วานนี้(19 ก.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. มีการประชุมรักษาการคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์เพื่อพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานการประชุมใหญ่วิสามัญประจำปี เพื่อกำหนดหาสถานที่และวันจัดการประชุมเพื่อเลือกกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ แทนคณะกรรมการฯชุดเก่าที่พ้นสมาชิกภาพภายหลังนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ประกาศลาออก อันสืบเนื่องมาจากผลการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ที่พรรคประชาธิปัตย์ได้จำนวนส.ส.ไม่เป็นไปตามเป้า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการบริหารฯ ทั้งหมดได้เข้าประชุมอย่างพร้อมเพรียงขาดเพียงนายอภิสิทธิ์ ที่ติดภาระกิจอยู่ที่ทำเนียบรัฐบาล
**เทพไททวิตตัวเก็งเลขา ปชป. 4 ภาค
รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านั้น นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตโฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) โพสต์ทวิตเตอร์ผ่าน @Theptai ว่า อ่านข่าวหนังสือพิมพ์ระบุตัวเก็งเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์มี อภิรักษ์-วิทยา-เฉลิมชัย-กัลยา ความจริงมีตัวเลือกมากกว่านี้ ส.ส.ปักษ์ใต้ เป็นเลขาฯพรรคได้หลายคนมี นายวิทยา แก้วภราดัย นายถาวร เสนเนียม นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ นายนิพนธ์ บุญญามณี นางอัญชลี วานิช ภาคกลางมี นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน นายอลงกรณ์ พลบุตร นายธีระ สลักเพชร และกทม.มี นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน นายกรณ์ จาติกวณิช ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ภาคเหนือที่คั่วได้มี นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ นายจุติ ไกรฤกษ์ ส่วนอีสานคงมี นายวิทูรย์ นามบุตร นายอิสสระ สมชัย และคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช
**6 ส.ค. เลือกนายหัวชุดใหม่หนุนมาร์คต่อ
ที่พรรคประชาธิปัตย์ น.พ.บุรณัชย์ สมุทรรักษ์ รักษาการโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงผลการประชุมรักษาการกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รักษาการเลขาธิการพรรคเป็นประธานการประชุมได้กำหนดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญประจำปี 2554 เพื่อคัดเลือกกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ในวันที่ 6 ส.ค . เวลา 08.30 น. ที่โรงแรมมิลาเคิล แกรนด์ ทั้งนี้เสียงสะท้อนจากกรรมการบริหารยังเห็นพ้องกันว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชาชีวะ ทำหน้าที่อย่างดีในตำแหน่งหัวหน้าพรรคและผู้นำประเทศและยังมีส่วนสำคัญที่ทำให้พรรคได้รับคะแนนเสียง 11 ล้านคน
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าที่ประชุมจะเลือกใครมาเป็นกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่พรรคก็พร้อมที่สานต่อภารกิจในอนาคต ส่วนแนวทางการวางยุทธศาสตร์ของพรรคก็เป็นหน้าที่ของกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ต่อไป
**เทือกโยนที่ประชุมพรรค 6ส.ค.เลือก
เมื่อเวลา11.30น.ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รักษาการณ์เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมรักษาการณ์คณะกรรมการบริหารพรรคว่า ที่ประชุมมีมติให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญเพื่อดำเนินการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ในวันที่6สิงหาคมนี้ ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพฯ โดยจากวันนี้ไปจนถึงวันคัดเลือกเป็นเรื่องที่ผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนไปปรึกษาหารือกันว่าใครจะเป็นผู้เหมาะสม และอยู่ที่สมาชิกพรรคว่าจะมีความเห็นอย่างไรถึงคุณสมบัติที่เหมาะสมของผู้ดำรงตำแหน่ง สำหรับรายชื่อแคนดิเดตที่ถูกเปิดเผยออกมาก่อนหน้านี้ อาทิ นายวิทยา แก้วภราดัย ส.ส.นครศรีธรรมราช นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ คุณหญิงกัลยา โสภณพาณิช ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ กรรมการสภาที่ปรึกษา นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน ส.ส.ประจวบคีรีขันธ์นั้น ตนเห็นว่าดีหมด แต่ไม่ขอออกความเห็น และสำหรับตนเองแล้วก็มีรายชื่อผู้สนับสนุนอยู่ในใจแล้ว แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ ทั้งนี้ถึงแม้ตนจะไม่มีตำแหน่งในพรรค แต่ก็เป็นสมาชิกพรรคที่ดีและพร้อมทำงานให้พรรคต่อไปด้วยความเข้มแข็ง ยืนยันว่าคงไม่รับตำแหน่งในพรรคอื่นๆ
**ปัดวางทายาทสานต่อเลขาฯ
เมื่อถามถึงการตั้งข้อสังเกตว่าแม้จะไม่ได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการฯ แต่มีการวางคนของตนเองขึ้นแทนเพื่อบริหารพรรคต่อไป นายสุเทพ กล่าวว่า คงเป็นเรื่องที่วิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆ แต่โดยธรรมชาติของพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีผู้มีอิทธิพลใดๆที่สามารถผลักดันคนหนึ่งคนใด ให้ดำรงตำแหน่งได้ และตนก็คงไม่มีอิทธิพลที่จะกระทำได้ขนาดนั้นเพราะเป็นแค่สมาชิกพรรคคนหนึ่ง ขณะที่คุณสมบัติของตำแหน่งเลขาธิการนั้น คิดว่าทุกคนสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ และคงไม่เกี่ยวกับเรื่องบารมีเพราะตนไม่มีบารมีแต่ก็สามารถทำงานได้ นอกจากนี้ยังเป็นหน้าที่ของส.ส.ภายในพรรคที่จะช่วยหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคทำงาน
“เอาให้หล่อกว่าผมแล้วกัน เรื่องการบริหารจัดการใครมาเป็นก็ทำได้ และส.ส.ก็ต้องช่วยกันทำงาน ทุกคนทำได้ไม่มีปัญหา”นายสุเทพกล่าวถึงคาแรกเตอร์เลขาธิการพรรคคนใหม่
**ปัดบอนไซ ชวน-บัญญัติ
ส่วนกรณีที่นายพิเชษฐ์ พันธุ์วิชาติกุล ส.ส.กระบี่ ซึ่งเป็นผู้เสนอรายชื่อคุณหญิงกัลยาให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคนต่อไป ที่เสนอรายชื่อผู้ใหญ่ภายในพรรค อาทิ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษา ให้มีบทบาทในพรรคมากขึ้นนั้น นายสุเทพ กล่าวว่า นายชวนและนายบัญญัติมีบทบาทมากอยู่แล้วในพรรค เวลามีปัญหาที่ต้องการคำปรึกษาก็ได้ให้ทั้งสองแนะนำตลอดเวลา หรือในช่วงดำเนินการทางการเมืองหาเสียงเลือกตั้งทั้ง2 ก็ทำงานเหนื่อย เห็นได้จากกรณีของนายชวนที่ล้มป่วยหลังจากการเลือกตั้ง ดังนั้นยืนยันว่าทั้ง2 มีบทบาทในพรรคอยู่แล้ว ทั้งนี้ตนคงไม่เสนอความเห็นแตกต่างจากสิ่งที่นายพิเชษฐ์ระบุ เพราะเกรงว่าจะถูกนำไปจับโยงให้กลายเป็นมีปัญหากันอีก
**ย้ำปชป.ไม่มีแรงกระเพื่อม
ทั้งนี้นายสุเทพ กล่าวปฏิเสธกรณีที่การเลือกกรรมการบริหารพรรคมักจะทำให้เกิดรอยร้าวขึ้นภายในพรรคว่า ไม่เคยมี การเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคฯ ทุกครั้งไม่เคยเกิดปัญหารอยร้าว เพราะคนในพรรคเป็นผู้ที่ยึดมั่นในแนวทางประชาธิปไตย การแข่งขันเพื่อรับตำแหน่งหน้าที่ทางการเมืองนี้เป็นเรื่องที่สมาชิกพรรคเข้าใจดี รับรองว่าไม่เป็นปัญหาแน่นอน ส่วนกรณียุทธศาสตร์การต่อสู้ของพรรคเพื่อแข่งขันกับพรรคการเมืองอื่นต่อจากนี้นั้น คงต้องให้กรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ตอบ
**ชี้ชนักรถดับเพลิง “อภิรักษ์”ไม่เกี่ยว
เมื่อถามถึงกรณีนายอภิรักษ์ ที่ถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดในกรณีรถดับเพลิงต่อศาลฎีการแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในช่วงที่เคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ว่าจะส่งผลต่อการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า คงไม่เกี่ยวกัน รายชื่อที่สื่อถามมามีความโดดเด่นเหมาะสมทั้งนั้น เช่นเดียวกับที่มีอีกหลายชื่อที่ไม่ได้ถามก็มีความเหมาะสม
**น้าญัติเปลี่ยนใจหนุนมาร์คนั่งรอบ2
ที่รัฐสภา นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะกรรมการสภาที่ปรึกษา พรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการแสดงตนเข้ารับตำแหน่ง ส.ส.ถึงกรณีการคัดสรรบุคคลเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการพรรค ว่า เรื่องนี้ถือเป็นอำนาจของหัวหน้าพรรคคนใหม่ ตามข้อบังคับพรรค โดยหัวหน้าพรรคจะมีหน้าที่เลือกบุคคล 3 รายชื่อเสนอให้ที่ประชุมใหญ่เป็นผู้เลือก หลังการั้งหัวหน้าพรรคแล้วเสร็จ โดยกระบวนการดังกล่าวถือเป็นการเปิดกว้าง และคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคที่จะต้องทำงานร่วมกัน แล้วจึงให้ที่ประชุมใหญ่เป็ฯผู้ลงมติเลือกอีกครั้ง
นายบัญญัติ กล่าวต่อว่า เชื่อว่าเรื่องดังกล่าวจะไม่เป็นปัญหาหรือแตกแยกอย่างที่ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์กัน โดยยืนยันว่าพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่มีความเป็นประชาธิปไตยสูง จึงเป็นธรรมดาที่จะมีผู้ออกมาให้ความเห็นอย่างหลากหลาย เชื่อว่าเมื่อกระบวนการเลือกตั้งภายในพรรคแล้วเสร็จทุกอย่างก็จะจบ
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากเลขาธิการพรรคคนใหม่ไม่ใช่คนใต้จะเป็นปัญหาหรือไม่ นายบัญญัติ กล่าวว่า เชื่อว่าไม่เป็นปัญหา เพราะไม่ว่าคนภาคใดก็สามารถทำงานได้ ก่อนหน้านี้อาจมีความจำเป็นที่จะต้องกระจายพื้นที่สำหรับผู้ที่เข้ามาดำรงตำแหน่ง เพราะมีภารกิจที่ต้องทำมาก แต่ปัจจุบันนี้คงไม่มีความจำเป็น เพราะไม่ว่ามาจากภาคไหนก็เป็นที่คุ้นเคยและยอมรับจากคนในพรรคได้
เมื่อถามต่อว่า มีการกล่าวถึงความพยายามบอนไซหรือจำกัดบทบาทผู้ใหญ่ภายในพรรค นายบัญญัติ กล่าวว่า ก็ถือเป็นความเห็นที่สามารถแสดงออกมาได้ โดยเฉพาะกับพรรคที่มีคนมากก็มีความเห็นออกมาหลากหลาย แต่คงไม่ถึงกับการบอนไซอย่างที่พูดกัน ไม่อยากให้นำเรื่องนี้มาเป็นประเด็น
ต่อข้อถามที่ว่า จากความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งตลอด 19 ปีที่ผ่านมา ทางพรรคจะมีการปรับยุทธศาสตร์อย่างไร นายบัญญัติ กล่าวว่า คงอยู่ที่กรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ แต่ในความเป็นจริงพรรคประชาธิปัตย์ถือว่ามีการวิจารณ์และสำรวจตัวเองอยู่โดยตลอดทุกครั้ง อย่างการที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รักษาการณ์หัวหน้าพรรค ลาออกจากตำแหน่งก็ถือเป็นการตรวจสอบตัวเองในระดับหน่ง เมื่อมีการเลือกคณะทำงานชุดใหม่เข้ามาก็จะมีการวิเคราะห์ว่าจะปรับเปลี่ยนกลยุทธ์กันอย่างไรต่อไป อย่างไรก็ตามส่วนตัวยังมีความเห็นว่านายอภสิทธิ์ยังมีความเหมาะสมที่จะเข้ามารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนต่อไป โดยเฉพาะในยามที่หัวหน้าพรรคต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำฝ่ายค้านด้วย การที่นายอภสิทธิ์ผ่านงานในฐานะฝ่ายบริหารมาเป็นฝ่ายค้าน ก็จะทำให้สามารถมองเห็นการทำงานของรัฐบาลได้อบย่างชัดเจนมากขึ้น ว่าสิ่งใดที่ควรทำแล้วรัฐบาลใหม่ไม่ทำ หรือสิ่งที่ใดที่ไม่ควรทำแต่กลับดำเนินการ เป็นต้น
**ข้อบังคับปชป.เฟ้นหัวหน้า-กก.บห.ใหม่
ผู้สื่อข่าวรายงาน ขั้นตอนการเลือกหัวหน้าพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์คณะใหม่ รวม 19 คน ที่จะมีขึ้นในวันที่ 6 สิงหาคม ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ หลักสี่ กรุงเทพ ตั้งแต่เวลา 08.30 น.นั้น จะอาศัยตามข้อบังคับพรรคการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2551 ในข้อ 22 ที่ว่าด้วยการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคให้ดำเนินการตามลำดับ โดยระบุขั้นตอนประกอบไปด้วย 1.การเลือกตั้งหัวหน้าพรรค 1 คน เพื่อให้สมาชิกลงคะแนนได้โหวตเลือก โดยในการเสนอชื่อผู้เป็นหัวหน้าพรรคนั้นต้องมีผู้รับรองไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของผู้ที่อยู่ในที่ประชุม และหัวหน้าพรรคต้องมีคุณสมบัติตามข้อบังคับที่ระบุไว้ ในข้อ 21 (3) คือ “เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ในนามพรรค” ทั้งนี้เว้นแต่เป็นบุคคลที่ประชุมใหญ่มีมติไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของที่ประชุมใหญ่มีมติให้ยกเว้นคุณสมบัติ
จากนั้น จะเข้าสู่กระบวนการในข้อ 22 (2) คือหัวหน้าพรรคจะเสนอชื่อสมาชิกเป็นรองหัวหน้าพรรคมาทั้งหมด 6คน เพื่อให้ที่ประชุมใหญ่คัดเลือกให้เหลือเพียง 3 คน และ (3) หัวหน้าพรรคจะเสนอชื่อสมาชิกเป็นเลขาธิการพรรค2คนเพื่อให้ที่ประชุมเลือก1คน
(4) ผู้ที่ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรคจะเสนอชื่อสมาชิกให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการฯ 6คน เพื่อให้ที่ประชุมคัดเลือกเหลือ 3คน (5) หัวหน้าพรรคเสนอรายชื่อสมาชิกเป็นเหรัญญิก2คน เพื่อให้ที่ประชุมใหญ่เลือก1คน (6)หัวหน้าพรรคเสนอชื่อสมาชิกเป็นนายทะเบียน2คนเพื่อให้ที่ประชุมคัดเลือกเหลือ1คน (7)หัวหน้าพรรคเสนอรายชื่อสมาชิกเป็นโฆษกพรรค 2คน ให้ที่ประชุมเลือก1คน
ส่วนการเลือกรองหัวหน้าพรรค ในแต่ละภาค ภาคละ1คน รวม5คนนั้น อยู่ในข้อ (8) ที่จะให้สมาชิกเสนอชื่อผู้ที่สมควรเป็นรองหัวหน้าพรรคในแต่ละภาค โดยมีผู้รับรองไม่น้อยกว่า 1 ใน 3
ขณะที่การเลือกกรรมการบริหารพรรคทั้ง 3 คนนั้นจะอยู่ในข้อ (9) ที่จะให้สมาชิกเสนอชื่อเพื่อให้ที่ประชุมคัดเลือก โดยสมาชิกที่ได้คะแนนในลำดับที่ 4 - 8 เป็นกรรมการสำรอง ทั้งนี้ผู้ถูกเสนอชื่อตามข้อ 2 - 7 (ทุกตำแหน่งยกเว้นหัวหน้าพรรค) หากผู้ได้รับการเสนอชื่อถอนตัวจนเหลือจำนวนเท่ากับที่วางไว้ ผู้ที่ได้รับเลือกต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งขององค์ประชุม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในระเบียบข้อบังคับพรรคประชาธิปัตย์เกี่ยวกับกระบวนการคัดเลือกกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่นี้ ไม่ได้มีข้อบัญญัติใดที่ระบุว่าห้ามกรรมการบริหารที่พ้นสภาพกลับมาดำรงตำแหน่งได้เช่นเดิม จึงเป็นที่คาดหมายว่าหากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รักษาการหัวหน้าพรรค ที่ระยะหลังมีท่าทีไม่ปิดช่องจะกลับมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอีก ยินดีจะกลับมาเป็นหัวหน้าพรรคอีกครั้งก็คาดว่าจะไม่มีปัญหาอันใดกับตำแหน่งหัวหน้าพรรค เพราะสมาชิกส่วนใหญ่ยังสนับสนุนต่อไป แตกต่างจากกรณีของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรค ที่แสดงท่าทีชัดเจนที่จะไม่รับตำแหน่งใดๆอีก.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการบริหารฯ ทั้งหมดได้เข้าประชุมอย่างพร้อมเพรียงขาดเพียงนายอภิสิทธิ์ ที่ติดภาระกิจอยู่ที่ทำเนียบรัฐบาล
**เทพไททวิตตัวเก็งเลขา ปชป. 4 ภาค
รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านั้น นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตโฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) โพสต์ทวิตเตอร์ผ่าน @Theptai ว่า อ่านข่าวหนังสือพิมพ์ระบุตัวเก็งเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์มี อภิรักษ์-วิทยา-เฉลิมชัย-กัลยา ความจริงมีตัวเลือกมากกว่านี้ ส.ส.ปักษ์ใต้ เป็นเลขาฯพรรคได้หลายคนมี นายวิทยา แก้วภราดัย นายถาวร เสนเนียม นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ นายนิพนธ์ บุญญามณี นางอัญชลี วานิช ภาคกลางมี นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน นายอลงกรณ์ พลบุตร นายธีระ สลักเพชร และกทม.มี นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน นายกรณ์ จาติกวณิช ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ภาคเหนือที่คั่วได้มี นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ นายจุติ ไกรฤกษ์ ส่วนอีสานคงมี นายวิทูรย์ นามบุตร นายอิสสระ สมชัย และคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช
**6 ส.ค. เลือกนายหัวชุดใหม่หนุนมาร์คต่อ
ที่พรรคประชาธิปัตย์ น.พ.บุรณัชย์ สมุทรรักษ์ รักษาการโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงผลการประชุมรักษาการกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รักษาการเลขาธิการพรรคเป็นประธานการประชุมได้กำหนดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญประจำปี 2554 เพื่อคัดเลือกกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ในวันที่ 6 ส.ค . เวลา 08.30 น. ที่โรงแรมมิลาเคิล แกรนด์ ทั้งนี้เสียงสะท้อนจากกรรมการบริหารยังเห็นพ้องกันว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชาชีวะ ทำหน้าที่อย่างดีในตำแหน่งหัวหน้าพรรคและผู้นำประเทศและยังมีส่วนสำคัญที่ทำให้พรรคได้รับคะแนนเสียง 11 ล้านคน
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าที่ประชุมจะเลือกใครมาเป็นกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่พรรคก็พร้อมที่สานต่อภารกิจในอนาคต ส่วนแนวทางการวางยุทธศาสตร์ของพรรคก็เป็นหน้าที่ของกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ต่อไป
**เทือกโยนที่ประชุมพรรค 6ส.ค.เลือก
เมื่อเวลา11.30น.ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รักษาการณ์เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมรักษาการณ์คณะกรรมการบริหารพรรคว่า ที่ประชุมมีมติให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญเพื่อดำเนินการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ในวันที่6สิงหาคมนี้ ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพฯ โดยจากวันนี้ไปจนถึงวันคัดเลือกเป็นเรื่องที่ผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนไปปรึกษาหารือกันว่าใครจะเป็นผู้เหมาะสม และอยู่ที่สมาชิกพรรคว่าจะมีความเห็นอย่างไรถึงคุณสมบัติที่เหมาะสมของผู้ดำรงตำแหน่ง สำหรับรายชื่อแคนดิเดตที่ถูกเปิดเผยออกมาก่อนหน้านี้ อาทิ นายวิทยา แก้วภราดัย ส.ส.นครศรีธรรมราช นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ คุณหญิงกัลยา โสภณพาณิช ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ กรรมการสภาที่ปรึกษา นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน ส.ส.ประจวบคีรีขันธ์นั้น ตนเห็นว่าดีหมด แต่ไม่ขอออกความเห็น และสำหรับตนเองแล้วก็มีรายชื่อผู้สนับสนุนอยู่ในใจแล้ว แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ ทั้งนี้ถึงแม้ตนจะไม่มีตำแหน่งในพรรค แต่ก็เป็นสมาชิกพรรคที่ดีและพร้อมทำงานให้พรรคต่อไปด้วยความเข้มแข็ง ยืนยันว่าคงไม่รับตำแหน่งในพรรคอื่นๆ
**ปัดวางทายาทสานต่อเลขาฯ
เมื่อถามถึงการตั้งข้อสังเกตว่าแม้จะไม่ได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการฯ แต่มีการวางคนของตนเองขึ้นแทนเพื่อบริหารพรรคต่อไป นายสุเทพ กล่าวว่า คงเป็นเรื่องที่วิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆ แต่โดยธรรมชาติของพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีผู้มีอิทธิพลใดๆที่สามารถผลักดันคนหนึ่งคนใด ให้ดำรงตำแหน่งได้ และตนก็คงไม่มีอิทธิพลที่จะกระทำได้ขนาดนั้นเพราะเป็นแค่สมาชิกพรรคคนหนึ่ง ขณะที่คุณสมบัติของตำแหน่งเลขาธิการนั้น คิดว่าทุกคนสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ และคงไม่เกี่ยวกับเรื่องบารมีเพราะตนไม่มีบารมีแต่ก็สามารถทำงานได้ นอกจากนี้ยังเป็นหน้าที่ของส.ส.ภายในพรรคที่จะช่วยหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคทำงาน
“เอาให้หล่อกว่าผมแล้วกัน เรื่องการบริหารจัดการใครมาเป็นก็ทำได้ และส.ส.ก็ต้องช่วยกันทำงาน ทุกคนทำได้ไม่มีปัญหา”นายสุเทพกล่าวถึงคาแรกเตอร์เลขาธิการพรรคคนใหม่
**ปัดบอนไซ ชวน-บัญญัติ
ส่วนกรณีที่นายพิเชษฐ์ พันธุ์วิชาติกุล ส.ส.กระบี่ ซึ่งเป็นผู้เสนอรายชื่อคุณหญิงกัลยาให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคนต่อไป ที่เสนอรายชื่อผู้ใหญ่ภายในพรรค อาทิ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษา ให้มีบทบาทในพรรคมากขึ้นนั้น นายสุเทพ กล่าวว่า นายชวนและนายบัญญัติมีบทบาทมากอยู่แล้วในพรรค เวลามีปัญหาที่ต้องการคำปรึกษาก็ได้ให้ทั้งสองแนะนำตลอดเวลา หรือในช่วงดำเนินการทางการเมืองหาเสียงเลือกตั้งทั้ง2 ก็ทำงานเหนื่อย เห็นได้จากกรณีของนายชวนที่ล้มป่วยหลังจากการเลือกตั้ง ดังนั้นยืนยันว่าทั้ง2 มีบทบาทในพรรคอยู่แล้ว ทั้งนี้ตนคงไม่เสนอความเห็นแตกต่างจากสิ่งที่นายพิเชษฐ์ระบุ เพราะเกรงว่าจะถูกนำไปจับโยงให้กลายเป็นมีปัญหากันอีก
**ย้ำปชป.ไม่มีแรงกระเพื่อม
ทั้งนี้นายสุเทพ กล่าวปฏิเสธกรณีที่การเลือกกรรมการบริหารพรรคมักจะทำให้เกิดรอยร้าวขึ้นภายในพรรคว่า ไม่เคยมี การเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคฯ ทุกครั้งไม่เคยเกิดปัญหารอยร้าว เพราะคนในพรรคเป็นผู้ที่ยึดมั่นในแนวทางประชาธิปไตย การแข่งขันเพื่อรับตำแหน่งหน้าที่ทางการเมืองนี้เป็นเรื่องที่สมาชิกพรรคเข้าใจดี รับรองว่าไม่เป็นปัญหาแน่นอน ส่วนกรณียุทธศาสตร์การต่อสู้ของพรรคเพื่อแข่งขันกับพรรคการเมืองอื่นต่อจากนี้นั้น คงต้องให้กรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ตอบ
**ชี้ชนักรถดับเพลิง “อภิรักษ์”ไม่เกี่ยว
เมื่อถามถึงกรณีนายอภิรักษ์ ที่ถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดในกรณีรถดับเพลิงต่อศาลฎีการแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในช่วงที่เคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ว่าจะส่งผลต่อการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า คงไม่เกี่ยวกัน รายชื่อที่สื่อถามมามีความโดดเด่นเหมาะสมทั้งนั้น เช่นเดียวกับที่มีอีกหลายชื่อที่ไม่ได้ถามก็มีความเหมาะสม
**น้าญัติเปลี่ยนใจหนุนมาร์คนั่งรอบ2
ที่รัฐสภา นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะกรรมการสภาที่ปรึกษา พรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการแสดงตนเข้ารับตำแหน่ง ส.ส.ถึงกรณีการคัดสรรบุคคลเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการพรรค ว่า เรื่องนี้ถือเป็นอำนาจของหัวหน้าพรรคคนใหม่ ตามข้อบังคับพรรค โดยหัวหน้าพรรคจะมีหน้าที่เลือกบุคคล 3 รายชื่อเสนอให้ที่ประชุมใหญ่เป็นผู้เลือก หลังการั้งหัวหน้าพรรคแล้วเสร็จ โดยกระบวนการดังกล่าวถือเป็นการเปิดกว้าง และคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคที่จะต้องทำงานร่วมกัน แล้วจึงให้ที่ประชุมใหญ่เป็ฯผู้ลงมติเลือกอีกครั้ง
นายบัญญัติ กล่าวต่อว่า เชื่อว่าเรื่องดังกล่าวจะไม่เป็นปัญหาหรือแตกแยกอย่างที่ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์กัน โดยยืนยันว่าพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่มีความเป็นประชาธิปไตยสูง จึงเป็นธรรมดาที่จะมีผู้ออกมาให้ความเห็นอย่างหลากหลาย เชื่อว่าเมื่อกระบวนการเลือกตั้งภายในพรรคแล้วเสร็จทุกอย่างก็จะจบ
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากเลขาธิการพรรคคนใหม่ไม่ใช่คนใต้จะเป็นปัญหาหรือไม่ นายบัญญัติ กล่าวว่า เชื่อว่าไม่เป็นปัญหา เพราะไม่ว่าคนภาคใดก็สามารถทำงานได้ ก่อนหน้านี้อาจมีความจำเป็นที่จะต้องกระจายพื้นที่สำหรับผู้ที่เข้ามาดำรงตำแหน่ง เพราะมีภารกิจที่ต้องทำมาก แต่ปัจจุบันนี้คงไม่มีความจำเป็น เพราะไม่ว่ามาจากภาคไหนก็เป็นที่คุ้นเคยและยอมรับจากคนในพรรคได้
เมื่อถามต่อว่า มีการกล่าวถึงความพยายามบอนไซหรือจำกัดบทบาทผู้ใหญ่ภายในพรรค นายบัญญัติ กล่าวว่า ก็ถือเป็นความเห็นที่สามารถแสดงออกมาได้ โดยเฉพาะกับพรรคที่มีคนมากก็มีความเห็นออกมาหลากหลาย แต่คงไม่ถึงกับการบอนไซอย่างที่พูดกัน ไม่อยากให้นำเรื่องนี้มาเป็นประเด็น
ต่อข้อถามที่ว่า จากความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งตลอด 19 ปีที่ผ่านมา ทางพรรคจะมีการปรับยุทธศาสตร์อย่างไร นายบัญญัติ กล่าวว่า คงอยู่ที่กรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ แต่ในความเป็นจริงพรรคประชาธิปัตย์ถือว่ามีการวิจารณ์และสำรวจตัวเองอยู่โดยตลอดทุกครั้ง อย่างการที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รักษาการณ์หัวหน้าพรรค ลาออกจากตำแหน่งก็ถือเป็นการตรวจสอบตัวเองในระดับหน่ง เมื่อมีการเลือกคณะทำงานชุดใหม่เข้ามาก็จะมีการวิเคราะห์ว่าจะปรับเปลี่ยนกลยุทธ์กันอย่างไรต่อไป อย่างไรก็ตามส่วนตัวยังมีความเห็นว่านายอภสิทธิ์ยังมีความเหมาะสมที่จะเข้ามารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนต่อไป โดยเฉพาะในยามที่หัวหน้าพรรคต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำฝ่ายค้านด้วย การที่นายอภสิทธิ์ผ่านงานในฐานะฝ่ายบริหารมาเป็นฝ่ายค้าน ก็จะทำให้สามารถมองเห็นการทำงานของรัฐบาลได้อบย่างชัดเจนมากขึ้น ว่าสิ่งใดที่ควรทำแล้วรัฐบาลใหม่ไม่ทำ หรือสิ่งที่ใดที่ไม่ควรทำแต่กลับดำเนินการ เป็นต้น
**ข้อบังคับปชป.เฟ้นหัวหน้า-กก.บห.ใหม่
ผู้สื่อข่าวรายงาน ขั้นตอนการเลือกหัวหน้าพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์คณะใหม่ รวม 19 คน ที่จะมีขึ้นในวันที่ 6 สิงหาคม ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ หลักสี่ กรุงเทพ ตั้งแต่เวลา 08.30 น.นั้น จะอาศัยตามข้อบังคับพรรคการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2551 ในข้อ 22 ที่ว่าด้วยการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคให้ดำเนินการตามลำดับ โดยระบุขั้นตอนประกอบไปด้วย 1.การเลือกตั้งหัวหน้าพรรค 1 คน เพื่อให้สมาชิกลงคะแนนได้โหวตเลือก โดยในการเสนอชื่อผู้เป็นหัวหน้าพรรคนั้นต้องมีผู้รับรองไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของผู้ที่อยู่ในที่ประชุม และหัวหน้าพรรคต้องมีคุณสมบัติตามข้อบังคับที่ระบุไว้ ในข้อ 21 (3) คือ “เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ในนามพรรค” ทั้งนี้เว้นแต่เป็นบุคคลที่ประชุมใหญ่มีมติไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของที่ประชุมใหญ่มีมติให้ยกเว้นคุณสมบัติ
จากนั้น จะเข้าสู่กระบวนการในข้อ 22 (2) คือหัวหน้าพรรคจะเสนอชื่อสมาชิกเป็นรองหัวหน้าพรรคมาทั้งหมด 6คน เพื่อให้ที่ประชุมใหญ่คัดเลือกให้เหลือเพียง 3 คน และ (3) หัวหน้าพรรคจะเสนอชื่อสมาชิกเป็นเลขาธิการพรรค2คนเพื่อให้ที่ประชุมเลือก1คน
(4) ผู้ที่ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรคจะเสนอชื่อสมาชิกให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการฯ 6คน เพื่อให้ที่ประชุมคัดเลือกเหลือ 3คน (5) หัวหน้าพรรคเสนอรายชื่อสมาชิกเป็นเหรัญญิก2คน เพื่อให้ที่ประชุมใหญ่เลือก1คน (6)หัวหน้าพรรคเสนอชื่อสมาชิกเป็นนายทะเบียน2คนเพื่อให้ที่ประชุมคัดเลือกเหลือ1คน (7)หัวหน้าพรรคเสนอรายชื่อสมาชิกเป็นโฆษกพรรค 2คน ให้ที่ประชุมเลือก1คน
ส่วนการเลือกรองหัวหน้าพรรค ในแต่ละภาค ภาคละ1คน รวม5คนนั้น อยู่ในข้อ (8) ที่จะให้สมาชิกเสนอชื่อผู้ที่สมควรเป็นรองหัวหน้าพรรคในแต่ละภาค โดยมีผู้รับรองไม่น้อยกว่า 1 ใน 3
ขณะที่การเลือกกรรมการบริหารพรรคทั้ง 3 คนนั้นจะอยู่ในข้อ (9) ที่จะให้สมาชิกเสนอชื่อเพื่อให้ที่ประชุมคัดเลือก โดยสมาชิกที่ได้คะแนนในลำดับที่ 4 - 8 เป็นกรรมการสำรอง ทั้งนี้ผู้ถูกเสนอชื่อตามข้อ 2 - 7 (ทุกตำแหน่งยกเว้นหัวหน้าพรรค) หากผู้ได้รับการเสนอชื่อถอนตัวจนเหลือจำนวนเท่ากับที่วางไว้ ผู้ที่ได้รับเลือกต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งขององค์ประชุม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในระเบียบข้อบังคับพรรคประชาธิปัตย์เกี่ยวกับกระบวนการคัดเลือกกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่นี้ ไม่ได้มีข้อบัญญัติใดที่ระบุว่าห้ามกรรมการบริหารที่พ้นสภาพกลับมาดำรงตำแหน่งได้เช่นเดิม จึงเป็นที่คาดหมายว่าหากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รักษาการหัวหน้าพรรค ที่ระยะหลังมีท่าทีไม่ปิดช่องจะกลับมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอีก ยินดีจะกลับมาเป็นหัวหน้าพรรคอีกครั้งก็คาดว่าจะไม่มีปัญหาอันใดกับตำแหน่งหัวหน้าพรรค เพราะสมาชิกส่วนใหญ่ยังสนับสนุนต่อไป แตกต่างจากกรณีของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรค ที่แสดงท่าทีชัดเจนที่จะไม่รับตำแหน่งใดๆอีก.