ในช่วงเวลาที่เรากำลังรอลุ้นอยู่ว่าพรรคเพื่อไทยจะดำเนินนโยบายไทย-กัมพูชา กรณีปราสาทพระวิหารอย่างไรนั้น ผมจึงขอเขียนอธิบายถึงเรื่องยูเนสโกและปราสาทพระวิหารเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันว่า ทำไมคณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทยและพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จึงเรียกร้องให้รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ลาออกจากการเป็นรัฐภาคีอนุสัญญาฯ มรดกโลกจาก “ยูเนสโก” และแล้วในวันที่ 25มิถุนายน 2554 ในระหว่างสมัยประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 35 ณ สำนักงานใหญ่ยูเนสโก กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส คุณสุวิทย์ คุณกิตติ ในฐานะตัวแทนรัฐภาคีไทยตามมติคณะรัฐมนตรี ได้ยื่นหนังสือลาออกต่อนางอิรินา โบโกว่า ผู้อำนวยการใหญ่องค์การยูเนสโกอย่างเป็นทางการ การลาออกในครั้งนี้ มีความหมายและเกิดผลดีหลายประการ
ประการแรก เป็นความต้องการที่จะเห็น คณะกรรมการมรดกโลก 21 ภายใต้ “ยูเนสโก” ดำรงความมีธรรมาภิบาล มีความน่าเชื่อถือต่อมวลสมาชิก (ที่เข้ามาจ่ายเงินค่าหัว) และนำพาสันติสุขมาสู่ประชาคมโลกอย่างแท้จริง ปณิธาณของ “มรดกโลก” ที่จัดตั้งขึ้นตั้งแต่แรกเริ่มนั้นก็เพื่อนำความหลากหลายทางวัฒนธรรม และธรรมชาติของรัฐภาคีสมาชิกมาเป็นตัวกลางสานสัมพันธไมตรีระหว่างรัฐต่อรัฐ โดยให้มองข้ามเรื่องเขตแดนและอำนาจอธิปไตย (เฉพาะรัฐที่ไม่มีปัญหาเรื่องเขตแดน) หากแต่ยังต้องให้ความเคารพต่อเรื่องดังกล่าวและจะละเลยเสียมิได้ดังปรากฏตามข้อความในมาตรา 4, 5, 6 และ7 ของอนุสัญญาฯ ดังกล่าว
การที่คณะกรรมการมรดกโลกโดย “ยูเนสโก” มีนโยบายที่ไม่เป็นธรรมต่อการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร หรือการออกข้อมติที่เน้นให้เห็นถึงความสำคัญของปราสาทพระวิหารในฐานะมรดกโลกของรัฐภาคีกัมพูชาแต่ฝ่ายเดียวติดต่อกันอย่างต่อเนื่องมาหลายปี และการโอบอุ้มรัฐภาคีกัมพูชาอย่างเสมอต้นเสมอปลายโดยปล่อยให้รัฐภาคีฝรั่งเศสแสดงออกอย่างนอกหน้า รวมทั้งการเข้ามาล็อบบี้โดยคณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศเพื่อให้รัฐภาคีไทยยอมรับ ย่อมเป็นเครื่องแสดงออกถึงการละเลยข้อกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ตามอนุสัญญาฯ มรดกโลกอย่างเห็นได้ชัด ประเทศไทยในฐานะรัฐภาคีจึงถูกเอาเปรียบจากการตัดสินใจของคณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศอยู่ตลอดเวลา
ปัจจัยชี้ขาดที่สำคัญที่สุดในการลาออกครั้งนี้คือ เรื่องเขตอำนาจอธิปไตยและดินแดนของรัฐภาคีสมาชิก โดยคณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศและ “ยูเนสโก” ต่างนิ่งเฉยต่อพฤติกรรมของรัฐภาคีกัมพูชาที่ส่งกองกำลังทหารติดอาวุธเข้ามายึดดินแดนของรัฐภาคีไทย และจะนำเสนอเแผนบริหารจัดการต่อที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก (ที่ปรากฏในกำหนดการประชุมและหัวข้อการประชุม ในวันที่ 23 มิถุนายน 2554) โดยที่ยูเนสโกปล่อยให้รัฐภาคีกัมพูชากระทำการอันฉ้อฉลโดยไม่มีการว่ากล่าวตักเตือนรัฐภาคีกัมพูชาจึงชี้ให้เห็นเจตนารมณ์ของยูเนสโก รัฐภาคีไทยจึงไม่สามารถดำรงฐานะความเป็นสมาชิกต่อไปได้
ประการที่สอง มติของคณะกรรมการมรดกโลกทุกครั้งต่างทำผิดต่อมติและอนุสัญญาฯ ที่ตนเองยึดถือ มีพฤติกรรมให้ความช่วยเหลือรัฐภาคีกัมพูชา โดยไม่สนใจต่อการทักท้วงและการแสดงเหตุผลของรัฐภาคีไทย ซึ่งจะขอเรียงลำดับตามเหตุการณ์เพื่อให้ท่านผู้อ่านมีความเข้าใจดังนี้
แม้ประเทศไทยในสมัยรัฐบาล ฯพณฯ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ จะเห็นด้วยต่อประธานในที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 31 ตามเอกสาร 31 com 8B.24 ดังนี้ ซึ่งมีมติโดยสรุปว่า “รัฐภาคีไทยมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะสนับสนุนรัฐภาคีกัมพูชาในการนำปราสาทพระวิหารไปเสนอเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธธรรมต่อสมัยประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 32 ในนามรัฐภาคีสมาชิกกัมพูชา” และรวมถึงคำว่า “with the active support of Thailand” อันเป็นประโยคเด็ดที่นักการเมืองในพรรคประชาธิปัตย์นำมาใช้โจมตีพรรคพลังประชาชนในเวลาต่อมา
เรามิอาจปฏิเสธได้เลยว่า ประเทศไทยในรัฐบาลขิงแก่ได้ไปให้คำมั่นต่อประเทศกัมพูชาไว้ก่อนการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 31 ณ เมืองไคร้สเชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศไทยจะทำการสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารให้เป็นมรดกโลกของกัมพูชา
รัฐบาลของคุณสมัคร สุนทรเวช ได้ดำเนินการต่อจนมีผลผูกพัน ด้วยการไปทำสิ่งที่เราเรียกว่า “แถลงการณ์ร่วม (Joint Communique) “มีเนื้อหาที่สนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร และกำหนดแผนที่บริหารการจัดการ โดยแบ่งโซนการบริหารจัดการออกเป็น 3 โซน การลงนามคำแถลงการณ์ร่วมมี 2 ฉบับ ฉบับแรกลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2551 ณ สำนักงานใหญ่ยูเนสโก กรุงปารีส โดยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของไทย (นายนพดล ปัทมะ) และประธานมรดกโลกฝ่ายกัมพูชา (นายซก อาน) โดยมีนางฟรองซัวร์ รีวิแยร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายวัฒนธรรม ยูเนสโก ลงนามเป็นพยาน เพื่อให้ทันสมัยการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 35 ณ เมืองควิกเบก ประเทศแคนนาดา
และหลังจากนั้นร่างคำแถลงการณ์ร่วมได้เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 15 มิถุนายน 2554 และประเทศไทยกับประเทศกัมพูชาได้ลงนามในคำแถลงการณ์ร่วมฉบับสมบูรณ์ เพื่อให้ประเทศกัมพูชานำไปใช้เป็นหลักฐานประกอบคำขอขึ้นทะเบียนมรดกโลก กรณีคำแถลงการณ์ร่วมได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งภายในประเทศอย่างกว้างขวาง จนทำให้ประเทศกัมพูชาได้ดำเนินการออกแผนที่ฉบับใหม่ แต่มิได้มีเส้นเขตแดนระหว่างกัน ซึ่งทำให้ภาคประชาชนที่ติดตามสถานการณ์ในเวลานั้นโต้แย้งแสดงออกต่อสื่อมวลชนในวงกว้าง อย่างไรก็ดี ความขัดแย้งนี้รัฐบาลในเวลานั้นกลับไม่สนใจแต่กลับดำเนินการสำรวจและรังวัดอาณาบริเวณตัวปราสาทจนเกิดแผนผังเป็นบริเวณประมาณ 50 ไร่ เพื่อให้กัมพูชานำไปขึ้นทะเบียนแทนแผนผังฉบับเดิม
หากแต่ภาคประชาชน ได้แก่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และกลุ่มภาคีเครือข่ายผู้ติดตามสถานการณ์ปราสาทพระวิหาร เมื่อพิจารณาเนื้อหาสาระแล้ว ได้เรียกร้องให้รัฐบาลประเทศไทยทำการยกเลิกคำแถลงการณ์ร่วมที่ทำให้ประเทศไทยอาจสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียดินแดนแต่ก็ไม่ได้รับการสนองตอบจากรัฐบาล
กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ทำการฟ้องร้องต่อศาลปกครองกลางให้ออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามมิให้นำคำแถลงการณ์ร่วมฉบับดังกล่าวนำไปใช้ได้เพราะอาจมีลักษณะเป็นหนังสือสนธิสัญญา ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปีพุทธศักราช 2550 มาตรา 190 โดยมีเนื้อหาสรุปว่า “หนังสือใดๆที่เข้าข่ายความเป็นสนธิสัญญาจะต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภา”
ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งให้มีการคุ้มครองชั่วคราวโดยมิให้นำคำแถลงการณ์ร่วมไปใช้เป็นเอกสารประกอบคำขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร เนื่องจากเข้าข่ายการกระทำผิดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 190 เพราะเป็นหนังสือสนธิสัญญาที่ไม่ผ่านขั้นตอนการพิจารณาของรัฐสภา
เรื่องคำแถลงการณ์ร่วมนี้ยังปรากฏในหนังสือโต้ตอบระหว่างนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย กับนางฟรองซัวร์ รีวิแยร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายวัฒนธรรม ยูเนสโก และนายนพดล ปัทมะ กับนายฮอร์นัม ฮอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของกัมพูชา โดยมีเนื้อหาสาระว่า “ศาลไทยได้ชี้ขาดต่อประเด็นคำแถลงการณ์ร่วมไว้อย่างชัดแจ้งและคำแถลงการณ์ร่วมไม่สามารถนำไปใช้เป็นเอกสารประกอบหลักในการสนับสนุนอย่างแรงกล้าของไทยได้อีกต่อไป” นางฟรองซัวร์ รีวิแยร์ ได้รับทราบและจะไม่นำคำแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวไปใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร สำหรับนายฮอร์ นัมฮง ซึ่งไม่ได้เป็นคนอยู่ภายใต้กฎหมายไทย กลับออกความเห็นว่าคำแถลงการณ์ร่วม “ไม่เป็นหนังสือสนธิสัญญาแต่ประการใด”
ในระหว่างนั้น ยูเนสโก (UNESCO) และศูนย์กลางมรดกโลก (WHC) ได้แสดงทีท่าสนับสนุนการขึ้นทะเบียนของฝ่ายกัมพูชา โดยนายโคชิโร่ มัสซึอุระ ได้ส่งนางฟรองซัวร์ รีวิแยร์ เดินทางมายังกรุงพนมเปญ หารือกับรัฐบาลกัมพูชาและจัดตั้งองค์กร ANPV (The National Authority for the Protection of PreahVihear) เพื่อเป็นองค์กรที่บริหารจัดการพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารตามหลักการพิจารณาของหน่วยงาน ICOMOS สากล อันเป็นการรองรับมติคณะกรรมการมรดกโลกที่จะมีขึ้นในสมัยประชุมครั้งที่ 32 เป็นการลวงหน้า
มีข้อน่าสังเกตว่าแม้ศาลปกครองจะออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวกรณีคำแถลงการณ์ร่วมไปแล้ว กลับปรากฏว่ารัฐภาคีไทยแสดงทีท่าการคัดค้านและไม่สนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของประเทศกัมพูชาแต่ฝ่ายเดียว แต่ได้แสดงเจตจำนงที่จะขอขึ้นทะเบียนร่วมกัน พร้อมกับแสดงความต้องการที่จะร่วมมือกับคณะกรรมการมรดกโลก โดยจะทำให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกข้ามพรมแดน ดังปรากฏตามเอกสารคำแถลงการณ์ของนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย และคำแถลงการณ์ของนายปองพล อดิเรกสาร ประธานมรดกโลกฝ่ายไทย และได้มีการรับทราบจากยูเนสโกและศูนย์การมรดกโลกต่อเรื่องนี้
อย่างไรก็ดี สมัยการประชุมของคณะกรรมการมรดกโลก สมัยประชุมที่ 32 ณ เมืองควิเบก ประเทศแคนนาดา กลับไม่สนใจคำแถลงการณ์ของไทย ซ้ำยังกลับอนุมัติให้มีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกเฉพาะตัว และการขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทครั้งนั้นคณะกรรมการมรดกโลกได้บันทึกไว้ว่า “9. บันทึกว่าทรัพย์สินที่เสนอสำหรับขึ้นทะเบียนได้รับการลดขนาดและประกอบเพียงปราสาทพระวิหาร และไม่รวมชะง่อนเขาที่มี่พื้นที่กว้าง หน้าผาและถ้ำต่างๆ” (ต่อมาภายหลังคณะกรรมการมรดกโลกกลับแหกมติตัวเองเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกครั้ง)
จากเหตุการณ์การขึ้นทะเบียนดังกล่าว ทำให้เห็นว่าคณะกรรมการมรดกโลกในสมัยประชุมที่ 32 ทำการฝ่าฝืนมติคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 31 ของตัวเอง ที่ระบุไว้ว่า การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารจะต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐภาคีไทยอย่างแข็งขันเสียก่อน โดยเน้นให้เห็นว่ากัมพูชาจะต้องได้ “with the active support of Thailand.” จากรัฐภาคีไทย (แต่ไม่ได้หนังสือนั้นจากไทยมึงเสือกขึ้นทะเบียนได้อย่างไร)
ประการแรก เป็นความต้องการที่จะเห็น คณะกรรมการมรดกโลก 21 ภายใต้ “ยูเนสโก” ดำรงความมีธรรมาภิบาล มีความน่าเชื่อถือต่อมวลสมาชิก (ที่เข้ามาจ่ายเงินค่าหัว) และนำพาสันติสุขมาสู่ประชาคมโลกอย่างแท้จริง ปณิธาณของ “มรดกโลก” ที่จัดตั้งขึ้นตั้งแต่แรกเริ่มนั้นก็เพื่อนำความหลากหลายทางวัฒนธรรม และธรรมชาติของรัฐภาคีสมาชิกมาเป็นตัวกลางสานสัมพันธไมตรีระหว่างรัฐต่อรัฐ โดยให้มองข้ามเรื่องเขตแดนและอำนาจอธิปไตย (เฉพาะรัฐที่ไม่มีปัญหาเรื่องเขตแดน) หากแต่ยังต้องให้ความเคารพต่อเรื่องดังกล่าวและจะละเลยเสียมิได้ดังปรากฏตามข้อความในมาตรา 4, 5, 6 และ7 ของอนุสัญญาฯ ดังกล่าว
การที่คณะกรรมการมรดกโลกโดย “ยูเนสโก” มีนโยบายที่ไม่เป็นธรรมต่อการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร หรือการออกข้อมติที่เน้นให้เห็นถึงความสำคัญของปราสาทพระวิหารในฐานะมรดกโลกของรัฐภาคีกัมพูชาแต่ฝ่ายเดียวติดต่อกันอย่างต่อเนื่องมาหลายปี และการโอบอุ้มรัฐภาคีกัมพูชาอย่างเสมอต้นเสมอปลายโดยปล่อยให้รัฐภาคีฝรั่งเศสแสดงออกอย่างนอกหน้า รวมทั้งการเข้ามาล็อบบี้โดยคณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศเพื่อให้รัฐภาคีไทยยอมรับ ย่อมเป็นเครื่องแสดงออกถึงการละเลยข้อกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ตามอนุสัญญาฯ มรดกโลกอย่างเห็นได้ชัด ประเทศไทยในฐานะรัฐภาคีจึงถูกเอาเปรียบจากการตัดสินใจของคณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศอยู่ตลอดเวลา
ปัจจัยชี้ขาดที่สำคัญที่สุดในการลาออกครั้งนี้คือ เรื่องเขตอำนาจอธิปไตยและดินแดนของรัฐภาคีสมาชิก โดยคณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศและ “ยูเนสโก” ต่างนิ่งเฉยต่อพฤติกรรมของรัฐภาคีกัมพูชาที่ส่งกองกำลังทหารติดอาวุธเข้ามายึดดินแดนของรัฐภาคีไทย และจะนำเสนอเแผนบริหารจัดการต่อที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก (ที่ปรากฏในกำหนดการประชุมและหัวข้อการประชุม ในวันที่ 23 มิถุนายน 2554) โดยที่ยูเนสโกปล่อยให้รัฐภาคีกัมพูชากระทำการอันฉ้อฉลโดยไม่มีการว่ากล่าวตักเตือนรัฐภาคีกัมพูชาจึงชี้ให้เห็นเจตนารมณ์ของยูเนสโก รัฐภาคีไทยจึงไม่สามารถดำรงฐานะความเป็นสมาชิกต่อไปได้
ประการที่สอง มติของคณะกรรมการมรดกโลกทุกครั้งต่างทำผิดต่อมติและอนุสัญญาฯ ที่ตนเองยึดถือ มีพฤติกรรมให้ความช่วยเหลือรัฐภาคีกัมพูชา โดยไม่สนใจต่อการทักท้วงและการแสดงเหตุผลของรัฐภาคีไทย ซึ่งจะขอเรียงลำดับตามเหตุการณ์เพื่อให้ท่านผู้อ่านมีความเข้าใจดังนี้
แม้ประเทศไทยในสมัยรัฐบาล ฯพณฯ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ จะเห็นด้วยต่อประธานในที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 31 ตามเอกสาร 31 com 8B.24 ดังนี้ ซึ่งมีมติโดยสรุปว่า “รัฐภาคีไทยมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะสนับสนุนรัฐภาคีกัมพูชาในการนำปราสาทพระวิหารไปเสนอเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธธรรมต่อสมัยประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 32 ในนามรัฐภาคีสมาชิกกัมพูชา” และรวมถึงคำว่า “with the active support of Thailand” อันเป็นประโยคเด็ดที่นักการเมืองในพรรคประชาธิปัตย์นำมาใช้โจมตีพรรคพลังประชาชนในเวลาต่อมา
เรามิอาจปฏิเสธได้เลยว่า ประเทศไทยในรัฐบาลขิงแก่ได้ไปให้คำมั่นต่อประเทศกัมพูชาไว้ก่อนการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 31 ณ เมืองไคร้สเชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศไทยจะทำการสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารให้เป็นมรดกโลกของกัมพูชา
รัฐบาลของคุณสมัคร สุนทรเวช ได้ดำเนินการต่อจนมีผลผูกพัน ด้วยการไปทำสิ่งที่เราเรียกว่า “แถลงการณ์ร่วม (Joint Communique) “มีเนื้อหาที่สนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร และกำหนดแผนที่บริหารการจัดการ โดยแบ่งโซนการบริหารจัดการออกเป็น 3 โซน การลงนามคำแถลงการณ์ร่วมมี 2 ฉบับ ฉบับแรกลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2551 ณ สำนักงานใหญ่ยูเนสโก กรุงปารีส โดยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของไทย (นายนพดล ปัทมะ) และประธานมรดกโลกฝ่ายกัมพูชา (นายซก อาน) โดยมีนางฟรองซัวร์ รีวิแยร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายวัฒนธรรม ยูเนสโก ลงนามเป็นพยาน เพื่อให้ทันสมัยการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 35 ณ เมืองควิกเบก ประเทศแคนนาดา
และหลังจากนั้นร่างคำแถลงการณ์ร่วมได้เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 15 มิถุนายน 2554 และประเทศไทยกับประเทศกัมพูชาได้ลงนามในคำแถลงการณ์ร่วมฉบับสมบูรณ์ เพื่อให้ประเทศกัมพูชานำไปใช้เป็นหลักฐานประกอบคำขอขึ้นทะเบียนมรดกโลก กรณีคำแถลงการณ์ร่วมได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งภายในประเทศอย่างกว้างขวาง จนทำให้ประเทศกัมพูชาได้ดำเนินการออกแผนที่ฉบับใหม่ แต่มิได้มีเส้นเขตแดนระหว่างกัน ซึ่งทำให้ภาคประชาชนที่ติดตามสถานการณ์ในเวลานั้นโต้แย้งแสดงออกต่อสื่อมวลชนในวงกว้าง อย่างไรก็ดี ความขัดแย้งนี้รัฐบาลในเวลานั้นกลับไม่สนใจแต่กลับดำเนินการสำรวจและรังวัดอาณาบริเวณตัวปราสาทจนเกิดแผนผังเป็นบริเวณประมาณ 50 ไร่ เพื่อให้กัมพูชานำไปขึ้นทะเบียนแทนแผนผังฉบับเดิม
หากแต่ภาคประชาชน ได้แก่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และกลุ่มภาคีเครือข่ายผู้ติดตามสถานการณ์ปราสาทพระวิหาร เมื่อพิจารณาเนื้อหาสาระแล้ว ได้เรียกร้องให้รัฐบาลประเทศไทยทำการยกเลิกคำแถลงการณ์ร่วมที่ทำให้ประเทศไทยอาจสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียดินแดนแต่ก็ไม่ได้รับการสนองตอบจากรัฐบาล
กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ทำการฟ้องร้องต่อศาลปกครองกลางให้ออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามมิให้นำคำแถลงการณ์ร่วมฉบับดังกล่าวนำไปใช้ได้เพราะอาจมีลักษณะเป็นหนังสือสนธิสัญญา ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปีพุทธศักราช 2550 มาตรา 190 โดยมีเนื้อหาสรุปว่า “หนังสือใดๆที่เข้าข่ายความเป็นสนธิสัญญาจะต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภา”
ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งให้มีการคุ้มครองชั่วคราวโดยมิให้นำคำแถลงการณ์ร่วมไปใช้เป็นเอกสารประกอบคำขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร เนื่องจากเข้าข่ายการกระทำผิดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 190 เพราะเป็นหนังสือสนธิสัญญาที่ไม่ผ่านขั้นตอนการพิจารณาของรัฐสภา
เรื่องคำแถลงการณ์ร่วมนี้ยังปรากฏในหนังสือโต้ตอบระหว่างนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย กับนางฟรองซัวร์ รีวิแยร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายวัฒนธรรม ยูเนสโก และนายนพดล ปัทมะ กับนายฮอร์นัม ฮอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของกัมพูชา โดยมีเนื้อหาสาระว่า “ศาลไทยได้ชี้ขาดต่อประเด็นคำแถลงการณ์ร่วมไว้อย่างชัดแจ้งและคำแถลงการณ์ร่วมไม่สามารถนำไปใช้เป็นเอกสารประกอบหลักในการสนับสนุนอย่างแรงกล้าของไทยได้อีกต่อไป” นางฟรองซัวร์ รีวิแยร์ ได้รับทราบและจะไม่นำคำแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวไปใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร สำหรับนายฮอร์ นัมฮง ซึ่งไม่ได้เป็นคนอยู่ภายใต้กฎหมายไทย กลับออกความเห็นว่าคำแถลงการณ์ร่วม “ไม่เป็นหนังสือสนธิสัญญาแต่ประการใด”
ในระหว่างนั้น ยูเนสโก (UNESCO) และศูนย์กลางมรดกโลก (WHC) ได้แสดงทีท่าสนับสนุนการขึ้นทะเบียนของฝ่ายกัมพูชา โดยนายโคชิโร่ มัสซึอุระ ได้ส่งนางฟรองซัวร์ รีวิแยร์ เดินทางมายังกรุงพนมเปญ หารือกับรัฐบาลกัมพูชาและจัดตั้งองค์กร ANPV (The National Authority for the Protection of PreahVihear) เพื่อเป็นองค์กรที่บริหารจัดการพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารตามหลักการพิจารณาของหน่วยงาน ICOMOS สากล อันเป็นการรองรับมติคณะกรรมการมรดกโลกที่จะมีขึ้นในสมัยประชุมครั้งที่ 32 เป็นการลวงหน้า
มีข้อน่าสังเกตว่าแม้ศาลปกครองจะออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวกรณีคำแถลงการณ์ร่วมไปแล้ว กลับปรากฏว่ารัฐภาคีไทยแสดงทีท่าการคัดค้านและไม่สนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของประเทศกัมพูชาแต่ฝ่ายเดียว แต่ได้แสดงเจตจำนงที่จะขอขึ้นทะเบียนร่วมกัน พร้อมกับแสดงความต้องการที่จะร่วมมือกับคณะกรรมการมรดกโลก โดยจะทำให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกข้ามพรมแดน ดังปรากฏตามเอกสารคำแถลงการณ์ของนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย และคำแถลงการณ์ของนายปองพล อดิเรกสาร ประธานมรดกโลกฝ่ายไทย และได้มีการรับทราบจากยูเนสโกและศูนย์การมรดกโลกต่อเรื่องนี้
อย่างไรก็ดี สมัยการประชุมของคณะกรรมการมรดกโลก สมัยประชุมที่ 32 ณ เมืองควิเบก ประเทศแคนนาดา กลับไม่สนใจคำแถลงการณ์ของไทย ซ้ำยังกลับอนุมัติให้มีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกเฉพาะตัว และการขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทครั้งนั้นคณะกรรมการมรดกโลกได้บันทึกไว้ว่า “9. บันทึกว่าทรัพย์สินที่เสนอสำหรับขึ้นทะเบียนได้รับการลดขนาดและประกอบเพียงปราสาทพระวิหาร และไม่รวมชะง่อนเขาที่มี่พื้นที่กว้าง หน้าผาและถ้ำต่างๆ” (ต่อมาภายหลังคณะกรรมการมรดกโลกกลับแหกมติตัวเองเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกครั้ง)
จากเหตุการณ์การขึ้นทะเบียนดังกล่าว ทำให้เห็นว่าคณะกรรมการมรดกโลกในสมัยประชุมที่ 32 ทำการฝ่าฝืนมติคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 31 ของตัวเอง ที่ระบุไว้ว่า การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารจะต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐภาคีไทยอย่างแข็งขันเสียก่อน โดยเน้นให้เห็นว่ากัมพูชาจะต้องได้ “with the active support of Thailand.” จากรัฐภาคีไทย (แต่ไม่ได้หนังสือนั้นจากไทยมึงเสือกขึ้นทะเบียนได้อย่างไร)