ASTVผู้จัดการรายวัน-ไทยเฮ! ผลทบทวนอัตราเอดีกุ้งสหรัฐฯ รอบ 5 ภาษีลดลงเหลือเฉลี่ย 0.41-0.73% ต่ำกว่าคู่แข่งอินเดีย รอลุ้นจีนกับเวียดนาม หากอัตราสูงกว่าไทยได้เฮซ้ำ คาดยอดส่งออกกุ้งไปสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นแน่
นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ ได้ออกประกาศผลขั้นสุดท้ายของการทบทวนอัตราอากรตอบโต้การทุ่มตลาด (เอดี) ประจำปีครั้งที่ 5 สินค้ากุ้งแช่แข็งจากไทยสำหรับช่วงการนำเข้าระหว่างวันที่ 1 ก.พ.2552-31 ม.ค.2553 โดยได้เลือกบริษัทไทย 2 ราย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกไปสหรัฐฯ มากที่สุดในช่วงดังกล่าวเป็นตัวแทนในการตอบแบบสอบถามเพื่อทบทวนอัตราเอดี ทำให้ผลการทบทวนขั้นสุดท้ายพบอยู่ที่ร้อยละ 0.41-0.73 ลดลงจากเดิมที่มีอัตราร้อยละ 1.11-4.39
"อัตราดังกล่าวส่งผลดีต่อการส่งออกกุ้งของไทยไปสหรัฐฯ ในอนาคตแน่นอน เพราะการที่สหรัฐฯ ปรับลดอัตราเอดีกุ้งไทยลงเหลือไม่ถึงร้อยละ 1 ประกอบกับอัตราเอดีของไทยดังกล่าวเมื่อเทียบกับคู่แข่งที่ถูกสหรัฐฯ เรียกเก็บอากรเอดีเช่นเดียวกัน ไทยมีอัตราเอดีที่ต่ำกว่า โดยผลการทบทวนของอินเดียอยู่ที่ร้อยละ 1.36-2.31”นายสุรศักดิ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ไทยยังต้องรอลุ้นว่าผลอัตราเอดีของประเทศที่เหลือ เช่น จีน และเวียดนาม จะออกมาเป็นอย่างไร เพราะขณะนี้สหรัฐฯ ยังไม่ได้ประกาศผลการทบทวน หากอัตราอากรเอดีในภาพรวมยังสูงกว่าไทย ก็จะทำให้การส่งออกกุ้งไทยมีโอกาสและได้เปรียบในตลาดสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
นายสุรศักดิ์กล่าวว่า ผลอัตราเอดีกุ้งที่ออกมาในครั้งนี้ เป็นอัตราที่ต่ำกว่าการทบทวนในครั้งที่ผ่านๆ มา ซึ่งเป็นความสำเร็จของผู้ส่งออกไทย ที่สามารถและชี้แจงให้สหรัฐฯ เห็นว่า ปัจจุบันนี้ไทยไม่มีการทุ่มตลาดสินค้ากุ้งในสหรัฐฯ แล้ว และไทยหวังว่า ในการพิจารณาทบทวนครั้งต่อไป สหรัฐฯ จะยกเลิกการใช้มาตรการเอดีกับสินค้ากุ้งไทยในที่สุด
ทั้งนี้ การที่สินค้ากุ้งไทยสามารถส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้น และขยายตัวดีขึ้นนั้น เป็นผลมาจากการที่สินค้าไทยมีคุณภาพ และมีความหลากหลาย เหนือกว่าคู่แข่ง และผู้บริโภคในสหรัฐฯ เองต่างให้การยอมรับและต้องการสินค้ากุ้งไทยเพิ่มขึ้น และยังเป็นผลมาจากการที่กระทรวงพาณิชย์ได้มีการส่งเสริมและผลักดันการส่งออกสินค้ากุ้งไทยเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง จนทำให้ภาพพจน์สินค้ากุ้งไทยดีขึ้น ได้รับการยอมรับมากขึ้น
สำหรับการส่งออกสินค้ากุ้งแช่แข็งและแปรรูปของไทยในช่วง 6 เดือนของปี 2554 (ม.ค.-มิ.ย.) มีมูลค่า 1,447 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 15.1% โดยตลาดส่งออกสำคัญอยู่ที่สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (อียู) ซึ่งผลจากการที่อัตราอากรเอดีลดลง ก็จะยิ่งทำให้สินค้ากุ้งไทยเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้น และจะทำให้ปริมาณการส่งออกเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ ได้ออกประกาศผลขั้นสุดท้ายของการทบทวนอัตราอากรตอบโต้การทุ่มตลาด (เอดี) ประจำปีครั้งที่ 5 สินค้ากุ้งแช่แข็งจากไทยสำหรับช่วงการนำเข้าระหว่างวันที่ 1 ก.พ.2552-31 ม.ค.2553 โดยได้เลือกบริษัทไทย 2 ราย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกไปสหรัฐฯ มากที่สุดในช่วงดังกล่าวเป็นตัวแทนในการตอบแบบสอบถามเพื่อทบทวนอัตราเอดี ทำให้ผลการทบทวนขั้นสุดท้ายพบอยู่ที่ร้อยละ 0.41-0.73 ลดลงจากเดิมที่มีอัตราร้อยละ 1.11-4.39
"อัตราดังกล่าวส่งผลดีต่อการส่งออกกุ้งของไทยไปสหรัฐฯ ในอนาคตแน่นอน เพราะการที่สหรัฐฯ ปรับลดอัตราเอดีกุ้งไทยลงเหลือไม่ถึงร้อยละ 1 ประกอบกับอัตราเอดีของไทยดังกล่าวเมื่อเทียบกับคู่แข่งที่ถูกสหรัฐฯ เรียกเก็บอากรเอดีเช่นเดียวกัน ไทยมีอัตราเอดีที่ต่ำกว่า โดยผลการทบทวนของอินเดียอยู่ที่ร้อยละ 1.36-2.31”นายสุรศักดิ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ไทยยังต้องรอลุ้นว่าผลอัตราเอดีของประเทศที่เหลือ เช่น จีน และเวียดนาม จะออกมาเป็นอย่างไร เพราะขณะนี้สหรัฐฯ ยังไม่ได้ประกาศผลการทบทวน หากอัตราอากรเอดีในภาพรวมยังสูงกว่าไทย ก็จะทำให้การส่งออกกุ้งไทยมีโอกาสและได้เปรียบในตลาดสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
นายสุรศักดิ์กล่าวว่า ผลอัตราเอดีกุ้งที่ออกมาในครั้งนี้ เป็นอัตราที่ต่ำกว่าการทบทวนในครั้งที่ผ่านๆ มา ซึ่งเป็นความสำเร็จของผู้ส่งออกไทย ที่สามารถและชี้แจงให้สหรัฐฯ เห็นว่า ปัจจุบันนี้ไทยไม่มีการทุ่มตลาดสินค้ากุ้งในสหรัฐฯ แล้ว และไทยหวังว่า ในการพิจารณาทบทวนครั้งต่อไป สหรัฐฯ จะยกเลิกการใช้มาตรการเอดีกับสินค้ากุ้งไทยในที่สุด
ทั้งนี้ การที่สินค้ากุ้งไทยสามารถส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้น และขยายตัวดีขึ้นนั้น เป็นผลมาจากการที่สินค้าไทยมีคุณภาพ และมีความหลากหลาย เหนือกว่าคู่แข่ง และผู้บริโภคในสหรัฐฯ เองต่างให้การยอมรับและต้องการสินค้ากุ้งไทยเพิ่มขึ้น และยังเป็นผลมาจากการที่กระทรวงพาณิชย์ได้มีการส่งเสริมและผลักดันการส่งออกสินค้ากุ้งไทยเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง จนทำให้ภาพพจน์สินค้ากุ้งไทยดีขึ้น ได้รับการยอมรับมากขึ้น
สำหรับการส่งออกสินค้ากุ้งแช่แข็งและแปรรูปของไทยในช่วง 6 เดือนของปี 2554 (ม.ค.-มิ.ย.) มีมูลค่า 1,447 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 15.1% โดยตลาดส่งออกสำคัญอยู่ที่สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (อียู) ซึ่งผลจากการที่อัตราอากรเอดีลดลง ก็จะยิ่งทำให้สินค้ากุ้งไทยเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้น และจะทำให้ปริมาณการส่งออกเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย