2-3 ปีที่ผ่านมา องค์กรอิสระที่ค่อนข้างจะอื้อฉาวที่สุดคือ ศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรแห่งนี้มีอำนาจค่อนข้างมาก คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ถือเป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ
องค์กรแห่งนี้เองที่พิจารณายุบพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย พรรคมัชฌิมาฯ และพรรคเล็กพรรคน้อยอื่นๆ ที่ทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง และองค์กรแห่งนี้เองที่พิจารณากรณี ทักษิณ ชินวัตรซุกหุ้นหรือไม่ซุก พิจารณากรณีที่ สมัคร สุนทรเวช รับเงินค่าจ้างทำกับข้าวออกโทรทัศน์ระหว่างที่เป็นนายกรัฐมนตรี ถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมาย ป.ป.ช.หรือไม่ เป็นการทับซ้อนในผลประโยชน์หรือไม่ และอีกหลายๆ คดี รวมทั้งพิจารณากรณีที่อดีต ส.ส.ปราจีนบุรี นายเกียรติกร พากเพียรศิลป์ พรรคมัชฌิมาฯ เมื่อพรรคถูกยุบย้ายมาอยู่พรรคประชาธิปัตย์ แล้วเอ่ยปากลาออกจากตำแหน่ง ถือว่าพ้นจากตำแหน่งแล้วหรือไม่?
ตุลาการของศาลแห่งนี้แหละที่ตัดสินเป็นเด็ดขาดว่า นายเกียรติกร พากเพียรศิลป์ พ้นจากสมาชิกภาพนับตั้งแต่ที่ลั่นวาจาแสดงเจตนารมณ์แล้ว
ตุลาการของศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้มี 9 ท่าน โดยมาจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา 3 ท่านคือ นายชัช ชลวร นายนุรักษ์ มาประณีต นายบุญส่ง กุลบุปผา มาจากศาลปกครองสูงสุด 2 ท่านคือ นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี นายจรูญ อินทจาร มาจากการสรรหา 4 ท่านคือ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ นายจรัญ ภักดีธนากุล (ผู้ทรงคุณวุฒิสายนิติศาสตร์) นายสุพจน์ ไข่มุกด์ และนายเฉลิมพล เอกอุรุ (สายรัฐศาสตร์)
ทั้ง 4 ท่านที่มาจากการสรรหาต้องผ่านการรับรองจากวุฒิสภา
คณะตุลาการชุดนี้ทำหน้าที่มาแล้ว 3 ปีแล้ว
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้เลือกนายชัช ชลวร เป็นประธาน นายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญเลือกนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ เป็นเลขาฯ ตุลาการแต่ละท่านต่างก็มีเลขานุการส่วนตัว บ้างก็ใช้นักกฎหมาย บ้างก็ใช้ผู้มีประสบการณ์ในด้านต่างๆ เลขานุการของประธานศาลรัฐธรรมนูญนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ ไม่มีประวัติในด้านความรู้ ความสามารถใดเป็นพิเศษทางด้านกฎหมาย อาจจะมีความรู้บ้างทางด้านการนวดเฟ้น เพราะเรียนมาทางกายภาพบำบัด แต่ก็เป็นสิทธิส่วนตัวของประธานศาลรัฐธรรมนูญที่จะเลือกใช้บริการของผู้ที่มีคุณสมบัติอย่างนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์
เช่นเดียวกับตุลาการบางคนใช้บริการของลูกมาทำหน้าที่เลขาฯ โดยอ้างเอาความไว้วางใจที่จะต้องเก็บความลับให้กับท่านตุลาการเป็นพิเศษ
แต่ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่ขณะนี้ก็ตรงที่ลูกชายที่ท่านตุลาการแต่งตั้งให้เป็นเลขาฯ รับเงินเดือนทุกเดือน แต่ดันไปเรียนหนังสืออยู่ต่างประเทศ มีหลักฐานชัดเจนตรงที่หนังสือเดินทางบอกให้รู้ว่าวัน เดือน ปี อยู่ที่ไหน แถมสำนักเลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญก็รับรู้ บอกว่าเป็นนโยบายเพิ่มวิทยฐานะความรู้
ถ้าหากนี่เป็นเรื่องที่ชอบด้วยกฎหมาย ในอนาคตหน่วยงานราชการอื่นๆ ก็คงจะเอาเยี่ยงเอาอย่างบ้างละน่า
บางรายเป็นที่รู้ว่าขายกาแฟ อยู่ที่นั่นที่นี่ นั่นก็ช่างเถอะ ถือว่าเป็นรายได้เสริมก็แล้วกัน
แรกทีเดียว ตุลาการชุดนี้ก็ดูดีแม้ขณะนี้ก็ยังดูดีอยู่ เพียงแต่ต้องแก้ไขข้อบกพร่องบางจุดที่เกิดขึ้นแล้วให้ดีขึ้น หรือต้องทำความจริงให้ปรากฏในสิ่งที่ได้มีความพยายามที่จะทำลายความน่าเชื่อถือ โดยพยายามทำให้สังคมเห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่ยุติธรรม เป็นศาลการเมืองมี 2 มาตรฐาน เมื่อบางคนบางกลุ่มไม่สามารถเข้ามาแทรกแซง หรือพยายามที่จะให้ศาลแห่งนี้ตัดสินให้เป็นไปตามที่ต้องการได้ เพื่อให้องค์กรที่สำคัญนี้ดำรงเกียรติภูมิในฐานะที่คำวินิจฉัยขององค์กรแห่งนี้ผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล
คดีที่สั่นสะเทือนศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้มากที่สุดคือ คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นแกนนำรัฐบาล มีพรรคเพื่อไทยที่มาจากพรรคพลังประชาชน ซึ่งเดิมเป็นรัฐบาล แต่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ยุบพรรค แล้วสมาชิกพรรคส่วนหนึ่งแปรพรรคไปสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ให้เป็นรัฐบาล
ความพยายามที่จะยุบพรรคประชาธิปัตย์ให้ได้นั้น พรรคเพื่อไทย และ นปช.พยายามกดดันคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และศาลรัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่ จตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ออกมาเปิดเผยว่า มีคลิปวิดีโอที่เปิดเผยแล้วผู้คนทั้งหลายจะช็อกกันทั่วประเทศ เขาจะเปิดเผยคลิปนี้หากการตัดสินยุบพรรคประชาธิปัตย์ ไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม
การตัดสินที่บริสุทธิ์ยุติธรรมในความเห็นของ จตุพร พรหมพันธุ์ และบรรดาพรรคเพื่อไทยทั้งหลายก็คือ ต้องยุบพรรคประชาธิปัตย์
ใกล้วันตัดสินคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ก็มีคลิปที่เกี่ยวข้องกับศาลรัฐธรรมนูญออกมาจริงๆ เป็นคลิปพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นั่งอยู่ในห้องรับรองกับนายชัช ชลวร และมีบุคคลอื่นๆ ร่วมอยู่ด้วยที่มหาวิทยาลัยธรรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เป็นคลิปที่พยายามจะทำให้ผู้คนเข้าใจว่า พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี เจรจากับนายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญไม่ให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์
ทั้งที่ความเป็นจริงก็คือ นายชัช ชลวร เดินทางไปรับรางวัล สัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นรางวัลนักกฎหมายดีเด่น โดยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นประธานในการมอบรางวัลดังกล่าว ไม่เกี่ยวกับกรณียุบพรรคประชาธิปัตย์แต่อย่างใด
นอกจากนั้นก็มีคลิปการประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีเสียงพูดถึงจะเรียก กกต.ท่านใดมาให้การในกรณียุบพรรคประชาธิปัตย์บ้าง
เจตนาของการเผยแพร่คลิปดังกล่าวก็เพื่อให้สังคมเข้าใจว่ามีการวิ่งเต้นไม่ให้มีการยุบพรรคประชาธิปัตย์ การพิจารณาของศาลไม่น่าเชื่อถือ
ซึ่งนั่นเป็นความพยายามภายหลังจากเป็นที่ทราบกันภายหลังว่า ได้มีความพยายามเจรจากับตุลาการท่านหนึ่งขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ หาไม่แล้วจะเปิดเผยคลิปวิดีโอออกมาให้ตุลาการท่านนั้นได้รับความเสียหาย ซึ่งภายหลังก็มีคลิปวิดีโอออกมาจริงๆ เป็นทำนองว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคุยกันถึงการสอบเข้าทำงานในศาลรัฐธรรมนูญ มีการวิ่งเต้น มีการรู้ข้อสอบกันก่อน
กรณีนี้เป็นคดีที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 2 ท่าน กำลังฟ้องร้องนายพสิษฐ์ และสื่อหนังสือพิมพ์ที่เผยแพร่เรื่องนี้อยู่ จึงขอไม่พูดถึงกรณีนี้
คลิปวิดีโอไม่จบแค่นั้น หากมีคลิปวิดีโอนายวิรัช ร่มเย็น ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดระนองไปรับประทานอาหารกับนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ เลขานุการของนายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ที่ร้านอาหารแห่งหนึ่ง เรื่องที่คุยกันเป็นเรื่องยุบพรรคประชาธิปัตย์
เมื่อคลิปดังกล่าวนี้ออกมา สังคมก็มองว่า พรรคประชาธิปัตย์อาจจะ หรือกำลังวิ่งเต้นเรื่องนี้อยู่
แต่บังเอิญว่าคลิปวิดีโอที่ออกมาก่อนหน้านี้ไม่น่าเชื่อถือ และคลิปภาพของนายวิรัช ร่มเย็น นั่งคุยกับนายพสิษฐ์นั้นภาพมันฟ้องชัดเจนว่า เป็นเจตนาของนายพสิษฐ์ เลขานุการของนายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ พยายามสร้างคลิปดังกล่าวนี้ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นมุมกล้อง หรือแม้กระทั่งคำสนทนาที่เป็นคำถามนำ
ตลอดเวลาที่เกิดเรื่องอื้อฉาว คลิปวิดีโอที่ปล่อยออกมาหลายชุดนี้ นายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญนิ่ง และเงียบ ประหนึ่งไม่มีเหตุการณ์อันใดเกิดขึ้นกับศาลรัฐธรรมนูญ จนกระทั่งนายพสิษฐ์เผ่นออกนอกประเทศ นายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ก็ยังคงใช้ความเงียบ อดทน หน้าไม่แดง ไม่เขิน ไม่อาย เพื่อสยบเสียงวิพากษ์วิจารณ์ และเสียงเรียกร้องให้ลาออก
มีรายงานว่า นายชัช ชลวร บอกในที่ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หลังคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นช่วงปลายปี 2553 ว่า เขาจะปฏิบัติตามสัญญาที่เคยให้ไว้กับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อแรกที่รับตำแหน่งประธานที่ว่าเขาจะอยู่ในตำแหน่ง 3 ปีอย่างแน่นอน ครบ 3 ปีเขาจะลาออก
นี่เวลาผ่านไป 3 ปีแล้ว ยังไม่มีท่าทีว่านายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญจะลาออกแต่อย่างใด
นอกจากไม่มีท่าทีว่าจะลาออกแล้ว ยังแต่งตั้งที่ปรึกษา ยังเดินทางไปต่างประเทศ และยังพยายามทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อเสริมส่งฐานะการเป็นประธานให้มั่นคง
ชะรอยนายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญจะลืมคดีที่ตัวนั่งเป็นประธานในการพิจารณา คือ คดีของนายเกียรติกร พากเพียรศิลป์ อดีต ส.ส.ปราจีนบุรี ที่ลั่นวาจาว่า ลาออกแล้วศาลรัฐธรรมนูญมีความเห็นว่า นั่นเป็นการแสดงเจตนารมณ์ที่ชัดเจนแล้ว ไปแล้วจึงได้เงียบเฉยอยู่
แต่ความเงียบของนายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ เช่นนี้จะมองหน้าสังคมได้อย่างไร หรือแม้กระทั่งตุลาการอื่นๆ อีก 8 ท่านได้อย่างไร?
หรือเชื่อว่าการพาทัวร์ต่างประเทศ การหางบประมาณให้ซื้อรถประจำตำแหน่งใหม่ ทั้งที่รถประจำตำแหน่งคันเก่าก็หรูหราฟู่ฟ่าอยู่แล้วจะทำให้ตุลาการท่านอื่นๆ อีก 8 ท่าน เฉยต่อเรื่องนี้ได้
เช่นเดียวกับที่ยอมทนต่อการนิ่งเฉยของนายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ที่หญิงสาวคนหนึ่งซึ่งสนิทกับอดีตเลขาที่เขาไว้เนื้อเชื่อใจเขียนจดหมายมาเปิดโปงเรื่องต่างๆ ในเวทีของการชุมนุมคนเสื้อแดงตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคมเรื่อยมา
มาวันนี้แม้นายชัชจะอาลัยอาวรณ์ต่อตำแหน่งหน้าที่อันทรงเกียรติที่เขาดำรงอยู่ คือตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ ก็เห็นจะอยู่ลำบาก เพราะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีก 8 ท่าน เขาไม่ร่วมสังฆกรรมแล้วด้วยการวอล์กเอาต์จากที่ประชุมเมื่อสัปดาห์ก่อน ซึ่งจะทำให้งานของศาลรัฐธรรมนูญเดินหน้าไม่ได้
นั่นยังไม่สำคัญกับอาการไม่รู้ร้อนรู้หนาวที่หญิงใกล้ชิดอดีตเลขานุการ (นายพสิษฐ์) ส่งจดหมายถึงเสื้อแดง แล้วเสื้อแดงนำมาเปิดเผย ล้วนแต่เป็นเรื่องที่ฟังแล้วทอนเกียรติยศของนายชัช ชลวร ผู้เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น ทำไมนายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่ออกมาชี้แจงข้อเท็จจริง
หรือความจริงเป็นไปตามที่หญิงสาวที่ใกล้ชิดกับนายพสิษฐ์เขียนเป็นจดหมาย แล้วนำมาเปิดเผยบนเวทีเสื้อแดงที่ราชประสงค์ เมื่อเดือนมีนาคม 2554 กล่าวคือ
1. จริงหรือที่มีการหารือนอกรอบที่โรงแรมปาร์คนายเลิศ เพื่อที่จะยุบพรรคการเมือง 3 พรรคอันได้แก่ พรรคพลังประชาชน พรรคมัชฌิมาฯ และพรรคชาติไทย ท่านประธานศาลรัฐธรรมนูญ (ชัช ชลวร) เห็นด้วย ส่วนนายพสิษฐ์บอกว่า ถูกว่าไปตามถูก ผิดว่าไปตามผิด
ประธานศาลรัฐธรรมนูญอนุญาตให้เลขานุการร่วมประชุมด้วยหรือ ให้แสดงความคิดเห็นได้ด้วยหรือ?
2. จริงหรือที่สั่งให้นายพสิษฐ์ติดต่อคณะตุลาการทุกท่านเข้าประชุม ยกเว้นไอ้จุ้ย เพราะสนิทกับบรรหาร
3. จริงหรือไม่ที่มีการพบปะกันระหว่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค และนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ เลขานุการของนายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ใครสั่งให้ไปพบ เพื่ออะไร
4. จริงหรือที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญไปพบนายทหารที่ห้องประชุมใหญ่ หน้าสนามมวยราชดำเนิน พบเพื่ออะไร
5. จริงหรือไม่ที่ให้นายพสิษฐ์ไปอัดภาพและเสียงนายจรูญ นายสุพจน์ เรื่องโกงข้อสอบเข้าทำงานที่ศาลรัฐธรรมนูญ ทำเพื่ออะไร เพื่อให้นายจรูญ นายสุพจน์อยู่ในกำมือ เพื่อที่จะอยู่ในตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ หรือเพื่ออย่างอื่น
6. จริงหรือไม่ที่สั่งนายพสิษฐ์ให้ไปวิ่งเต้นเพื่อให้ได้รับรางวัลสัญญา ธรรมศักดิ์
7. จริงหรือไม่ที่การพิจารณาสรรหา ส.ว.มีการวิ่งเต้น มีการแบ่งโควตาถึงกับจะให้ตำแหน่ง ส.ว.นายพสิษฐ์ ฯลฯ
มีเรื่องที่กระทบกระเทือนต่อเกียรติยศชื่อเสียงของคนที่ดำรงตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญอีกมากจากจดหมายของนางชุติมา เพื่อนสาวคนสนิทของนายพสิษฐ์ ที่เปิดเผยบนเวทีคนเสื้อแดง ล้วนเป็นเรื่องที่สังคมสงสัย ฉงนฉงาย และเป็นห่วงอย่างยิ่ง
นายชัช ชลวร จะเฉยอยู่ได้อย่างไร?
องค์กรแห่งนี้เองที่พิจารณายุบพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย พรรคมัชฌิมาฯ และพรรคเล็กพรรคน้อยอื่นๆ ที่ทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง และองค์กรแห่งนี้เองที่พิจารณากรณี ทักษิณ ชินวัตรซุกหุ้นหรือไม่ซุก พิจารณากรณีที่ สมัคร สุนทรเวช รับเงินค่าจ้างทำกับข้าวออกโทรทัศน์ระหว่างที่เป็นนายกรัฐมนตรี ถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมาย ป.ป.ช.หรือไม่ เป็นการทับซ้อนในผลประโยชน์หรือไม่ และอีกหลายๆ คดี รวมทั้งพิจารณากรณีที่อดีต ส.ส.ปราจีนบุรี นายเกียรติกร พากเพียรศิลป์ พรรคมัชฌิมาฯ เมื่อพรรคถูกยุบย้ายมาอยู่พรรคประชาธิปัตย์ แล้วเอ่ยปากลาออกจากตำแหน่ง ถือว่าพ้นจากตำแหน่งแล้วหรือไม่?
ตุลาการของศาลแห่งนี้แหละที่ตัดสินเป็นเด็ดขาดว่า นายเกียรติกร พากเพียรศิลป์ พ้นจากสมาชิกภาพนับตั้งแต่ที่ลั่นวาจาแสดงเจตนารมณ์แล้ว
ตุลาการของศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้มี 9 ท่าน โดยมาจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา 3 ท่านคือ นายชัช ชลวร นายนุรักษ์ มาประณีต นายบุญส่ง กุลบุปผา มาจากศาลปกครองสูงสุด 2 ท่านคือ นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี นายจรูญ อินทจาร มาจากการสรรหา 4 ท่านคือ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ นายจรัญ ภักดีธนากุล (ผู้ทรงคุณวุฒิสายนิติศาสตร์) นายสุพจน์ ไข่มุกด์ และนายเฉลิมพล เอกอุรุ (สายรัฐศาสตร์)
ทั้ง 4 ท่านที่มาจากการสรรหาต้องผ่านการรับรองจากวุฒิสภา
คณะตุลาการชุดนี้ทำหน้าที่มาแล้ว 3 ปีแล้ว
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้เลือกนายชัช ชลวร เป็นประธาน นายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญเลือกนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ เป็นเลขาฯ ตุลาการแต่ละท่านต่างก็มีเลขานุการส่วนตัว บ้างก็ใช้นักกฎหมาย บ้างก็ใช้ผู้มีประสบการณ์ในด้านต่างๆ เลขานุการของประธานศาลรัฐธรรมนูญนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ ไม่มีประวัติในด้านความรู้ ความสามารถใดเป็นพิเศษทางด้านกฎหมาย อาจจะมีความรู้บ้างทางด้านการนวดเฟ้น เพราะเรียนมาทางกายภาพบำบัด แต่ก็เป็นสิทธิส่วนตัวของประธานศาลรัฐธรรมนูญที่จะเลือกใช้บริการของผู้ที่มีคุณสมบัติอย่างนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์
เช่นเดียวกับตุลาการบางคนใช้บริการของลูกมาทำหน้าที่เลขาฯ โดยอ้างเอาความไว้วางใจที่จะต้องเก็บความลับให้กับท่านตุลาการเป็นพิเศษ
แต่ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่ขณะนี้ก็ตรงที่ลูกชายที่ท่านตุลาการแต่งตั้งให้เป็นเลขาฯ รับเงินเดือนทุกเดือน แต่ดันไปเรียนหนังสืออยู่ต่างประเทศ มีหลักฐานชัดเจนตรงที่หนังสือเดินทางบอกให้รู้ว่าวัน เดือน ปี อยู่ที่ไหน แถมสำนักเลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญก็รับรู้ บอกว่าเป็นนโยบายเพิ่มวิทยฐานะความรู้
ถ้าหากนี่เป็นเรื่องที่ชอบด้วยกฎหมาย ในอนาคตหน่วยงานราชการอื่นๆ ก็คงจะเอาเยี่ยงเอาอย่างบ้างละน่า
บางรายเป็นที่รู้ว่าขายกาแฟ อยู่ที่นั่นที่นี่ นั่นก็ช่างเถอะ ถือว่าเป็นรายได้เสริมก็แล้วกัน
แรกทีเดียว ตุลาการชุดนี้ก็ดูดีแม้ขณะนี้ก็ยังดูดีอยู่ เพียงแต่ต้องแก้ไขข้อบกพร่องบางจุดที่เกิดขึ้นแล้วให้ดีขึ้น หรือต้องทำความจริงให้ปรากฏในสิ่งที่ได้มีความพยายามที่จะทำลายความน่าเชื่อถือ โดยพยายามทำให้สังคมเห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่ยุติธรรม เป็นศาลการเมืองมี 2 มาตรฐาน เมื่อบางคนบางกลุ่มไม่สามารถเข้ามาแทรกแซง หรือพยายามที่จะให้ศาลแห่งนี้ตัดสินให้เป็นไปตามที่ต้องการได้ เพื่อให้องค์กรที่สำคัญนี้ดำรงเกียรติภูมิในฐานะที่คำวินิจฉัยขององค์กรแห่งนี้ผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล
คดีที่สั่นสะเทือนศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้มากที่สุดคือ คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นแกนนำรัฐบาล มีพรรคเพื่อไทยที่มาจากพรรคพลังประชาชน ซึ่งเดิมเป็นรัฐบาล แต่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ยุบพรรค แล้วสมาชิกพรรคส่วนหนึ่งแปรพรรคไปสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ให้เป็นรัฐบาล
ความพยายามที่จะยุบพรรคประชาธิปัตย์ให้ได้นั้น พรรคเพื่อไทย และ นปช.พยายามกดดันคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และศาลรัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่ จตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ออกมาเปิดเผยว่า มีคลิปวิดีโอที่เปิดเผยแล้วผู้คนทั้งหลายจะช็อกกันทั่วประเทศ เขาจะเปิดเผยคลิปนี้หากการตัดสินยุบพรรคประชาธิปัตย์ ไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม
การตัดสินที่บริสุทธิ์ยุติธรรมในความเห็นของ จตุพร พรหมพันธุ์ และบรรดาพรรคเพื่อไทยทั้งหลายก็คือ ต้องยุบพรรคประชาธิปัตย์
ใกล้วันตัดสินคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ก็มีคลิปที่เกี่ยวข้องกับศาลรัฐธรรมนูญออกมาจริงๆ เป็นคลิปพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นั่งอยู่ในห้องรับรองกับนายชัช ชลวร และมีบุคคลอื่นๆ ร่วมอยู่ด้วยที่มหาวิทยาลัยธรรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เป็นคลิปที่พยายามจะทำให้ผู้คนเข้าใจว่า พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี เจรจากับนายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญไม่ให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์
ทั้งที่ความเป็นจริงก็คือ นายชัช ชลวร เดินทางไปรับรางวัล สัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นรางวัลนักกฎหมายดีเด่น โดยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นประธานในการมอบรางวัลดังกล่าว ไม่เกี่ยวกับกรณียุบพรรคประชาธิปัตย์แต่อย่างใด
นอกจากนั้นก็มีคลิปการประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีเสียงพูดถึงจะเรียก กกต.ท่านใดมาให้การในกรณียุบพรรคประชาธิปัตย์บ้าง
เจตนาของการเผยแพร่คลิปดังกล่าวก็เพื่อให้สังคมเข้าใจว่ามีการวิ่งเต้นไม่ให้มีการยุบพรรคประชาธิปัตย์ การพิจารณาของศาลไม่น่าเชื่อถือ
ซึ่งนั่นเป็นความพยายามภายหลังจากเป็นที่ทราบกันภายหลังว่า ได้มีความพยายามเจรจากับตุลาการท่านหนึ่งขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ หาไม่แล้วจะเปิดเผยคลิปวิดีโอออกมาให้ตุลาการท่านนั้นได้รับความเสียหาย ซึ่งภายหลังก็มีคลิปวิดีโอออกมาจริงๆ เป็นทำนองว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคุยกันถึงการสอบเข้าทำงานในศาลรัฐธรรมนูญ มีการวิ่งเต้น มีการรู้ข้อสอบกันก่อน
กรณีนี้เป็นคดีที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 2 ท่าน กำลังฟ้องร้องนายพสิษฐ์ และสื่อหนังสือพิมพ์ที่เผยแพร่เรื่องนี้อยู่ จึงขอไม่พูดถึงกรณีนี้
คลิปวิดีโอไม่จบแค่นั้น หากมีคลิปวิดีโอนายวิรัช ร่มเย็น ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดระนองไปรับประทานอาหารกับนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ เลขานุการของนายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ที่ร้านอาหารแห่งหนึ่ง เรื่องที่คุยกันเป็นเรื่องยุบพรรคประชาธิปัตย์
เมื่อคลิปดังกล่าวนี้ออกมา สังคมก็มองว่า พรรคประชาธิปัตย์อาจจะ หรือกำลังวิ่งเต้นเรื่องนี้อยู่
แต่บังเอิญว่าคลิปวิดีโอที่ออกมาก่อนหน้านี้ไม่น่าเชื่อถือ และคลิปภาพของนายวิรัช ร่มเย็น นั่งคุยกับนายพสิษฐ์นั้นภาพมันฟ้องชัดเจนว่า เป็นเจตนาของนายพสิษฐ์ เลขานุการของนายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ พยายามสร้างคลิปดังกล่าวนี้ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นมุมกล้อง หรือแม้กระทั่งคำสนทนาที่เป็นคำถามนำ
ตลอดเวลาที่เกิดเรื่องอื้อฉาว คลิปวิดีโอที่ปล่อยออกมาหลายชุดนี้ นายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญนิ่ง และเงียบ ประหนึ่งไม่มีเหตุการณ์อันใดเกิดขึ้นกับศาลรัฐธรรมนูญ จนกระทั่งนายพสิษฐ์เผ่นออกนอกประเทศ นายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ก็ยังคงใช้ความเงียบ อดทน หน้าไม่แดง ไม่เขิน ไม่อาย เพื่อสยบเสียงวิพากษ์วิจารณ์ และเสียงเรียกร้องให้ลาออก
มีรายงานว่า นายชัช ชลวร บอกในที่ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หลังคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นช่วงปลายปี 2553 ว่า เขาจะปฏิบัติตามสัญญาที่เคยให้ไว้กับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อแรกที่รับตำแหน่งประธานที่ว่าเขาจะอยู่ในตำแหน่ง 3 ปีอย่างแน่นอน ครบ 3 ปีเขาจะลาออก
นี่เวลาผ่านไป 3 ปีแล้ว ยังไม่มีท่าทีว่านายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญจะลาออกแต่อย่างใด
นอกจากไม่มีท่าทีว่าจะลาออกแล้ว ยังแต่งตั้งที่ปรึกษา ยังเดินทางไปต่างประเทศ และยังพยายามทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อเสริมส่งฐานะการเป็นประธานให้มั่นคง
ชะรอยนายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญจะลืมคดีที่ตัวนั่งเป็นประธานในการพิจารณา คือ คดีของนายเกียรติกร พากเพียรศิลป์ อดีต ส.ส.ปราจีนบุรี ที่ลั่นวาจาว่า ลาออกแล้วศาลรัฐธรรมนูญมีความเห็นว่า นั่นเป็นการแสดงเจตนารมณ์ที่ชัดเจนแล้ว ไปแล้วจึงได้เงียบเฉยอยู่
แต่ความเงียบของนายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ เช่นนี้จะมองหน้าสังคมได้อย่างไร หรือแม้กระทั่งตุลาการอื่นๆ อีก 8 ท่านได้อย่างไร?
หรือเชื่อว่าการพาทัวร์ต่างประเทศ การหางบประมาณให้ซื้อรถประจำตำแหน่งใหม่ ทั้งที่รถประจำตำแหน่งคันเก่าก็หรูหราฟู่ฟ่าอยู่แล้วจะทำให้ตุลาการท่านอื่นๆ อีก 8 ท่าน เฉยต่อเรื่องนี้ได้
เช่นเดียวกับที่ยอมทนต่อการนิ่งเฉยของนายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ที่หญิงสาวคนหนึ่งซึ่งสนิทกับอดีตเลขาที่เขาไว้เนื้อเชื่อใจเขียนจดหมายมาเปิดโปงเรื่องต่างๆ ในเวทีของการชุมนุมคนเสื้อแดงตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคมเรื่อยมา
มาวันนี้แม้นายชัชจะอาลัยอาวรณ์ต่อตำแหน่งหน้าที่อันทรงเกียรติที่เขาดำรงอยู่ คือตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ ก็เห็นจะอยู่ลำบาก เพราะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีก 8 ท่าน เขาไม่ร่วมสังฆกรรมแล้วด้วยการวอล์กเอาต์จากที่ประชุมเมื่อสัปดาห์ก่อน ซึ่งจะทำให้งานของศาลรัฐธรรมนูญเดินหน้าไม่ได้
นั่นยังไม่สำคัญกับอาการไม่รู้ร้อนรู้หนาวที่หญิงใกล้ชิดอดีตเลขานุการ (นายพสิษฐ์) ส่งจดหมายถึงเสื้อแดง แล้วเสื้อแดงนำมาเปิดเผย ล้วนแต่เป็นเรื่องที่ฟังแล้วทอนเกียรติยศของนายชัช ชลวร ผู้เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น ทำไมนายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่ออกมาชี้แจงข้อเท็จจริง
หรือความจริงเป็นไปตามที่หญิงสาวที่ใกล้ชิดกับนายพสิษฐ์เขียนเป็นจดหมาย แล้วนำมาเปิดเผยบนเวทีเสื้อแดงที่ราชประสงค์ เมื่อเดือนมีนาคม 2554 กล่าวคือ
1. จริงหรือที่มีการหารือนอกรอบที่โรงแรมปาร์คนายเลิศ เพื่อที่จะยุบพรรคการเมือง 3 พรรคอันได้แก่ พรรคพลังประชาชน พรรคมัชฌิมาฯ และพรรคชาติไทย ท่านประธานศาลรัฐธรรมนูญ (ชัช ชลวร) เห็นด้วย ส่วนนายพสิษฐ์บอกว่า ถูกว่าไปตามถูก ผิดว่าไปตามผิด
ประธานศาลรัฐธรรมนูญอนุญาตให้เลขานุการร่วมประชุมด้วยหรือ ให้แสดงความคิดเห็นได้ด้วยหรือ?
2. จริงหรือที่สั่งให้นายพสิษฐ์ติดต่อคณะตุลาการทุกท่านเข้าประชุม ยกเว้นไอ้จุ้ย เพราะสนิทกับบรรหาร
3. จริงหรือไม่ที่มีการพบปะกันระหว่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค และนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ เลขานุการของนายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ใครสั่งให้ไปพบ เพื่ออะไร
4. จริงหรือที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญไปพบนายทหารที่ห้องประชุมใหญ่ หน้าสนามมวยราชดำเนิน พบเพื่ออะไร
5. จริงหรือไม่ที่ให้นายพสิษฐ์ไปอัดภาพและเสียงนายจรูญ นายสุพจน์ เรื่องโกงข้อสอบเข้าทำงานที่ศาลรัฐธรรมนูญ ทำเพื่ออะไร เพื่อให้นายจรูญ นายสุพจน์อยู่ในกำมือ เพื่อที่จะอยู่ในตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ หรือเพื่ออย่างอื่น
6. จริงหรือไม่ที่สั่งนายพสิษฐ์ให้ไปวิ่งเต้นเพื่อให้ได้รับรางวัลสัญญา ธรรมศักดิ์
7. จริงหรือไม่ที่การพิจารณาสรรหา ส.ว.มีการวิ่งเต้น มีการแบ่งโควตาถึงกับจะให้ตำแหน่ง ส.ว.นายพสิษฐ์ ฯลฯ
มีเรื่องที่กระทบกระเทือนต่อเกียรติยศชื่อเสียงของคนที่ดำรงตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญอีกมากจากจดหมายของนางชุติมา เพื่อนสาวคนสนิทของนายพสิษฐ์ ที่เปิดเผยบนเวทีคนเสื้อแดง ล้วนเป็นเรื่องที่สังคมสงสัย ฉงนฉงาย และเป็นห่วงอย่างยิ่ง
นายชัช ชลวร จะเฉยอยู่ได้อย่างไร?