สังคมนิยมธรรมต่างสำแดงความสิ้นหวัง เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ต้องรักษารัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการเลือกตั้งทางการเมือง และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งและพรรคการเมือง กล้ารับรองนายจตุพร พรหมพันธุ์ ผู้ต้องหาหลายคดีที่เป็นภัยต่อสังคมโดยเฉพาะได้แก่การปลุกระดมกระทำการประท้วงรัฐบาลอย่างผิดกฎหมาย และทำร้ายความรู้สึกของสังคมคนราชประสงค์ และให้สัญญาณพลพรรคเสื้อแดงเผาบ้านเผาเมืองในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553
สร้างความเสียหายให้กับรัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนมูลค่าหลายพันล้านบาท ซึ่งเข้าข่ายการกระทำอันเป็นการก่อการร้าย รวมทั้งปลุกระดมสร้างอารมณ์ความแค้นให้กับหน่วยติดอาวุธชาวเสื้อแดง ทำร้ายประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย และปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยของพลเมืองผู้บริสุทธิ์ที่ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ต่อต้านประท้วงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จนถูกตั้งข้อหาก่อการร้าย แต่ร้ายแรงที่สุดได้กระทำการกล่าวหาอย่างไม่เป็นธรรมต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เมื่อนายจตุพร พรหมพันธุ์ขึ้นปราศรัยในวันที่ 10 เมษายน 2554 ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ซึ่งมีคำกล่าวหารุนแรงหมิ่นองค์พระมหากษัตริย์ และให้ร้ายต่อทหารของชาติด้วยคำกล่าวที่ว่า
“คุณเอาหน่วยไหนมาฆ่าพวกผมยังไม่เจ็บปวด ยกเว้นสองหน่วย อย่ามาฆ่าผมได้ไหม คือ หนึ่งทหารรักษาพระองค์ และสอง ทหารเสือพระราชินี เพราะพวกเรามีความเจ็บปวด ว่าเป็นกระสุนพระราชทานใช่ไหม ประชาชนมันเจ็บใจ คนเสื้อแดงไม่เคยทำอะไร เป็นไพร่ที่ดีแล้วมาฆ่าทำไม มีประเทศไหนบ้างในโลกนี้ฆ่าลูกเพื่อปกป้องพ่อ ฆ่าลูกเพื่อแม่ มีไอ้ประเทศบ้านี้ประเทศเดียว เราไม่เคยล้มสถาบันเลย แต่เอาทหารเสือราชินี ทหารรักษาพระองค์มาฆ่าเรา”
นี่ยังไงล่ะที่ได้เขียนไว้ในฉบับที่แล้วว่ามีคนต้องการให้เป็นสามัญวิพากษ์ และนายจตุพร คนหนึ่งที่บังอาจกล่าวร้ายกระทบกระเทียบว่า สถาบันพระมหากษัตริย์พระราชทานกระสุนมาสังหารประชาชน ถ้าเป็นคนไร้ปัญญาก็อาจจะคล้อยตามคำพูดนี้ได้อย่างง่ายๆ แต่ยังไม่เคยมีในบันทึกใดๆ เลยที่ทหารได้รับพระราชทานกระสุนปืนจากสถาบันพระมหากษัตริย์ ทหารได้รับอาวุธปืนและกระสุนประจำกายตามอัตราที่กรมกองและหน่วยทหารกำหนดไว้ เป็นกฎระเบียบว่าแต่ละคนจะได้รับอนุมัติอะไร และกระสุนจำนวนเท่าไรเมื่อออกปฏิบัติหน้าที่ นายจตุพร ต้องการสร้างเรื่องโกหกให้เป็นจริง
ดังนั้น การใช้คำว่าพระราชทานเป็นการให้ร้ายสถาบันอย่างจงใจ และคาดหวังให้คนโดยเฉพาะพวกเสื้อแดงที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์และไร้สัจธรรม จะเข้าใจว่าเป็นจริงตามที่นายจตุพร กล่าวอ้าง
นอกจากนี้นายจตุพร ยังมุ่งเน้นที่จะสร้างข้อบิดเบือน ยุยงให้ประชาชนคนเสื้อแดงเกลียดชังทหารสองหน่วย คือ ทหารรักษาพระองค์ และทหารเสือราชินี ซึ่งหมายถึงกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ข้อเท็จจริงทหารบกทุกหน่วยในสังกัดกองพลที่ 1 รักษาพระองค์และกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ รวมทั้งนักเรียนทหารทั้งสามเหล่าเป็นทหารรักษาพระองค์ทั้งสิ้น จึงทำให้ทหารรักษาพระองค์ทั้งหมดได้รับข้อกล่าวหานี้ว่าเป็นคนฆ่าประชาชน ซึ่งเป็นการบ่อนทำลายกองทัพและความมั่นคงของชาติอย่างแท้จริง
ด้วยเหตุนี้ทำให้กองทัพบกเสียหายอย่างร้ายแรง และในฐานะผู้บัญชาการทหารบก มีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญในการปกป้องราชวงศ์ และดำรงไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์เจ้า จึงให้นายทหารพระธรรมนูญฟ้องนายจตุพร ข้อหาหมิ่นประมาทต่อองค์พระมหากษัตริย์ และกรมสอบสวนคดีพิเศษ จึงออกหมายเรียกนายจตุพร และถูกจับเข้าคุกและดำเนินคดี แต่คดียังไม่ถึงที่สุด
การถูกขังคุกในคดีหมิ่นประมาทองค์พระมหากษัตริย์นั้น ทำให้นายจตุพร พ้นสมาชิกภาพพรรคเพื่อไทยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (3) และมาตรา 100 (3) ตลอดจนขาดการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่สังกัดอยู่ ตามมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญพรรคการเมือง
นายจตุพร เข้าร่วมขบวนการเมือง เป็นสมาชิกพรรคพลังธรรมของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง โดยการแนะนำของนายไชยวัฒน์ สินธุวงศ์ ที่ชอบแนวรุกเร้าทางการเมืองของนายจตุพร ซึ่งขณะนั้นพรรคพลังธรรมต้องการเปลี่ยนแนวคิดทางการเมืองของคนกรุงเทพมหานคร และต้องการสร้างฐานเสียงใหม่ โดยเฉพาะมวลชนระดับล่าง ที่มักชอบความร้อนแรงในการเร้าอารมณ์ ซึ่งสร้างได้ทั้งความรักและความเกลียดชังและยินดีที่จะใช้ความรุนแรงตอบโต้ เพราะไม่มีอะไรจะสูญเสีย
ประกอบกับที่มีอุปนิสัยเช่นนี้ จึงได้รับการผลักดันและสนับสนุนให้เป็นพลพรรคของนายภูมิธรรม เวชยชัย หรือสหายใหญ่แห่งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย แห่งสำนัก A30 ซึ่งสนิทกับนายธง แจ่มศรี เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยคนสุดท้าย
ขณะที่ทักษิณเข้าเล่นการเมืองในพรรคพลังธรรมโดยการนำเข้าของพล.ต.จำลอง ศรีเมือง มองเห็นมวลชนเป็นเกราะและเป็นฐานเสียงสร้างอำนาจการเมืองได้อย่างวิเศษ จึงอุปถัมภ์นักเคลื่อนไหว และอดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ที่เคยเป็นนักศึกษา และเข้าป่ากรณี 6 ตุลาคม 2519 หลายสิบคนเข้าร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทย
สหายใหญ่ ซึ่งมีความชำนาญเรื่องมวลชน จึงรวบรวมพลพรรคนักปลุกระดมให้สวามิภักดิ์ต่อทักษิณ นายทุนไร้อุดมการณ์ทางการเมือง แต่ต้องการอำนาจและชื่อเสียง ซึ่งเห็นได้จากการก่อตั้งพรรคไทยรักไทยนั้น มีคนอยู่สองกลุ่ม คือ ฐานอำนาจทางธุรกิจเอาไว้สร้างอำนาจเงิน และฐานเสียงมวลชนเอาไว้สร้างอำนาจการเมือง ซึ่งนายจตุพร เข้ามาเป็นส่วนนี้ของทักษิณตั้งแต่นั้นมา
เมื่อ กกต.แถลงรับรองความเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายจตุพร เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2554 ด้วยคะแนน 4 ต่อ 1 โดยนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต.เป็นเสียงข้างน้อย ทำให้สังคมเห็นว่า กกต.อีก 4 คน ขาดหลักตุลาการภิวัตน์ ในฐานะผู้รักษาความยุติธรรมทางการเลือกตั้ง เป็น กกต.เสียงข้างมากที่ขาดความชอบธรรม ขาดหลักนิติธรรมภายใต้ระบบประชาธิปไตย ขาดหลักปกครองด้านความยุติธรรมและขาดเหตุผลที่สมควรเพียงแต่พรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้งทั้งๆ ที่ประชาชนก็ไม่ได้เลือกนายจตุพรโดยตรง
หลักตุลาการภิวัตน์ 4 ประการ ประกอบด้วย 1. อำนาจตัดสินว่าเข้าหลักรัฐธรรมนูญหรือไม่ 2. อำนาจกำกับฝ่ายบริหาร 3. อำนาจวางนโยบาย และ 4. อำนาจตีความก้าวหน้า
ด้วยความหมายทั้งหมดนี้ ล้วนมุ่งที่จะสร้างเจตนารมณ์ของกฎหมายให้เกิดสันติธรรมและความถูกต้องชอบธรรมในสังคมโดยกว้าง เพราะอนาคตที่จะเป็นวิกฤตสังคมนั้นอยู่กับอำนาจทางกฎหมาย
แน่นอนคนที่ต่อต้านมติของ กกต.มีไม่น้อย เช่น กลุ่ม VOTE NO กลุ่มหมอตุลย์ และกลุ่มพรรคการเมืองฝ่ายค้าน รวมทั้งทหารที่ไม่ได้ความเป็นธรรมจากคำพูดนายจตุพรซึ่งทุกกลุ่มให้ความสนใจต่อการดำเนินคดีหลายคดีของนายจตุพรอย่างใกล้ชิดจนกว่าสังคมจะได้รับความเป็นธรรม
จึงมีคำถามว่าอุดมการณ์ที่แท้จริงของนายจตุพร ทหารเอกทัพมวลชนของทักษิณคืออะไรกันแน่ สังคมนิยม เสรีนิยมประชาธิปไตย คอมมิวนิสต์หรืออนาธิปไตยล้มเจ้า หรือเป็นเพียงสาวกนายทุนสามานย์ที่เลี้ยงปากเลี้ยงท้องและซื้ออำนาจไปวันๆ ไม่มีใครรู้นอกจากตัวเขาเอง
สร้างความเสียหายให้กับรัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนมูลค่าหลายพันล้านบาท ซึ่งเข้าข่ายการกระทำอันเป็นการก่อการร้าย รวมทั้งปลุกระดมสร้างอารมณ์ความแค้นให้กับหน่วยติดอาวุธชาวเสื้อแดง ทำร้ายประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย และปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยของพลเมืองผู้บริสุทธิ์ที่ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ต่อต้านประท้วงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จนถูกตั้งข้อหาก่อการร้าย แต่ร้ายแรงที่สุดได้กระทำการกล่าวหาอย่างไม่เป็นธรรมต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เมื่อนายจตุพร พรหมพันธุ์ขึ้นปราศรัยในวันที่ 10 เมษายน 2554 ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ซึ่งมีคำกล่าวหารุนแรงหมิ่นองค์พระมหากษัตริย์ และให้ร้ายต่อทหารของชาติด้วยคำกล่าวที่ว่า
“คุณเอาหน่วยไหนมาฆ่าพวกผมยังไม่เจ็บปวด ยกเว้นสองหน่วย อย่ามาฆ่าผมได้ไหม คือ หนึ่งทหารรักษาพระองค์ และสอง ทหารเสือพระราชินี เพราะพวกเรามีความเจ็บปวด ว่าเป็นกระสุนพระราชทานใช่ไหม ประชาชนมันเจ็บใจ คนเสื้อแดงไม่เคยทำอะไร เป็นไพร่ที่ดีแล้วมาฆ่าทำไม มีประเทศไหนบ้างในโลกนี้ฆ่าลูกเพื่อปกป้องพ่อ ฆ่าลูกเพื่อแม่ มีไอ้ประเทศบ้านี้ประเทศเดียว เราไม่เคยล้มสถาบันเลย แต่เอาทหารเสือราชินี ทหารรักษาพระองค์มาฆ่าเรา”
นี่ยังไงล่ะที่ได้เขียนไว้ในฉบับที่แล้วว่ามีคนต้องการให้เป็นสามัญวิพากษ์ และนายจตุพร คนหนึ่งที่บังอาจกล่าวร้ายกระทบกระเทียบว่า สถาบันพระมหากษัตริย์พระราชทานกระสุนมาสังหารประชาชน ถ้าเป็นคนไร้ปัญญาก็อาจจะคล้อยตามคำพูดนี้ได้อย่างง่ายๆ แต่ยังไม่เคยมีในบันทึกใดๆ เลยที่ทหารได้รับพระราชทานกระสุนปืนจากสถาบันพระมหากษัตริย์ ทหารได้รับอาวุธปืนและกระสุนประจำกายตามอัตราที่กรมกองและหน่วยทหารกำหนดไว้ เป็นกฎระเบียบว่าแต่ละคนจะได้รับอนุมัติอะไร และกระสุนจำนวนเท่าไรเมื่อออกปฏิบัติหน้าที่ นายจตุพร ต้องการสร้างเรื่องโกหกให้เป็นจริง
ดังนั้น การใช้คำว่าพระราชทานเป็นการให้ร้ายสถาบันอย่างจงใจ และคาดหวังให้คนโดยเฉพาะพวกเสื้อแดงที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์และไร้สัจธรรม จะเข้าใจว่าเป็นจริงตามที่นายจตุพร กล่าวอ้าง
นอกจากนี้นายจตุพร ยังมุ่งเน้นที่จะสร้างข้อบิดเบือน ยุยงให้ประชาชนคนเสื้อแดงเกลียดชังทหารสองหน่วย คือ ทหารรักษาพระองค์ และทหารเสือราชินี ซึ่งหมายถึงกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ข้อเท็จจริงทหารบกทุกหน่วยในสังกัดกองพลที่ 1 รักษาพระองค์และกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ รวมทั้งนักเรียนทหารทั้งสามเหล่าเป็นทหารรักษาพระองค์ทั้งสิ้น จึงทำให้ทหารรักษาพระองค์ทั้งหมดได้รับข้อกล่าวหานี้ว่าเป็นคนฆ่าประชาชน ซึ่งเป็นการบ่อนทำลายกองทัพและความมั่นคงของชาติอย่างแท้จริง
ด้วยเหตุนี้ทำให้กองทัพบกเสียหายอย่างร้ายแรง และในฐานะผู้บัญชาการทหารบก มีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญในการปกป้องราชวงศ์ และดำรงไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์เจ้า จึงให้นายทหารพระธรรมนูญฟ้องนายจตุพร ข้อหาหมิ่นประมาทต่อองค์พระมหากษัตริย์ และกรมสอบสวนคดีพิเศษ จึงออกหมายเรียกนายจตุพร และถูกจับเข้าคุกและดำเนินคดี แต่คดียังไม่ถึงที่สุด
การถูกขังคุกในคดีหมิ่นประมาทองค์พระมหากษัตริย์นั้น ทำให้นายจตุพร พ้นสมาชิกภาพพรรคเพื่อไทยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (3) และมาตรา 100 (3) ตลอดจนขาดการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่สังกัดอยู่ ตามมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญพรรคการเมือง
นายจตุพร เข้าร่วมขบวนการเมือง เป็นสมาชิกพรรคพลังธรรมของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง โดยการแนะนำของนายไชยวัฒน์ สินธุวงศ์ ที่ชอบแนวรุกเร้าทางการเมืองของนายจตุพร ซึ่งขณะนั้นพรรคพลังธรรมต้องการเปลี่ยนแนวคิดทางการเมืองของคนกรุงเทพมหานคร และต้องการสร้างฐานเสียงใหม่ โดยเฉพาะมวลชนระดับล่าง ที่มักชอบความร้อนแรงในการเร้าอารมณ์ ซึ่งสร้างได้ทั้งความรักและความเกลียดชังและยินดีที่จะใช้ความรุนแรงตอบโต้ เพราะไม่มีอะไรจะสูญเสีย
ประกอบกับที่มีอุปนิสัยเช่นนี้ จึงได้รับการผลักดันและสนับสนุนให้เป็นพลพรรคของนายภูมิธรรม เวชยชัย หรือสหายใหญ่แห่งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย แห่งสำนัก A30 ซึ่งสนิทกับนายธง แจ่มศรี เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยคนสุดท้าย
ขณะที่ทักษิณเข้าเล่นการเมืองในพรรคพลังธรรมโดยการนำเข้าของพล.ต.จำลอง ศรีเมือง มองเห็นมวลชนเป็นเกราะและเป็นฐานเสียงสร้างอำนาจการเมืองได้อย่างวิเศษ จึงอุปถัมภ์นักเคลื่อนไหว และอดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ที่เคยเป็นนักศึกษา และเข้าป่ากรณี 6 ตุลาคม 2519 หลายสิบคนเข้าร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทย
สหายใหญ่ ซึ่งมีความชำนาญเรื่องมวลชน จึงรวบรวมพลพรรคนักปลุกระดมให้สวามิภักดิ์ต่อทักษิณ นายทุนไร้อุดมการณ์ทางการเมือง แต่ต้องการอำนาจและชื่อเสียง ซึ่งเห็นได้จากการก่อตั้งพรรคไทยรักไทยนั้น มีคนอยู่สองกลุ่ม คือ ฐานอำนาจทางธุรกิจเอาไว้สร้างอำนาจเงิน และฐานเสียงมวลชนเอาไว้สร้างอำนาจการเมือง ซึ่งนายจตุพร เข้ามาเป็นส่วนนี้ของทักษิณตั้งแต่นั้นมา
เมื่อ กกต.แถลงรับรองความเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายจตุพร เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2554 ด้วยคะแนน 4 ต่อ 1 โดยนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต.เป็นเสียงข้างน้อย ทำให้สังคมเห็นว่า กกต.อีก 4 คน ขาดหลักตุลาการภิวัตน์ ในฐานะผู้รักษาความยุติธรรมทางการเลือกตั้ง เป็น กกต.เสียงข้างมากที่ขาดความชอบธรรม ขาดหลักนิติธรรมภายใต้ระบบประชาธิปไตย ขาดหลักปกครองด้านความยุติธรรมและขาดเหตุผลที่สมควรเพียงแต่พรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้งทั้งๆ ที่ประชาชนก็ไม่ได้เลือกนายจตุพรโดยตรง
หลักตุลาการภิวัตน์ 4 ประการ ประกอบด้วย 1. อำนาจตัดสินว่าเข้าหลักรัฐธรรมนูญหรือไม่ 2. อำนาจกำกับฝ่ายบริหาร 3. อำนาจวางนโยบาย และ 4. อำนาจตีความก้าวหน้า
ด้วยความหมายทั้งหมดนี้ ล้วนมุ่งที่จะสร้างเจตนารมณ์ของกฎหมายให้เกิดสันติธรรมและความถูกต้องชอบธรรมในสังคมโดยกว้าง เพราะอนาคตที่จะเป็นวิกฤตสังคมนั้นอยู่กับอำนาจทางกฎหมาย
แน่นอนคนที่ต่อต้านมติของ กกต.มีไม่น้อย เช่น กลุ่ม VOTE NO กลุ่มหมอตุลย์ และกลุ่มพรรคการเมืองฝ่ายค้าน รวมทั้งทหารที่ไม่ได้ความเป็นธรรมจากคำพูดนายจตุพรซึ่งทุกกลุ่มให้ความสนใจต่อการดำเนินคดีหลายคดีของนายจตุพรอย่างใกล้ชิดจนกว่าสังคมจะได้รับความเป็นธรรม
จึงมีคำถามว่าอุดมการณ์ที่แท้จริงของนายจตุพร ทหารเอกทัพมวลชนของทักษิณคืออะไรกันแน่ สังคมนิยม เสรีนิยมประชาธิปไตย คอมมิวนิสต์หรืออนาธิปไตยล้มเจ้า หรือเป็นเพียงสาวกนายทุนสามานย์ที่เลี้ยงปากเลี้ยงท้องและซื้ออำนาจไปวันๆ ไม่มีใครรู้นอกจากตัวเขาเอง