ตาก-ผู้ว่าฯตาก เผย พม่าตั้ง 3 ปมใหญ่ให้ไทยสะสาง ก่อนเปิดด่านพรมแดนแม่สอด-เมียวดี ทั้งแก้ไขปัญหาศูนย์อพยพ-จับมือระเบิดกรุงย่างกุ้ง และแกนนำ KNU ซุกตัวในแม่สอด ด้าน จนท.UNHCR ชี้แผนปิดศูนย์อพยพฯตากสนองคำขอพม่าไม่ง่าย
นายสามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก กล่าวว่า กรณีพม่าได้ปิดด่านชายแดนแม่สอด-เมียวดี มานานกว่า 1 ปี ซึ่งจากการประสานเบื้องต้นกับพม่า ทราบว่า สาเหตุที่แท้จริงของการปิดด่านไม่ใช่เรื่องการก่อสร้างพนังคอนกรีตป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำเมย แต่เป็นเงื่อนไข 3 ประเด็น ที่พม่าตั้งปมให้ฝ่ายไทยได้ดำเนินการแก้ไข และสะสางก่อนที่จะนำไปสู่การเปิดด่านพรมแดนแม่สอด-เมียวดี คือ
1.พม่าให้ไทยดำเนินการจัดการปัญหาเรื่องศูนย์อพยพชาวกะเหรี่ยงตามแนวชายแดน ที่พม่าเชื่อว่ากองกำลังชนกลุ่มน้อยฝ่ายต่อต้านรัฐบาลกลุ่ม KNU ใช้เป็นที่ซ่องสุมกำลัง ไม่ถือว่าเป็นศูนย์อพยพ และพม่าไม่สบายใจ ต้องการให้ยกเลิก
2.ให้ทางการไทยช่วยจับมือวางระเบิดในกรุงย่างกุ้ง เมื่อ 2 ปีก่อน ที่มีชาวพม่าเสียชีวิต 5-6 ราย และมือระเบิดได้อาศัยใน อ.แม่สอด ซึ่งได้ส่งรูปภาพมาให้ด้วยแล้ว
และ 3. ให้ทางการไทยช่วยดำเนินการกับแกนนำกลุ่มกะเหรี่ยง KNU ที่หลบซ่อนแฝงตัวอาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนครแม่สอด โดยจับกุมให้หมด
3 ประเด็นดังกล่าว หากไทยสามารถดำเนินการตามที่พม่าประสานมาเบื้องต้นได้ เชื่อว่า ผู้นำพม่าจะสั่งให้มีการเปิดพรมแดนแม่สอด-เมียวดี ได้ทันที
“ขณะนี้แนวโน้มการพัฒนาความสัมพันธ์ไทย-พม่า เริ่มดีขึ้น จะเห็นได้ว่า พม่าได้ประกาศยกเลิกสินค้าต้องห้าม 15 รายการแล้ว ซึ่งน่าจะทำให้มูลค่าการค้าชายแดนเพิ่มสูงขึ้น ” ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก กล่าว
เจ้าหน้าที่ภาคสนามของสำนักงานข้าหลวงใหญ่สหประชาชาติ (UNHCR) ด้านชายแดนไทย-พม่า จังหวัดตาก กล่าวว่า ยังไม่ได้รับการประสานจากไทยในกรณีที่หน่วยงานของรัฐบาลไทยมีแผนที่จะปิดพื้นที่พักพิงผู้ลี้ภัยจากการสู้รบชาวกะเหรี่ยง สัญชาติพม่า ที่อาศัยกว่า 70,000 คน ในพื้นที่พักพิงบ้านแม่หละ ต.แม่หละ อ.ท่าสองยาง, บ้านอุ้มเปี้ยม ต.คีรีราษฎร์ อ.พบพระ และบ้านนุโพ ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก โดยเชื่อว่า การปิดพื้นที่พักพิงมันไม่ง่าย ต้องใช้ระยะเวลา 2-3 ปีและยังเป็นคำถามอยู่ว่าจะผลักดันกลับไปได้เลยทั้งหมดหรือไม่
ส่วนการปิดหรือไม่ปิดศูนย์ผู้ลี้ภัยไม่ใช่หน้าที่ของยูเอ็นเอชซีอาร์ เพราะเราเป็นเพียงผู้ดูแลผู้อพยพเท่านั้น ดังนั้นหากจะปิดศูนย์อพยพ ทั้ง 2 ประเทศ คือ พม่าและไทยจะต้องทำ บันทึกความเข้าใจแล้วจึงจะดำเนินการได้ และเมื่อถึงตอนนั้นยูเอ็นเอชซีอาร์ ก็มีหน้าที่เข้าไปดูเรื่องการส่งกลับมาตุภูมิว่ามีความปลอดภัยเพียงพอหรือไม่ กลับไปแล้วสามารถประกอบอาชีพอยู่ได้อย่างไม่ขาดแคลน ซึ่งถึงจุดนั้นก็จะหมดหน้าที่ของ UNHCR
นายสามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก กล่าวว่า กรณีพม่าได้ปิดด่านชายแดนแม่สอด-เมียวดี มานานกว่า 1 ปี ซึ่งจากการประสานเบื้องต้นกับพม่า ทราบว่า สาเหตุที่แท้จริงของการปิดด่านไม่ใช่เรื่องการก่อสร้างพนังคอนกรีตป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำเมย แต่เป็นเงื่อนไข 3 ประเด็น ที่พม่าตั้งปมให้ฝ่ายไทยได้ดำเนินการแก้ไข และสะสางก่อนที่จะนำไปสู่การเปิดด่านพรมแดนแม่สอด-เมียวดี คือ
1.พม่าให้ไทยดำเนินการจัดการปัญหาเรื่องศูนย์อพยพชาวกะเหรี่ยงตามแนวชายแดน ที่พม่าเชื่อว่ากองกำลังชนกลุ่มน้อยฝ่ายต่อต้านรัฐบาลกลุ่ม KNU ใช้เป็นที่ซ่องสุมกำลัง ไม่ถือว่าเป็นศูนย์อพยพ และพม่าไม่สบายใจ ต้องการให้ยกเลิก
2.ให้ทางการไทยช่วยจับมือวางระเบิดในกรุงย่างกุ้ง เมื่อ 2 ปีก่อน ที่มีชาวพม่าเสียชีวิต 5-6 ราย และมือระเบิดได้อาศัยใน อ.แม่สอด ซึ่งได้ส่งรูปภาพมาให้ด้วยแล้ว
และ 3. ให้ทางการไทยช่วยดำเนินการกับแกนนำกลุ่มกะเหรี่ยง KNU ที่หลบซ่อนแฝงตัวอาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนครแม่สอด โดยจับกุมให้หมด
3 ประเด็นดังกล่าว หากไทยสามารถดำเนินการตามที่พม่าประสานมาเบื้องต้นได้ เชื่อว่า ผู้นำพม่าจะสั่งให้มีการเปิดพรมแดนแม่สอด-เมียวดี ได้ทันที
“ขณะนี้แนวโน้มการพัฒนาความสัมพันธ์ไทย-พม่า เริ่มดีขึ้น จะเห็นได้ว่า พม่าได้ประกาศยกเลิกสินค้าต้องห้าม 15 รายการแล้ว ซึ่งน่าจะทำให้มูลค่าการค้าชายแดนเพิ่มสูงขึ้น ” ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก กล่าว
เจ้าหน้าที่ภาคสนามของสำนักงานข้าหลวงใหญ่สหประชาชาติ (UNHCR) ด้านชายแดนไทย-พม่า จังหวัดตาก กล่าวว่า ยังไม่ได้รับการประสานจากไทยในกรณีที่หน่วยงานของรัฐบาลไทยมีแผนที่จะปิดพื้นที่พักพิงผู้ลี้ภัยจากการสู้รบชาวกะเหรี่ยง สัญชาติพม่า ที่อาศัยกว่า 70,000 คน ในพื้นที่พักพิงบ้านแม่หละ ต.แม่หละ อ.ท่าสองยาง, บ้านอุ้มเปี้ยม ต.คีรีราษฎร์ อ.พบพระ และบ้านนุโพ ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก โดยเชื่อว่า การปิดพื้นที่พักพิงมันไม่ง่าย ต้องใช้ระยะเวลา 2-3 ปีและยังเป็นคำถามอยู่ว่าจะผลักดันกลับไปได้เลยทั้งหมดหรือไม่
ส่วนการปิดหรือไม่ปิดศูนย์ผู้ลี้ภัยไม่ใช่หน้าที่ของยูเอ็นเอชซีอาร์ เพราะเราเป็นเพียงผู้ดูแลผู้อพยพเท่านั้น ดังนั้นหากจะปิดศูนย์อพยพ ทั้ง 2 ประเทศ คือ พม่าและไทยจะต้องทำ บันทึกความเข้าใจแล้วจึงจะดำเนินการได้ และเมื่อถึงตอนนั้นยูเอ็นเอชซีอาร์ ก็มีหน้าที่เข้าไปดูเรื่องการส่งกลับมาตุภูมิว่ามีความปลอดภัยเพียงพอหรือไม่ กลับไปแล้วสามารถประกอบอาชีพอยู่ได้อย่างไม่ขาดแคลน ซึ่งถึงจุดนั้นก็จะหมดหน้าที่ของ UNHCR