วานนี้ ( 10 ส.ค.)นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งได้รับมอบหมายจากที่ประชุมคณะตุลาการฯ แถลงว่า ที่ประชุมฯ มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบให้นายชัช ชลวร พ้นจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตามที่นายชัช ได้แสดงเจตนาพ้นจากตำแหน่งแต่ยังคงจะดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต่อไปจนครบวาระ ซึ่งการพ้นจากตำแหน่งดังกล่าวเป็นการปฏิบัติตามเจตนารมณ์ที่ได้ตั้งใจไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะดำรงตำแหน่งดังกล่าวเพียง 3 ปีนับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งเมื่อ 28 พ.ค. 51 เพื่อเปิดโอกาสให้ตุลาการฯคนอื่นขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทน โดยการพ้นจากตำแหน่งจะมีผลทันทีนับแต่ที่แสดงเจตนารมณ์ แต่ในระหว่างนี้คณะตุลาการฯก็ได้มอบให้นายชัช ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมไปจนกว่าจะได้ประธานคนใหม่เพื่อให้การพิจารณาสำนวนคดีไม่เกิดปัญหา
นายจรัญ ยังกล่าวอีกว่า การลาออกของนายชัช ไม่ได้เกิดจากการทวงสัญญา หรือถูกกดดันจากกรณีนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ อดีตเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ นำคลิปลับการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับคดียุบพรรคไปเผยแพร่จนเกิดความเสื่อมเสียกับองค์กร เพราะในการประชุมครั้งนี้ตุลาการบางคนก็ชื่นชม ยกย่องนายชัช ถึงการทำหน้าที่ประธานว่าทำได้อย่างดี สามารถประคับประคองศาลให้ผ่านพ้นวิกฤตไปได้ แต่เมื่อนายชัช มีเจตจำนงที่แนวแน่ที่ประชุมก็ไม่ขัดข้อง
“ประเด็นนายพสิษฐ์นั้นมีข้อเท็จจริงที่ซับซ้อน ยังไม่ชัดว่ามีอะไรอยู่เบื้องหลัง และมีการนำคดีไปสู่กระบวนการศาล และป.ป.ช. ซึ่งคิดว่าถ้าคดีชัดเจนแล้วใครที่เกี่ยวข้องต้องรับผิดชอบก็มาว่ากันอีกที แต่ก่อนหน้านี้มีเสียงท้วงติงเรื่องการทวงคำมั่นสัญญา และสัจจะของประธาน ซึ่งอยู่ในช่วงที่นายชัชกำลังเตรียมการตัดสินใจ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจไม่เข้าใจอะไร และนายชัชเองก็พูดว่าเรื่องนี้ไม่ต้องเป็นห่วง ถ้าถึงเวลาสมควรก็จะตัดสินให้ และเมื่อนายชัช ตัดสินใจเช่นนี้ความอึมครึมสังคมก็หมดไป” นายจรัญ กล่าว
สำหรับการคัดเลือกประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่นั้น นายจรัญ กล่าวว่า ได้วางหลักในการคัดเลือกว่าตุลาการฯคนใดประสงค์จะเป็นประธานฯให้เสนอตัวหรือแสดงความจำนง หรือให้ตุลาการคนอื่นเสนอชื่อแต่เจ้าตัวต้องยินยอม ซึ่งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 206 ก็ให้ที่ประชุมคณะตุลาการลงมติเห็นชอบด้วยเสียงข้างมาก แต่หากเกิดกรณี 3 เส้าที่ประชุมฯก็ตกลงกันให้ตุลาการที่ได้รับเสียงน้อยที่สุดถอนตัวออกไปเพื่อให้เหลือผู้เสนอตัวเป็นประธานฯเพียง 2 คน และให้ที่ประชุมลงมติด้วยเสียงข้างมาก โดยเมื่อได้บุคคลเป็นประธานฯแล้วให้เสนอชื่อไปยังประธานวุฒิสภา เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าอย่างไรก็ตามคิดว่าการประชุมคัดเลือกประธานฯคนใหม่คงจะเกิดขึ้นภายใน 10 วันหลังจากนี้เนื่องจากขณะนี้นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี ตุลาการฯ เดินทางไปต่างประเทศตามที่ได้ยื่นหนังสือลาไว้ก่อนหน้านี้
“งานของประธานศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่งานบังคับบัญชา ไม่เหมือนฝ่ายบริหาร เพราะมาทำหน้าที่เพิ่มเติมในด้านธุรการ การบริหารจัดการงบประมาณ ส่วนงานด้านตุลาการฯนั้นก็ทำหน้าที่เหมือนกับตุลาการคนอื่น ๆ มีหนึ่งเสียงเท่านั้น จึงไม่ใช่เรื่องใหญ่ ดังนั้นคนที่มาทำหน้าที่ประธานศาล จึงไม่ต้องเอาซุปเปอร์แมนมา แต่เอาคนที่ประชาชนรับได้ในการทำงานมาก็พอแล้ว”นายจรัญ กล่าว
นายจรัญ ยังกล่าวอีกว่า ส่วนคนที่จะมาดำรงตำแหน่งประธานนั้นขณะนี้อยู่ที่ว่าใครจะเสนอตัว ซึ่งตนเองนั้นอาวุโสน้อยสุด และไม่คิดว่าจะอยู่ในฐานะที่จะเสนอตัวเอง หรือถ้าใครเสนอก็คงไม่รับ เพราะในระบบศาลนั้นจะคำนึงถึงเรื่องอาวุโสคือการเข้าสู่ตำแหน่งราชการก่อนหลังเป็นสำคัญ ซึ่งในวาระของตุลาการที่เหลืออีก 6 ปีนั้น ในจำนวนตุลาการอีก 8 คนที่เหลือเข้าใจว่า นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์มีความอาวุโสสูงสุด แต่ก็ยังคิดว่าการจะได้รับตำแหน่งหรือไม่ ที่ประชุมน่าจะให้มีการแสดงวิสัยทัศน์ เสนอแนวทางการบริหารงาน โดยคนที่เสนอตัวก็อาจจะมีการเสนอเรื่องระยะเวลาการดำรงตำแหน่งแม้จะไม่ใช่เงื่อนไขก็ตาม
เมื่อถามว่าเปลี่ยนประธานศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนรัฐบาลหรือไม่ นายจรัญ ไม่น่าจะเกี่ยว เพราะระบบศาลมีประเพณีมานาน การเมืองจะเข้ามายุ่มย่ามไม่ได้ ถ้าเข้ามายุ่มยามถือเป็นความบกพร่องทางการเมือง หรือถ้าศาลเข้าไปยุ่งกับการเมืองก็เป็นความบกพร่องของศาล 3 ปีที่ผ่านมาศาลรัฐธรรมนูญพยายามรักษาประเพณีนี้ไว้ให้ชัดเจนที่สุด และคิดว่าจะดำรงไว้ต่อไป
รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนที่นายชัช จะลาออกจากตำแหน่งประธานนั้น หลังเกิดเหตุการณ์กรณีของนายพสิษฐ์แล้ว ตุลาการฯจำนวนหนึ่งก็ได้พยายามที่จะเรียกร้องให้นายชัช แสดงความรับผิดชอบ แต่นายชัชก็นิ่งเฉย จนกระทั่งเมื่อเวลาล่วงเลยมาถึงการครบระยะเวลา 3 ปีของการครองตำแหน่งตามที่นายชัชได้เคยให้คำมั่นไว้ว่าจะอยู่ในตำแหน่งเพียง 3 ปี ก็มีเสียงทวงถามจากตุลาการฯอีกครั้งซึ่งนายชัช ก็ยังคงนิ่งเฉยอีกเช่นเคย ทำให้ตุลาการหลายคนไม่พอใจ และปฏิบัติการกดดันนายชัชอย่างต่อเนื่องด้วยการไม่เข้าร่วมประชุม อาทิ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ นายนุรักษ์ มาประณีต นายจรูญ อินทรจาร และนายสุพจน์ ไข่มุกด์ ขณะที่ตุลาการบางคนก็ใช้วิธีการขอลาพักร้อน ลาไปต่างประเทศ เช่น นายบุญส่ง กุลบุปฝา และนายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี จึงทำให้ก่อนหน้านี้องค์ประชุมของคณะตุลาการไม่ครบ การพิจารณาคดีต่างๆเกิดความล่าช้า มีอุปสรรค ทำให้นายชัชต้องยอมลาออกจากประธานศาลรัฐธรรมนูญในที่สุด
ส่วนการคัดเลือกประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่นั้น มีรายงานว่าคงต้องรอให้นาย
นายอุดมศักดิ์ เดินทางกลับมาจากต่างประเทศในช่วงปลายเดือนนี้ก่อน ซึ่งคาดว่าผู้ที่จะได้รับการเสนอชื่อให้เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญน่าจะเป็นผู้ที่เคยรับราชการในสายศาลยุติธรรมก่อน และเมื่อพิจารณาลำดับความอาวุโสจากมากไปน้อยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 8 คนที่เหลือ มี 6 คนที่เคยรับราชการในศาลยุติธรรม 1.นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ 2.นายจรูญ อินทจาร 3.นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี 4.นายนุรักษ์ มาประณีต 5.นายบุญส่ง กุลบุปฝา และ 6.นายจรัญ ภักดีธนากุล ขณะที่นายเฉลิมพล เอกอุรุ และนายสุพจน์ ไข่มุกด์ มาจากสายรัฐศาสตร์ จึงไม่น่าจะได้รับการเสนอชื่อเข้ารับตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้การลงมติเลือกประธานศาลรัฐธรรมนูญจะใช้วิธีการลงคะแนนลับ ผู้ได้รับเลือกจะต้องได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งหรือไม่น้อยกว่า 5 เสียงจึงจะได้รับตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อครั้งที่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบันเข้ารับตำแหน่งเป็นครั้งแรกและได้มีการประชุมเพื่อลงมติเลือกประธานศาลรัฐธรรมนูญ ในครั้งนั้นมีตุลาการเสนอตัวเข้ารับตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญจำนวน 3 คน คือนายชัช ชลวร นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ นายนุรักษ์ มาประณีต ซึ่งมีการลงมติลับถึง 2 รอบ โดยรอบแรกปรากฎว่า นายชัชได้คะแนนเสียงมากที่สุด 4 คะแนน นายนุรักษ์ได้ 3คะแนน ส่วนนายวสันต์ ได้ 2 คะแนน และการลงมติในรอบที่ 2 นายวสันต์ได้ถอน ทำให้มีการลงมติอีกครั้งปรากฎผลเป็นที่ประชุมมีมติเสียงข้างมากให้นายชัชได้รับเลือกเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญด้วยคะแนน 6คะแนน ขณะที่นายนุรักษ์ได้ 3 คะแนน
นายจรัญ ยังกล่าวอีกว่า การลาออกของนายชัช ไม่ได้เกิดจากการทวงสัญญา หรือถูกกดดันจากกรณีนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ อดีตเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ นำคลิปลับการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับคดียุบพรรคไปเผยแพร่จนเกิดความเสื่อมเสียกับองค์กร เพราะในการประชุมครั้งนี้ตุลาการบางคนก็ชื่นชม ยกย่องนายชัช ถึงการทำหน้าที่ประธานว่าทำได้อย่างดี สามารถประคับประคองศาลให้ผ่านพ้นวิกฤตไปได้ แต่เมื่อนายชัช มีเจตจำนงที่แนวแน่ที่ประชุมก็ไม่ขัดข้อง
“ประเด็นนายพสิษฐ์นั้นมีข้อเท็จจริงที่ซับซ้อน ยังไม่ชัดว่ามีอะไรอยู่เบื้องหลัง และมีการนำคดีไปสู่กระบวนการศาล และป.ป.ช. ซึ่งคิดว่าถ้าคดีชัดเจนแล้วใครที่เกี่ยวข้องต้องรับผิดชอบก็มาว่ากันอีกที แต่ก่อนหน้านี้มีเสียงท้วงติงเรื่องการทวงคำมั่นสัญญา และสัจจะของประธาน ซึ่งอยู่ในช่วงที่นายชัชกำลังเตรียมการตัดสินใจ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจไม่เข้าใจอะไร และนายชัชเองก็พูดว่าเรื่องนี้ไม่ต้องเป็นห่วง ถ้าถึงเวลาสมควรก็จะตัดสินให้ และเมื่อนายชัช ตัดสินใจเช่นนี้ความอึมครึมสังคมก็หมดไป” นายจรัญ กล่าว
สำหรับการคัดเลือกประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่นั้น นายจรัญ กล่าวว่า ได้วางหลักในการคัดเลือกว่าตุลาการฯคนใดประสงค์จะเป็นประธานฯให้เสนอตัวหรือแสดงความจำนง หรือให้ตุลาการคนอื่นเสนอชื่อแต่เจ้าตัวต้องยินยอม ซึ่งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 206 ก็ให้ที่ประชุมคณะตุลาการลงมติเห็นชอบด้วยเสียงข้างมาก แต่หากเกิดกรณี 3 เส้าที่ประชุมฯก็ตกลงกันให้ตุลาการที่ได้รับเสียงน้อยที่สุดถอนตัวออกไปเพื่อให้เหลือผู้เสนอตัวเป็นประธานฯเพียง 2 คน และให้ที่ประชุมลงมติด้วยเสียงข้างมาก โดยเมื่อได้บุคคลเป็นประธานฯแล้วให้เสนอชื่อไปยังประธานวุฒิสภา เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าอย่างไรก็ตามคิดว่าการประชุมคัดเลือกประธานฯคนใหม่คงจะเกิดขึ้นภายใน 10 วันหลังจากนี้เนื่องจากขณะนี้นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี ตุลาการฯ เดินทางไปต่างประเทศตามที่ได้ยื่นหนังสือลาไว้ก่อนหน้านี้
“งานของประธานศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่งานบังคับบัญชา ไม่เหมือนฝ่ายบริหาร เพราะมาทำหน้าที่เพิ่มเติมในด้านธุรการ การบริหารจัดการงบประมาณ ส่วนงานด้านตุลาการฯนั้นก็ทำหน้าที่เหมือนกับตุลาการคนอื่น ๆ มีหนึ่งเสียงเท่านั้น จึงไม่ใช่เรื่องใหญ่ ดังนั้นคนที่มาทำหน้าที่ประธานศาล จึงไม่ต้องเอาซุปเปอร์แมนมา แต่เอาคนที่ประชาชนรับได้ในการทำงานมาก็พอแล้ว”นายจรัญ กล่าว
นายจรัญ ยังกล่าวอีกว่า ส่วนคนที่จะมาดำรงตำแหน่งประธานนั้นขณะนี้อยู่ที่ว่าใครจะเสนอตัว ซึ่งตนเองนั้นอาวุโสน้อยสุด และไม่คิดว่าจะอยู่ในฐานะที่จะเสนอตัวเอง หรือถ้าใครเสนอก็คงไม่รับ เพราะในระบบศาลนั้นจะคำนึงถึงเรื่องอาวุโสคือการเข้าสู่ตำแหน่งราชการก่อนหลังเป็นสำคัญ ซึ่งในวาระของตุลาการที่เหลืออีก 6 ปีนั้น ในจำนวนตุลาการอีก 8 คนที่เหลือเข้าใจว่า นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์มีความอาวุโสสูงสุด แต่ก็ยังคิดว่าการจะได้รับตำแหน่งหรือไม่ ที่ประชุมน่าจะให้มีการแสดงวิสัยทัศน์ เสนอแนวทางการบริหารงาน โดยคนที่เสนอตัวก็อาจจะมีการเสนอเรื่องระยะเวลาการดำรงตำแหน่งแม้จะไม่ใช่เงื่อนไขก็ตาม
เมื่อถามว่าเปลี่ยนประธานศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนรัฐบาลหรือไม่ นายจรัญ ไม่น่าจะเกี่ยว เพราะระบบศาลมีประเพณีมานาน การเมืองจะเข้ามายุ่มย่ามไม่ได้ ถ้าเข้ามายุ่มยามถือเป็นความบกพร่องทางการเมือง หรือถ้าศาลเข้าไปยุ่งกับการเมืองก็เป็นความบกพร่องของศาล 3 ปีที่ผ่านมาศาลรัฐธรรมนูญพยายามรักษาประเพณีนี้ไว้ให้ชัดเจนที่สุด และคิดว่าจะดำรงไว้ต่อไป
รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนที่นายชัช จะลาออกจากตำแหน่งประธานนั้น หลังเกิดเหตุการณ์กรณีของนายพสิษฐ์แล้ว ตุลาการฯจำนวนหนึ่งก็ได้พยายามที่จะเรียกร้องให้นายชัช แสดงความรับผิดชอบ แต่นายชัชก็นิ่งเฉย จนกระทั่งเมื่อเวลาล่วงเลยมาถึงการครบระยะเวลา 3 ปีของการครองตำแหน่งตามที่นายชัชได้เคยให้คำมั่นไว้ว่าจะอยู่ในตำแหน่งเพียง 3 ปี ก็มีเสียงทวงถามจากตุลาการฯอีกครั้งซึ่งนายชัช ก็ยังคงนิ่งเฉยอีกเช่นเคย ทำให้ตุลาการหลายคนไม่พอใจ และปฏิบัติการกดดันนายชัชอย่างต่อเนื่องด้วยการไม่เข้าร่วมประชุม อาทิ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ นายนุรักษ์ มาประณีต นายจรูญ อินทรจาร และนายสุพจน์ ไข่มุกด์ ขณะที่ตุลาการบางคนก็ใช้วิธีการขอลาพักร้อน ลาไปต่างประเทศ เช่น นายบุญส่ง กุลบุปฝา และนายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี จึงทำให้ก่อนหน้านี้องค์ประชุมของคณะตุลาการไม่ครบ การพิจารณาคดีต่างๆเกิดความล่าช้า มีอุปสรรค ทำให้นายชัชต้องยอมลาออกจากประธานศาลรัฐธรรมนูญในที่สุด
ส่วนการคัดเลือกประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่นั้น มีรายงานว่าคงต้องรอให้นาย
นายอุดมศักดิ์ เดินทางกลับมาจากต่างประเทศในช่วงปลายเดือนนี้ก่อน ซึ่งคาดว่าผู้ที่จะได้รับการเสนอชื่อให้เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญน่าจะเป็นผู้ที่เคยรับราชการในสายศาลยุติธรรมก่อน และเมื่อพิจารณาลำดับความอาวุโสจากมากไปน้อยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 8 คนที่เหลือ มี 6 คนที่เคยรับราชการในศาลยุติธรรม 1.นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ 2.นายจรูญ อินทจาร 3.นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี 4.นายนุรักษ์ มาประณีต 5.นายบุญส่ง กุลบุปฝา และ 6.นายจรัญ ภักดีธนากุล ขณะที่นายเฉลิมพล เอกอุรุ และนายสุพจน์ ไข่มุกด์ มาจากสายรัฐศาสตร์ จึงไม่น่าจะได้รับการเสนอชื่อเข้ารับตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้การลงมติเลือกประธานศาลรัฐธรรมนูญจะใช้วิธีการลงคะแนนลับ ผู้ได้รับเลือกจะต้องได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งหรือไม่น้อยกว่า 5 เสียงจึงจะได้รับตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อครั้งที่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบันเข้ารับตำแหน่งเป็นครั้งแรกและได้มีการประชุมเพื่อลงมติเลือกประธานศาลรัฐธรรมนูญ ในครั้งนั้นมีตุลาการเสนอตัวเข้ารับตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญจำนวน 3 คน คือนายชัช ชลวร นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ นายนุรักษ์ มาประณีต ซึ่งมีการลงมติลับถึง 2 รอบ โดยรอบแรกปรากฎว่า นายชัชได้คะแนนเสียงมากที่สุด 4 คะแนน นายนุรักษ์ได้ 3คะแนน ส่วนนายวสันต์ ได้ 2 คะแนน และการลงมติในรอบที่ 2 นายวสันต์ได้ถอน ทำให้มีการลงมติอีกครั้งปรากฎผลเป็นที่ประชุมมีมติเสียงข้างมากให้นายชัชได้รับเลือกเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญด้วยคะแนน 6คะแนน ขณะที่นายนุรักษ์ได้ 3 คะแนน