ASTVผู้จัเดการรายวัน - ทอ.ทำหนังสือแจ้งรัฐบาลและกองทัพอากาศเยอรมัน เครื่องส่วนพระองค์ยึดไม่ได้ ขณะที่รัฐบาลไทยยื่นขอถอนอายัด ชี้เยอรมนีไม่สิทธิแทรกแซง เป็นเรื่องเอกชน ด้าน “เยอรมนี” นิ่ง งดออกความเห็น "โฆษกวอลเตอร์บาว" ยันยึดเครื่องบินถูกต้องเพราะเอกสารลงทะเบียนด้านการบินระบุชัดเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลไทย
วานนี้ (16 ก.ค.) พล.อ.ต.มณฑล สัชฌุกร โฆษกกองทัพอากาศ (ทอ.) เปิดเผยว่า ที่ทางการเยอรมันอายัดเครื่องบินโบอิ้ง737-400 ถือเป็นเครื่องส่วนพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ที่พลอากาศเอกชลิต พุกผาสุข องคมนตรี สมัยเป็นผู้บัยชาการทหารอากาศ ถวาย ในปี2550
“ไม่ใช่เครื่องรัฐบาล ดังนั้นเยอรมันจึงยึดไม่ได้ ทั้งนี้ ทอ.ส่งหนังสือแจ้งไปยังรัฐบาลและกองทัพอากาศเยอรมันแล้ว”โฆษกกองทัพอากาศ (ทอ.) กล่าว
**ศาลเยอรมนีพิจารณาเอกสาร
เวลา 19.30 น. นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ตามที่ฝ่ายไทยได้ยื่นคำร้องคัดค้านการอายัดเครื่องบิน ศาลเยอรมนีได้นั่งพิจารณาเอกสารดังกล่าว โดยได้เปิดโอกาสให้บริษัทเยอรมันได้ยื่นเอกสารมาชี้แจงโต้แย้งด้วย ซึ่งขณะนี้ (15 ก.ค) ศาลกำลังพิจารณาเอกสารดังกล่าวอยู่ซึ่งต้องใช้เวลา ขณะนี้ยังรอดูอยู่ว่าจะเสร็จเมื่อไหร่ เพื่อที่ศาลจะได้ชี้ขาด
เวลา 21.30 น. นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงการพบปะกันระหว่างนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ กับทางการเยอรมันนี ในช่วงบ่ายของวันนี้ว่า นายกษิต ได้พบกับนาย CORNELIA PIEPER รัฐมนตรีช่วยต่างประเทศ รักษาการรัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมนี เพื่อย้ำความกังวลของฝ่ายไทย และความสำคัญที่ไทยมีต่อเรื่องนี้
**เยอรมันงดออกความเห็น
วันเดียวกัน สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานอ้างอิงการแถลงข่าวประจำวันของ นายมาร์ติน เชเฟอร์ โฆษกประจำกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนี ระบุว่า นายกษิต ภิรมย์ รมว.กระทรวงการต่างประเทศของไทย ได้เข้าพบกับนางคอร์นีเลีย เพียร์เพอร์ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศของเยอรมนี เพื่อเจรจาหารือกรณีเจ้าหน้าที่ผู้บังคับคดีล้มละลายของ บริษัท วอลเตอร์ บาว บริษัทเอกชนของเยอรมนี สั่งยึดเครื่องบินโบอิ้ง 737 ซึ่งเป็นพระราชพาหนะส่วนพระองค์ ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร ของไทย แต่นายเชเฟอร์ระบุว่า รัฐบาลเยอรมนีไม่ขอแสดงความเห็นในประเด็นดังกล่าว เพราะรัฐบาลเคารพต่อความเป็นอิสระในการทำงานของเจ้าหน้าที่ประจำกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินคดีอยู่ในขณะนี้
ขณะที่นายกษิตต้องเจรจากับ นางคอร์นีเลีย แทนนายกุยโด เวสเทอร์เวลล์ รมว.กระทรวงการต่างประเทศของเยอรมนี ซึ่งอยู่ระหว่างการปฏิบัติภารกิจเดินทางเยือนประเทศเม็กซิโก
ด้าน นายอเลกซานเดอร์ เกอร์บิง โฆษกบริษัทวอลเตอร์ บาว เอจี แถลงยืนยันการดำเนินการให้ศาลเยอรมนีสั่งอายัดเครื่องบินโบอิ้ง 737 ลำนี้ กระทำตามอำนาจกฎหมาย เพราะเอกสารลงทะเบียนด้านการบินระบุชัด เป็นทรัพย์สินของรัฐบาลไทย อีกทั้งศาลเยอรมนีได้ตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องแล้ว และเห็นว่าเป็นเอกสารถูกต้อง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี รักษาการหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า รัฐบาลไทยได้ประสานงานทุกช่องทางเพื่อเร่งแก้ไขปัญหาให้เร็วที่สุด ขณะที่รัฐบาลเยอรมันีได้อำนวยความสะดวกทางด้านกฎหมายให้กับฝ่ายไทย และถือว่าเป็นเรื่องของเอกชนที่ไปฟ้องศาลซึ่งฝ่ายบริหารจะเข้าไปแทรกแซงศาลไม่ได้ คิดว่าทุกอย่างน่าจะคลี่คลายได้ ทางกระทรวงการต่างประเทศได้ชี้แจงรายละเอียดทั้งหมดแล้วว่าเรื่องทั้งหมดที่เกิดขึ้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระบรมฯ และทรัพย์สินของพระองค์ท่านไม่ควรเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย
ส่วนคดีหลักเรื่องการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐบาลไทยนั้นอยู่ระหว่างที่กำลังยื่นอุทธรณ์ที่ศาลนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ซึ่งเราไม่ทราบว่าจะใช้เวลามากน้อยแค่ไหน แต่ที่ผ่านมาคดีจะใช้เวลามากพอสมควร ขณะนี้ทางอัยการสูงสุดมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในชั้นอุทธรณ์
เมื่อถามว่ารัฐบาลจะแก้ไขปัญหาที่จะอาจจะถูกอายัดทรัพย์สินของรัฐบาลอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าไม่ควรจะมีเรื่องนี้เกิดขึ้น และทางอัยการสูงสุดกำลังดำเนินการแต่ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้ เพราะเป็นช่วงรอยต่อของคดีที่ไทยเตรียมยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 29 ก.ค.นี้ ตามข้อเท็จจริงแล้วไม่มีความจำเป็นอะไรที่ต้องมาอายัดทรัพย์สินอะไร เพราะเมื่อชั้นสุดท้ายศาลตัดสินอย่างไร หรือให้ประเทศไทยชำระหนี้ เราต้องปฏิบัติตามอยู่แล้ว รัฐบาลไม่มีทางหนีไปไหนทรัพย์สินของรัฐบาลมีอยู่มากมาย และเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการ ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไม่ปฏิบัติตาม ดังนั้นไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่ทางการเยอรมันจะต้องมาดำเนินการอะไร
"ภารกิจสำคัญคือ ให้มีการถอนอายัดเครื่องบินของพระองค์ท่านเสียก่อน และต่อไปไม่ควรมีปัญหาแบบนี้เกิดขึ้นซึ่งเป็นเรื่องของเอกชน"
**บัวแก้วประท้วงตลอดสัปดาห์
รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านั้นกระทรวงการต่างประเทศได้ทำหนังสือ แจ้งว่า คดีดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่างบริษัทวาลเทอร์ เบา ของเยอรมนีกับรัฐบาลไทย โดยบริษัทฯ เป็นโจทก์ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐบาลไทย กรณีผิดสัญญาโครงการทางด่วนดอนเมืองโทลเวย์ ตั้งแต่ปี 2548 ตามสนธิสัญญาระหว่างไทยกับเยอรมนีเกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนต่างตอบแทน ค.ศ. 2002 ซึ่งคณะอนุญาโตตุลาการได้ตัดสินชี้ขาด เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2552ให้รัฐบาลไทยชดใช้ค่าเสียหายแก่บริษัทฯ เป็นเงินประมาณ 30ล้านยูโร บวกดอกเบี้ยและค่าดำเนินการของคณะอนุญาโตตุลาการอีกเกือบ 2 ล้านยูโร
โดยที่สหรัฐฯ เป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ค.ศ. 1958(Convention on the Recognition and Enforcement of Foreign Arbitral Awards) บริษัทฯ จึงได้นำคดีฟ้องต่อศาลนครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 26 มีนาคม2553เพื่อขอให้บังคับคดีตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ซึ่งต่อมาศาลนครนิวยอร์กได้ตัดสินให้ไทยปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโต ตุลาการ รัฐบาลไทยโดยสำนักงานอัยการสูงสุดอยู่ระหว่างการอุทธรณ์คำตัดสินของศาล นิวยอร์ก
ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ได้ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งเยอรมนีอีกทางหนึ่งเพื่อให้มีการบังคับคดี ซึ่งศาลเยอรมนีได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 11กรกฎาคม 2554 ให้ยึดทรัพย์สินรัฐบาลไทยโดยมิได้มีการสอบถามหรือไต่สวนฝ่ายไทย ซึ่งนำไปสู่การอายัดเครื่องบินพระที่นั่งของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ซึ่งจอดอยู่ที่ท่าอากาศยานนครมิวนิก เมื่อวันที่ 12กรกฎาคม 2554โดยเข้าใจผิดว่าเป็นเครื่องบินของรัฐบาลไทย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แจ้งว่า การดำเนินการดังกล่าวของฝ่ายเยอรมันเป็นความผิดพลาดอย่างร้ายแรงอันเกิดจากความเข้าใจผิด เนื่องจากเครื่องบินลำดังกล่าวเป็นเครื่องบินส่วนพระองค์ มิใช่ทรัพย์สินของรัฐบาลไทย ฝ่ายไทยได้ดำเนินการติดต่อทางการเยอรมันทันทีที่ได้รับทราบเรื่องในทุกช่องทางเพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องและหลักฐานยืนยันว่า เครื่องบินลำดังกล่าวเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ โดยในการดำเนินการของฝ่ายไทยนั้น สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน ได้ให้ข้อมูลข้างต้นแก่กระทรวงการต่างประเทศเยอรมนี และรัฐมนตรีว่าการฯ ได้มีหนังสือถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนีแสดงความกังวลอย่างยิ่งของฝ่ายไทยและขอให้ฝ่ายเยอรมันถอนการอายัดเครื่องบินลำดังกล่าวในทันที และได้สนทนาทางโทรศัพท์กับปลัดกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนี กระทรวงฯ ได้เชิญอุปทูตสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย มารับทราบข้อเท็จจริง และคณะผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย นำโดยอัยการสูงสุดและรองอธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ ได้เดินทางไปถึงนครมิวนิคแล้ว ขณะที่เอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน ได้ติดต่อทนายความเยอรมันเป็นที่ปรึกษาประเด็นด้านกฎหมาย นอกจากนั้น รัฐมนตรีว่าการฯ จะเดินทางไปกรุงเบอร์ลินในคืนวันที่ 14 กรกฎาคม 2554 เพื่อพบกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนีในบ่ายวันที่ 15 กรกฎาคม 2554 เพื่อให้มีการถอนอายัดเครื่องบินลำดังกล่าวโดยเร็วที่สุด
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศย้ำว่า กรณีที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องระหว่างบริษัทวาลเทอร์ เบา กับรัฐบาลไทย รัฐบาลไทยเคารพและไม่มีความตั้งใจที่จะแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมของเยอรมนี ตลอดจนเข้าใจว่าการดำเนินการเรื่องนี้อาจต้องใช้เวลาบ้าง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยหวังว่า กรณีที่เกิดขึ้นจะได้รับการแก้ไขโดยเร็วที่สุด
สำหรับคดีฟ้องร้องระหว่างบริษัทวาลเทอร์ เบา กับรัฐบาลไทย สำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐบาลไทยให้เป็นผู้รับผิดชอบในคดีดังกล่าว กำลังอุทธรณ์คำตัดสินของศาลนครนิวยอร์ก ซึ่งเป็นกระบวนการทางกฎหมายที่จะต้องดำเนินต่อไป.
วานนี้ (16 ก.ค.) พล.อ.ต.มณฑล สัชฌุกร โฆษกกองทัพอากาศ (ทอ.) เปิดเผยว่า ที่ทางการเยอรมันอายัดเครื่องบินโบอิ้ง737-400 ถือเป็นเครื่องส่วนพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ที่พลอากาศเอกชลิต พุกผาสุข องคมนตรี สมัยเป็นผู้บัยชาการทหารอากาศ ถวาย ในปี2550
“ไม่ใช่เครื่องรัฐบาล ดังนั้นเยอรมันจึงยึดไม่ได้ ทั้งนี้ ทอ.ส่งหนังสือแจ้งไปยังรัฐบาลและกองทัพอากาศเยอรมันแล้ว”โฆษกกองทัพอากาศ (ทอ.) กล่าว
**ศาลเยอรมนีพิจารณาเอกสาร
เวลา 19.30 น. นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ตามที่ฝ่ายไทยได้ยื่นคำร้องคัดค้านการอายัดเครื่องบิน ศาลเยอรมนีได้นั่งพิจารณาเอกสารดังกล่าว โดยได้เปิดโอกาสให้บริษัทเยอรมันได้ยื่นเอกสารมาชี้แจงโต้แย้งด้วย ซึ่งขณะนี้ (15 ก.ค) ศาลกำลังพิจารณาเอกสารดังกล่าวอยู่ซึ่งต้องใช้เวลา ขณะนี้ยังรอดูอยู่ว่าจะเสร็จเมื่อไหร่ เพื่อที่ศาลจะได้ชี้ขาด
เวลา 21.30 น. นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงการพบปะกันระหว่างนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ กับทางการเยอรมันนี ในช่วงบ่ายของวันนี้ว่า นายกษิต ได้พบกับนาย CORNELIA PIEPER รัฐมนตรีช่วยต่างประเทศ รักษาการรัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมนี เพื่อย้ำความกังวลของฝ่ายไทย และความสำคัญที่ไทยมีต่อเรื่องนี้
**เยอรมันงดออกความเห็น
วันเดียวกัน สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานอ้างอิงการแถลงข่าวประจำวันของ นายมาร์ติน เชเฟอร์ โฆษกประจำกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนี ระบุว่า นายกษิต ภิรมย์ รมว.กระทรวงการต่างประเทศของไทย ได้เข้าพบกับนางคอร์นีเลีย เพียร์เพอร์ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศของเยอรมนี เพื่อเจรจาหารือกรณีเจ้าหน้าที่ผู้บังคับคดีล้มละลายของ บริษัท วอลเตอร์ บาว บริษัทเอกชนของเยอรมนี สั่งยึดเครื่องบินโบอิ้ง 737 ซึ่งเป็นพระราชพาหนะส่วนพระองค์ ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร ของไทย แต่นายเชเฟอร์ระบุว่า รัฐบาลเยอรมนีไม่ขอแสดงความเห็นในประเด็นดังกล่าว เพราะรัฐบาลเคารพต่อความเป็นอิสระในการทำงานของเจ้าหน้าที่ประจำกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินคดีอยู่ในขณะนี้
ขณะที่นายกษิตต้องเจรจากับ นางคอร์นีเลีย แทนนายกุยโด เวสเทอร์เวลล์ รมว.กระทรวงการต่างประเทศของเยอรมนี ซึ่งอยู่ระหว่างการปฏิบัติภารกิจเดินทางเยือนประเทศเม็กซิโก
ด้าน นายอเลกซานเดอร์ เกอร์บิง โฆษกบริษัทวอลเตอร์ บาว เอจี แถลงยืนยันการดำเนินการให้ศาลเยอรมนีสั่งอายัดเครื่องบินโบอิ้ง 737 ลำนี้ กระทำตามอำนาจกฎหมาย เพราะเอกสารลงทะเบียนด้านการบินระบุชัด เป็นทรัพย์สินของรัฐบาลไทย อีกทั้งศาลเยอรมนีได้ตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องแล้ว และเห็นว่าเป็นเอกสารถูกต้อง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี รักษาการหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า รัฐบาลไทยได้ประสานงานทุกช่องทางเพื่อเร่งแก้ไขปัญหาให้เร็วที่สุด ขณะที่รัฐบาลเยอรมันีได้อำนวยความสะดวกทางด้านกฎหมายให้กับฝ่ายไทย และถือว่าเป็นเรื่องของเอกชนที่ไปฟ้องศาลซึ่งฝ่ายบริหารจะเข้าไปแทรกแซงศาลไม่ได้ คิดว่าทุกอย่างน่าจะคลี่คลายได้ ทางกระทรวงการต่างประเทศได้ชี้แจงรายละเอียดทั้งหมดแล้วว่าเรื่องทั้งหมดที่เกิดขึ้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระบรมฯ และทรัพย์สินของพระองค์ท่านไม่ควรเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย
ส่วนคดีหลักเรื่องการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐบาลไทยนั้นอยู่ระหว่างที่กำลังยื่นอุทธรณ์ที่ศาลนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ซึ่งเราไม่ทราบว่าจะใช้เวลามากน้อยแค่ไหน แต่ที่ผ่านมาคดีจะใช้เวลามากพอสมควร ขณะนี้ทางอัยการสูงสุดมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในชั้นอุทธรณ์
เมื่อถามว่ารัฐบาลจะแก้ไขปัญหาที่จะอาจจะถูกอายัดทรัพย์สินของรัฐบาลอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าไม่ควรจะมีเรื่องนี้เกิดขึ้น และทางอัยการสูงสุดกำลังดำเนินการแต่ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้ เพราะเป็นช่วงรอยต่อของคดีที่ไทยเตรียมยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 29 ก.ค.นี้ ตามข้อเท็จจริงแล้วไม่มีความจำเป็นอะไรที่ต้องมาอายัดทรัพย์สินอะไร เพราะเมื่อชั้นสุดท้ายศาลตัดสินอย่างไร หรือให้ประเทศไทยชำระหนี้ เราต้องปฏิบัติตามอยู่แล้ว รัฐบาลไม่มีทางหนีไปไหนทรัพย์สินของรัฐบาลมีอยู่มากมาย และเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการ ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไม่ปฏิบัติตาม ดังนั้นไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่ทางการเยอรมันจะต้องมาดำเนินการอะไร
"ภารกิจสำคัญคือ ให้มีการถอนอายัดเครื่องบินของพระองค์ท่านเสียก่อน และต่อไปไม่ควรมีปัญหาแบบนี้เกิดขึ้นซึ่งเป็นเรื่องของเอกชน"
**บัวแก้วประท้วงตลอดสัปดาห์
รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านั้นกระทรวงการต่างประเทศได้ทำหนังสือ แจ้งว่า คดีดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่างบริษัทวาลเทอร์ เบา ของเยอรมนีกับรัฐบาลไทย โดยบริษัทฯ เป็นโจทก์ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐบาลไทย กรณีผิดสัญญาโครงการทางด่วนดอนเมืองโทลเวย์ ตั้งแต่ปี 2548 ตามสนธิสัญญาระหว่างไทยกับเยอรมนีเกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนต่างตอบแทน ค.ศ. 2002 ซึ่งคณะอนุญาโตตุลาการได้ตัดสินชี้ขาด เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2552ให้รัฐบาลไทยชดใช้ค่าเสียหายแก่บริษัทฯ เป็นเงินประมาณ 30ล้านยูโร บวกดอกเบี้ยและค่าดำเนินการของคณะอนุญาโตตุลาการอีกเกือบ 2 ล้านยูโร
โดยที่สหรัฐฯ เป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ค.ศ. 1958(Convention on the Recognition and Enforcement of Foreign Arbitral Awards) บริษัทฯ จึงได้นำคดีฟ้องต่อศาลนครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 26 มีนาคม2553เพื่อขอให้บังคับคดีตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ซึ่งต่อมาศาลนครนิวยอร์กได้ตัดสินให้ไทยปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโต ตุลาการ รัฐบาลไทยโดยสำนักงานอัยการสูงสุดอยู่ระหว่างการอุทธรณ์คำตัดสินของศาล นิวยอร์ก
ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ได้ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งเยอรมนีอีกทางหนึ่งเพื่อให้มีการบังคับคดี ซึ่งศาลเยอรมนีได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 11กรกฎาคม 2554 ให้ยึดทรัพย์สินรัฐบาลไทยโดยมิได้มีการสอบถามหรือไต่สวนฝ่ายไทย ซึ่งนำไปสู่การอายัดเครื่องบินพระที่นั่งของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ซึ่งจอดอยู่ที่ท่าอากาศยานนครมิวนิก เมื่อวันที่ 12กรกฎาคม 2554โดยเข้าใจผิดว่าเป็นเครื่องบินของรัฐบาลไทย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แจ้งว่า การดำเนินการดังกล่าวของฝ่ายเยอรมันเป็นความผิดพลาดอย่างร้ายแรงอันเกิดจากความเข้าใจผิด เนื่องจากเครื่องบินลำดังกล่าวเป็นเครื่องบินส่วนพระองค์ มิใช่ทรัพย์สินของรัฐบาลไทย ฝ่ายไทยได้ดำเนินการติดต่อทางการเยอรมันทันทีที่ได้รับทราบเรื่องในทุกช่องทางเพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องและหลักฐานยืนยันว่า เครื่องบินลำดังกล่าวเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ โดยในการดำเนินการของฝ่ายไทยนั้น สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน ได้ให้ข้อมูลข้างต้นแก่กระทรวงการต่างประเทศเยอรมนี และรัฐมนตรีว่าการฯ ได้มีหนังสือถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนีแสดงความกังวลอย่างยิ่งของฝ่ายไทยและขอให้ฝ่ายเยอรมันถอนการอายัดเครื่องบินลำดังกล่าวในทันที และได้สนทนาทางโทรศัพท์กับปลัดกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนี กระทรวงฯ ได้เชิญอุปทูตสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย มารับทราบข้อเท็จจริง และคณะผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย นำโดยอัยการสูงสุดและรองอธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ ได้เดินทางไปถึงนครมิวนิคแล้ว ขณะที่เอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน ได้ติดต่อทนายความเยอรมันเป็นที่ปรึกษาประเด็นด้านกฎหมาย นอกจากนั้น รัฐมนตรีว่าการฯ จะเดินทางไปกรุงเบอร์ลินในคืนวันที่ 14 กรกฎาคม 2554 เพื่อพบกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนีในบ่ายวันที่ 15 กรกฎาคม 2554 เพื่อให้มีการถอนอายัดเครื่องบินลำดังกล่าวโดยเร็วที่สุด
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศย้ำว่า กรณีที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องระหว่างบริษัทวาลเทอร์ เบา กับรัฐบาลไทย รัฐบาลไทยเคารพและไม่มีความตั้งใจที่จะแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมของเยอรมนี ตลอดจนเข้าใจว่าการดำเนินการเรื่องนี้อาจต้องใช้เวลาบ้าง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยหวังว่า กรณีที่เกิดขึ้นจะได้รับการแก้ไขโดยเร็วที่สุด
สำหรับคดีฟ้องร้องระหว่างบริษัทวาลเทอร์ เบา กับรัฐบาลไทย สำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐบาลไทยให้เป็นผู้รับผิดชอบในคดีดังกล่าว กำลังอุทธรณ์คำตัดสินของศาลนครนิวยอร์ก ซึ่งเป็นกระบวนการทางกฎหมายที่จะต้องดำเนินต่อไป.