จากการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ซึ่งมีผลการนับคะแนนพรรคเพื่อไทยประสบความสำเร็จได้ ส.ส.มา 265 จากทั้งหมด 500 ในระหว่างระยะเวลาที่รอการพิจารณาของ กกต.เพื่อรับรองผลการเลือกตั้งซึ่งมีระยะเวลา 30 วันนั้น ก็มีข่าวที่เกิดขึ้นในต่างประเทศและนำมาขยายผลภายในประเทศทำนองว่า การตรวจสอบของ กกต.เพื่อรับรองผลการเลือกตั้งนั้น เป็นการรัฐประหารโดยกฎหมาย ซึ่งต่อมาผู้เขียนก็ได้อ่านคอลัมน์หนังสือพิมพ์มติชน ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ชั้นนำที่มีชื่อในการเสนอข้อเท็จจริงและในทางวิชาการซึ่งเป็นที่ยอมรับของสังคมในการติดตามข่าวสารบ้านเมือง และในการแสวงหาความรู้ได้อย่างหลากหลายในหนังสือพิมพ์ดังกล่าว
ในคอลัมน์ดังกล่าวใช้ชื่อว่า “รัฐประหารซ้อนโดยกระบวนการกฎหมาย” โดยในเนื้อหาสาระนั้นจะกล่าวถึงการปฏิวัติรัฐประหารที่ได้เกิดขึ้นในเดือนกันยายน 2549 และการเคลื่อนไหวของบุคคลซึ่งเกี่ยวกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยหลายคนที่ไปดำเนินการยื่นเรื่องราวให้กับ กกต.เพื่อยุบพรรคการเมืองหลายพรรค และยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งเพื่อให้ศาลสั่งว่าการเลือกตั้งเป็นโมฆะ ฯลฯ (มติชนรายวัน 16 กรกฎาคม 2554 )
ด้วยความเคารพงานในวิชาการวิชาชีพของสื่อมวลชน ซึ่งมีอิทธิพลในสังคมเป็นอย่างสูง การใช้คำว่า “รัฐประหารซ้อนโดยกระบวนการกฎหมาย” โดยสื่อหนังสือพิมพ์นั้น เป็นการใช้ถ้อยคำที่อาจทำให้สังคมไขว้เขวเข้าใจผิดได้ว่า กฎหมายเป็นเครื่องมือของความชั่วร้าย เป็นกระบวนการชั่วร้าย เพราะสามารถใช้กฎหมายยึดอำนาจทำรัฐประหารได้ เพราะคำว่า “รัฐประหารซ้อนโดยกระบวนการทางกฎหมาย” ไม่ใช่เป็นคำในทางวิชาการ และไม่มีหลักวิชาการในกรณีเช่นนี้ ซึ่งแท้จริงแล้วการใช้กฎหมายหรือการดำเนินการโดยกระบวนการทางกฎหมาย ไม่ใช่เป็นการรัฐประหาร หรือยึดอำนาจรัฐมาจากผู้ใดผู้หนึ่งแต่อย่างใด แต่เป็นการดำเนินการเพื่อให้ประเทศยังคงไว้ซึ่งความเป็นนิติรัฐ และใช้กฎหมายเป็นหลักเพื่อให้เกิดนิติธรรมในบ้านเมือง
ถ้าประเทศไม่เป็นนิติรัฐไม่มีนิติธรรมแล้ว ประเทศก็ล่มสลายได้ เพราะไม่มีหลักกติกาอะไรที่จะยึดเหนี่ยวให้คนในชาติมีระเบียบวินัยที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขได้ การรอฟังผลการเลือกตั้งแล้วมีการดำเนินการทางกฎหมายเกิดขึ้น หากไม่มีผู้ใดทำผิดกฎหมายเลือกตั้งหรือรัฐธรรมนูญแล้ว การรับรองผลการเลือกตั้งก็จะต้องเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การใช้สิทธิดำเนินกระบวนการทางกฎหมายของบุคคลเพื่อเรียกร้องให้มีการยุบพรรคการเมืองก็ดี หรือเรียกร้องให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะก็ดี เป็นการใช้สิทธิของบุคคล (Individual Right) และการใช้สิทธิของบุคคลในกรณีเกี่ยวกับสิทธิในการเลือกตั้งดังกล่าว จะเป็นกรณีที่มิได้มีเหตุเกิดจากการกระทำของบุคคลผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งแต่อย่างใด แต่จะมีเหตุที่เกิดจากการกระทำของผู้มีสิทธิเลือกตั้งของพรรคการเมือง หรือของบุคคลอื่นที่สนับสนุน ช่วยเหลือผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หรือพรรคการเมือง หรืออาจเกิดจากการดำเนินการเลือกตั้งของ กกต.หรือเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการเลือกตั้ง ที่เป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็อาจเป็นไปได้ทั้งสิ้น
แต่การใช้สิทธิของบุคคลเพื่อให้มีการยุบพรรคการเมือง หรือให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะนั้น ก็เพราะผลของการกระทำดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดผลทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตและเที่ยงธรรมที่เกิดขึ้นเป็นสาธารณะต่อบุคคลผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งทั้งหมดหรือเขตเลือกตั้งทั้งประเทศ หรืออาจทำให้การเลือกตั้งนั้นไม่เป็นไปตามวิถีทางในระบอบประชาธิปไตยตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ อันมีผลทำให้การเลือกตั้งทั้งประเทศไม่สุจริตและเที่ยงธรรม การขอให้ยุบพรรคการเมืองหรือการขอให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะจึงจำเป็นต้องเกิดขึ้นเพื่อให้บ้านเมืองมีขื่อมีแป
การใช้สิทธิส่วนบุคคลของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งที่ดำเนินกระบวนการทางกฎหมาย จึงมิใช่เป็นการรัฐประหารโดยกระบวนการทางกฎหมาย แต่เป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของบุคคล เพื่อให้การเลือกตั้งที่ได้มีการเลือกบุคคลขึ้นมาเป็นผู้ปกครองตนเองนั้นเป็นการเลือกตั้งที่สุจริตและเที่ยงธรรม แม้ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่จะเลือกพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่งขึ้นมาเป็นผู้มีอำนาจในการปกครองด้วยคะแนนเสียงท่วมท้นก็ตาม แต่สิทธิของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวนมากนั้น ก็ไม่อาจลบล้างการกระทำอันไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญของผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือของพรรคการเมือง หรือของ กกต.หรือเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการจัดการเลือกตั้งที่ได้กระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญนั้น ให้กลายเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญได้แต่อย่างใดไม่
ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวนมากลงคะแนนเสียงให้ก็ไม่ใช่เป็นหลักประกันว่า การเลือกตั้งนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะประชาชนหรือผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ใช่เป็นวัตถุแห่งการเลือกตั้ง ประชาชนไม่ใช่เป็นเครื่องมือของการเลือกตั้ง การเลือกตั้งไม่ใช่กระทำขึ้นเพื่อนักการเมือง หรือพรรคการเมือง เพราะเพียงต้องการให้มีผู้ปกครองตนเท่านั้น แต่การเลือกตั้งต้องกระทำขึ้นเพื่อประชาชน เพื่อผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง และเพื่อศักดิ์ศรีของความเป็นชาติ การเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำของนักการเมือง ของพรรคการเมือง หรือแม้แต่ของ กกต.หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐจึงต้องถูกตรวจสอบทั้งสิ้น เพราะการเลือกบุคคลขึ้นเป็นผู้ปกครองตนนั้นไม่ใช่เรื่องสุกเอาเผากินหรือทำงานให้พ้นตัว
การมองย้อนหลังในอดีตที่มีการรัฐประหารเพื่อจะนำมาอ้างเป็นเหตุผลในปัจจุบัน ก็จะต้องมองถึงการกระทำในอดีตที่เป็นต้นเหตุให้เกิดการกระทำ (เกิดปฏิวัติ) นั้นด้วยว่าเกิดจากการกระทำของใครและกระทำการอย่างไรในอดีตด้วย หากไม่มีการกระทำอันเป็นการทุจริตคอร์รัปชันในอดีต ไม่มีการใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 จนได้ชื่อว่ารัฐธรรมนูญได้ตายไปแล้ว ซึ่งเป็นการใช้ “อำนาจรัฐ” ตามอำเภอใจนั้น การปฏิวัติรัฐประหารก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ในเดือนกันยายน 2549
เฉกเช่นเดียวกับการใช้สิทธิของบุคคลที่มีการดำเนินการขอให้ยุบพรรคการเมือง หรือขอให้ศาลสั่งให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ซึ่งก็จะต้องมองย้อนหลังในอดีตซึ่งเป็นที่มาของการกระทำในปัจจุบันด้วยว่า เกิดจากการกระทำของใครและกระทำอย่างไรในอดีตด้วย โดยมองย้อนหลังไปเพียงไม่เกิน 20 วันก่อนวันลงคะแนนเลือกตั้ง ก็จะปรากฏเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดฝันว่าจะเกิดขึ้น เพราะมีการเดินทางไปต่างประเทศของผู้มีอำนาจสูงสุดในการจัดการเลือกตั้งที่เดินทางไปต่างประเทศพร้อมกันถึง 4 คน ในจำนวน 5 คน โดยมีข่าวออกสู่สาธารณะเพียงผิวเผินว่า กกต. 4 คนที่เดินทางไปต่างประเทศนั้นไปดูงานการเลือกตั้งในต่างประเทศ โดยหน่วยงานของกระทรวงการต่างประเทศได้เชิญไปให้ดูงาน และการดูงานนั้นก็เป็นการไปดูงานการเลือกตั้งที่ กกต.เป็นผู้สั่งให้จัดให้มีการเลือกตั้งเพื่อให้คนไทยในต่างประเทศไปลงคะแนนเลือกตั้ง
การไปต่างประเทศดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการไปดูงานในต่างประเทศเพื่อนำมาเป็นแบบอย่างของการเลือกตั้งในประเทศได้แต่อย่างใดไม่ แต่เป็นการไปเพื่อตรวจงานการเลือกตั้งที่ กกต.ได้สั่งให้สถานทูต หรือสถานกงสุลดำเนินการเลือกตั้งให้เท่านั้น การไปตรวจงานในลักษณะเช่นนี้จึงเป็นงานของเจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติการก็สามารถไปตรวจดูความเรียบร้อยของการเลือกตั้งในต่างประเทศได้ ซึ่งแทบจะไม่มีสื่อมวลชนไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ หรือโทรทัศน์ติดตามข่าวสถานการณ์การเดินทางไปต่างประเทศของ กกต.เลย ว่าเหตุใดจึงเดินทางไปต่างประเทศพร้อมกันถึง 4 คน ในเวลากระชั้นชิดกับการเลือกตั้งเช่นนั้น และกระทรวงการต่างประเทศมีเหตุผลใดจึงได้เชิญให้ไปดูงานการเลือกตั้งที่ตนเองเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการเลือกตั้งในต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศมีบุคลากรที่มีความสามารถเชี่ยวชาญเป็นเลิศในการจัดการเลือกตั้งที่จะต้องเชิญให้ กกต.ไปดูงานเพื่อนำมาเป็นแบบอย่างในการจัดการเลือกตั้งในประเทศในเวลาอันกระชั้นชิดด้วยเช่นนั้นหรืออย่างไร และรัฐบาลได้รู้เห็นเป็นใจให้กระทรวงการต่างประเทศกระทำการเช่นนั้นด้วยหรือไม่ หรือมีอะไรแอบแฝงอยู่เบื้องหลังของการไปต่างประเทศดังกล่าวหรือไม่ และแทบจะไม่มีพรรคการเมืองพรรคใดที่แสดงความวิตกกังวลหรือห่วงใยกับการไม่อยู่ในประเทศของ กกต.ทั้ง 4 เลย
ในขณะเดียวกัน กกต.ที่เหลืออยู่ก็ได้ให้สัมภาษณ์ในทำนองว่า กกต.ไปต่างประเทศ 4 คนเหลือเพียงคนเดียว ไม่สามารถพิจารณาการกระทำความผิดของผู้สมัครรับเลือกตั้งโดยการออกใบเหลืองใบแดงในระหว่างนั้นได้ การออกมาให้ข่าวเช่นนั้น ในความรู้สึกของวิญญูชนทั่วไปย่อมเข้าใจได้ว่า เป็นการส่งสัญญาณไม่ให้ กกต.ในท้องถิ่น หรือ กกต.ในเขตเลือกตั้งไปตรวจจับการกระทำความผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้งมาให้ กกต.ส่วนกลางพิจารณาวินิจฉัย เพราะไม่มี กกต.ครบองค์คณะที่จะดำเนินการให้ได้
เมื่อไม่มี กกต.อยู่ปฏิบัติหน้าที่ในประเทศเพื่อควบคุมการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ไม่มี กกต.ที่จะไปควบคุม ตรวจสอบ จับผิดการทุจริตการเลือกตั้งเสียแล้ว ประชาชนโดยทั่วไปได้พบเห็นการเลือกตั้งในช่วงเวลานั้น มีการหาเสียงการโฆษณาชวนเชื่อ มีการประกาศต่อสาธารณชน โดยสัญญาจะให้กันอย่างถล่มทลายของหลายพรรคการเมือง มีการโฆษณาชวนเชื่อชนิดที่ประกาศล้มกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันได้ โดยไม่มีความเกรงกลัวต่อการกระทำความผิดกฎหมายเลือกตั้งหรือกระทำการขัดต่อรัฐธรรมนูญแต่อย่างใดเลย ซึ่งไม่มีการเลือกตั้งใดในประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่จะอนุญาตให้มีการหาเสียงเลือกตั้งเช่นนั้นได้
ประชาชนทั่วไปที่ติดตามก็จะเห็นข่าวและภาพการหาเสียงเลือกตั้งของบางสื่อ (ที่ใช้ทรัพยากรของรัฐ) ที่มีการทำข่าวการหาเสียงเลือกตั้งนั้นมิได้มีลักษณะของการทำข่าวโดยทั่วไป แต่เป็นการทำข่าวที่อิงไปในลักษณะเป็นการโฆษณาสนับสนุนพรรคการเมืองที่รักและนักการเมืองที่ชอบของตนเองเป็นการเฉพาะ (ไม่ใช่เป็นการรับจ้างโฆษณา) อันเป็นการที่สื่อเข้าไปกระทำการที่มีผลกระทบต่อการเลือกตั้ง ทำให้เกิดผลต่อการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งได้อย่างอเนกอนันต์
เมื่อไม่มี กกต.อยู่ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการเลือกตั้งไม่มี กกต.ที่จะตรวจสอบ จับผิดการทุจริตการเลือกตั้งดังกล่าว ย่อมเกิดการกระทำอันที่กระทบต่อสิทธิของประชาชนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งได้ การใช้สิทธิของบุคคลในการดำเนินการเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ หรือยุบพรรคการเมือง จึงเป็นการ “ใช้อำนาจรัฐ” เพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจหรืออิทธิพลในการเลือกตั้งของพรรคการเมือง นักการเมือง ตลอดจนการใช้อำนาจรัฐของ กกต.ในการควบคุมการเลือกตั้ง การใช้สิทธิของบุคคลดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการใช้อำนาจเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจรัฐของตนเองแต่อย่างใด แต่เป็นการใช้สิทธิเพื่อคุ้มครองสิทธิของบุคคลให้มีสิทธิเลือกตั้งได้โดยสุจริตและเที่ยงธรรม อันเป็นรากฐานของการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น
คำว่า “รัฐประหารซ้อนโดยกระบวนการทางกฎหมาย” หรือ “รัฐประหารกำมะหยี่” จึงเป็นการใช้วาทศิลป์เพื่อให้ กกต.หรือศาลมีความหวาดกลัว หวั่นไหว หรือมีอคติ หรือเกิดภยาคติ ที่ไม่อาจจะดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของตนเองได้ ซึ่งก็จะมีผลทำให้ประเทศขาดไร้ซึ่งระบบนิติรัฐ อันเป็นผลกระทบต่อรากฐานของความมั่นคงแห่งรัฐ เพราะเป็นการปฏิเสธไม่ยอมรับในหลักสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามหลักสิทธิมนุษยชนที่ปัจเจกบุคคลจะพึงมีต่อสิทธิในการเลือกตั้ง
หากผู้ใช้อำนาจรัฐได้ใช้อำนาจรัฐโดยสุจริต ไม่ทำลายอำนาจรัฐเพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองและผู้อื่นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือโดยทุจริตแล้ว อำนาจรัฐนั้นก็ไม่อาจมาทำร้ายผู้ใช้อำนาจได้ และไม่อาจเกิดรัฐประหารได้ไม่ว่าในกรณีใด
ในคอลัมน์ดังกล่าวใช้ชื่อว่า “รัฐประหารซ้อนโดยกระบวนการกฎหมาย” โดยในเนื้อหาสาระนั้นจะกล่าวถึงการปฏิวัติรัฐประหารที่ได้เกิดขึ้นในเดือนกันยายน 2549 และการเคลื่อนไหวของบุคคลซึ่งเกี่ยวกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยหลายคนที่ไปดำเนินการยื่นเรื่องราวให้กับ กกต.เพื่อยุบพรรคการเมืองหลายพรรค และยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งเพื่อให้ศาลสั่งว่าการเลือกตั้งเป็นโมฆะ ฯลฯ (มติชนรายวัน 16 กรกฎาคม 2554 )
ด้วยความเคารพงานในวิชาการวิชาชีพของสื่อมวลชน ซึ่งมีอิทธิพลในสังคมเป็นอย่างสูง การใช้คำว่า “รัฐประหารซ้อนโดยกระบวนการกฎหมาย” โดยสื่อหนังสือพิมพ์นั้น เป็นการใช้ถ้อยคำที่อาจทำให้สังคมไขว้เขวเข้าใจผิดได้ว่า กฎหมายเป็นเครื่องมือของความชั่วร้าย เป็นกระบวนการชั่วร้าย เพราะสามารถใช้กฎหมายยึดอำนาจทำรัฐประหารได้ เพราะคำว่า “รัฐประหารซ้อนโดยกระบวนการทางกฎหมาย” ไม่ใช่เป็นคำในทางวิชาการ และไม่มีหลักวิชาการในกรณีเช่นนี้ ซึ่งแท้จริงแล้วการใช้กฎหมายหรือการดำเนินการโดยกระบวนการทางกฎหมาย ไม่ใช่เป็นการรัฐประหาร หรือยึดอำนาจรัฐมาจากผู้ใดผู้หนึ่งแต่อย่างใด แต่เป็นการดำเนินการเพื่อให้ประเทศยังคงไว้ซึ่งความเป็นนิติรัฐ และใช้กฎหมายเป็นหลักเพื่อให้เกิดนิติธรรมในบ้านเมือง
ถ้าประเทศไม่เป็นนิติรัฐไม่มีนิติธรรมแล้ว ประเทศก็ล่มสลายได้ เพราะไม่มีหลักกติกาอะไรที่จะยึดเหนี่ยวให้คนในชาติมีระเบียบวินัยที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขได้ การรอฟังผลการเลือกตั้งแล้วมีการดำเนินการทางกฎหมายเกิดขึ้น หากไม่มีผู้ใดทำผิดกฎหมายเลือกตั้งหรือรัฐธรรมนูญแล้ว การรับรองผลการเลือกตั้งก็จะต้องเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การใช้สิทธิดำเนินกระบวนการทางกฎหมายของบุคคลเพื่อเรียกร้องให้มีการยุบพรรคการเมืองก็ดี หรือเรียกร้องให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะก็ดี เป็นการใช้สิทธิของบุคคล (Individual Right) และการใช้สิทธิของบุคคลในกรณีเกี่ยวกับสิทธิในการเลือกตั้งดังกล่าว จะเป็นกรณีที่มิได้มีเหตุเกิดจากการกระทำของบุคคลผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งแต่อย่างใด แต่จะมีเหตุที่เกิดจากการกระทำของผู้มีสิทธิเลือกตั้งของพรรคการเมือง หรือของบุคคลอื่นที่สนับสนุน ช่วยเหลือผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หรือพรรคการเมือง หรืออาจเกิดจากการดำเนินการเลือกตั้งของ กกต.หรือเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการเลือกตั้ง ที่เป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็อาจเป็นไปได้ทั้งสิ้น
แต่การใช้สิทธิของบุคคลเพื่อให้มีการยุบพรรคการเมือง หรือให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะนั้น ก็เพราะผลของการกระทำดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดผลทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตและเที่ยงธรรมที่เกิดขึ้นเป็นสาธารณะต่อบุคคลผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งทั้งหมดหรือเขตเลือกตั้งทั้งประเทศ หรืออาจทำให้การเลือกตั้งนั้นไม่เป็นไปตามวิถีทางในระบอบประชาธิปไตยตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ อันมีผลทำให้การเลือกตั้งทั้งประเทศไม่สุจริตและเที่ยงธรรม การขอให้ยุบพรรคการเมืองหรือการขอให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะจึงจำเป็นต้องเกิดขึ้นเพื่อให้บ้านเมืองมีขื่อมีแป
การใช้สิทธิส่วนบุคคลของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งที่ดำเนินกระบวนการทางกฎหมาย จึงมิใช่เป็นการรัฐประหารโดยกระบวนการทางกฎหมาย แต่เป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของบุคคล เพื่อให้การเลือกตั้งที่ได้มีการเลือกบุคคลขึ้นมาเป็นผู้ปกครองตนเองนั้นเป็นการเลือกตั้งที่สุจริตและเที่ยงธรรม แม้ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่จะเลือกพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่งขึ้นมาเป็นผู้มีอำนาจในการปกครองด้วยคะแนนเสียงท่วมท้นก็ตาม แต่สิทธิของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวนมากนั้น ก็ไม่อาจลบล้างการกระทำอันไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญของผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือของพรรคการเมือง หรือของ กกต.หรือเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการจัดการเลือกตั้งที่ได้กระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญนั้น ให้กลายเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญได้แต่อย่างใดไม่
ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวนมากลงคะแนนเสียงให้ก็ไม่ใช่เป็นหลักประกันว่า การเลือกตั้งนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะประชาชนหรือผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ใช่เป็นวัตถุแห่งการเลือกตั้ง ประชาชนไม่ใช่เป็นเครื่องมือของการเลือกตั้ง การเลือกตั้งไม่ใช่กระทำขึ้นเพื่อนักการเมือง หรือพรรคการเมือง เพราะเพียงต้องการให้มีผู้ปกครองตนเท่านั้น แต่การเลือกตั้งต้องกระทำขึ้นเพื่อประชาชน เพื่อผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง และเพื่อศักดิ์ศรีของความเป็นชาติ การเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำของนักการเมือง ของพรรคการเมือง หรือแม้แต่ของ กกต.หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐจึงต้องถูกตรวจสอบทั้งสิ้น เพราะการเลือกบุคคลขึ้นเป็นผู้ปกครองตนนั้นไม่ใช่เรื่องสุกเอาเผากินหรือทำงานให้พ้นตัว
การมองย้อนหลังในอดีตที่มีการรัฐประหารเพื่อจะนำมาอ้างเป็นเหตุผลในปัจจุบัน ก็จะต้องมองถึงการกระทำในอดีตที่เป็นต้นเหตุให้เกิดการกระทำ (เกิดปฏิวัติ) นั้นด้วยว่าเกิดจากการกระทำของใครและกระทำการอย่างไรในอดีตด้วย หากไม่มีการกระทำอันเป็นการทุจริตคอร์รัปชันในอดีต ไม่มีการใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 จนได้ชื่อว่ารัฐธรรมนูญได้ตายไปแล้ว ซึ่งเป็นการใช้ “อำนาจรัฐ” ตามอำเภอใจนั้น การปฏิวัติรัฐประหารก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ในเดือนกันยายน 2549
เฉกเช่นเดียวกับการใช้สิทธิของบุคคลที่มีการดำเนินการขอให้ยุบพรรคการเมือง หรือขอให้ศาลสั่งให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ซึ่งก็จะต้องมองย้อนหลังในอดีตซึ่งเป็นที่มาของการกระทำในปัจจุบันด้วยว่า เกิดจากการกระทำของใครและกระทำอย่างไรในอดีตด้วย โดยมองย้อนหลังไปเพียงไม่เกิน 20 วันก่อนวันลงคะแนนเลือกตั้ง ก็จะปรากฏเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดฝันว่าจะเกิดขึ้น เพราะมีการเดินทางไปต่างประเทศของผู้มีอำนาจสูงสุดในการจัดการเลือกตั้งที่เดินทางไปต่างประเทศพร้อมกันถึง 4 คน ในจำนวน 5 คน โดยมีข่าวออกสู่สาธารณะเพียงผิวเผินว่า กกต. 4 คนที่เดินทางไปต่างประเทศนั้นไปดูงานการเลือกตั้งในต่างประเทศ โดยหน่วยงานของกระทรวงการต่างประเทศได้เชิญไปให้ดูงาน และการดูงานนั้นก็เป็นการไปดูงานการเลือกตั้งที่ กกต.เป็นผู้สั่งให้จัดให้มีการเลือกตั้งเพื่อให้คนไทยในต่างประเทศไปลงคะแนนเลือกตั้ง
การไปต่างประเทศดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการไปดูงานในต่างประเทศเพื่อนำมาเป็นแบบอย่างของการเลือกตั้งในประเทศได้แต่อย่างใดไม่ แต่เป็นการไปเพื่อตรวจงานการเลือกตั้งที่ กกต.ได้สั่งให้สถานทูต หรือสถานกงสุลดำเนินการเลือกตั้งให้เท่านั้น การไปตรวจงานในลักษณะเช่นนี้จึงเป็นงานของเจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติการก็สามารถไปตรวจดูความเรียบร้อยของการเลือกตั้งในต่างประเทศได้ ซึ่งแทบจะไม่มีสื่อมวลชนไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ หรือโทรทัศน์ติดตามข่าวสถานการณ์การเดินทางไปต่างประเทศของ กกต.เลย ว่าเหตุใดจึงเดินทางไปต่างประเทศพร้อมกันถึง 4 คน ในเวลากระชั้นชิดกับการเลือกตั้งเช่นนั้น และกระทรวงการต่างประเทศมีเหตุผลใดจึงได้เชิญให้ไปดูงานการเลือกตั้งที่ตนเองเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการเลือกตั้งในต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศมีบุคลากรที่มีความสามารถเชี่ยวชาญเป็นเลิศในการจัดการเลือกตั้งที่จะต้องเชิญให้ กกต.ไปดูงานเพื่อนำมาเป็นแบบอย่างในการจัดการเลือกตั้งในประเทศในเวลาอันกระชั้นชิดด้วยเช่นนั้นหรืออย่างไร และรัฐบาลได้รู้เห็นเป็นใจให้กระทรวงการต่างประเทศกระทำการเช่นนั้นด้วยหรือไม่ หรือมีอะไรแอบแฝงอยู่เบื้องหลังของการไปต่างประเทศดังกล่าวหรือไม่ และแทบจะไม่มีพรรคการเมืองพรรคใดที่แสดงความวิตกกังวลหรือห่วงใยกับการไม่อยู่ในประเทศของ กกต.ทั้ง 4 เลย
ในขณะเดียวกัน กกต.ที่เหลืออยู่ก็ได้ให้สัมภาษณ์ในทำนองว่า กกต.ไปต่างประเทศ 4 คนเหลือเพียงคนเดียว ไม่สามารถพิจารณาการกระทำความผิดของผู้สมัครรับเลือกตั้งโดยการออกใบเหลืองใบแดงในระหว่างนั้นได้ การออกมาให้ข่าวเช่นนั้น ในความรู้สึกของวิญญูชนทั่วไปย่อมเข้าใจได้ว่า เป็นการส่งสัญญาณไม่ให้ กกต.ในท้องถิ่น หรือ กกต.ในเขตเลือกตั้งไปตรวจจับการกระทำความผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้งมาให้ กกต.ส่วนกลางพิจารณาวินิจฉัย เพราะไม่มี กกต.ครบองค์คณะที่จะดำเนินการให้ได้
เมื่อไม่มี กกต.อยู่ปฏิบัติหน้าที่ในประเทศเพื่อควบคุมการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ไม่มี กกต.ที่จะไปควบคุม ตรวจสอบ จับผิดการทุจริตการเลือกตั้งเสียแล้ว ประชาชนโดยทั่วไปได้พบเห็นการเลือกตั้งในช่วงเวลานั้น มีการหาเสียงการโฆษณาชวนเชื่อ มีการประกาศต่อสาธารณชน โดยสัญญาจะให้กันอย่างถล่มทลายของหลายพรรคการเมือง มีการโฆษณาชวนเชื่อชนิดที่ประกาศล้มกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันได้ โดยไม่มีความเกรงกลัวต่อการกระทำความผิดกฎหมายเลือกตั้งหรือกระทำการขัดต่อรัฐธรรมนูญแต่อย่างใดเลย ซึ่งไม่มีการเลือกตั้งใดในประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่จะอนุญาตให้มีการหาเสียงเลือกตั้งเช่นนั้นได้
ประชาชนทั่วไปที่ติดตามก็จะเห็นข่าวและภาพการหาเสียงเลือกตั้งของบางสื่อ (ที่ใช้ทรัพยากรของรัฐ) ที่มีการทำข่าวการหาเสียงเลือกตั้งนั้นมิได้มีลักษณะของการทำข่าวโดยทั่วไป แต่เป็นการทำข่าวที่อิงไปในลักษณะเป็นการโฆษณาสนับสนุนพรรคการเมืองที่รักและนักการเมืองที่ชอบของตนเองเป็นการเฉพาะ (ไม่ใช่เป็นการรับจ้างโฆษณา) อันเป็นการที่สื่อเข้าไปกระทำการที่มีผลกระทบต่อการเลือกตั้ง ทำให้เกิดผลต่อการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งได้อย่างอเนกอนันต์
เมื่อไม่มี กกต.อยู่ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการเลือกตั้งไม่มี กกต.ที่จะตรวจสอบ จับผิดการทุจริตการเลือกตั้งดังกล่าว ย่อมเกิดการกระทำอันที่กระทบต่อสิทธิของประชาชนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งได้ การใช้สิทธิของบุคคลในการดำเนินการเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ หรือยุบพรรคการเมือง จึงเป็นการ “ใช้อำนาจรัฐ” เพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจหรืออิทธิพลในการเลือกตั้งของพรรคการเมือง นักการเมือง ตลอดจนการใช้อำนาจรัฐของ กกต.ในการควบคุมการเลือกตั้ง การใช้สิทธิของบุคคลดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการใช้อำนาจเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจรัฐของตนเองแต่อย่างใด แต่เป็นการใช้สิทธิเพื่อคุ้มครองสิทธิของบุคคลให้มีสิทธิเลือกตั้งได้โดยสุจริตและเที่ยงธรรม อันเป็นรากฐานของการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น
คำว่า “รัฐประหารซ้อนโดยกระบวนการทางกฎหมาย” หรือ “รัฐประหารกำมะหยี่” จึงเป็นการใช้วาทศิลป์เพื่อให้ กกต.หรือศาลมีความหวาดกลัว หวั่นไหว หรือมีอคติ หรือเกิดภยาคติ ที่ไม่อาจจะดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของตนเองได้ ซึ่งก็จะมีผลทำให้ประเทศขาดไร้ซึ่งระบบนิติรัฐ อันเป็นผลกระทบต่อรากฐานของความมั่นคงแห่งรัฐ เพราะเป็นการปฏิเสธไม่ยอมรับในหลักสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามหลักสิทธิมนุษยชนที่ปัจเจกบุคคลจะพึงมีต่อสิทธิในการเลือกตั้ง
หากผู้ใช้อำนาจรัฐได้ใช้อำนาจรัฐโดยสุจริต ไม่ทำลายอำนาจรัฐเพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองและผู้อื่นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือโดยทุจริตแล้ว อำนาจรัฐนั้นก็ไม่อาจมาทำร้ายผู้ใช้อำนาจได้ และไม่อาจเกิดรัฐประหารได้ไม่ว่าในกรณีใด