ภายหลังการพ่ายแพ้เลือกตั้งอีกครั้งของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นการปราชัยในสนามเลือกตั้งต่อพรรคการเมืองที่มีนช.พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นนายใหญ่ตัวจริงอีกหน
เรียกว่าผูกทศวรรษแพ้เลยทีเดียว เลือกตั้งทีไรพรรคประชาธิปัตย์พ่ายแพ้ยับเยินทุกคราวไป ไม่ว่าจะเป็นพรรคไทยรักไทย พลังประชาชน เรื่อยมาจนถึงพรรคเพื่อไทย
การพ่ายแพ้หลายครั้งหลายหน ทำให้เกิดคำถามขึ้นภายในพรรคประชาธิปัตย์ว่า มันเกิดอะไรขึ้นกันแน่ หลายคนคิดตลบทบทวนถึงสาเหตุต่างๆ นาๆ พร้อมทิ้งบอมบ์ใส่พรรคว่าถึงเวลาแล้วต้องปฏิรูปพรรคใหม่ เลิกยึดติดระบบระบอบเดิมๆ
มิฉะนั้นก็จะต้องเป็นฝ่ายค้านไปทั้งปีทั้งชาติ
เสียงเรียกร้องของสมาชิกพรรคทำให้เกิดแรงกระเพื่อมขึ้นในพรรคประชาธิปัตย์ ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร คณะกรรมการบริหารพรรคแบบยกเครื่องใหม่ สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ มาสู่พรรคบ้าง เลิกยึดติดแต่แนวอนุรักษ์นิยม หัวโบราณคร่ำครึ ซึ่งไม่ทันโลกยุคสมัยใหม่ที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปด้วยความรวดเร็ว
ความพ่ายแพ้ที่เกิดขึ้นแน่นอนว่า ต้องมีคนรับผิดชอบ ซึ่งนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ประกาศลาออกเพื่อแสดงสปิริต พร้อมกับนาย สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรค ที่ประกาศลาออกไปทันทีเช่นเดียวกัน
แต่ชัดเจนแล้วว่านายอภิสิทธิ์จะกลับเข้ามารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคอีกครั้ง ส่วนนายสุเทพระบุว่าจะไม่ขอเข้ามาเป็นเลขาธิการพรรคอีกแล้ว
ฉับพลันจึงเกิดความเคลื่อนไหวแก่งแย่งตำแหน่งเลขาธิการพรรคขึ้นมา โดยที่นาย “สุเทพ”ยังคงเดินเกมอยู่เบื้องหลังพยายามผลักดันคนของตัวเองเข้ามาสืบทอดตำแหน่งต่อ โดยตอนแรกแสดงท่าทีผลักดันนาย อภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่ากทม. แต่เมื่อ “อภิรักษ์” ยังสลัดคดีความเรื่องรถและเรือดับเพลิงไม่หลุด ชนักยังคาหลังอยู่“สุเทพ” ก็ออกตัวตีกรรเชียงไปดื้อๆ
พร้อมมองหาตัวเลือกอื่นต่อไป เพราะชั่วโมงนี้เส้นสายที่วางไว้ในพรรคประชาธิปัตย์ต้องยอมรับว่า “เทพเทือก” ปึ้กที่สุด หากลงแรงสนับสนุนใครแล้ว คนนั้นย่อมมีโอกาสสูง
ขณะเดียวกันก็มีการเสนอรายชื่ออื่นๆ ขึ้นมาหลายคน เช่น วิทยา แก้วภราดัย ชำนิ ศักดิ์เศรษฐ์ เฉลิมชัย ศรีอ่อน จุติ ไกรฤกษ์ ท่ามกลางเสียงทักท้วง ตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อหัวหน้าพรรคเป็นสายกทม. แล้ว เลขาธิการพรรคน่าจะเป็นสายใต้ ซึ่งเป็นฐานอำนาจที่แข็งแกร่งมาต่อเนื่องยาวนานของพรรคประชาธิปัตย์
เมื่อดูหน่วยก้านแล้ว “ชำนิ” ดูมีภาษีกว่าใคร สามารถเป็นมือประสานได้หลายทิศทาง เดินเกมใต้ดินก็สามารถทำได้ไม่เคอะเขิน จะสังเกตเห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์จะไปรุ่งไปโรจน์ได้ ต้องมีเลขาธิการพรรคบุคลิกแบบนี้ เหมือนเช่นที่ “สุเทพ” และ “เสธ.หนั่น”พล.ต. สนั่น ขจรประศาสน์ เคยทำมาก่อน
ตอนนี้มีข่าววิ่งแย่งเก้าอี้ใหญ่ตัวนี้กันฝุ่นตลบ ก็ต้องรอดูว่า “อภิสิทธิ์”จะตัดสินใจเลือก “อภิรักษ์”คนที่ถูกใจแต่คิดปัญหามีคดีทุจริต หรือจะกล้าดันอีกคนซึ่งเป็นส.ส.ภาคกลางที่ใจถึงพึ่งได้ แต่คนนี้ไม่กินเส้นกับ “สุเทพ” ขึ้นมานั่งตำแหน่งเลขาฯพรรคแทนหรือไม่
ประชาธิปัตย์ที่ห่วยแตกแพ้เลือกตั้งใหญ่มาตั้งแต่การเลือกตั้ง2535/2 รวมแล้วเกือบ20ปี ระหว่างนั้นเข้ามาเป็นรัฐบาลได้ทั้งที่แพ้เลือกตั้งก็เพราะคนอื่นแพ้ภัยตัวเองคือพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากนายกรัฐมนตรีเพราะพิษลดค่าเงินบาท ปชป.ได้สิทธิจัดตั้งรัฐบาลมีนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลชวนบริหารประเทศไม่เอาอ่าว เป็นรัฐบาลครบเทอมแต่ก่อความเสียหายให้บ้านเมืองมโหฬาร มาถึงรัฐบาลอภิสิทธิ์ที่เข้ามาสวมตอต่อจากรัฐบาลนอมินี สมชาย วงศ์สวัสดิ์ เพราะเจอคดียุบพรรคพลังประชาชน รัฐบาลปชป.หนนี้แย่กว่ารัฐบาลชวนเสียอีก เนื่องจากไม่สามารถแก้ปัญหาอะไรได้เลย
เมื่อคิดจะปรับปรุงโครงสร้างรื้อระบบกันครั้งใหญ่อีกครั้ง ก็น่าติดตามว่าปชป.จะรื้อระบบยุทธศาสตร์การทำงานไปในคราวเดียวกันหรือไม่ เพื่อสร้างความหวัง สร้างพลัง สร้างอนาคตให้ตัวเอง และให้ประชาชนที่ยังศรัทธาต่อพรรคการเมืองเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองพรรคนี้ รวมทั้งประชาชนที่มองหาทางเลือกที่ดีขึ้น
อย่าทำให้ประเทศนี้ไร้ทางเลือก หรือจำใจต้องเลือกในสิ่งที่มีอยู่ เหมือนกับการเลือกตั้งครั้งล่าสุด! แต่หากทำไม่ได้ก็ยุบพรรคไปเลยดีกว่า ไม่ต้องมาสร้างภาพหลอกลวงประชาชนอีกต่อไป ว่าเป็นพรรคการเมืองที่ทำงานเป็นที่พึ่งของประชาชน
เรียกว่าผูกทศวรรษแพ้เลยทีเดียว เลือกตั้งทีไรพรรคประชาธิปัตย์พ่ายแพ้ยับเยินทุกคราวไป ไม่ว่าจะเป็นพรรคไทยรักไทย พลังประชาชน เรื่อยมาจนถึงพรรคเพื่อไทย
การพ่ายแพ้หลายครั้งหลายหน ทำให้เกิดคำถามขึ้นภายในพรรคประชาธิปัตย์ว่า มันเกิดอะไรขึ้นกันแน่ หลายคนคิดตลบทบทวนถึงสาเหตุต่างๆ นาๆ พร้อมทิ้งบอมบ์ใส่พรรคว่าถึงเวลาแล้วต้องปฏิรูปพรรคใหม่ เลิกยึดติดระบบระบอบเดิมๆ
มิฉะนั้นก็จะต้องเป็นฝ่ายค้านไปทั้งปีทั้งชาติ
เสียงเรียกร้องของสมาชิกพรรคทำให้เกิดแรงกระเพื่อมขึ้นในพรรคประชาธิปัตย์ ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร คณะกรรมการบริหารพรรคแบบยกเครื่องใหม่ สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ มาสู่พรรคบ้าง เลิกยึดติดแต่แนวอนุรักษ์นิยม หัวโบราณคร่ำครึ ซึ่งไม่ทันโลกยุคสมัยใหม่ที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปด้วยความรวดเร็ว
ความพ่ายแพ้ที่เกิดขึ้นแน่นอนว่า ต้องมีคนรับผิดชอบ ซึ่งนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ประกาศลาออกเพื่อแสดงสปิริต พร้อมกับนาย สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรค ที่ประกาศลาออกไปทันทีเช่นเดียวกัน
แต่ชัดเจนแล้วว่านายอภิสิทธิ์จะกลับเข้ามารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคอีกครั้ง ส่วนนายสุเทพระบุว่าจะไม่ขอเข้ามาเป็นเลขาธิการพรรคอีกแล้ว
ฉับพลันจึงเกิดความเคลื่อนไหวแก่งแย่งตำแหน่งเลขาธิการพรรคขึ้นมา โดยที่นาย “สุเทพ”ยังคงเดินเกมอยู่เบื้องหลังพยายามผลักดันคนของตัวเองเข้ามาสืบทอดตำแหน่งต่อ โดยตอนแรกแสดงท่าทีผลักดันนาย อภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่ากทม. แต่เมื่อ “อภิรักษ์” ยังสลัดคดีความเรื่องรถและเรือดับเพลิงไม่หลุด ชนักยังคาหลังอยู่“สุเทพ” ก็ออกตัวตีกรรเชียงไปดื้อๆ
พร้อมมองหาตัวเลือกอื่นต่อไป เพราะชั่วโมงนี้เส้นสายที่วางไว้ในพรรคประชาธิปัตย์ต้องยอมรับว่า “เทพเทือก” ปึ้กที่สุด หากลงแรงสนับสนุนใครแล้ว คนนั้นย่อมมีโอกาสสูง
ขณะเดียวกันก็มีการเสนอรายชื่ออื่นๆ ขึ้นมาหลายคน เช่น วิทยา แก้วภราดัย ชำนิ ศักดิ์เศรษฐ์ เฉลิมชัย ศรีอ่อน จุติ ไกรฤกษ์ ท่ามกลางเสียงทักท้วง ตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อหัวหน้าพรรคเป็นสายกทม. แล้ว เลขาธิการพรรคน่าจะเป็นสายใต้ ซึ่งเป็นฐานอำนาจที่แข็งแกร่งมาต่อเนื่องยาวนานของพรรคประชาธิปัตย์
เมื่อดูหน่วยก้านแล้ว “ชำนิ” ดูมีภาษีกว่าใคร สามารถเป็นมือประสานได้หลายทิศทาง เดินเกมใต้ดินก็สามารถทำได้ไม่เคอะเขิน จะสังเกตเห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์จะไปรุ่งไปโรจน์ได้ ต้องมีเลขาธิการพรรคบุคลิกแบบนี้ เหมือนเช่นที่ “สุเทพ” และ “เสธ.หนั่น”พล.ต. สนั่น ขจรประศาสน์ เคยทำมาก่อน
ตอนนี้มีข่าววิ่งแย่งเก้าอี้ใหญ่ตัวนี้กันฝุ่นตลบ ก็ต้องรอดูว่า “อภิสิทธิ์”จะตัดสินใจเลือก “อภิรักษ์”คนที่ถูกใจแต่คิดปัญหามีคดีทุจริต หรือจะกล้าดันอีกคนซึ่งเป็นส.ส.ภาคกลางที่ใจถึงพึ่งได้ แต่คนนี้ไม่กินเส้นกับ “สุเทพ” ขึ้นมานั่งตำแหน่งเลขาฯพรรคแทนหรือไม่
ประชาธิปัตย์ที่ห่วยแตกแพ้เลือกตั้งใหญ่มาตั้งแต่การเลือกตั้ง2535/2 รวมแล้วเกือบ20ปี ระหว่างนั้นเข้ามาเป็นรัฐบาลได้ทั้งที่แพ้เลือกตั้งก็เพราะคนอื่นแพ้ภัยตัวเองคือพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากนายกรัฐมนตรีเพราะพิษลดค่าเงินบาท ปชป.ได้สิทธิจัดตั้งรัฐบาลมีนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลชวนบริหารประเทศไม่เอาอ่าว เป็นรัฐบาลครบเทอมแต่ก่อความเสียหายให้บ้านเมืองมโหฬาร มาถึงรัฐบาลอภิสิทธิ์ที่เข้ามาสวมตอต่อจากรัฐบาลนอมินี สมชาย วงศ์สวัสดิ์ เพราะเจอคดียุบพรรคพลังประชาชน รัฐบาลปชป.หนนี้แย่กว่ารัฐบาลชวนเสียอีก เนื่องจากไม่สามารถแก้ปัญหาอะไรได้เลย
เมื่อคิดจะปรับปรุงโครงสร้างรื้อระบบกันครั้งใหญ่อีกครั้ง ก็น่าติดตามว่าปชป.จะรื้อระบบยุทธศาสตร์การทำงานไปในคราวเดียวกันหรือไม่ เพื่อสร้างความหวัง สร้างพลัง สร้างอนาคตให้ตัวเอง และให้ประชาชนที่ยังศรัทธาต่อพรรคการเมืองเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองพรรคนี้ รวมทั้งประชาชนที่มองหาทางเลือกที่ดีขึ้น
อย่าทำให้ประเทศนี้ไร้ทางเลือก หรือจำใจต้องเลือกในสิ่งที่มีอยู่ เหมือนกับการเลือกตั้งครั้งล่าสุด! แต่หากทำไม่ได้ก็ยุบพรรคไปเลยดีกว่า ไม่ต้องมาสร้างภาพหลอกลวงประชาชนอีกต่อไป ว่าเป็นพรรคการเมืองที่ทำงานเป็นที่พึ่งของประชาชน