ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์ชาติชี้ผลกระทบจากสหรัฐฯ ทำให้เงินทั่วโลกและค่าเงินบาทผันผวน แต่หลังจากหายตกใจบาทจะกลับมาแข็งค่าตามพื้นฐานประเทศ เหตุไทยมีเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งผลดอกเบี้ยขาขึ้น ยันดูแลบาทใกล้ชิดให้เกาะกลุ่มไปกับภูมิภาค ขณะที่คลังมั่นใจกระทบช่วงสั้น ต้นทุนเพิ่มเพียง 0.1% แถมชะลอเงินเฟ้อโลกได้ในระดับหนึ่ง
นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงกรณีที่มีการปรับลดเครดิตของสหรัฐเหลือ AA+ จากระดับ AAA ของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) ว่า รุนแรงพอสมควร ระยะสั้นค่าเงินทั่วโลกจะผันผวนมาก รวมทั้งค่าเงินบาท ตลาดการเงินทั่วโลกจะมีการปรับตัวในระยะสั้น ส่วนหนึ่งเงินจะไหลเข้ามา เนื่องจากมีการขยายสินทรัพย์ในประเทศพัฒนาแล้วออกมา ขณะเดียวกัน ก็จะมีนักลงทุนที่กลัวความเสี่ยงขายสินทรัพย์ในประเทศตลาดเกิดใหม่ออกมาเช่นกัน
“ในส่วนของราคาทองคำ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูงนั้น เชื่อว่า คงมีนักลงทุนเข้าไปลงทุนเพิ่มขึ้น แต่ราคาน้ำมัน จะได้รับผลกระทบไม่มาก เพราะในที่สุดแล้ว ราคาน้ำมันจะมาจากปัจจัยพื้นฐานคืออุปสงค์และอุปทานที่แท้จริง”
***ฟันธง! บาทแข็งดอกเบี้ยขึ้น
นางอัจนาระบุว่า ในช่วงแรกแม้ว่าจะมีความผันผวน และมีเงินไหลออกไปบ้าง แต่เมื่อฝุ่นหายตลบแล้ว เชื่อว่าทิศทางค่าเงินบาทจะปรับตัวในทิศทางที่แข็งค่าขึ้น เพราะจะมีเงินไหลกลับเข้ามาลงทุนในประเทศเหล่านี้ รวมถึงเศรษฐกิจไทยมากขึ้น เนื่องจากหลังจากที่นักลงทุนไตร่ตรองแล้ว จะพบว่า พื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศกลุ่มจี 3 สหรัฐฯ สหภาพยุโรปและญี่ปุ่น ซึ่งมีความอ่อนแอในการฟื้นตัว และไม่มีกระสุนเหลือทั้งนโยบายการเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะต่อไป
ขณะที่ประเทศเกิดใหม่ยังมีความสามารถในการขยายตัวของเศรษฐกิจสูง และมีฐานะการคลังที่ดี ทำให้มีช่องทางในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากขึ้น นอกจากนั้น ประเทศเหล่านี้ยังมีโอกาสที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่อง เพราะจะต้องดูแลแรงกดดันที่เกิดขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนค่อนข้างมีความอ่อนไหว โดยหากในช่วงต่อไป
มีปัจจัยที่ดีขึ้นในประเทศที่มีปัญหาเงินทุนก็จะวิ่งไปวิ่งมาได้
“ค่าเงินที่แข็งขึ้น ส่วนหนึ่งจะช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงลง ส่วนนี้เป็นส่วนที่ดี แต่ส่วนที่ไม่ดีคือค่าเงินบาทที่แข็งค่าอาจจะกระทบการส่งออก ดังนั้นจะต้องจับตาและช่วยกันดูแลให้เงินบาท เคลื่อนไหวไปเกาะกลุ่มกับประเทศในภูมิภาค เพราะถ้าค่าเงินแข็งด้วยกันทั้งหมด เราก็จะไม่มีปัญหาในเรื่องความสามารถในการแข่งขันในเรื่องการส่งออก เพราะค่าเงินทุกประเทศแข็งเมื่อเทียบกับดอลลาร์”
***คลังมั่นใจกระทบช่วงสั้น
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) กล่าวว่า การที่บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส หรือ เอสแอนด์พี ประกาศลดอันดับเครดิตสหรัฐจากทริปเปิลเอ (AAA) ลงมาอยู่ ดับเบิลเอพลัส (AA+) ว่าน่าจะมีผลกระทบในช่วงสั้นและผลทางจิตวิทยาต่อตลาดเงินตลาดทุนมากกว่า โดยมองว่านักลงทุนที่ถือพันธบัตรสหรัฐซึ่งมีสัดส่วนมากที่สุดในโลกจะไม่แห่ทิ้งการลงทุนดังกล่าวเพื่อไปถือพันธบัตรประเทศอื่นๆ ที่มีเครดิตดีกว่า อย่าง สวิสเซอร์แลนด์ เนื่องจากพันธบัตรของประเทศอื่นถือว่ามีปริมาณไม่มากนักและพันธบัตรของสหรัฐยังมีความน่าลงทุนกว่าพันธบัตรของกลุ่มประเทศยุโรป
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอาจจะมีบ้างหากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐออกมาชะลอตัวลงจากปัญหาวิกฤตหนี้ แต่ก็ส่งผลให้เงินเฟ้อของโลกและของหลายๆ ประเทศชะลอตัวลงตามไปด้วยรวมทั้งไทย ซึ่งสิ่งที่ต้องติดตามคือผลกระทบต่อการส่งออกของไทยไปสหรัฐที่อาจชะลอตัวลงแต่สัดส่วนส่งออกของไทยไปสหรัฐมีพียง 10.3% จึงอาจกระทบภาพรวมการส่งออกไม่มากนัก และไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อตัวเลขการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปีนี้ที่มองว่ายังรักษาการเติบโตไว้ได้ 4-5%
นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงกรณีที่มีการปรับลดเครดิตของสหรัฐเหลือ AA+ จากระดับ AAA ของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) ว่า รุนแรงพอสมควร ระยะสั้นค่าเงินทั่วโลกจะผันผวนมาก รวมทั้งค่าเงินบาท ตลาดการเงินทั่วโลกจะมีการปรับตัวในระยะสั้น ส่วนหนึ่งเงินจะไหลเข้ามา เนื่องจากมีการขยายสินทรัพย์ในประเทศพัฒนาแล้วออกมา ขณะเดียวกัน ก็จะมีนักลงทุนที่กลัวความเสี่ยงขายสินทรัพย์ในประเทศตลาดเกิดใหม่ออกมาเช่นกัน
“ในส่วนของราคาทองคำ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูงนั้น เชื่อว่า คงมีนักลงทุนเข้าไปลงทุนเพิ่มขึ้น แต่ราคาน้ำมัน จะได้รับผลกระทบไม่มาก เพราะในที่สุดแล้ว ราคาน้ำมันจะมาจากปัจจัยพื้นฐานคืออุปสงค์และอุปทานที่แท้จริง”
***ฟันธง! บาทแข็งดอกเบี้ยขึ้น
นางอัจนาระบุว่า ในช่วงแรกแม้ว่าจะมีความผันผวน และมีเงินไหลออกไปบ้าง แต่เมื่อฝุ่นหายตลบแล้ว เชื่อว่าทิศทางค่าเงินบาทจะปรับตัวในทิศทางที่แข็งค่าขึ้น เพราะจะมีเงินไหลกลับเข้ามาลงทุนในประเทศเหล่านี้ รวมถึงเศรษฐกิจไทยมากขึ้น เนื่องจากหลังจากที่นักลงทุนไตร่ตรองแล้ว จะพบว่า พื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศกลุ่มจี 3 สหรัฐฯ สหภาพยุโรปและญี่ปุ่น ซึ่งมีความอ่อนแอในการฟื้นตัว และไม่มีกระสุนเหลือทั้งนโยบายการเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะต่อไป
ขณะที่ประเทศเกิดใหม่ยังมีความสามารถในการขยายตัวของเศรษฐกิจสูง และมีฐานะการคลังที่ดี ทำให้มีช่องทางในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากขึ้น นอกจากนั้น ประเทศเหล่านี้ยังมีโอกาสที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่อง เพราะจะต้องดูแลแรงกดดันที่เกิดขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนค่อนข้างมีความอ่อนไหว โดยหากในช่วงต่อไป
มีปัจจัยที่ดีขึ้นในประเทศที่มีปัญหาเงินทุนก็จะวิ่งไปวิ่งมาได้
“ค่าเงินที่แข็งขึ้น ส่วนหนึ่งจะช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงลง ส่วนนี้เป็นส่วนที่ดี แต่ส่วนที่ไม่ดีคือค่าเงินบาทที่แข็งค่าอาจจะกระทบการส่งออก ดังนั้นจะต้องจับตาและช่วยกันดูแลให้เงินบาท เคลื่อนไหวไปเกาะกลุ่มกับประเทศในภูมิภาค เพราะถ้าค่าเงินแข็งด้วยกันทั้งหมด เราก็จะไม่มีปัญหาในเรื่องความสามารถในการแข่งขันในเรื่องการส่งออก เพราะค่าเงินทุกประเทศแข็งเมื่อเทียบกับดอลลาร์”
***คลังมั่นใจกระทบช่วงสั้น
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) กล่าวว่า การที่บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส หรือ เอสแอนด์พี ประกาศลดอันดับเครดิตสหรัฐจากทริปเปิลเอ (AAA) ลงมาอยู่ ดับเบิลเอพลัส (AA+) ว่าน่าจะมีผลกระทบในช่วงสั้นและผลทางจิตวิทยาต่อตลาดเงินตลาดทุนมากกว่า โดยมองว่านักลงทุนที่ถือพันธบัตรสหรัฐซึ่งมีสัดส่วนมากที่สุดในโลกจะไม่แห่ทิ้งการลงทุนดังกล่าวเพื่อไปถือพันธบัตรประเทศอื่นๆ ที่มีเครดิตดีกว่า อย่าง สวิสเซอร์แลนด์ เนื่องจากพันธบัตรของประเทศอื่นถือว่ามีปริมาณไม่มากนักและพันธบัตรของสหรัฐยังมีความน่าลงทุนกว่าพันธบัตรของกลุ่มประเทศยุโรป
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอาจจะมีบ้างหากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐออกมาชะลอตัวลงจากปัญหาวิกฤตหนี้ แต่ก็ส่งผลให้เงินเฟ้อของโลกและของหลายๆ ประเทศชะลอตัวลงตามไปด้วยรวมทั้งไทย ซึ่งสิ่งที่ต้องติดตามคือผลกระทบต่อการส่งออกของไทยไปสหรัฐที่อาจชะลอตัวลงแต่สัดส่วนส่งออกของไทยไปสหรัฐมีพียง 10.3% จึงอาจกระทบภาพรวมการส่งออกไม่มากนัก และไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อตัวเลขการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปีนี้ที่มองว่ายังรักษาการเติบโตไว้ได้ 4-5%