ASTVผู้จัดการรายวัน-คาดกลับสู่วังวนเดิม การเมืองน้ำเน่า โพลอ้างคนไทย 64.5รับได้ “รัฐบาลคอร์รัปชัน” หากประชาชนได้ประโยชน์ แนะเพิ่มโทษ ยึดทรัพย์นักการเมือง ข้าราชการ และของเครือญาติที่รู้เห็นเป็นใจทุจริตคอร์รัปชัน ชู“ยิ่งลักษณ์” นั่งประธานรณรงค์สร้างชาติโปร่งใส สร้างไทยซื่อตรง
วานนี้ (20 ก.ค.) นายนพดล กรรณิกา ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่องความต้องการของประชาชนต่อรัฐบาลชุดใหม่ ในการสร้างชาติโปร่งใส สร้างไทยซื่อตรง กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของ จำนวนทั้งสิ้น 2,559 ตัวอย่าง ระหว่าง วันที่ 13-19 ก.ค.ที่ผ่านมา พบประเด็นสำคัญที่ค้นพบครั้งนี้คือ ร้อยละ 74.4 จะแจ้งความเอาผิด ถ้าพบเห็นแกนนำชุมชนของตนทุจริตคอร์รัปชัน รองลงมาคือ ร้อยละ 72.9 จะแจ้งความเอาผิดข้าราชการที่ทุจริตคอร์รัปชัน ร้อยละ 72.2 ระบุ จะแจ้งความเอาผิดนักการเมืองที่ทุจริตคอร์รัปชัน ร้อยละ 71.7 จะแจ้งความเอาผิดรัฐมนตรีที่ทุจริตคอร์รัปชัน
แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 64.5 คิดว่ายอมรับได้ ถ้ารัฐบาลทุจริตคอร์รัปชันแล้วทำให้ประเทศชาติรุ่งเรือง ประชาชนกินดีอยู่ดี ตนเองได้รับประโยชน์ด้วย ในขณะที่ร้อยละ 35.5 ยอมรับไม่ได้
เมื่อจำแนกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามออกตามลักษณะเฉพาะตัว พบว่า ส่วนใหญ่ของทุกเพศทุกวัย ทุกระดับรายได้ ทุกสาขาอาชีพ และการศึกษา ต่างก็ยอมรับได้ ถ้ารัฐบาลทุจริตคอร์รัปชันแล้วทำให้ประเทศชาติรุ่งเรือง ประชาชนกินดีอยู่ดี ตนเองได้รับประโยชน์ด้วย และที่น่าเป็นห่วงไปอีกคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.0 ของกลุ่มเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี และร้อยละ 70.5 ของผู้มีอายุ 20 - 29 ปี ต่างก็ยอมรับได้ ถ้ารัฐบาลทุจริตคอร์รัปชัน แล้วพวกเด็กและเยาวชนได้รับประโยชน์ด้วย
อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์แนวคิดของ “กลุ่มต่อต้านคอรัปชันในทุกกรณี” คือ กลุ่มที่ยอมรับไม่ได้ ถึงแม้รัฐบาลจะทำให้ประเทศชาติรุ่งเรือง ตนเองได้รับผลประโยชน์ด้วย แต่รัฐบาลทุจริตคอร์รัปชัน เสนอความต้องการต่อรัฐบาลชุดใหม่เพื่อสร้างชาติให้โปร่งใส สร้างไทยซื่อตรง โดยพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.5 ของกลุ่มต่อต้านคอร์รัปชันในทุกกรณี ระบุให้เพิ่มโทษยึดทรัพย์นักการเมือง ข้าราชการ และของเครือญาติที่รู้เห็นเป็นใจทุจริตคอร์รัปชัน รองลงมาคือร้อยละ 87.0 ระบุให้ลงโทษทั้งผู้ให้และผู้รับ ร้อยละ 85.6 เสนอยกเลิกการ “อภัยโทษ” ต่อนักการเมืองและข้าราชการที่ต้องโทษทุจริตคอร์รัปชัน ร้อยละ 84.2 ระบุไม่ต้องให้โอกาสนักการเมือง และข้าราชการที่ถูกตัดสินลงโทษกลับเข้ามามีอำนาจอีก ร้อยละ 73.3 ให้ประกาศบัญชีการใช้จ่ายของหน่วยงานรัฐต่อสาธารณชนผ่านสื่อต่างๆ ร้อยละ 67.5 ตั้งคณะกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์อิสระภายนอก กระทรวงหรือหน่วยงานของรัฐ (ไม่ให้ตรวจสอบกันเองภายในเท่านั้น) ร้อยละ 62.7 ระบุต้องปลูกจิตสำนึก สร้างความตระหนักให้ประชาชนเห็นผลร้ายของการทุจริตคอร์รัปชัน ร้อยละ 61.8 เปิดเผยที่มาที่ไปของการใช้เงินค่าปรับต่างๆ ให้สาธารณชนรับรู้รับทราบ และร้อยละ 45.3 ระบุอื่นๆ เช่น ให้สื่อมวลชน ภาคประชาชน ร่วมตรวจสอบ มีระบบฐานข้อมูลปัญหาคอร์รัปชัน เพิ่มงบประมาณปราบปรามคอร์รัปชัน เป็นต้น
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.8 เห็นว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เหมาะสมที่จะเป็นประธานรณรงค์สร้างชาติโปร่งใส สร้างไทยซื่อตรง อย่างจริงจังต่อเนื่อง ในขณะที่ร้อยละ 32.2 ระบุว่า ไม่เหมาะสม
ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า น่าเป็นห่วงสำหรับสังคมไทยและนี่คือสัญญาณเตือนภัยว่า คนไทยที่ถูกศึกษามีทัศนคติอันตรายมากอันเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ และสะท้อนให้เห็นถึง “ความเห็นแก่ตัว” หรือ ผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องต้องมาก่อนผลประโยชน์ของประเทศชาติโดยมองแต่เฉพาะสิ่งที่ตนเองจะได้เฉพาะหน้าเท่านั้น เพราะถ้าพบเห็นคนอื่นทุจริตคอรัปชั่นก็จะเอาเรื่องเอาผิดถึงขั้นแจ้งความร้องเรียนดำเนินคดี แต่กับคนใกล้ชิดที่สนิทสนมด้วยก็จะปล่อยปะละเลยมองข้ามไป และเห็นได้ชัดเจนว่า ถ้าปล่อยไว้เช่นนี้ อนาคตของสังคมไทยจะตกอยู่ในสภาวะวิกฤตได้โดยง่าย เมื่อกลุ่มเยาวชน นักเรียนนักศึกษาเองกลายเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุดที่ยอมรับได้ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่นแล้วพวกเขาได้รับผลประโยชน์ด้วย โดยมีกลุ่มพ่อค้า นักธุรกิจ ข้าราชการและแม้แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ก็ยอมรับเช่นนั้น นอกจากนี้ คนยิ่งรวยขึ้นยิ่งมีทัศนคติยอมรับได้ ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่นแล้วพวกเขาได้ผลประโยชน์ตามไปด้วย
วานนี้ (20 ก.ค.) นายนพดล กรรณิกา ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่องความต้องการของประชาชนต่อรัฐบาลชุดใหม่ ในการสร้างชาติโปร่งใส สร้างไทยซื่อตรง กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของ จำนวนทั้งสิ้น 2,559 ตัวอย่าง ระหว่าง วันที่ 13-19 ก.ค.ที่ผ่านมา พบประเด็นสำคัญที่ค้นพบครั้งนี้คือ ร้อยละ 74.4 จะแจ้งความเอาผิด ถ้าพบเห็นแกนนำชุมชนของตนทุจริตคอร์รัปชัน รองลงมาคือ ร้อยละ 72.9 จะแจ้งความเอาผิดข้าราชการที่ทุจริตคอร์รัปชัน ร้อยละ 72.2 ระบุ จะแจ้งความเอาผิดนักการเมืองที่ทุจริตคอร์รัปชัน ร้อยละ 71.7 จะแจ้งความเอาผิดรัฐมนตรีที่ทุจริตคอร์รัปชัน
แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 64.5 คิดว่ายอมรับได้ ถ้ารัฐบาลทุจริตคอร์รัปชันแล้วทำให้ประเทศชาติรุ่งเรือง ประชาชนกินดีอยู่ดี ตนเองได้รับประโยชน์ด้วย ในขณะที่ร้อยละ 35.5 ยอมรับไม่ได้
เมื่อจำแนกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามออกตามลักษณะเฉพาะตัว พบว่า ส่วนใหญ่ของทุกเพศทุกวัย ทุกระดับรายได้ ทุกสาขาอาชีพ และการศึกษา ต่างก็ยอมรับได้ ถ้ารัฐบาลทุจริตคอร์รัปชันแล้วทำให้ประเทศชาติรุ่งเรือง ประชาชนกินดีอยู่ดี ตนเองได้รับประโยชน์ด้วย และที่น่าเป็นห่วงไปอีกคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.0 ของกลุ่มเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี และร้อยละ 70.5 ของผู้มีอายุ 20 - 29 ปี ต่างก็ยอมรับได้ ถ้ารัฐบาลทุจริตคอร์รัปชัน แล้วพวกเด็กและเยาวชนได้รับประโยชน์ด้วย
อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์แนวคิดของ “กลุ่มต่อต้านคอรัปชันในทุกกรณี” คือ กลุ่มที่ยอมรับไม่ได้ ถึงแม้รัฐบาลจะทำให้ประเทศชาติรุ่งเรือง ตนเองได้รับผลประโยชน์ด้วย แต่รัฐบาลทุจริตคอร์รัปชัน เสนอความต้องการต่อรัฐบาลชุดใหม่เพื่อสร้างชาติให้โปร่งใส สร้างไทยซื่อตรง โดยพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.5 ของกลุ่มต่อต้านคอร์รัปชันในทุกกรณี ระบุให้เพิ่มโทษยึดทรัพย์นักการเมือง ข้าราชการ และของเครือญาติที่รู้เห็นเป็นใจทุจริตคอร์รัปชัน รองลงมาคือร้อยละ 87.0 ระบุให้ลงโทษทั้งผู้ให้และผู้รับ ร้อยละ 85.6 เสนอยกเลิกการ “อภัยโทษ” ต่อนักการเมืองและข้าราชการที่ต้องโทษทุจริตคอร์รัปชัน ร้อยละ 84.2 ระบุไม่ต้องให้โอกาสนักการเมือง และข้าราชการที่ถูกตัดสินลงโทษกลับเข้ามามีอำนาจอีก ร้อยละ 73.3 ให้ประกาศบัญชีการใช้จ่ายของหน่วยงานรัฐต่อสาธารณชนผ่านสื่อต่างๆ ร้อยละ 67.5 ตั้งคณะกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์อิสระภายนอก กระทรวงหรือหน่วยงานของรัฐ (ไม่ให้ตรวจสอบกันเองภายในเท่านั้น) ร้อยละ 62.7 ระบุต้องปลูกจิตสำนึก สร้างความตระหนักให้ประชาชนเห็นผลร้ายของการทุจริตคอร์รัปชัน ร้อยละ 61.8 เปิดเผยที่มาที่ไปของการใช้เงินค่าปรับต่างๆ ให้สาธารณชนรับรู้รับทราบ และร้อยละ 45.3 ระบุอื่นๆ เช่น ให้สื่อมวลชน ภาคประชาชน ร่วมตรวจสอบ มีระบบฐานข้อมูลปัญหาคอร์รัปชัน เพิ่มงบประมาณปราบปรามคอร์รัปชัน เป็นต้น
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.8 เห็นว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เหมาะสมที่จะเป็นประธานรณรงค์สร้างชาติโปร่งใส สร้างไทยซื่อตรง อย่างจริงจังต่อเนื่อง ในขณะที่ร้อยละ 32.2 ระบุว่า ไม่เหมาะสม
ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า น่าเป็นห่วงสำหรับสังคมไทยและนี่คือสัญญาณเตือนภัยว่า คนไทยที่ถูกศึกษามีทัศนคติอันตรายมากอันเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ และสะท้อนให้เห็นถึง “ความเห็นแก่ตัว” หรือ ผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องต้องมาก่อนผลประโยชน์ของประเทศชาติโดยมองแต่เฉพาะสิ่งที่ตนเองจะได้เฉพาะหน้าเท่านั้น เพราะถ้าพบเห็นคนอื่นทุจริตคอรัปชั่นก็จะเอาเรื่องเอาผิดถึงขั้นแจ้งความร้องเรียนดำเนินคดี แต่กับคนใกล้ชิดที่สนิทสนมด้วยก็จะปล่อยปะละเลยมองข้ามไป และเห็นได้ชัดเจนว่า ถ้าปล่อยไว้เช่นนี้ อนาคตของสังคมไทยจะตกอยู่ในสภาวะวิกฤตได้โดยง่าย เมื่อกลุ่มเยาวชน นักเรียนนักศึกษาเองกลายเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุดที่ยอมรับได้ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่นแล้วพวกเขาได้รับผลประโยชน์ด้วย โดยมีกลุ่มพ่อค้า นักธุรกิจ ข้าราชการและแม้แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ก็ยอมรับเช่นนั้น นอกจากนี้ คนยิ่งรวยขึ้นยิ่งมีทัศนคติยอมรับได้ ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่นแล้วพวกเขาได้ผลประโยชน์ตามไปด้วย