ASTVผู้จัดการรายวัน - “มาร์ค” ย้ำจุดยืนไทยเจรจากัมพูชาตามกรอบจีบีซี ยันยึดสันปันน้ำเป็นหลัก ดักคอถอนทห ารต้องทำพร้อมกัน เชื่อมั่นคำสั่งศาลโลกทั้งหมดไม่มีผลต่ออธิปไตยไทย พร้อมศึกษาประวัติศาสตร์ผลที่เกิดขึ้นหากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลโลก ก่อนโยนเผือกร้อนให้รัฐบาลใหม่สานต่อ ด้านโฆษกพันธมิตรฯเตรียมออกแถลงการณ์วันนี้ จวกนายกฯปัดสวะพ้นตัวหลังพาไทยแพ้ในเวทีศาลโลก แนะ “ยิ่งลักษณ์” ประกาศไม่รับอำนาจศาลโลก คงกำลังทหาร ฝ่ายกัมพูชาได้ทีเรียกร้องไทยรับคำสั่งศาล เย้ยแผนผังเขตปลอดทหารลากเส้นกินแดนไทยเยอะทำให้หมดทางรุกรานเขมร
วานนี้ (19 ก.ค.) เมื่อเวลา 09.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมหน่วยงานด้านความมั่นคง ประกอบด้วย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก นายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ รวมถึงผู้เกี่ยวข้องจากกระทรวงการต่างประเทศ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ คณะกรรมการกฤษฎีกา และเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อหาแนวทางดูแลพื้นที่หลังจากศาลโลกมีมติให้ไทยและกัมพูชาถอนทหารออกจากพื้นที่รอบปราสาท พระวิหาร โดยใช้เวลาหารือประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที จากนั้น นายอภิสิทธิ์ แถลงว่า ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาดูคำสั่งของศาลโลกเรื่องมาตรการชั่วคราวที่ออกมาโดยให้วิเคราะห์ในเชิงของข้อเท็จจริงกับข้อกฎหมาย
**รอถกจีบีซีก่อนตัดสินใจถอนทหาร
นาย อภิสิทธิ์ กล่าวว่า สำหรับข้อเท็จจริงจากพิกัดพื้นที่ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ปลอดจากกำลังทหาร ตามคำสั่งของศาลโลก มีเนื้อที่จากการคำนวณเบื้องต้นประมาณ 17.3 ตร.กม. ถ้ายึดสันปันน้ำเป็นเขตแดนซึ่งเป็นจุดยืนของรัฐบาลไทย ในพื้นที่ 17.3 ตร.กม. กินพื้นที่ส่วนของไทย 8.5 ตร.กม. ของกัมพูชา ประมาณ 8.8 ตร.กม. ซึ่งใน 8.5 ตร.กม.จะรวมพื้นที่ 4.6 ตร.กม.อยู่ประมาณ 4.5 ตร.กม. หรือน้อยกว่าเล็กน้อย
ในพื้นที่ดังกล่าว ประเมินกำลังทหารที่เกี่ยวข้องในส่วนกัมพูชาประมาณ 4,000 นาย ส่วนไทยน้อยกว่านั้นค่อนข้างมาก ซึ่งไม่อยากให้เกิดความเข้าใจผิดว่าคำสั่งศาลมาระบุเฉพาะดินแดนไทย ตรงกันข้ามตามที่เรายึดถือสันปันน้ำ พื้นที่ที่ถูกกำหนดจะใกล้เคียงกันมาก พูดง่ายๆ คือคร่อมสันปันน้ำอยู่ ถ้าเป็นมุมมองของกัมพูชาของเขาเยอะกว่ามาก เพราะถ้าไปนับพื้นที่ที่ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิ์กันอยู่ คือ ไปยึดตามแผนที่เขา เขาต้องถอนถึง 13 ตารางกิโลเมตร แต่เราไม่ได้ยึดถือตามนั้น เรายึดถือตามสันปันน้ำ ตรงนี้คือข้อเท็จจริง
นาย อภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ส่วนในแง่ของข้อกฎหมาย ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดูผลกระทบของมาตรการชั่วคราว ที่เป็นคำสั่งของศาล การที่เราเป็นสมาชิกของสหประชาชาติกับการที่เราจะต้องปฏิบัติตามกระบวนการภายในหรือกฎหมายของเรา ซึ่งรวมถึงเรื่องรัฐธรรมนูญว่าเป็นอย่างไร
อย่างไรก็ตาม โดยภาพรวมของการแก้ไขปัญหาในบริเวณชายแดน เป็นที่ชัดเจนว่า ถ้าจะมีการดำเนินการในลักษณะของการถอนทหาร ก็จะเกี่ยวข้องกับทั้งสองฝ่ายกับจำนวนคนเป็นจำนวนมาก ฉะนั้นทั้งสองฝ่ายต้องพูดคุยกัน ซึ่งเบื้องต้นได้มอบหมาย ทั้งกระทรวงการต่างประเทศกับกลาโหม ไปกำหนดแนวทางว่าจะพูดคุยกับทางกัมพูชาอย่างไร
ทั้งนี้ ตามกระบวนการการพูดคุย ถ้าทางฝ่ายกฏหมายเห็นว่าจะต้องดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นการผ่านคณะรัฐมนตรี (ครม.) หรือผ่านรัฐสภา รัฐบาลไทยก็ต้องปฏิบัติตามนั้นโดยต้องรอ ครม.หรือรัฐสภาชุดใหม่
นาย อภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้กำลังพลยังอยู่ในที่ตั้ง การดูแลพื้นที่ที่ถือว่าเป็นของไทยเราสามารถเข้าไปดูแลได้ ส่วนคำสั่งที่ว่าไม่ให้ขัดขวางการเข้าถึงตัวปราสาทพระวิหาร ขอย้ำว่าการส่งอาหารหรืออะไรเป็นเรื่องที่ต้องพูดคุยกับกัมพูชา เพราะแม้จะถอนกำลังก็ต้องตรวจสอบว่าจะไม่มีการส่งทหารเข้ามาไม่ว่ารูปแบบใด
ประเด็นเมื่อศาลโลกมีคำสั่งมีคำสั่งอะไรออกมาประเทศต่างๆ ไม่ปฏิบัติตาม เป็นไปได้หรือไม่ที่ไทยจะไม่ปฏิบัติตาม นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ยังเป็นเรื่องที่ไม่ไปพูดอย่างนั้น แต่ก็ให้ไปดูว่าที่ผ่านมาเมื่อไม่ปฏิบัติตามแล้วเกิดอะไรขึ้น อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องที่ทั้ง 2 ฝ่ายควรไปพูดคุยกัน เพราะเป้าหมายทั้ง 2 ฝ่ายคือทำอย่างไรไม่ให้เกิดการปะทะกัน โดยตนเห็นว่าจีบีซีเป็นกลไกที่เหมาะ
***ต้องตรวจสอบทหารในคราบพลเรือน
ส่วนกรณีของชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ก็เช่นเดียวกัน ต้องมีการตรวจสอบว่าเป็นพลเรือนจริงหรือไม่ หรือมีความเกี่ยวข้อง เกี่ยวพันกับทางทหาร ทั้งหมดในชั้นนี้เป็นเรื่องที่ หน่วยงานกำลังไปดูรายละเอียดข้อเท็จจริงทั้งหมด และจะต้องไปพูดคุยกับทางกัมพูชา และการปฏิบัติใดๆ ก็ต้องเป็นไปตามข้อกฎหมายทั้งกฎหมายภายในประเทศประกอบด้วย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ส่วนประเด็นในเรื่องของอธิปไตยขอยืนยันว่าคำสั่งทั้งหมดไม่ได้มีผลต่อเรื่องของเส้นเขตแดนหรืออธิปไตยทั้งสิ้น หลายคนไปพูดว่าถ้าเรามีการดำเนินการ แปลว่าพื้นที่ตรงนั้นเราสูญเสียไปแล้ว ก็คงจะไม่ใช่ เพราะศาลได้สั่งให้กัมพูชาถอนกำลังออกจากพื้นที่ ซึ่งอยู่อีกด้านของสันปันน้ำในพื้นที่ที่มากกว่าด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้น จึงไม่เกี่ยวกับเรื่องของเส้นเขตแดนหรือธิปไตยทั้งสิ้น ยืนยันว่ารัฐบาลรวมถึงในรัฐบาลชุดต่อไปด้วย ก็จะต้องทำทุกอย่างในการปกป้องอธิปไตย ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งที่ได้จากการหารือและตรวจสอบข้อเท็จจริงในเบื้องต้น โดยตัวเลขต่างๆ กำลังให้คำนวณอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
**ขอศึกษาก่อนรับคำสั่งศาลโลก
เมื่อถามว่า ตอนนี้ถือได้ว่าไทยยอมรับคำสั่งมาตรการชั่วคราวของศาลโลกแล้วหรือยัง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตอนนี้อยู่ในช่วงที่ให้ฝ่ายต่างๆ ไปศึกษาในข้อมูลและกัมพูชา เพราะก่อนหน้านี้เราก็เคยมีการเสนอเรื่องของการถอนทหาร ส่วนการถอนทหารคงเป็นไปไม่ได้ที่จะถอนทันทีไม่ว่าฝ่ายไทยหรือกัมพูชาคงต้องคุยกัน
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่ไทยและกัมพูชาต่างยึดคนละแผนที่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ในส่วนของแผนที่ที่ศาลโลกมีออกมานั้น เป็นแผนที่ที่ศาลโลกกำหนดขึ้นเอง ซึ่งในคำสั่งของศาลได้แนบแผนที่ที่กำหนดเขตปลอดกำลัง โดยเขียนแบบคางหมูที่คร่อมสันปันน้ำอยู่ จะเป็นอย่างไรต่อไปก็ต้องไปพูดคุยกัน
ส่วนที่ทางกัมพูชาออกแถลงการณ์รับคำสั่งของศาลโลกแล้ว และเรียกร้องให้ไทยยอมรับคำสั่งศาลโลกด้วยนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนยังไม่เห็นสิ่งที่กัมพูชาบอกว่ายอมรับคำสั่งศาลโลกแล้ว เห็นแต่คำให้สัมภาษณ์ของรัฐมนตรีกัมพูชาที่เรียกร้องให้ไทยยอมรับคำสั่งศาล ซึ่งตนเห็นว่า ถ้ากัมพูชายอมรับคำสั่งของศาลโลกจริงก็ถอนกำลัง 4,000 กว่าคนออกไป
ต่อข้อถามที่ว่า หากไทยเสียเปรียบจากแผนที่ศาลโลกเขียนขึ้นจะร้องไปยังศาลโลกหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คงไม่ เพราะที่ศาลกำหนดแผนที่เอง เขาให้เหตุผลว่า แผนที่นี้ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเส้นเขตแดน เขาต้องการที่จะลดปัญหาความเสี่ยงต่อการปะทะ การเผชิญหน้าหรือความตึงเครียด ในระหว่างที่ศาลจะต้องพิจารณาคดีที่ทางกัมพูชาร้องขอไป เพราะฉะนั้นเขาก็กำหนดว่า เมื่อทางกัมพูชาไปขอให้ศาลสั่งให้ประเทศไทยถอนทหารออกจากบริเวณนี้ทั้งหมด ศาลก็พิจารณาแล้วเห็นว่า เนื่องจากเรื่องนี้เสี่ยงต่อการที่จะกระทบต่อสิทธิของฝ่ายต่างๆ จึงมีคำสั่งให้ถอนกำลังทั้งหมด ส่วนแผนที่นี้เขากำหนดจากอะไร ตนไม่สามารถตอบแทนศาลได้ แต่สิ่งที่ศาลขีดขึ้นมา เขาคิดว่า หากจุดไหนที่ไม่มีทหารก็จะไม่เป็นจุดเสี่ยง
ส่วนจะให้คณะกรรมการหรือหน่วยงานไหนที่ต้องติดตามเรื่องนี้ต่อ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า กำลังดูว่าจะเป็นคณะกรรมการชุดไหน เพราะจะเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามมาตรา 190 ด้วยหรือไม่ หากต้องปฏิบัติตาม จะใช้กลไกไหน จะต้องกำกับกรอบการเจรจาด้วย
เมื่อถามต่อว่า ขณะนี้รอรัฐบาลชุดใหม่มาดำเนินการต่อใช่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ฝ่ายประจำสามารถดำเนินการเตรียมการได้ทั้งหมด อย่างในส่วนของข้อกฎหมาย และการเตรียมการพูดคุยกับกัมพูชา
ประเด็นข้อกังวลหากถอนทหารเกรงว่าจะปะทะกันอีกหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า มีการติดตามอยู่ตลอดยังไม่สัญญาณอะไรว่าจะเกิด
เมื่อถามว่า หากปฏิบัติตามมติศาลโลกแล้ว พื้นที่ดังกล่าวจะกลายเป็นของกัมพูชาในอนาคต นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ยังไม่สรุปอย่างนั้น
ส่วนการรักษาผลประโยชน์ของประเทศ รัฐบาลนี้ได้ต่อสู้คดี ขอย้ำว่า ที่มีคนไปพูดว่า รัฐบาลนี้เอาเรื่องไปขึ้นศาลโลกทำไม รัฐบาลนี้ไม่ได้เอาเรื่องไปขึ้นศาลโลก กัมพูชาใช้สิทธิของเขาไปขึ้นศาลโลกในการที่จะขอตีความคำพิพากษาในคดีเดิม และขอมาตรการชั่วคราว รัฐบาลนี้เพียงแต่ต่อสู้ และเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ศาลไม่อนุมัติตามคำขอของกัมพูชา ส่วนคดีหลักยังไม่ได้เริ่มการต่อสู้ ก็จะเป็นเรื่องรัฐบาลใหม่
** โยนรัฐบาลใหม่ตัดสินใจ
ผู้สื่อข่าวถามว่า คาดหวังกับการเข้ามาดูแลปัญหาของรัฐบาลชุดใหม่หรือเปล่า นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า สิ่งที่รัฐบาลใหม่ควรทำคือ 1.เขาต้องต่อสู้คดีนี้อย่างเต็มที่ 2.การจะปฏิบัติอะไรก็ตามก็ต้องดูแลให้เกิดผลกระทบต่ออธิปไตย หรือการรักษาผลประโยชน์ประเทศ ซึ่งหมายถึงการกุมสภาพของพื้นที่ให้ได้
เมื่อถามว่าเป็นไปได้หรือไม่เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลใหม่แล้วในขั้นตอนของกฎหมายอาจจะถอนฟ้องจากศาลโลกแล้วมาตกลงกันเองง่ายกว่า นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ทราบและไม่กล้าวิเคราะห์ เพราะเป็นเรื่องการตัดสินใจของกัมพูชา ส่วนกัมพูชาจะสามารถถอนฟ้องได้หรือไม่ ตนยังไม่ได้อ่านข้อบังคับ แต่ตนสันนิษฐานว่าน่าจะได้ ส่วนศาลจะอนุญาตหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
เมื่อถามว่าก่อนที่นายกฯจะก้าวลงจากตำแหน่งเป็นห่วงอะไรในเรื่องนี้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า 1.ต้องดูแลสภาพพื้นที่จริงไม่ให้เกิดปัญหาเพิ่มเติมขึ้น 2.ต้องให้ข้อกฎหมายมีความรัดกุม 3.ต้องทำให้กลไกที่จะไปพูดคุยกับกัมพูชาเป็นเรื่องที่ติดตามอย่างต่อเนื่อง และจุดยืนหลังจากนี้สำหรับตนไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้านหรือรัฐบาลจุดยืนก็เหมือนเดิม และติดตามอย่างระมัดระวังซึ่งยังไม่มีสัญญาณอะไรที่บ่งบอกว่าจะมีปัญหา และไม่มีสัญญาณอะไรว่ากัมพูชาจะถอนทหาร
อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้กระทรวงการต่างประเทศและกลาโหมจะไปหารือกันต่อ ส่วนฝ่ายกฎหมายจะมีกรมสนธิสัญญาระหว่างประเทศ และคณะกรรมการกฤษฎีกาช่วยกันดู ส่วนเรื่องคดีหลักที่กัมพูชาได้ขอให้ศาลตีความว่าที่มีการตัดสินเมื่อปี 2505 คำว่าบริเวณใกล้เคียงปราสาทคืออะไร เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทั้ง 2 ฝ่ายต้องนำหลักฐานไปต่อสู้คดี ซึ่งศาลยังไม่กำหนด แต่คาดว่า 2-3 เดือนข้างหน้า น่าจะเป็นเรื่องที่ให้คู่ความส่งข้อมูล
**"ยิ่งลักษณ์"รอกกต.รับรองก่อน
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงปัญหาปราสาทพระวิหารว่า ขณะนี้ยังไม่ได้เป็นรัฐบาล หากเข้ามาเป็นรัฐบาลแล้วก็จะต้องมาศึกษาในรายละเอียดของคำพิพากษาโลก โดยตนในฐานะคนไทย ก็มีหน้าที่ปกป้องอธิปไตย
อย่างไรก็ตาม บุคคลที่จะเข้ามารับตำแหน่งรมว.ต่างประเทศ จะต้องเป็นบุคคลที่มีความสามารถในการเจรจาพูดคุยกับประเทศเพื่อนบ้านได้เป็นอย่างดี ส่วนจะเป็นคนนอกหรือไม่นั้น ขณะนี้ยังไม่ได้มีการพิจารณา เพราะต้องรอผลการรับรองจากกกต.อย่างเป็นทางการก่อน ถึงจะมีความชัดเจนในเรื่องทั้งหมด
** จวก"มาร์ค"แค่ปัดสวะให้พ้นตัว
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวถึงกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยืนยันว่าขณะนี้ยังไม่มีการถอนทหารไทยออกจากพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร ตามที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ทหารไทยและกัมพูชาออกจากพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร ว่า การที่นายอภิสิทธิ์พูดว่าวันนี้ยังไม่ถอนทหาร ไม่ได้หมายความว่านายอภิสิทธิ์ไม่มีความคิดว่าจะไม่ถอนทหาร ก็แสดงว่ามีความคิดในลักษณะการยอมรับอำนาจศาลโลก โดยไม่แสดงท่าทีว่ารัฐบาลไทยไม่ยอมรับอำนาจศาลโลก
"แสดงว่าเพียงต้องการปัดสวะให้พ้นจากรัฐบาลตัวเอง ให้อยู่ภายใต้การตัดสินใจของรัฐบาลชุดหน้า แทนที่จะตัดสินใจด้วยรัฐบาลตัวเองว่า รัฐบาลตัวเองไม่รับอำนาจศาลโลกก็ดี หรือมั่นใจได้ว่าเราคงทหารไทยเอาไว้ ไม่ถอยแน่นอน ไม่แสดงท่าทีให้เกิดความชัดเจน เหมือนกับว่าถ่วงเวลา รอการตัดสินใจให้ไปถึงรัฐบาลชุดหน้า ก็เหมือนเป็นการส่งมอบในเวทีศาลโลกให้กับรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยไม่ตัดตอนเสียให้ขาด ภายใต้การตัดสินใจของตัวเอง" นายปานเทพกล่าว
โฆษกพันธมิตรฯ กล่าวว่า กรณีดังกล่าวเป็นความพ่ายแพ้ต่อศาลโลกในกระบวนการต่อสู้ที่ผ่านมาว่า ศาลโลกไม่มีอำนาจในการตัดสินออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราว และไม่มีอำนาจในการพิจารณาคดีนี้ ซึ่งล้มเหลวทั้งหมด ซึ่งถ้าไทยต่อสู้ยืนหยัดอย่างที่ตัวเองคิดว่าถูกต้องมาโดยตลอด ต้องยืนยันว่าไทยไม่รับอำนาจศาลโลก จึงจะเป็นมาตรการที่ถูกต้อง และคงทหารต่อไปโดยประกาศเป็นนโยบายของทางรัฐบาล ถึงแม้จะเป็นรัฐบาลรักษาการ ก็ยังสามารถที่จะประกาศได้ รัฐบาลชุดหน้าถ้าจะไปเปลี่ยนแปลง หรือทำให้เกิดความเสียหายเกิดขึ้นก็ต้องไปตอบคำถามกับประชาชน แต่ถ้าปล่อยผ่านในการตัดสินใจของรัฐบาลชุดหน้า ก็แสดงว่ารัฐบาลชุดนี้ไม่รับผิดชอบอะไร
**"ยิ่งลักษณ์"ต้องกล้าตัดสินใจ
เมื่อถามว่าในเมื่อรัฐบาลชุดนี้ไม่รับผิดชอบแล้ว คาดหวังอะไรกับรัฐบาลชุดหน้าที่จะต้องเข้ามาดูปัญหานี้ นายปานเทพ กล่าวว่า ตนเห็นว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ประกาศว่าจะไม่ทำให้เสียอธิปไตย หรือเสียดินแดน และระมัดระวังตามคำสัมภาษณ์ล่าสุด ถ้าจะทำเช่นนั้นได้ ก็ต้องเข้าใจได้ว่าสมรภูมิศาลโลกไทยไม่ได้เปรียบเลยถึงชั่วโมงนี้ดูจากมาตรการที่ออกคุ้มครองชั่วคราวครั้งหลังสุด การพูดว่าศาลมีอำนาจในการตัดสินใจ และกระบวนการทั้งหมดไม่เป็นคุณกับประเทศไทยเลย ถ้าน.ส.ยิ่งลักษณ์ ไปถลำลึกเหมือนกับรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ก็อาจจะเป็นเหยื่อ เป็นแพะในการเสียดินแดนว่ารัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต่อสู้ในเวทีศาลโลกพ่ายแพ้ภายใต้รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ทั้งๆ ที่กระบวนการดังกล่าว มันเสียท่ามาตั้งแต่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ไปรับอำนาจศาลโลกแล้ว มันก็จะเป็นความต่อเนื่องถึงสองรัฐบาลที่ล้มเหลวทั้งคู่
"ถ้าคุณยิ่งลักษณ์ฉลาด ก็ต้องดำเนินการ 3 ข้อ คือ ประกาศไม่รับอำนาจศาลโลก คงกำลังทหารเอาไว้ ถ้าเป็นไปได้ก็ทวงคืนแผ่นดินไทยกลับคืนมาด้วย และต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางการทูต ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติใหม่หมด ในฐานะที่รัฐบาลชุดที่แล้วทำความเสียหายไว้ครบแล้ว ไม่ว่ากับ จีน รัสเซีย ฝรั่งเศส ยืนข้างกัมพูชา อังกฤษและสหรัฐอเมริกา ยืนอยู่ข้างผลประโยชน์ทางพลังงานในอ่าวไทย ฉะนั้นถ้าคุณยิ่งลักษณ์ เข้ามาแล้วไม่อยากเป็นผู้ถูกตราหน้าว่าทำให้ไทยเสียดินแดน ก็ต้องแก้ปัญหาสามประการนี้ ถึงจะมีโอกาสแก้ไขได้” นายปานเทพ กล่าว
**พันธมิตรฯออกแถลงการณ์วันนี้
นายปานเทพ เปิดเผยถึงผลการประชุมแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ว่าในวันนี้ (20 ก.ค.) แกนนำพันธมิตรฯ จะมีการแถลงข่าว ในเวลา 11.30 น. ที่บ้านพระอาทิตย์ โดยจะเป็นการออกแถลงการณ์ 4 ฉบับ ทั้งต่อประชาชน ต่อกองทัพ ต่อรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่กำลังจะหมดวาระ และต่อรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่จะเข้ามาบริหารประเทศต่อ ซึ่งในช่วงเช้า แกนนำจะเข้าประชุมเพื่อกลั่นกรองแถลงการณ์ฉบับดังกล่าวก่อนจะแถลงข่าวดังกล่าว
**"ต่อพงษ์"ชี้คำตัดสินเป็นผลดีทั้ง 2 ฝ่าย
นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น ผู้สมัครส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะอดีตประธานกมธ.ต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงคำตัดสินของศาลโลกว่า เป็นข่าวดีของทั้งสองฝ่าย เนื่องจากเป้าหมายของศาลโลก ต้องการเห็นสันติภาพ โดยตนเห็นว่าศาลโลกตัดสินได้ถูกต้องแล้ว เพราะสองฝ่ายต้องลดการเผชิญหน้า ซึ่งรัฐบาลชุดที่ผ่านมา สอบตกเรื่องการเจรจาทางการทูต
ทั้งนี้ เมื่อพรรคเพื่อไทยได้จัดตั้งรัฐบาลแล้วจะดำเนินการทางการทูตทันที เพราะเมื่อพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เป็นว่าที่นายกรัฐมนตรี ทางกัมพูชา ก็ยังเปลี่ยนท่าที เป็นการชื่นชม ซึ่งตามที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ระบุว่า เมื่อน.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ปัญหาไทย-กัมพูชา จะจบลงภายใน 2 ชั่วโมง ซึ่งตนเห็นว่าปัญหาน่าจะแก้ได้โดยไม่ต้องรอถึง 2 ชั่วโมงด้วยซ้ำ ขณะที่การเริ่มเจรจากับทางกัมพูชา ตนมองว่าไม่จำเป็นต้องถึงมือพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพราะกลไกของรัฐบาลก็สามารถแก้ปัญหาได้
***กัมพูชาเรียกร้องไทยปฏิบัติตามคำสั่งศาล
เว็บไซต์ ฟิฟทีนมูฟ รายงานข่าวโดยอ้างรายงานของสำนักข่าวซีอีเอ็นของกัมพูชา เมื่อวันที่ 18 ก.ค. ที่ผ่านมา ว่ารัฐบาลกัมพูชาแถลงการณ์สนับสนุนและเคารพต่อมาตรการชั่วคราวของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรุงเฮก ที่ได้กำหนดพื้นที่สันติภาพปลอดทหาร ให้ทั้งไทยและกัมพูชาถอนทหารออกจากพื้นที่ชายแดนปราสาทพระวิหาร เพื่อให้เกิดการหยุดยิงถาวร และให้ทั้งสองฝ่ายรับผู้สังเกตการณ์อาเซียนเข้าไปในพื้นที่
เอกสารแถลงการณ์ของรัฐบาลกัมพูชา ซึ่งทำขึ้นหลังศาลโลกแถลงมาตรการชั่วคราวไม่กี่ชั่วโมง ระบุว่า รัฐบาลกัมพูชาประกาศสนับสนุนมาตรการชั่วคราวของศาลโลก ที่ได้ตอบสนองอย่างหนักแน่นต่อความต้องการของกัมพูชา ที่ต้องการให้พื้นที่ปราสาทพระวิหารมีสันติภาพ มีผู้สังเกตการณ์อาเซียนเข้ามาอยู่ในพื้นที่ปลอดทหาร และในส่วนของราษฎรมีความเป็นอยู่เป็นปกติสุข
รัฐบาลกัมพูชา ยังหวังว่ารัฐบาลไทยจะยอมรับและเคารพมาตรการชั่วคราวของศาลกรุงเฮก นอกจากนี้ รัฐบาลกัมพูชาขอเรียกร้องให้ผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียเข้าในพื้นที่ ซึ่งเป็นไปตามมติของประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ และเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการชั่วคราวของศาลฯ เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในพื้นปลอดทหารตามแนวชายแดนกัมพูชา-ไทย โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
**เย้ยไทยหมดโอกาสรุกรานกัมพูชา
นายฮอ นำฮง หัวหน้าคณะผู้แทนกัมพูชา ยังได้ให้สัมภาษณ์ผ่านโทรทัศน์ซีทีเอ็นของกัมพูชา โดยระบุว่า มาตรการชั่วคราวของศาลกรุงเฮก เป็นผลดีอย่างสูงต่อกัมพูชา ซึ่งการแถลงของศาลฯ มีเป้าหมายสำคัญสองอย่างที่กัมพูชาต้องการได้รับ คือ 1. การถอนทหาร ซึ่งหมายความว่าทำให้มีการหยุดยิงถาวรในพื้นที่ปราสาทพระวิหาร โดยให้ไทยถอนทหารออกจากชายแดนใกล้ปราสาทพระวิหาร ซึ่งศาลฯ ได้วาดแผนที่กำหนดโดยล้ำเข้าไปในดินแดนไทยเป็นส่วนใหญ่ ไปจนถึงสุดปราสาทพระวิหาร และ 2. กัมพูชาเรียกร้องให้มีผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย มายังพื้นที่ชายแดนปราสาทพระวิหาร ที่ไทยขัดขวางมาตลอด แต่ตอนนี้ ศาลกรุงเฮกได้มีมติให้ผู้สังเกตการณ์เข้ามาในพื้นที่ชายแดนกัมพูชา-ไทย
นายฮอ นำฮง กล่าวอีกว่า มาตรการชั่วคราวของศาลโลกที่ให้ทั้งสองฝ่ายเคารพต่อพื้นที่ปลอดทหาร ซึ่งศาลฯ ได้ลากเส้นแผนที่กำหนดพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในฝั่งไทยนั้น หมายความว่า ไทยหมดสิ้นมูลเหตุและเล่ห์กลที่จะใช้รุกรานดินแดนกัมพูชาได้อีก
วานนี้ (19 ก.ค.) เมื่อเวลา 09.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมหน่วยงานด้านความมั่นคง ประกอบด้วย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก นายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ รวมถึงผู้เกี่ยวข้องจากกระทรวงการต่างประเทศ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ คณะกรรมการกฤษฎีกา และเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อหาแนวทางดูแลพื้นที่หลังจากศาลโลกมีมติให้ไทยและกัมพูชาถอนทหารออกจากพื้นที่รอบปราสาท พระวิหาร โดยใช้เวลาหารือประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที จากนั้น นายอภิสิทธิ์ แถลงว่า ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาดูคำสั่งของศาลโลกเรื่องมาตรการชั่วคราวที่ออกมาโดยให้วิเคราะห์ในเชิงของข้อเท็จจริงกับข้อกฎหมาย
**รอถกจีบีซีก่อนตัดสินใจถอนทหาร
นาย อภิสิทธิ์ กล่าวว่า สำหรับข้อเท็จจริงจากพิกัดพื้นที่ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ปลอดจากกำลังทหาร ตามคำสั่งของศาลโลก มีเนื้อที่จากการคำนวณเบื้องต้นประมาณ 17.3 ตร.กม. ถ้ายึดสันปันน้ำเป็นเขตแดนซึ่งเป็นจุดยืนของรัฐบาลไทย ในพื้นที่ 17.3 ตร.กม. กินพื้นที่ส่วนของไทย 8.5 ตร.กม. ของกัมพูชา ประมาณ 8.8 ตร.กม. ซึ่งใน 8.5 ตร.กม.จะรวมพื้นที่ 4.6 ตร.กม.อยู่ประมาณ 4.5 ตร.กม. หรือน้อยกว่าเล็กน้อย
ในพื้นที่ดังกล่าว ประเมินกำลังทหารที่เกี่ยวข้องในส่วนกัมพูชาประมาณ 4,000 นาย ส่วนไทยน้อยกว่านั้นค่อนข้างมาก ซึ่งไม่อยากให้เกิดความเข้าใจผิดว่าคำสั่งศาลมาระบุเฉพาะดินแดนไทย ตรงกันข้ามตามที่เรายึดถือสันปันน้ำ พื้นที่ที่ถูกกำหนดจะใกล้เคียงกันมาก พูดง่ายๆ คือคร่อมสันปันน้ำอยู่ ถ้าเป็นมุมมองของกัมพูชาของเขาเยอะกว่ามาก เพราะถ้าไปนับพื้นที่ที่ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิ์กันอยู่ คือ ไปยึดตามแผนที่เขา เขาต้องถอนถึง 13 ตารางกิโลเมตร แต่เราไม่ได้ยึดถือตามนั้น เรายึดถือตามสันปันน้ำ ตรงนี้คือข้อเท็จจริง
นาย อภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ส่วนในแง่ของข้อกฎหมาย ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดูผลกระทบของมาตรการชั่วคราว ที่เป็นคำสั่งของศาล การที่เราเป็นสมาชิกของสหประชาชาติกับการที่เราจะต้องปฏิบัติตามกระบวนการภายในหรือกฎหมายของเรา ซึ่งรวมถึงเรื่องรัฐธรรมนูญว่าเป็นอย่างไร
อย่างไรก็ตาม โดยภาพรวมของการแก้ไขปัญหาในบริเวณชายแดน เป็นที่ชัดเจนว่า ถ้าจะมีการดำเนินการในลักษณะของการถอนทหาร ก็จะเกี่ยวข้องกับทั้งสองฝ่ายกับจำนวนคนเป็นจำนวนมาก ฉะนั้นทั้งสองฝ่ายต้องพูดคุยกัน ซึ่งเบื้องต้นได้มอบหมาย ทั้งกระทรวงการต่างประเทศกับกลาโหม ไปกำหนดแนวทางว่าจะพูดคุยกับทางกัมพูชาอย่างไร
ทั้งนี้ ตามกระบวนการการพูดคุย ถ้าทางฝ่ายกฏหมายเห็นว่าจะต้องดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นการผ่านคณะรัฐมนตรี (ครม.) หรือผ่านรัฐสภา รัฐบาลไทยก็ต้องปฏิบัติตามนั้นโดยต้องรอ ครม.หรือรัฐสภาชุดใหม่
นาย อภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้กำลังพลยังอยู่ในที่ตั้ง การดูแลพื้นที่ที่ถือว่าเป็นของไทยเราสามารถเข้าไปดูแลได้ ส่วนคำสั่งที่ว่าไม่ให้ขัดขวางการเข้าถึงตัวปราสาทพระวิหาร ขอย้ำว่าการส่งอาหารหรืออะไรเป็นเรื่องที่ต้องพูดคุยกับกัมพูชา เพราะแม้จะถอนกำลังก็ต้องตรวจสอบว่าจะไม่มีการส่งทหารเข้ามาไม่ว่ารูปแบบใด
ประเด็นเมื่อศาลโลกมีคำสั่งมีคำสั่งอะไรออกมาประเทศต่างๆ ไม่ปฏิบัติตาม เป็นไปได้หรือไม่ที่ไทยจะไม่ปฏิบัติตาม นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ยังเป็นเรื่องที่ไม่ไปพูดอย่างนั้น แต่ก็ให้ไปดูว่าที่ผ่านมาเมื่อไม่ปฏิบัติตามแล้วเกิดอะไรขึ้น อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องที่ทั้ง 2 ฝ่ายควรไปพูดคุยกัน เพราะเป้าหมายทั้ง 2 ฝ่ายคือทำอย่างไรไม่ให้เกิดการปะทะกัน โดยตนเห็นว่าจีบีซีเป็นกลไกที่เหมาะ
***ต้องตรวจสอบทหารในคราบพลเรือน
ส่วนกรณีของชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ก็เช่นเดียวกัน ต้องมีการตรวจสอบว่าเป็นพลเรือนจริงหรือไม่ หรือมีความเกี่ยวข้อง เกี่ยวพันกับทางทหาร ทั้งหมดในชั้นนี้เป็นเรื่องที่ หน่วยงานกำลังไปดูรายละเอียดข้อเท็จจริงทั้งหมด และจะต้องไปพูดคุยกับทางกัมพูชา และการปฏิบัติใดๆ ก็ต้องเป็นไปตามข้อกฎหมายทั้งกฎหมายภายในประเทศประกอบด้วย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ส่วนประเด็นในเรื่องของอธิปไตยขอยืนยันว่าคำสั่งทั้งหมดไม่ได้มีผลต่อเรื่องของเส้นเขตแดนหรืออธิปไตยทั้งสิ้น หลายคนไปพูดว่าถ้าเรามีการดำเนินการ แปลว่าพื้นที่ตรงนั้นเราสูญเสียไปแล้ว ก็คงจะไม่ใช่ เพราะศาลได้สั่งให้กัมพูชาถอนกำลังออกจากพื้นที่ ซึ่งอยู่อีกด้านของสันปันน้ำในพื้นที่ที่มากกว่าด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้น จึงไม่เกี่ยวกับเรื่องของเส้นเขตแดนหรือธิปไตยทั้งสิ้น ยืนยันว่ารัฐบาลรวมถึงในรัฐบาลชุดต่อไปด้วย ก็จะต้องทำทุกอย่างในการปกป้องอธิปไตย ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งที่ได้จากการหารือและตรวจสอบข้อเท็จจริงในเบื้องต้น โดยตัวเลขต่างๆ กำลังให้คำนวณอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
**ขอศึกษาก่อนรับคำสั่งศาลโลก
เมื่อถามว่า ตอนนี้ถือได้ว่าไทยยอมรับคำสั่งมาตรการชั่วคราวของศาลโลกแล้วหรือยัง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตอนนี้อยู่ในช่วงที่ให้ฝ่ายต่างๆ ไปศึกษาในข้อมูลและกัมพูชา เพราะก่อนหน้านี้เราก็เคยมีการเสนอเรื่องของการถอนทหาร ส่วนการถอนทหารคงเป็นไปไม่ได้ที่จะถอนทันทีไม่ว่าฝ่ายไทยหรือกัมพูชาคงต้องคุยกัน
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่ไทยและกัมพูชาต่างยึดคนละแผนที่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ในส่วนของแผนที่ที่ศาลโลกมีออกมานั้น เป็นแผนที่ที่ศาลโลกกำหนดขึ้นเอง ซึ่งในคำสั่งของศาลได้แนบแผนที่ที่กำหนดเขตปลอดกำลัง โดยเขียนแบบคางหมูที่คร่อมสันปันน้ำอยู่ จะเป็นอย่างไรต่อไปก็ต้องไปพูดคุยกัน
ส่วนที่ทางกัมพูชาออกแถลงการณ์รับคำสั่งของศาลโลกแล้ว และเรียกร้องให้ไทยยอมรับคำสั่งศาลโลกด้วยนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนยังไม่เห็นสิ่งที่กัมพูชาบอกว่ายอมรับคำสั่งศาลโลกแล้ว เห็นแต่คำให้สัมภาษณ์ของรัฐมนตรีกัมพูชาที่เรียกร้องให้ไทยยอมรับคำสั่งศาล ซึ่งตนเห็นว่า ถ้ากัมพูชายอมรับคำสั่งของศาลโลกจริงก็ถอนกำลัง 4,000 กว่าคนออกไป
ต่อข้อถามที่ว่า หากไทยเสียเปรียบจากแผนที่ศาลโลกเขียนขึ้นจะร้องไปยังศาลโลกหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คงไม่ เพราะที่ศาลกำหนดแผนที่เอง เขาให้เหตุผลว่า แผนที่นี้ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเส้นเขตแดน เขาต้องการที่จะลดปัญหาความเสี่ยงต่อการปะทะ การเผชิญหน้าหรือความตึงเครียด ในระหว่างที่ศาลจะต้องพิจารณาคดีที่ทางกัมพูชาร้องขอไป เพราะฉะนั้นเขาก็กำหนดว่า เมื่อทางกัมพูชาไปขอให้ศาลสั่งให้ประเทศไทยถอนทหารออกจากบริเวณนี้ทั้งหมด ศาลก็พิจารณาแล้วเห็นว่า เนื่องจากเรื่องนี้เสี่ยงต่อการที่จะกระทบต่อสิทธิของฝ่ายต่างๆ จึงมีคำสั่งให้ถอนกำลังทั้งหมด ส่วนแผนที่นี้เขากำหนดจากอะไร ตนไม่สามารถตอบแทนศาลได้ แต่สิ่งที่ศาลขีดขึ้นมา เขาคิดว่า หากจุดไหนที่ไม่มีทหารก็จะไม่เป็นจุดเสี่ยง
ส่วนจะให้คณะกรรมการหรือหน่วยงานไหนที่ต้องติดตามเรื่องนี้ต่อ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า กำลังดูว่าจะเป็นคณะกรรมการชุดไหน เพราะจะเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามมาตรา 190 ด้วยหรือไม่ หากต้องปฏิบัติตาม จะใช้กลไกไหน จะต้องกำกับกรอบการเจรจาด้วย
เมื่อถามต่อว่า ขณะนี้รอรัฐบาลชุดใหม่มาดำเนินการต่อใช่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ฝ่ายประจำสามารถดำเนินการเตรียมการได้ทั้งหมด อย่างในส่วนของข้อกฎหมาย และการเตรียมการพูดคุยกับกัมพูชา
ประเด็นข้อกังวลหากถอนทหารเกรงว่าจะปะทะกันอีกหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า มีการติดตามอยู่ตลอดยังไม่สัญญาณอะไรว่าจะเกิด
เมื่อถามว่า หากปฏิบัติตามมติศาลโลกแล้ว พื้นที่ดังกล่าวจะกลายเป็นของกัมพูชาในอนาคต นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ยังไม่สรุปอย่างนั้น
ส่วนการรักษาผลประโยชน์ของประเทศ รัฐบาลนี้ได้ต่อสู้คดี ขอย้ำว่า ที่มีคนไปพูดว่า รัฐบาลนี้เอาเรื่องไปขึ้นศาลโลกทำไม รัฐบาลนี้ไม่ได้เอาเรื่องไปขึ้นศาลโลก กัมพูชาใช้สิทธิของเขาไปขึ้นศาลโลกในการที่จะขอตีความคำพิพากษาในคดีเดิม และขอมาตรการชั่วคราว รัฐบาลนี้เพียงแต่ต่อสู้ และเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ศาลไม่อนุมัติตามคำขอของกัมพูชา ส่วนคดีหลักยังไม่ได้เริ่มการต่อสู้ ก็จะเป็นเรื่องรัฐบาลใหม่
** โยนรัฐบาลใหม่ตัดสินใจ
ผู้สื่อข่าวถามว่า คาดหวังกับการเข้ามาดูแลปัญหาของรัฐบาลชุดใหม่หรือเปล่า นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า สิ่งที่รัฐบาลใหม่ควรทำคือ 1.เขาต้องต่อสู้คดีนี้อย่างเต็มที่ 2.การจะปฏิบัติอะไรก็ตามก็ต้องดูแลให้เกิดผลกระทบต่ออธิปไตย หรือการรักษาผลประโยชน์ประเทศ ซึ่งหมายถึงการกุมสภาพของพื้นที่ให้ได้
เมื่อถามว่าเป็นไปได้หรือไม่เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลใหม่แล้วในขั้นตอนของกฎหมายอาจจะถอนฟ้องจากศาลโลกแล้วมาตกลงกันเองง่ายกว่า นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ทราบและไม่กล้าวิเคราะห์ เพราะเป็นเรื่องการตัดสินใจของกัมพูชา ส่วนกัมพูชาจะสามารถถอนฟ้องได้หรือไม่ ตนยังไม่ได้อ่านข้อบังคับ แต่ตนสันนิษฐานว่าน่าจะได้ ส่วนศาลจะอนุญาตหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
เมื่อถามว่าก่อนที่นายกฯจะก้าวลงจากตำแหน่งเป็นห่วงอะไรในเรื่องนี้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า 1.ต้องดูแลสภาพพื้นที่จริงไม่ให้เกิดปัญหาเพิ่มเติมขึ้น 2.ต้องให้ข้อกฎหมายมีความรัดกุม 3.ต้องทำให้กลไกที่จะไปพูดคุยกับกัมพูชาเป็นเรื่องที่ติดตามอย่างต่อเนื่อง และจุดยืนหลังจากนี้สำหรับตนไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้านหรือรัฐบาลจุดยืนก็เหมือนเดิม และติดตามอย่างระมัดระวังซึ่งยังไม่มีสัญญาณอะไรที่บ่งบอกว่าจะมีปัญหา และไม่มีสัญญาณอะไรว่ากัมพูชาจะถอนทหาร
อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้กระทรวงการต่างประเทศและกลาโหมจะไปหารือกันต่อ ส่วนฝ่ายกฎหมายจะมีกรมสนธิสัญญาระหว่างประเทศ และคณะกรรมการกฤษฎีกาช่วยกันดู ส่วนเรื่องคดีหลักที่กัมพูชาได้ขอให้ศาลตีความว่าที่มีการตัดสินเมื่อปี 2505 คำว่าบริเวณใกล้เคียงปราสาทคืออะไร เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทั้ง 2 ฝ่ายต้องนำหลักฐานไปต่อสู้คดี ซึ่งศาลยังไม่กำหนด แต่คาดว่า 2-3 เดือนข้างหน้า น่าจะเป็นเรื่องที่ให้คู่ความส่งข้อมูล
**"ยิ่งลักษณ์"รอกกต.รับรองก่อน
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงปัญหาปราสาทพระวิหารว่า ขณะนี้ยังไม่ได้เป็นรัฐบาล หากเข้ามาเป็นรัฐบาลแล้วก็จะต้องมาศึกษาในรายละเอียดของคำพิพากษาโลก โดยตนในฐานะคนไทย ก็มีหน้าที่ปกป้องอธิปไตย
อย่างไรก็ตาม บุคคลที่จะเข้ามารับตำแหน่งรมว.ต่างประเทศ จะต้องเป็นบุคคลที่มีความสามารถในการเจรจาพูดคุยกับประเทศเพื่อนบ้านได้เป็นอย่างดี ส่วนจะเป็นคนนอกหรือไม่นั้น ขณะนี้ยังไม่ได้มีการพิจารณา เพราะต้องรอผลการรับรองจากกกต.อย่างเป็นทางการก่อน ถึงจะมีความชัดเจนในเรื่องทั้งหมด
** จวก"มาร์ค"แค่ปัดสวะให้พ้นตัว
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวถึงกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยืนยันว่าขณะนี้ยังไม่มีการถอนทหารไทยออกจากพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร ตามที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ทหารไทยและกัมพูชาออกจากพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร ว่า การที่นายอภิสิทธิ์พูดว่าวันนี้ยังไม่ถอนทหาร ไม่ได้หมายความว่านายอภิสิทธิ์ไม่มีความคิดว่าจะไม่ถอนทหาร ก็แสดงว่ามีความคิดในลักษณะการยอมรับอำนาจศาลโลก โดยไม่แสดงท่าทีว่ารัฐบาลไทยไม่ยอมรับอำนาจศาลโลก
"แสดงว่าเพียงต้องการปัดสวะให้พ้นจากรัฐบาลตัวเอง ให้อยู่ภายใต้การตัดสินใจของรัฐบาลชุดหน้า แทนที่จะตัดสินใจด้วยรัฐบาลตัวเองว่า รัฐบาลตัวเองไม่รับอำนาจศาลโลกก็ดี หรือมั่นใจได้ว่าเราคงทหารไทยเอาไว้ ไม่ถอยแน่นอน ไม่แสดงท่าทีให้เกิดความชัดเจน เหมือนกับว่าถ่วงเวลา รอการตัดสินใจให้ไปถึงรัฐบาลชุดหน้า ก็เหมือนเป็นการส่งมอบในเวทีศาลโลกให้กับรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยไม่ตัดตอนเสียให้ขาด ภายใต้การตัดสินใจของตัวเอง" นายปานเทพกล่าว
โฆษกพันธมิตรฯ กล่าวว่า กรณีดังกล่าวเป็นความพ่ายแพ้ต่อศาลโลกในกระบวนการต่อสู้ที่ผ่านมาว่า ศาลโลกไม่มีอำนาจในการตัดสินออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราว และไม่มีอำนาจในการพิจารณาคดีนี้ ซึ่งล้มเหลวทั้งหมด ซึ่งถ้าไทยต่อสู้ยืนหยัดอย่างที่ตัวเองคิดว่าถูกต้องมาโดยตลอด ต้องยืนยันว่าไทยไม่รับอำนาจศาลโลก จึงจะเป็นมาตรการที่ถูกต้อง และคงทหารต่อไปโดยประกาศเป็นนโยบายของทางรัฐบาล ถึงแม้จะเป็นรัฐบาลรักษาการ ก็ยังสามารถที่จะประกาศได้ รัฐบาลชุดหน้าถ้าจะไปเปลี่ยนแปลง หรือทำให้เกิดความเสียหายเกิดขึ้นก็ต้องไปตอบคำถามกับประชาชน แต่ถ้าปล่อยผ่านในการตัดสินใจของรัฐบาลชุดหน้า ก็แสดงว่ารัฐบาลชุดนี้ไม่รับผิดชอบอะไร
**"ยิ่งลักษณ์"ต้องกล้าตัดสินใจ
เมื่อถามว่าในเมื่อรัฐบาลชุดนี้ไม่รับผิดชอบแล้ว คาดหวังอะไรกับรัฐบาลชุดหน้าที่จะต้องเข้ามาดูปัญหานี้ นายปานเทพ กล่าวว่า ตนเห็นว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ประกาศว่าจะไม่ทำให้เสียอธิปไตย หรือเสียดินแดน และระมัดระวังตามคำสัมภาษณ์ล่าสุด ถ้าจะทำเช่นนั้นได้ ก็ต้องเข้าใจได้ว่าสมรภูมิศาลโลกไทยไม่ได้เปรียบเลยถึงชั่วโมงนี้ดูจากมาตรการที่ออกคุ้มครองชั่วคราวครั้งหลังสุด การพูดว่าศาลมีอำนาจในการตัดสินใจ และกระบวนการทั้งหมดไม่เป็นคุณกับประเทศไทยเลย ถ้าน.ส.ยิ่งลักษณ์ ไปถลำลึกเหมือนกับรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ก็อาจจะเป็นเหยื่อ เป็นแพะในการเสียดินแดนว่ารัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต่อสู้ในเวทีศาลโลกพ่ายแพ้ภายใต้รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ทั้งๆ ที่กระบวนการดังกล่าว มันเสียท่ามาตั้งแต่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ไปรับอำนาจศาลโลกแล้ว มันก็จะเป็นความต่อเนื่องถึงสองรัฐบาลที่ล้มเหลวทั้งคู่
"ถ้าคุณยิ่งลักษณ์ฉลาด ก็ต้องดำเนินการ 3 ข้อ คือ ประกาศไม่รับอำนาจศาลโลก คงกำลังทหารเอาไว้ ถ้าเป็นไปได้ก็ทวงคืนแผ่นดินไทยกลับคืนมาด้วย และต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางการทูต ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติใหม่หมด ในฐานะที่รัฐบาลชุดที่แล้วทำความเสียหายไว้ครบแล้ว ไม่ว่ากับ จีน รัสเซีย ฝรั่งเศส ยืนข้างกัมพูชา อังกฤษและสหรัฐอเมริกา ยืนอยู่ข้างผลประโยชน์ทางพลังงานในอ่าวไทย ฉะนั้นถ้าคุณยิ่งลักษณ์ เข้ามาแล้วไม่อยากเป็นผู้ถูกตราหน้าว่าทำให้ไทยเสียดินแดน ก็ต้องแก้ปัญหาสามประการนี้ ถึงจะมีโอกาสแก้ไขได้” นายปานเทพ กล่าว
**พันธมิตรฯออกแถลงการณ์วันนี้
นายปานเทพ เปิดเผยถึงผลการประชุมแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ว่าในวันนี้ (20 ก.ค.) แกนนำพันธมิตรฯ จะมีการแถลงข่าว ในเวลา 11.30 น. ที่บ้านพระอาทิตย์ โดยจะเป็นการออกแถลงการณ์ 4 ฉบับ ทั้งต่อประชาชน ต่อกองทัพ ต่อรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่กำลังจะหมดวาระ และต่อรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่จะเข้ามาบริหารประเทศต่อ ซึ่งในช่วงเช้า แกนนำจะเข้าประชุมเพื่อกลั่นกรองแถลงการณ์ฉบับดังกล่าวก่อนจะแถลงข่าวดังกล่าว
**"ต่อพงษ์"ชี้คำตัดสินเป็นผลดีทั้ง 2 ฝ่าย
นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น ผู้สมัครส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะอดีตประธานกมธ.ต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงคำตัดสินของศาลโลกว่า เป็นข่าวดีของทั้งสองฝ่าย เนื่องจากเป้าหมายของศาลโลก ต้องการเห็นสันติภาพ โดยตนเห็นว่าศาลโลกตัดสินได้ถูกต้องแล้ว เพราะสองฝ่ายต้องลดการเผชิญหน้า ซึ่งรัฐบาลชุดที่ผ่านมา สอบตกเรื่องการเจรจาทางการทูต
ทั้งนี้ เมื่อพรรคเพื่อไทยได้จัดตั้งรัฐบาลแล้วจะดำเนินการทางการทูตทันที เพราะเมื่อพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เป็นว่าที่นายกรัฐมนตรี ทางกัมพูชา ก็ยังเปลี่ยนท่าที เป็นการชื่นชม ซึ่งตามที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ระบุว่า เมื่อน.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ปัญหาไทย-กัมพูชา จะจบลงภายใน 2 ชั่วโมง ซึ่งตนเห็นว่าปัญหาน่าจะแก้ได้โดยไม่ต้องรอถึง 2 ชั่วโมงด้วยซ้ำ ขณะที่การเริ่มเจรจากับทางกัมพูชา ตนมองว่าไม่จำเป็นต้องถึงมือพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพราะกลไกของรัฐบาลก็สามารถแก้ปัญหาได้
***กัมพูชาเรียกร้องไทยปฏิบัติตามคำสั่งศาล
เว็บไซต์ ฟิฟทีนมูฟ รายงานข่าวโดยอ้างรายงานของสำนักข่าวซีอีเอ็นของกัมพูชา เมื่อวันที่ 18 ก.ค. ที่ผ่านมา ว่ารัฐบาลกัมพูชาแถลงการณ์สนับสนุนและเคารพต่อมาตรการชั่วคราวของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรุงเฮก ที่ได้กำหนดพื้นที่สันติภาพปลอดทหาร ให้ทั้งไทยและกัมพูชาถอนทหารออกจากพื้นที่ชายแดนปราสาทพระวิหาร เพื่อให้เกิดการหยุดยิงถาวร และให้ทั้งสองฝ่ายรับผู้สังเกตการณ์อาเซียนเข้าไปในพื้นที่
เอกสารแถลงการณ์ของรัฐบาลกัมพูชา ซึ่งทำขึ้นหลังศาลโลกแถลงมาตรการชั่วคราวไม่กี่ชั่วโมง ระบุว่า รัฐบาลกัมพูชาประกาศสนับสนุนมาตรการชั่วคราวของศาลโลก ที่ได้ตอบสนองอย่างหนักแน่นต่อความต้องการของกัมพูชา ที่ต้องการให้พื้นที่ปราสาทพระวิหารมีสันติภาพ มีผู้สังเกตการณ์อาเซียนเข้ามาอยู่ในพื้นที่ปลอดทหาร และในส่วนของราษฎรมีความเป็นอยู่เป็นปกติสุข
รัฐบาลกัมพูชา ยังหวังว่ารัฐบาลไทยจะยอมรับและเคารพมาตรการชั่วคราวของศาลกรุงเฮก นอกจากนี้ รัฐบาลกัมพูชาขอเรียกร้องให้ผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียเข้าในพื้นที่ ซึ่งเป็นไปตามมติของประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ และเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการชั่วคราวของศาลฯ เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในพื้นปลอดทหารตามแนวชายแดนกัมพูชา-ไทย โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
**เย้ยไทยหมดโอกาสรุกรานกัมพูชา
นายฮอ นำฮง หัวหน้าคณะผู้แทนกัมพูชา ยังได้ให้สัมภาษณ์ผ่านโทรทัศน์ซีทีเอ็นของกัมพูชา โดยระบุว่า มาตรการชั่วคราวของศาลกรุงเฮก เป็นผลดีอย่างสูงต่อกัมพูชา ซึ่งการแถลงของศาลฯ มีเป้าหมายสำคัญสองอย่างที่กัมพูชาต้องการได้รับ คือ 1. การถอนทหาร ซึ่งหมายความว่าทำให้มีการหยุดยิงถาวรในพื้นที่ปราสาทพระวิหาร โดยให้ไทยถอนทหารออกจากชายแดนใกล้ปราสาทพระวิหาร ซึ่งศาลฯ ได้วาดแผนที่กำหนดโดยล้ำเข้าไปในดินแดนไทยเป็นส่วนใหญ่ ไปจนถึงสุดปราสาทพระวิหาร และ 2. กัมพูชาเรียกร้องให้มีผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย มายังพื้นที่ชายแดนปราสาทพระวิหาร ที่ไทยขัดขวางมาตลอด แต่ตอนนี้ ศาลกรุงเฮกได้มีมติให้ผู้สังเกตการณ์เข้ามาในพื้นที่ชายแดนกัมพูชา-ไทย
นายฮอ นำฮง กล่าวอีกว่า มาตรการชั่วคราวของศาลโลกที่ให้ทั้งสองฝ่ายเคารพต่อพื้นที่ปลอดทหาร ซึ่งศาลฯ ได้ลากเส้นแผนที่กำหนดพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในฝั่งไทยนั้น หมายความว่า ไทยหมดสิ้นมูลเหตุและเล่ห์กลที่จะใช้รุกรานดินแดนกัมพูชาได้อีก