ASTVผู้จัดการรายวัน – "คลัง–รฟท." หาทางออกแก้ปัญหาแอร์พอร์ตลิ้งก์ไฟเขียวค้ำเงินกู้ปีแรก 400 ล้านบาท เสริมสภาพคล่อง ขีดเส้นจัดทำแผนบริหารงานและจัดหารายได้ที่เป็นรูปธรรมเสนอบอร์ดบริหารหนี้ชุดใหม่ แนะปรับเวลาเดินรถ City Line และ Express Line ให้มากขึ้นกระตุ้นยอดผู้โดยสารลดการขาดทุน พร้อมหาแหล่งเงินกู้ซื้อขบวนใหม่รองรับปริมาณผู้โดยสารเต็มขีดความสามารถอีก 3 พันล้านบาทภายใน 3 ปีข้างหน้า
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า ในสัปดาห์ที่ผ่านมานายภากรณ์ ตั้งเจตสกาว รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในฐานะรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ผู้บริหารโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ได้เข้ามาร่วมหารือถึงแนวทางการแก้ปัญหาสภาพคล่องของแอร์พอร์ต ลิงก์
โดยทางผู้บริหารได้นำแผนการหารายได้และปริมาณผู้โดยสารมาเสนอ ซึ่งมองว่ายังเป็นแผนที่ไม่ชัดเจนโดยเฉพาะการปรับปรุงการให้บริการเพื่อหารายได้เพิ่ม จึงขอให้ทางบริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัดไปทำแผนให้ชัดเจนขึ้นเพื่อแลกกับการค้ำประกันเงินกู้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยนำมาใช้เสริมสภาพคล่องให้แอร์พอร์ต ลิงก์ ในช่วง 1 ปีนี้จำนวน 400 ล้านบาทส่วนเงินกู้ที่เหลือในปีถัดๆ ไปค่อยมาพิจารณาในภายหลัง
ทั้งนี้ จากข้อมูลที่ทางรถไฟนำมาเสนอพบว่าปัจจุบันรถไฟฟ้าสายเอ็กซ์เพรส ไลน์ หรือรถด่วน มีจำนวนรถทั้งหมด 4 ขบวน เปิดวิ่งให้บริการ 3 ขบวนและสำรองไว้กรณีฉุกเฉิน 1 ขบวน มีจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 2 พันคน ขณะที่สาย ซิตี้ ไลน์ซึ่งเป็นรถธรรมดา มีวิ่งเพียง 4 ขบวนจากทั้งหมด 5 ขบวน มีผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 3-4 หมื่นคน ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
ดังนั้นทาง สบน.จึงเสนอแนะให้มีการปรับการเดินรถระหว่างรถไฟฟ้า 2 ขบวนให้มีความสอดคล้องกันเพราะปัจจุบันสายด่วนจะวิ่งทิ้งห่างกันถึง 40 นาทีจากเดิมที่เคยวิ่งทุก 20 นาที เพื่อต้องการลดต้นทุนการเดิมรถทำให้ยิ่งมีปริมาณผู้โดยสารลดลงจนบางเที่ยวแทบจะวิ่งรถเปล่า โดยอยากให้ปรับเวลาห่างกันเหลือ 15 นาทีเพื่อให้มีระยะห่างกับสายธรรมดาที่วิ่งทุก 30 นาทีไม่มากนัก เพื่อดึงให้ผู้โดยสารกลับมาใช้บริการให้มากขึ้น
“แผนหารายได้ที่รถไฟเสนอมานั้นยังไม่มีความชัดเจน เช่น การหารายได้จากค่าเช่าพื้นที่ โดยเฉพาะสถานีมักกะสันที่ลงทุนไป 4 พันล้านบาท แต่ผลตอบแทนเชิงพาณิชย์ทีได้กลับคืนมาน้อยมาก แม้แต่สายการบินต่างๆ ก็ถอนตัวออกไปหมดเพราะมีผู้มาใช้บริการเช็คอินแค่วันละ 20 คนเท่านั้น จึงขอให้ไปปรับปรุงพื้นทีในส่วนนี้ใหม่ ส่วนการปรับปรุงการเชื่อมโยงระบบการเดินรถของสายธรรมดากับสายด่วนนั้นอาจต้องลงทุนด้านซอฟแวร์เพิ่มทาง สบน.พร้อมจะหาเงินทุนใหม่อยู่แล้วแต่ทางรถไฟชี้แจงว่าเป็นเรื่องของนโยบายที่ให้มีสายด่วนกับสายธรรมดาแยกกันวิ่งจึงต้องขอนำไปหารือกับรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงก่อน” นายจักรกฤศฏิ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม สบน.พร้อมจะทำตามมติของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ระบุให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ให้การรถไฟฯ เพื่อปล่อยกู้ต่อเสริมสภาพคล่องให้แอร์พอร์ตลิงค์ในช่วงดำเนินงานระยะแรกที่จะประสบปัญหาขาดทุน แต่ทางแอร์พอร์ตลิงค์ก็ต้องมีแผนหารายได้และลดการขาดทุนที่ชัดเจนด้วย ซึ่งยังไม่รวมแผนการลงทุนและจัดซื้อขบวนรถไฟเพิ่ม ซึ่งส่วนนั้นต้องใช้เงินอีก 2-3 พันล้านบาท หากมีความจำเป็นและมีแผนงานที่ชัดเจนทางสบน.ก็พร้อมจะจัดหาเงินกู้เพิ่มเติมให้
“แผนการต่างๆ ที่เราให้บริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. ทบทวนมาใหม่ทั้งในเรื่องของแผนการจัดการองค์การ แผนการหารายได้รวมทั้งการลงทุนเพิ่มเติมในอนาคตเพื่อเชื่อมต่อกับท่าอากาศยานดอนเมืองทั้งหมดนั้นให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นเพื่อเสนอเข้าที่ประชุมใหญ่ของคณะกรรมการบริหารหนี้สาธารณะที่จะมีขึ้นหลังจากที่มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ เพื่อให้การดำเนินงานของบริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.มีประสิทธิภาพมากที่สุด” นายจักรกฤศฏิ์ กล่าว
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า ในสัปดาห์ที่ผ่านมานายภากรณ์ ตั้งเจตสกาว รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในฐานะรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ผู้บริหารโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ได้เข้ามาร่วมหารือถึงแนวทางการแก้ปัญหาสภาพคล่องของแอร์พอร์ต ลิงก์
โดยทางผู้บริหารได้นำแผนการหารายได้และปริมาณผู้โดยสารมาเสนอ ซึ่งมองว่ายังเป็นแผนที่ไม่ชัดเจนโดยเฉพาะการปรับปรุงการให้บริการเพื่อหารายได้เพิ่ม จึงขอให้ทางบริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัดไปทำแผนให้ชัดเจนขึ้นเพื่อแลกกับการค้ำประกันเงินกู้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยนำมาใช้เสริมสภาพคล่องให้แอร์พอร์ต ลิงก์ ในช่วง 1 ปีนี้จำนวน 400 ล้านบาทส่วนเงินกู้ที่เหลือในปีถัดๆ ไปค่อยมาพิจารณาในภายหลัง
ทั้งนี้ จากข้อมูลที่ทางรถไฟนำมาเสนอพบว่าปัจจุบันรถไฟฟ้าสายเอ็กซ์เพรส ไลน์ หรือรถด่วน มีจำนวนรถทั้งหมด 4 ขบวน เปิดวิ่งให้บริการ 3 ขบวนและสำรองไว้กรณีฉุกเฉิน 1 ขบวน มีจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 2 พันคน ขณะที่สาย ซิตี้ ไลน์ซึ่งเป็นรถธรรมดา มีวิ่งเพียง 4 ขบวนจากทั้งหมด 5 ขบวน มีผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 3-4 หมื่นคน ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
ดังนั้นทาง สบน.จึงเสนอแนะให้มีการปรับการเดินรถระหว่างรถไฟฟ้า 2 ขบวนให้มีความสอดคล้องกันเพราะปัจจุบันสายด่วนจะวิ่งทิ้งห่างกันถึง 40 นาทีจากเดิมที่เคยวิ่งทุก 20 นาที เพื่อต้องการลดต้นทุนการเดิมรถทำให้ยิ่งมีปริมาณผู้โดยสารลดลงจนบางเที่ยวแทบจะวิ่งรถเปล่า โดยอยากให้ปรับเวลาห่างกันเหลือ 15 นาทีเพื่อให้มีระยะห่างกับสายธรรมดาที่วิ่งทุก 30 นาทีไม่มากนัก เพื่อดึงให้ผู้โดยสารกลับมาใช้บริการให้มากขึ้น
“แผนหารายได้ที่รถไฟเสนอมานั้นยังไม่มีความชัดเจน เช่น การหารายได้จากค่าเช่าพื้นที่ โดยเฉพาะสถานีมักกะสันที่ลงทุนไป 4 พันล้านบาท แต่ผลตอบแทนเชิงพาณิชย์ทีได้กลับคืนมาน้อยมาก แม้แต่สายการบินต่างๆ ก็ถอนตัวออกไปหมดเพราะมีผู้มาใช้บริการเช็คอินแค่วันละ 20 คนเท่านั้น จึงขอให้ไปปรับปรุงพื้นทีในส่วนนี้ใหม่ ส่วนการปรับปรุงการเชื่อมโยงระบบการเดินรถของสายธรรมดากับสายด่วนนั้นอาจต้องลงทุนด้านซอฟแวร์เพิ่มทาง สบน.พร้อมจะหาเงินทุนใหม่อยู่แล้วแต่ทางรถไฟชี้แจงว่าเป็นเรื่องของนโยบายที่ให้มีสายด่วนกับสายธรรมดาแยกกันวิ่งจึงต้องขอนำไปหารือกับรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงก่อน” นายจักรกฤศฏิ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม สบน.พร้อมจะทำตามมติของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ระบุให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ให้การรถไฟฯ เพื่อปล่อยกู้ต่อเสริมสภาพคล่องให้แอร์พอร์ตลิงค์ในช่วงดำเนินงานระยะแรกที่จะประสบปัญหาขาดทุน แต่ทางแอร์พอร์ตลิงค์ก็ต้องมีแผนหารายได้และลดการขาดทุนที่ชัดเจนด้วย ซึ่งยังไม่รวมแผนการลงทุนและจัดซื้อขบวนรถไฟเพิ่ม ซึ่งส่วนนั้นต้องใช้เงินอีก 2-3 พันล้านบาท หากมีความจำเป็นและมีแผนงานที่ชัดเจนทางสบน.ก็พร้อมจะจัดหาเงินกู้เพิ่มเติมให้
“แผนการต่างๆ ที่เราให้บริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. ทบทวนมาใหม่ทั้งในเรื่องของแผนการจัดการองค์การ แผนการหารายได้รวมทั้งการลงทุนเพิ่มเติมในอนาคตเพื่อเชื่อมต่อกับท่าอากาศยานดอนเมืองทั้งหมดนั้นให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นเพื่อเสนอเข้าที่ประชุมใหญ่ของคณะกรรมการบริหารหนี้สาธารณะที่จะมีขึ้นหลังจากที่มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ เพื่อให้การดำเนินงานของบริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.มีประสิทธิภาพมากที่สุด” นายจักรกฤศฏิ์ กล่าว