ASTVผู้จัดการรายวัน - “สมเด็จพระบรมฯ” พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ยุติข้อพิพาทโบอิ้ง 737 ครม.ยึดตามพระราชบัณฑูรสมเด็จพระบรมฯ เร่งยุติคดีโดยเร็ว พร้อมมีมาตรการพิทักษ์สมบัติประชาชนไทยที่ไม่เกี่ยวข้องคดี “มาร์ค-จุลสิงห์” เข้าถวายรายงานแผนต่อสู้คดีอายัดเครื่องบินส่วนพระองค์ ถก ครม.ลับ เปิดหลักฐานใหม่ชนวอเตอร์ บาว เอกสารแนบท้ายสัญญาระหว่างดอนเมือง โทลล์เวย์-วอลเตอร์ บาว ชี้ชัดผู้ร่วมทุนไม่มีสิทธิเสนอหน้าฟ้อง
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี แถลงข่าวหลังการประชุมครม. ถึงกรณี เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2554 สำนักงานราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ออกแถลงการณ์ เรื่อง การอายัดเครื่องบินพระที่นั่งส่วนพระองค์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จากกรณีพิพาทระหว่างรัฐบาลไทย กับบริษัท วอลเตอร์ บาว ว่า นายกรัฐมนตรี ได้เชิญอัยการสูงสุดมาชี้แจงในเรื่องดังกล่าว โดยอัยการสูงสุดได้นำเสนอคณะรัฐมนตรี ในเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่อัยการสูงสุด และกระทรวงการต่างประเทศได้ใช้ ในกรณีดำเนินการในช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจ้างทนาย ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องเครื่องบิน แต่เป็นเรื่องคดีทั้งหมดในภาพรวม
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ทำการศึกษา ค่าธรรมเนียมศาลต่างๆ ที่ได้ดำเนินการจ้าง ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วโดย ครม. ได้เห็นชอบไปตามนั้น
ส่วนในกรณีของเครื่องบิน และแถลงการณ์ของส่วนราชการในพระองค์นั้น ครม.ได้รับทราบ และจะยึดแนวพระราชวินิจฉัย ที่จะเร่งรัดในการระงับข้อพิพาท ระหว่างรัฐบาลไทยกับบริษัทวอลเตอร์ บาวน์ โดยเร็ว
ทั้งนี้ เรื่องนี้เป็นเรื่องระหว่างรัฐบาลไทยกับบริษัทเอกชน กรณีที่มายึดเครื่องบินของพระองค์ท่านไว้ ทำให้เกิดเรื่องระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทอยู่แล้ว ครม.เห็นชอบในแนวทางที่จะยุติคดีนี้โดยเร็ว โดยเฉพาะเรื่องคดีใหญ่ ซึ่งขณะนี้อัยการก็รับในหลักการ และ ครม.ก็รับในหลักการให้ไปดำเนินการ และมีมาตรการในการพิทักษ์ทรัพย์สมบัติของคนไทยต่างๆในต่างประเทศ ไม่ใช่แต่เฉพาะแต่เรื่องที่ไประคายเบื้องพระยุคลบาทอย่างเดียว เพราะขณะนี้ถ้ากรณีไมสิ้นสุด ทางฝ่ายพวกอายัดทรัพย์ทั้งหลาย ก็ไปอายัดตามรัฐบาลต่างๆ บางครั้งก็ทำไปอย่างที่ผิดพลาดคราวนี้
" ครม.เห็นขอบในหลักการ ที่จะให้เร่งรัดในการยุติคดี ทีเกี่ยวข้องกับรัฐบาลไทยกับ วอลเตอร์ บาวน์ โดยเร็ว ซึ่งในเรื่องนี้มีมาตราการต่างๆ และกลไกต่าง ที่จะทำให้การ อายัดทรัพย์ต่างๆ กับคดีที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับที่พระองค์ท่านเอง และในเรื่องของทรัพย์สมบัติโดยทั่วไปของประชาชนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องในคดี ซึ่งในส่วนนี้ ครม.ก็ได้น้อมรับพระราชบัณฑูรตามแถลงการณ์ ที่จะเร่งดำเนินการโดยเร็ว" นายอำพน กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่าใคร เป็นคนจ่ายเงิน 20 ล้านยูโร นายอำพน กล่าวว่า จะต้องให้นายกรัฐมนตรี ได้นำความถวายรายงานก่อนว่า สถานการณ์ล่าสุดเป็นอย่างไร เข้าใจว่าการวางหลักประกันในคดีใหญ่ ที่เป็นลักษณะการวางค้ำประกัน ก็เป็นแนวทางหนึ่งที่ทางอัยการสูงสุดเสนอมา แต่คณะรัฐมนตรียึดหลักตามพระราชบัณฑูรว่า จะต้องเร่งรัดคดีใหญ่ให้เสร็จโดยเร็ว และไม่กระทบกระเทือนกับแม้แต่ทรัพย์สินของคนไทย ที่อาจจะโดนวอลเตอร์ บาว ดำเนินการ
เมื่อถามว่าในกรณีที่บอกว่า เดี๋ยวเขาจะไปอายัดที่อื่น หากไปอายัดสถานทูตไทยในเยอรมนี จะทำอย่างไร นายอำพน กล่าวว่า มีการคุ้มครองทางการทูตอยู่ ตนขอยืนยัน หลักสองหลัก ก็คือ ครม.เห็นชอบในแนวทางสามสี่แนวทาง ที่อัยการเสนอ รวมทั้งพระราชบัณฑูรในแถลงการณ์ ว่า จะต้องยุติคดีหลักโดยเร็ว สอง จะต้องไม่กระทบกระเทือนสัมพันธภาพ ระหว่างประเทศไทย และเยอรมนี และสาม กลไกในการใช้ยุติคดีต้องอยู่บนความเป็นธรรม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการที่นำเอาข้อพิพาทที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ ไปมีผลกระทบต่อบุคคลที่สาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะนี้คือ สถาบันฯของเรา ซึ่งเราจะไปเน้นที่คดีหลัก เพื่อไม่ให้เกิดการอ้างถึงคดีหลัก แล้วทำให้เกิดผลกระทบถึงบุคคลที่สาม ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องในคดีนี้ก็คืออย่างที่ทราบ
**กต.เตรียมรับเงินพระราชทาน
นายเจษฎา กตเวทิน รองอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ทางอัยการสูงสุด และทีมกฎหมาย จะเข้ารับพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อนำไปใช้ในการระงับข้อพิพาทดังกล่าว ก่อนจะนำราชทรัพย์ส่วนพระองค์ไปวางเป็นเงินประกันกับศาล หากวางเงินประกันแล้ว ก็สามารถไถ่ถอนออกมาได้ทันที เนื่องจากที่ผ่านมาเครื่องบินโบอิ้ง 737 ไม่ได้รับการซ่อมบำรุง
สำหรับคดีความนั้นจะยังคงมีการพิจารณาต่อไป และกลางเดือนนี้จะมีการสืบพยานเต็มรูปแบบ หากคำตัดสินระบุว่า เครื่องบินไม่ใช่ของรัฐบาลก็จะคืนเงินอายัดให้
***“มาร์ค-จุลสิงห์”เข้าถวายรายงาน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมครม.นัดพิเศษเมื่อวันจันทร์ที่ 1 ส.ค. ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้มีการหยิบยกและเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าหารือถึงการดำเนินการเกี่ยวกับข้อพิพาทกรณีเยอรมันอายัดเครื่องบินส่วนพระองค์ เป็นเวลากว่า 1 ช.ม. โดยนายอภิสิทธิ์ กล่าวที่ประชุมครม.ว่า ได้มีแถลงการณ์ออกมาในเวลา 04.00 น.
ทั้งนี้ในที่ประชุมครม. นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ได้ชี้แจงและขออนุมัติเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศและอัยการสูงสุด อาทิ เช่น ค่าจ้างทนายความ ค่าธรรมเนียมศาลในการต่อสู้คดี เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ครม.ได้อนุมัติให้เพียงงบประมาณในส่วนของค่าจ้างทนายและค่าธรรมเนียมศาลประมาณ 30 ล้านบาท แต่ไม่มีการอนุมัติวงเงินวางประกันเพื่อการถอนอายัดเครื่องบิน วงเงิน 850 ล้านแต่อย่างใด โดยครม.ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าบริษัท วอลเตอร์ บาว ไม่มีสิทธิที่จะไปฟ้องร้อง
ขณะที่ในส่วนของค่าธรรมเนียมศาล 3 แสนยูโร คัดค้านการอายัดเครื่องบินทางสถานทูตได้มีการจ่ายสำรองไปก่อนแล้ว ส่วนค่าทนายคัดค้านการอายัด 267,618 ยูโร และค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีศาลเมืองลาน ชูตส์ หรือคดีที่รัฐบาลจะฟ้องวอเตอร์ บาว จำนวน 10 ล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทั้งนี้ในที่ประชุมครม.อัยการสูงสุดได้รายงานว่าการต่อสู้คดีดังกล่าวมีการวาง แนวทางและประเด็นที่จะต่อสู้เอาไว้แล้ว โดยทางฝ่ายไทยเห็นว่าบริษัท วอเตอร์ บาว ในฐานะผู้ร่วมทุนของบริษัท ดอนเมือง โทลล์เวย์ ไม่น่าจะมีสิทธิไปฟ้อง และดำเนินการในขั้นอนุญาโตตุลาการ แต่เขาก็ไปฟ้องร้อง โดยไม่ได้ฟ้องว่าฝ่ายไทยผิดสัญญา แต่เขาใช้สิทธิฟ้องตามสนธิสัญญาร่วมทุน แต่เราก็เห็นว่าบ.วอลเตอร์ บราวไม่น่ามีสิทธิฟ้อง เพราะเป็นแค่ผู้ร่วมทุนของบ.ดอนเมือง โทลล์เวย์เท่านั้น ซึ่งเรามีหลักฐานใหม่ที่เชื่อมั่นว่าจะสามารถไปโต้แย้งหักล้างได้ เพราะ มีเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมทุนระหว่างบริษัท วอลเตอร์ บราวกับบริษัท ดอนเมือง โทลล์เวย์ ที่เขียนเอาไว้ว่า บริษัท วอลเตอร์ บราว ในฐานะแค่ผู้ร่วมทุนจะไม่มีสิทธิไปฟ้องร้องได้ ซึ่งการดำเนินการตอนนี้เราอยากจะพูดคุยเจรจากับทางเจ้าหนี้ของบริษัท วอลเตอร์ บราวมากกว่า เราก็สงสัยว่าในเมื่อบริษัท วอลเตอร์ บราวก็ล้มละลายไปแล้ว แต่ทำไมจึงมีสิทธิฟ้องได้ ดังนั้นจึงต้องไปคุยกับเจ้าหนี้ซึ่งมีหลายราย แต่รายใหญ่สุดคือ ดอยซ์ แบงก์ ซึ่งครม.จึงได้ให้กระทรวงการคลังไปประสานงานเพื่อการเจรจากับทางดอยซ์แบงก์
นายอภิสิทธิ์ได้ย้ำหลักการว่า บริษัท วอลเตอร์ บราว ไม่ใช่คู่กรณี ทำไมจึงมีสิทธิฟ้อง ถ้าเป็นอย่างนี้กรณีที่มีคนต่างชาติมาซื้อหุ้นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ก็จะถือเป็นผู้ร่วมทุนแล้วก็จะไปมีสิทธิฟ้องหรือ ซึ่งในที่สุด ครม.ส่วนใหญ่ก็มีท่าทีเห็นด้วยที่จะให้สู้คดีต่อ
ภายหลังประชุมครม.นายกฯยังได้มีการหารือนอกรอบร่วมกับนายจุลสิงห์ วสันตสิงห์อัยการสูงสุด นายกษิต ภิรมย์ รมว.การต่างประเทศ นายกรณ์ จาติกวาณิช รมว.คลัง อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง นางวลัยรัตน์ ศรีอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และเลขาธิการครม.ต่ออีกเกือบ 1 ช.ม. จากนั้นในเวลา 15.00 น. นายกรัฐมนตรีและอัยการสูงสุดได้เดินทางเฝ้าฯ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมาร เพื่อถวายรายงานในเรื่องดังกล่าว ขณะที่นายกฯเองกล่าวในที่ประชุมด้วยว่า อาจจะต้องมีการประชุม ครม.อีกรอบหนึ่ง
เมื่อคืนวันที่ 31 ก.ค. 2554 สำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร แถลงการณ์เรื่อง การอายัดเครื่องบินพระที่นั่งส่วนพระองค์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร กรณีพิพาทระหว่างรัฐบาลไทยกับบริษัท Walter Bau AG ความว่า ตามที่ศาลสูงสุดแห่งรัฐเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2554 ให้ดำเนินการอายัดเครื่องบินพระที่นั่งของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งเป็นเครื่องบินส่วนพระองค์ไว้เป็นของกลางในคดีพิพาทระหว่างบริษัท Walter Bau AG กับรัฐบาลไทยและศาลแขวงแลนส์ฮูต ได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2554 ให้วางเงินประกันจำนวน 20 ล้านยูโร เพื่อถอนอายัดเครื่องบินพระที่นั่งดังกล่าวนั้น
ตลอดระยะเวลาตั้งแต่มีคำพิพากษาของศาลสูงสุดแห่งรัฐเบอร์ลิน และคำสั่งของศาลแขวงแลนส์ฮูต สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี จนถึงปัจจุบัน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร มิได้ทรงตอบโต้แต่ประการใดต่อคำพิพากษาและคำตัดสินดังกล่าว รวมทั้งต่อกระแสข่าวทั้งจากในและต่างประเทศ ทรงเคารพต่อคำพิพากษาของศาลและทรงเชื่อมั่นในความยุติธรรมของกระบวนการยุติธรรม ด้วยทรงมีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลและประชาชนของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในระหว่างที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจและทรงพำนักอยู่ในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ทรงได้รับการต้อนรับ รวมทั้งการอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ เป็นอย่างดี
แม้ว่าสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จะมิได้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือเกี่ยวข้องกับข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลไทยกับบริษัท Walter Bau AG และมิได้ทรงเป็นผู้สร้างเรื่องหรือเหตุการณ์ข้อพิพาทขึ้นมา แต่ผลจากข้อพิพาทดังกล่าวได้นำมาซึ่งความเดือดร้อนพระราชหฤทัย กระทบต่อพระราชกรณียกิจ และเสี่ยงต่อการเสื่อมเสียพระเกียรติยศเป็นอย่างยิ่ง
ในการนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร มีพระราชกระแสและพระราชปณิธานที่จะตอบแทนพระคุณแผ่นดินไทยและทรงใช้หนี้บุญคุณให้กับประเทศชาติในพระราชฐานะที่ทรงเป็นประชาชนชาวไทยพระองค์หนึ่ง และทรงเป็นองค์สยามมกุฎราชกุมารของประเทศไทย อีกทั้งมิให้เกิดผลกระทบต่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทยและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และเพื่อให้ข้อพิพาทดังกล่าวจบลงด้วยดี และรวดเร็ว จึงจะพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อนำไปใช้ในการระงับข้อพิพาทดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่ทรงปรารถนาที่จะให้มีพระนามาภิไธยไปเกี่ยวข้องกับข้อพิพาทและมิให้เป็นที่เสื่อมเสียต่อพระเกียรติยศ.
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี แถลงข่าวหลังการประชุมครม. ถึงกรณี เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2554 สำนักงานราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ออกแถลงการณ์ เรื่อง การอายัดเครื่องบินพระที่นั่งส่วนพระองค์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จากกรณีพิพาทระหว่างรัฐบาลไทย กับบริษัท วอลเตอร์ บาว ว่า นายกรัฐมนตรี ได้เชิญอัยการสูงสุดมาชี้แจงในเรื่องดังกล่าว โดยอัยการสูงสุดได้นำเสนอคณะรัฐมนตรี ในเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่อัยการสูงสุด และกระทรวงการต่างประเทศได้ใช้ ในกรณีดำเนินการในช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจ้างทนาย ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องเครื่องบิน แต่เป็นเรื่องคดีทั้งหมดในภาพรวม
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ทำการศึกษา ค่าธรรมเนียมศาลต่างๆ ที่ได้ดำเนินการจ้าง ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วโดย ครม. ได้เห็นชอบไปตามนั้น
ส่วนในกรณีของเครื่องบิน และแถลงการณ์ของส่วนราชการในพระองค์นั้น ครม.ได้รับทราบ และจะยึดแนวพระราชวินิจฉัย ที่จะเร่งรัดในการระงับข้อพิพาท ระหว่างรัฐบาลไทยกับบริษัทวอลเตอร์ บาวน์ โดยเร็ว
ทั้งนี้ เรื่องนี้เป็นเรื่องระหว่างรัฐบาลไทยกับบริษัทเอกชน กรณีที่มายึดเครื่องบินของพระองค์ท่านไว้ ทำให้เกิดเรื่องระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทอยู่แล้ว ครม.เห็นชอบในแนวทางที่จะยุติคดีนี้โดยเร็ว โดยเฉพาะเรื่องคดีใหญ่ ซึ่งขณะนี้อัยการก็รับในหลักการ และ ครม.ก็รับในหลักการให้ไปดำเนินการ และมีมาตรการในการพิทักษ์ทรัพย์สมบัติของคนไทยต่างๆในต่างประเทศ ไม่ใช่แต่เฉพาะแต่เรื่องที่ไประคายเบื้องพระยุคลบาทอย่างเดียว เพราะขณะนี้ถ้ากรณีไมสิ้นสุด ทางฝ่ายพวกอายัดทรัพย์ทั้งหลาย ก็ไปอายัดตามรัฐบาลต่างๆ บางครั้งก็ทำไปอย่างที่ผิดพลาดคราวนี้
" ครม.เห็นขอบในหลักการ ที่จะให้เร่งรัดในการยุติคดี ทีเกี่ยวข้องกับรัฐบาลไทยกับ วอลเตอร์ บาวน์ โดยเร็ว ซึ่งในเรื่องนี้มีมาตราการต่างๆ และกลไกต่าง ที่จะทำให้การ อายัดทรัพย์ต่างๆ กับคดีที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับที่พระองค์ท่านเอง และในเรื่องของทรัพย์สมบัติโดยทั่วไปของประชาชนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องในคดี ซึ่งในส่วนนี้ ครม.ก็ได้น้อมรับพระราชบัณฑูรตามแถลงการณ์ ที่จะเร่งดำเนินการโดยเร็ว" นายอำพน กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่าใคร เป็นคนจ่ายเงิน 20 ล้านยูโร นายอำพน กล่าวว่า จะต้องให้นายกรัฐมนตรี ได้นำความถวายรายงานก่อนว่า สถานการณ์ล่าสุดเป็นอย่างไร เข้าใจว่าการวางหลักประกันในคดีใหญ่ ที่เป็นลักษณะการวางค้ำประกัน ก็เป็นแนวทางหนึ่งที่ทางอัยการสูงสุดเสนอมา แต่คณะรัฐมนตรียึดหลักตามพระราชบัณฑูรว่า จะต้องเร่งรัดคดีใหญ่ให้เสร็จโดยเร็ว และไม่กระทบกระเทือนกับแม้แต่ทรัพย์สินของคนไทย ที่อาจจะโดนวอลเตอร์ บาว ดำเนินการ
เมื่อถามว่าในกรณีที่บอกว่า เดี๋ยวเขาจะไปอายัดที่อื่น หากไปอายัดสถานทูตไทยในเยอรมนี จะทำอย่างไร นายอำพน กล่าวว่า มีการคุ้มครองทางการทูตอยู่ ตนขอยืนยัน หลักสองหลัก ก็คือ ครม.เห็นชอบในแนวทางสามสี่แนวทาง ที่อัยการเสนอ รวมทั้งพระราชบัณฑูรในแถลงการณ์ ว่า จะต้องยุติคดีหลักโดยเร็ว สอง จะต้องไม่กระทบกระเทือนสัมพันธภาพ ระหว่างประเทศไทย และเยอรมนี และสาม กลไกในการใช้ยุติคดีต้องอยู่บนความเป็นธรรม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการที่นำเอาข้อพิพาทที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ ไปมีผลกระทบต่อบุคคลที่สาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะนี้คือ สถาบันฯของเรา ซึ่งเราจะไปเน้นที่คดีหลัก เพื่อไม่ให้เกิดการอ้างถึงคดีหลัก แล้วทำให้เกิดผลกระทบถึงบุคคลที่สาม ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องในคดีนี้ก็คืออย่างที่ทราบ
**กต.เตรียมรับเงินพระราชทาน
นายเจษฎา กตเวทิน รองอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ทางอัยการสูงสุด และทีมกฎหมาย จะเข้ารับพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อนำไปใช้ในการระงับข้อพิพาทดังกล่าว ก่อนจะนำราชทรัพย์ส่วนพระองค์ไปวางเป็นเงินประกันกับศาล หากวางเงินประกันแล้ว ก็สามารถไถ่ถอนออกมาได้ทันที เนื่องจากที่ผ่านมาเครื่องบินโบอิ้ง 737 ไม่ได้รับการซ่อมบำรุง
สำหรับคดีความนั้นจะยังคงมีการพิจารณาต่อไป และกลางเดือนนี้จะมีการสืบพยานเต็มรูปแบบ หากคำตัดสินระบุว่า เครื่องบินไม่ใช่ของรัฐบาลก็จะคืนเงินอายัดให้
***“มาร์ค-จุลสิงห์”เข้าถวายรายงาน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมครม.นัดพิเศษเมื่อวันจันทร์ที่ 1 ส.ค. ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้มีการหยิบยกและเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าหารือถึงการดำเนินการเกี่ยวกับข้อพิพาทกรณีเยอรมันอายัดเครื่องบินส่วนพระองค์ เป็นเวลากว่า 1 ช.ม. โดยนายอภิสิทธิ์ กล่าวที่ประชุมครม.ว่า ได้มีแถลงการณ์ออกมาในเวลา 04.00 น.
ทั้งนี้ในที่ประชุมครม. นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ได้ชี้แจงและขออนุมัติเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศและอัยการสูงสุด อาทิ เช่น ค่าจ้างทนายความ ค่าธรรมเนียมศาลในการต่อสู้คดี เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ครม.ได้อนุมัติให้เพียงงบประมาณในส่วนของค่าจ้างทนายและค่าธรรมเนียมศาลประมาณ 30 ล้านบาท แต่ไม่มีการอนุมัติวงเงินวางประกันเพื่อการถอนอายัดเครื่องบิน วงเงิน 850 ล้านแต่อย่างใด โดยครม.ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าบริษัท วอลเตอร์ บาว ไม่มีสิทธิที่จะไปฟ้องร้อง
ขณะที่ในส่วนของค่าธรรมเนียมศาล 3 แสนยูโร คัดค้านการอายัดเครื่องบินทางสถานทูตได้มีการจ่ายสำรองไปก่อนแล้ว ส่วนค่าทนายคัดค้านการอายัด 267,618 ยูโร และค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีศาลเมืองลาน ชูตส์ หรือคดีที่รัฐบาลจะฟ้องวอเตอร์ บาว จำนวน 10 ล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทั้งนี้ในที่ประชุมครม.อัยการสูงสุดได้รายงานว่าการต่อสู้คดีดังกล่าวมีการวาง แนวทางและประเด็นที่จะต่อสู้เอาไว้แล้ว โดยทางฝ่ายไทยเห็นว่าบริษัท วอเตอร์ บาว ในฐานะผู้ร่วมทุนของบริษัท ดอนเมือง โทลล์เวย์ ไม่น่าจะมีสิทธิไปฟ้อง และดำเนินการในขั้นอนุญาโตตุลาการ แต่เขาก็ไปฟ้องร้อง โดยไม่ได้ฟ้องว่าฝ่ายไทยผิดสัญญา แต่เขาใช้สิทธิฟ้องตามสนธิสัญญาร่วมทุน แต่เราก็เห็นว่าบ.วอลเตอร์ บราวไม่น่ามีสิทธิฟ้อง เพราะเป็นแค่ผู้ร่วมทุนของบ.ดอนเมือง โทลล์เวย์เท่านั้น ซึ่งเรามีหลักฐานใหม่ที่เชื่อมั่นว่าจะสามารถไปโต้แย้งหักล้างได้ เพราะ มีเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมทุนระหว่างบริษัท วอลเตอร์ บราวกับบริษัท ดอนเมือง โทลล์เวย์ ที่เขียนเอาไว้ว่า บริษัท วอลเตอร์ บราว ในฐานะแค่ผู้ร่วมทุนจะไม่มีสิทธิไปฟ้องร้องได้ ซึ่งการดำเนินการตอนนี้เราอยากจะพูดคุยเจรจากับทางเจ้าหนี้ของบริษัท วอลเตอร์ บราวมากกว่า เราก็สงสัยว่าในเมื่อบริษัท วอลเตอร์ บราวก็ล้มละลายไปแล้ว แต่ทำไมจึงมีสิทธิฟ้องได้ ดังนั้นจึงต้องไปคุยกับเจ้าหนี้ซึ่งมีหลายราย แต่รายใหญ่สุดคือ ดอยซ์ แบงก์ ซึ่งครม.จึงได้ให้กระทรวงการคลังไปประสานงานเพื่อการเจรจากับทางดอยซ์แบงก์
นายอภิสิทธิ์ได้ย้ำหลักการว่า บริษัท วอลเตอร์ บราว ไม่ใช่คู่กรณี ทำไมจึงมีสิทธิฟ้อง ถ้าเป็นอย่างนี้กรณีที่มีคนต่างชาติมาซื้อหุ้นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ก็จะถือเป็นผู้ร่วมทุนแล้วก็จะไปมีสิทธิฟ้องหรือ ซึ่งในที่สุด ครม.ส่วนใหญ่ก็มีท่าทีเห็นด้วยที่จะให้สู้คดีต่อ
ภายหลังประชุมครม.นายกฯยังได้มีการหารือนอกรอบร่วมกับนายจุลสิงห์ วสันตสิงห์อัยการสูงสุด นายกษิต ภิรมย์ รมว.การต่างประเทศ นายกรณ์ จาติกวาณิช รมว.คลัง อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง นางวลัยรัตน์ ศรีอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และเลขาธิการครม.ต่ออีกเกือบ 1 ช.ม. จากนั้นในเวลา 15.00 น. นายกรัฐมนตรีและอัยการสูงสุดได้เดินทางเฝ้าฯ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมาร เพื่อถวายรายงานในเรื่องดังกล่าว ขณะที่นายกฯเองกล่าวในที่ประชุมด้วยว่า อาจจะต้องมีการประชุม ครม.อีกรอบหนึ่ง
เมื่อคืนวันที่ 31 ก.ค. 2554 สำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร แถลงการณ์เรื่อง การอายัดเครื่องบินพระที่นั่งส่วนพระองค์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร กรณีพิพาทระหว่างรัฐบาลไทยกับบริษัท Walter Bau AG ความว่า ตามที่ศาลสูงสุดแห่งรัฐเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2554 ให้ดำเนินการอายัดเครื่องบินพระที่นั่งของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งเป็นเครื่องบินส่วนพระองค์ไว้เป็นของกลางในคดีพิพาทระหว่างบริษัท Walter Bau AG กับรัฐบาลไทยและศาลแขวงแลนส์ฮูต ได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2554 ให้วางเงินประกันจำนวน 20 ล้านยูโร เพื่อถอนอายัดเครื่องบินพระที่นั่งดังกล่าวนั้น
ตลอดระยะเวลาตั้งแต่มีคำพิพากษาของศาลสูงสุดแห่งรัฐเบอร์ลิน และคำสั่งของศาลแขวงแลนส์ฮูต สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี จนถึงปัจจุบัน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร มิได้ทรงตอบโต้แต่ประการใดต่อคำพิพากษาและคำตัดสินดังกล่าว รวมทั้งต่อกระแสข่าวทั้งจากในและต่างประเทศ ทรงเคารพต่อคำพิพากษาของศาลและทรงเชื่อมั่นในความยุติธรรมของกระบวนการยุติธรรม ด้วยทรงมีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลและประชาชนของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในระหว่างที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจและทรงพำนักอยู่ในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ทรงได้รับการต้อนรับ รวมทั้งการอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ เป็นอย่างดี
แม้ว่าสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จะมิได้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือเกี่ยวข้องกับข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลไทยกับบริษัท Walter Bau AG และมิได้ทรงเป็นผู้สร้างเรื่องหรือเหตุการณ์ข้อพิพาทขึ้นมา แต่ผลจากข้อพิพาทดังกล่าวได้นำมาซึ่งความเดือดร้อนพระราชหฤทัย กระทบต่อพระราชกรณียกิจ และเสี่ยงต่อการเสื่อมเสียพระเกียรติยศเป็นอย่างยิ่ง
ในการนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร มีพระราชกระแสและพระราชปณิธานที่จะตอบแทนพระคุณแผ่นดินไทยและทรงใช้หนี้บุญคุณให้กับประเทศชาติในพระราชฐานะที่ทรงเป็นประชาชนชาวไทยพระองค์หนึ่ง และทรงเป็นองค์สยามมกุฎราชกุมารของประเทศไทย อีกทั้งมิให้เกิดผลกระทบต่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทยและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และเพื่อให้ข้อพิพาทดังกล่าวจบลงด้วยดี และรวดเร็ว จึงจะพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อนำไปใช้ในการระงับข้อพิพาทดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่ทรงปรารถนาที่จะให้มีพระนามาภิไธยไปเกี่ยวข้องกับข้อพิพาทและมิให้เป็นที่เสื่อมเสียต่อพระเกียรติยศ.