ผู้ปกครองข้องใจ! ร.ร.ดังย่านสะพานสูง กรุงเทพฯ อ้างเลื่อนเด็กติดสำรองเข้าแทน นร.สละสิทธิ์ ม.4 เพียงอันดับเดียว แต่ไปหาข้อมูลปรากฏเรียกเด็กอันดับสำรองที่ต่ำกว่าลูกขึ้นเรียนแทน โร่ขอกลุ่มภาคีต้านคอร์รัปชันช่วย หลังถาม ผอ.ร.ร.และ ผอ.เขต ไม่ได้คำตอบ ขณะที่ เลขาธิการภาคีต้านคอร์รัปชัน ยื่น ป.ป.ช.ตรวจสอบทรัพย์สิน ผอ.ร.ร.ยอดนิยม 366 โรง ส่วน คกก.ติดตามรับ นร.ทนไม่ไหว แฉ สพฐ.ร.ร.ยอดนิยมไม่สนใจส่งข้อมูลที่เป็นคำสั่งมาให้ จึงไม่สามารถตรวจสอบได้
วันนี้ (7 มิ.ย.) ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นายบุญจริง ศรีอรัญ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนดังย่านสะพานสูง กรุงเทพมหานคร (กทม.) เดินทางมาพร้อมด้วยนายเนติรัฐ ศรีอรัญ บุตรชาย นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ เลขาธิการภาคีเครือข่ายต่อจ้านการทุจริตและคอร์รัปชันของชาติ (ภตช.) และนายคมเทพ ประภายนต์ ในฐานะคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการรับนักเรียน เข้าร้องเรียนเพื่อขอความเป็นธรรมในการศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของบุตรชาย
นายบุญจริง กล่าวว่า บุตรชายตนเรียนที่โรงเรียนดังแห่งหนึ่งย่านสะพานสูง กทม.ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 และได้สมัครเข้าศึกษาต่อชั้น ม.4 แต่ปรากฏว่า วันที่ 23 มี.ค.ที่ผ่านมา โรงเรียนประกาศรายชื่อนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเรียนต่อชั้น ม.4 ปีการศึกษา 2554 บุตรชายอยู่ในกลุ่มโครงสร้างสหสาระ (สายศิลป์ทั่วไป) ในกลุ่มสำรอง อันดับที่ 12 จากทั้งหมด 52 อันดับ ได้คะแนนรวม 85 คะแนน และได้ยื่นคำร้องขอให้โรงเรียนจัดสรรที่เรียนให้ ต่อมาวันที่ 7 เม.ย.ทางโรงเรียนได้ประกาศผลการจัดสรรที่เรียนโดยบุตรชายได้รับการจัดสรรให้ไปเรียนที่โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชลาดกระบัง ซึ่งบุตรชายไม่ต้องการไปเรียน อีกทั้งโรงเรียนดังกล่าวก็เดินทางลำบาก เพราะบ้านตนอยู่แถวมีนบุรี
“พอทราบผลการจัดสรร ภรรยาได้เข้าไปขอพบ ผอ.โรงเรียนดังกล่าว แต่ได้รับคำตอบแต่เพียงว่าทางโรงเรียนดำเนินการถูกต้องแล้ว ขณะเดียวกันก็ได้ไปติดต่อกับทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) กทม.เขต 2 เพื่อขอให้ตรวจสอบ ก็ได้รับคำตอบว่าจะทำหนังสือแจ้งให้โรงเรียนตรวจสอบ โดยทราบว่ามีการทำหนังสือไป 2 ครั้ง อย่างไรก็ตาม เมื่อประกาศรายชื่อนักเรียนและทำบัญชีรายชื่อนักเรียนแต่ละห้องเรียบร้อยแล้วนั้น ผลปรากฏว่า โรงเรียนเลือกนักเรียนในกลุ่มสำรองเดียวเข้าเรียนต่อชั้น ม.4 ซึ่งลำดับที่เรียกนั้นต่ำกว่าลำดับของลูกชายผมมาก ซึ่งผมไปขอเอกสารที่ระบุรายชื่อนักเรียนแต่ละห้องเรียน ก็พบว่า มีเด็กที่ได้ลำดับต่ำกว่าลูกชายจริง เพราะบางคนก็เป็นเพื่อนของลูกชายด้วย” นายบุญจริง กล่าว
นายบุญจริง กล่าวว่า ทั้งนี้ ได้พยายามสอบถามทางโรงเรียน แต่ก็ไม่ได้คำตอบเช่นเดิม ดังนั้น จึงเดินทางไปร้องเรียนผ่าน ภตช.ให้ช่วยเป็นสื่อกลางช่วยเหลือ ซึ่งทาง ภตช.ได้ประสานไปทาง สพม.กทม.เขต 2 และ นายสุรศักดิ์ ศรีสว่างรัตน์ ผอ.สพม.กทม.เขต 2 ได้มีหนังสือตอบกลับมาชี้แจงกลับมาโดยในประเด็นการเรียกลำดับสำรองนั้น ระบุว่าโรงเรียนเรียกสำรองเพียงลำดับที่ 1 เท่านั้น แทนนักเรียนในโครงสร้างสหสาระ (ศิลป์ทั่วไป) ที่สละสิทธิ์ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้บุตรชายยังไม่ได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนไหน เพราะตั้งใจอยากจะเรียนที่นี่เท่านั้น ยืนยันว่า ไม่มีการเรียกอันดับที่ต่ำกว่าบุตรชายแต่อย่างใด
ด้านนายเนติรัฐ กล่าวว่า จากกรณีปัญหาดังกล่าวนี้ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปสุ่มตรวจสอบโรงเรียนอื่นๆ ที่น่าสงสัย ดังนั้น วันนี้ตนจะยื่นหนังสือให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อขอให้ทำการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของผู้อำนวยการโรงเรียน และเส้นทางการเงินของญาติพี่น้องที่เกี่ยวข้อง เฉพาะโรงเรียนที่มีการแข่งขันสูง 366 โรงเรียน
ด้านนายคมเทพ กล่าวว่า ขณะนี้คณะกรรมการติดตามฯ ที่มี รศ.สุขุม เฉลยทรัพย์ เป็นประธานกำลังจะหมดวาระในวันที่ 10 มิ.ย.นี้ แต่ที่ผ่านมา คณะกรรมการไม่เคยได้รับความร่วมมือจากโรงเรียน 366 โรง ในการส่งข้อมูลทั้งข้อมูลรายชื่อนักเรียนที่ประกาศรับจริง และข้อมูลรายชื่อนักเรียนที่ภายหลังการเปิดภาคเรียนแล้วโรงเรียนจะต้องส่งข้อมูลรายชื่อนักเรียนที่มาจากอันดับสำรอง หรือการสละสิทธิ์ มาให้คณะกรรมการทำการตรวจสอบเพื่อเปรียบเทียบกับรายชื่อในรอบแรกที่ส่งข้อมูลมา นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลในส่วนที่เป็นตัวเลขจำนวนคน หรือโควตาต่างๆ ที่ต้องส่งมาก็ปรากฎว่าไม่ส่งมาให้ 139 โรง ทั้งที่การดำเนินการเรื่องเหล่านี้เป็นคำสั่งของ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการ ศธ.และแม้ว่าในการประชุมนัดสุดท้ายเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่ง รมว.ศธ.เข้าร่วมด้วยนั้นจะรับทราบเหตุการณ์ดังกล่าวตามที่คณะกรรมการรายงาน และได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปดำเนินการประสานและมีการบันทึกลงในวาระการประชุมด้วยแต่ถึงอย่างนั้น สพฐ.ก็ไม่เคยติดตามหรือให้ข้อมูลแต่อย่างใด เมื่อไม่มีข้อมูลทางคณะกรรมการก็ไม่สามารถตรวจสอบใดๆ ได้
วันนี้ (7 มิ.ย.) ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นายบุญจริง ศรีอรัญ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนดังย่านสะพานสูง กรุงเทพมหานคร (กทม.) เดินทางมาพร้อมด้วยนายเนติรัฐ ศรีอรัญ บุตรชาย นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ เลขาธิการภาคีเครือข่ายต่อจ้านการทุจริตและคอร์รัปชันของชาติ (ภตช.) และนายคมเทพ ประภายนต์ ในฐานะคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการรับนักเรียน เข้าร้องเรียนเพื่อขอความเป็นธรรมในการศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของบุตรชาย
นายบุญจริง กล่าวว่า บุตรชายตนเรียนที่โรงเรียนดังแห่งหนึ่งย่านสะพานสูง กทม.ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 และได้สมัครเข้าศึกษาต่อชั้น ม.4 แต่ปรากฏว่า วันที่ 23 มี.ค.ที่ผ่านมา โรงเรียนประกาศรายชื่อนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเรียนต่อชั้น ม.4 ปีการศึกษา 2554 บุตรชายอยู่ในกลุ่มโครงสร้างสหสาระ (สายศิลป์ทั่วไป) ในกลุ่มสำรอง อันดับที่ 12 จากทั้งหมด 52 อันดับ ได้คะแนนรวม 85 คะแนน และได้ยื่นคำร้องขอให้โรงเรียนจัดสรรที่เรียนให้ ต่อมาวันที่ 7 เม.ย.ทางโรงเรียนได้ประกาศผลการจัดสรรที่เรียนโดยบุตรชายได้รับการจัดสรรให้ไปเรียนที่โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชลาดกระบัง ซึ่งบุตรชายไม่ต้องการไปเรียน อีกทั้งโรงเรียนดังกล่าวก็เดินทางลำบาก เพราะบ้านตนอยู่แถวมีนบุรี
“พอทราบผลการจัดสรร ภรรยาได้เข้าไปขอพบ ผอ.โรงเรียนดังกล่าว แต่ได้รับคำตอบแต่เพียงว่าทางโรงเรียนดำเนินการถูกต้องแล้ว ขณะเดียวกันก็ได้ไปติดต่อกับทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) กทม.เขต 2 เพื่อขอให้ตรวจสอบ ก็ได้รับคำตอบว่าจะทำหนังสือแจ้งให้โรงเรียนตรวจสอบ โดยทราบว่ามีการทำหนังสือไป 2 ครั้ง อย่างไรก็ตาม เมื่อประกาศรายชื่อนักเรียนและทำบัญชีรายชื่อนักเรียนแต่ละห้องเรียบร้อยแล้วนั้น ผลปรากฏว่า โรงเรียนเลือกนักเรียนในกลุ่มสำรองเดียวเข้าเรียนต่อชั้น ม.4 ซึ่งลำดับที่เรียกนั้นต่ำกว่าลำดับของลูกชายผมมาก ซึ่งผมไปขอเอกสารที่ระบุรายชื่อนักเรียนแต่ละห้องเรียน ก็พบว่า มีเด็กที่ได้ลำดับต่ำกว่าลูกชายจริง เพราะบางคนก็เป็นเพื่อนของลูกชายด้วย” นายบุญจริง กล่าว
นายบุญจริง กล่าวว่า ทั้งนี้ ได้พยายามสอบถามทางโรงเรียน แต่ก็ไม่ได้คำตอบเช่นเดิม ดังนั้น จึงเดินทางไปร้องเรียนผ่าน ภตช.ให้ช่วยเป็นสื่อกลางช่วยเหลือ ซึ่งทาง ภตช.ได้ประสานไปทาง สพม.กทม.เขต 2 และ นายสุรศักดิ์ ศรีสว่างรัตน์ ผอ.สพม.กทม.เขต 2 ได้มีหนังสือตอบกลับมาชี้แจงกลับมาโดยในประเด็นการเรียกลำดับสำรองนั้น ระบุว่าโรงเรียนเรียกสำรองเพียงลำดับที่ 1 เท่านั้น แทนนักเรียนในโครงสร้างสหสาระ (ศิลป์ทั่วไป) ที่สละสิทธิ์ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้บุตรชายยังไม่ได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนไหน เพราะตั้งใจอยากจะเรียนที่นี่เท่านั้น ยืนยันว่า ไม่มีการเรียกอันดับที่ต่ำกว่าบุตรชายแต่อย่างใด
ด้านนายเนติรัฐ กล่าวว่า จากกรณีปัญหาดังกล่าวนี้ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปสุ่มตรวจสอบโรงเรียนอื่นๆ ที่น่าสงสัย ดังนั้น วันนี้ตนจะยื่นหนังสือให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อขอให้ทำการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของผู้อำนวยการโรงเรียน และเส้นทางการเงินของญาติพี่น้องที่เกี่ยวข้อง เฉพาะโรงเรียนที่มีการแข่งขันสูง 366 โรงเรียน
ด้านนายคมเทพ กล่าวว่า ขณะนี้คณะกรรมการติดตามฯ ที่มี รศ.สุขุม เฉลยทรัพย์ เป็นประธานกำลังจะหมดวาระในวันที่ 10 มิ.ย.นี้ แต่ที่ผ่านมา คณะกรรมการไม่เคยได้รับความร่วมมือจากโรงเรียน 366 โรง ในการส่งข้อมูลทั้งข้อมูลรายชื่อนักเรียนที่ประกาศรับจริง และข้อมูลรายชื่อนักเรียนที่ภายหลังการเปิดภาคเรียนแล้วโรงเรียนจะต้องส่งข้อมูลรายชื่อนักเรียนที่มาจากอันดับสำรอง หรือการสละสิทธิ์ มาให้คณะกรรมการทำการตรวจสอบเพื่อเปรียบเทียบกับรายชื่อในรอบแรกที่ส่งข้อมูลมา นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลในส่วนที่เป็นตัวเลขจำนวนคน หรือโควตาต่างๆ ที่ต้องส่งมาก็ปรากฎว่าไม่ส่งมาให้ 139 โรง ทั้งที่การดำเนินการเรื่องเหล่านี้เป็นคำสั่งของ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการ ศธ.และแม้ว่าในการประชุมนัดสุดท้ายเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่ง รมว.ศธ.เข้าร่วมด้วยนั้นจะรับทราบเหตุการณ์ดังกล่าวตามที่คณะกรรมการรายงาน และได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปดำเนินการประสานและมีการบันทึกลงในวาระการประชุมด้วยแต่ถึงอย่างนั้น สพฐ.ก็ไม่เคยติดตามหรือให้ข้อมูลแต่อย่างใด เมื่อไม่มีข้อมูลทางคณะกรรมการก็ไม่สามารถตรวจสอบใดๆ ได้