทางการว่า ได้รวมตัวเป็นกลุ่มการเมืองแล้ว เพื่อให้ที่ประชุมพิจารณากรอบการจัดสรรสัดส่วน กมธ. เบื้องต้นหากพรรคเล็กสามารถรวมตัวกันได้ ที่ประชุมจะหารือเพื่อแบ่งสัดส่วนกมธ.ใหม่ ส่วนจะไปลดโควต้าประธาน กมธ.ของพรรคการเพื่อไทยหรือพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่ ต้องหารือกันอีกครั้ง ทั้งนี้ตามธรรมเนียมปฏิบัติ การพิจารณาโควต้าประธาน กมธ.นั้น ต้องอิงสัดส่วนของจำนวนส.ส.ในพรรคเป็นหลัก
นายเจริญ กล่าวอีกว่า ในการประชุมสภา วันที่ 10 ส.ค. จะมีการหารือเรื่องดังกล่าว และให้ที่ประชุมใหม่ยืนยันว่าสภาฯ จะใช้ข้อบังคับการประชุมสภา ปี 51 ตามเดิมและคงจำนวน กมธ.ไว้ 35 คณะ
ขณะที่ นายปาน พึ่งสุจริต ตัวแทนพรรคมาตุภูมิ กล่าวว่า ในส่วนของพรรคเล็กที่รวมตัวขอโควต้าประธาน กมธ. คงไม่ต้องประสานไปยังพรรคใหญ่ เนื่องจากตนเสนอเงื่อนไขดังกล่าวตามข้อบังการประชุมเท่านั้น ส่วนจะเห็นด้วยหรือไม่ขึ้นอยู่กับที่ประชุม เบื้องต้นควรแบ่งสัดส่วนให้กับพรรคเล็กที่รวมกันเป็นกลุ่มการเมืองให้ชัดเจน มิเช่นนั้นอาจกระทบต่อการตั้ง กมธ.วิสามัญได้
**ภท.โวยได้ ปธ.กมธ.น้อย
นายศุภชัย ใจสมุทร โฆษกพรรคภูมิใจไทย(ภท.) แถลงว่า ส่วนเรื่องการจัดสรรกรรมาธิการและแต่งตั้งประธานกรรมาธิการ โดย ภท.เห็นว่าตำแหน่งที่ไม่สอดคล้องกับตัวเลข ส.ส.ที่มี โดย ภท.ควรจะได้ประธานกรรมาธิการไม่น้อยกว่า 4 คน เพราะ 7 ส.ส. จะมีประธานกรรมาธิการ 1 คน ซึ่งพรรคเห็นว่าตำแหน่งที่ได้รับนั้นไม่เป็นธรรม โดยในส่วนของพรรคขณะนี้ที่พรรคต้องการนั้นคือ กรรมาธิการ กิจการสภาผู้แทนราษฎร และกรรมาธิการปกครอง ดังนั้น ในการประชุมในวันที่ 10 สิงหาคมนี้ พรรคจะอภิปรายเพื่อขอความเป็นธรรมด้วย
ส่วนการกำหนดวันและเวลารวมถึงสมัยประชุม ซึ่งประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เชิญผู้แทนจากพรรคต่างๆ เข้าร่วมประชุม โดยนายชัย ชิดชอบ และนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ เป็นตัวแทนของพรรค ซึ่งในการประชุมนอกรอบมีข้อเสนอว่าจะมีการประชุม 2 วัน คือในวันพุธและวันพฤหัสบดี ซึ่งที่ประชุมของ ภท.มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับเงื่อนเวลา ที่กำหนดให้มีการประชุมในเวลา 10.00 น. ซึ่งเรื่องนี้จะมีการหารือกันในการประชุมในวันที่ 10 สิงหาคมนี้ โดย ภท.เห็นว่าควรจะมีการประชุมในเวลา 09.00 น. เพราะการเริ่มประชุมช้าไม่เป็นประโยน์ต่อประชาชน และจะเสนอว่าหลังจากนี้เป็นต้นไปจะต้องมีการนัดวัน โดยให้เปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญเมื่อครบ 4 เดือน แล้วให้พัก 2 เดือน