ASTVผู้จัดการรายวัน - ศูนย์วจัยกสิกรไทยเก็งกนง.ยังขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% เป็น 3.25% ระบุเงินเฟ้อยังเสี่ยง และอาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากนโยบายประชานิยมรัฐบาลใหม่
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (กนง.)ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2554 ซึ่งเป็นการประชุมครั้งที่ 5 ของปีนี้ และจะครบรอบ 1 ปีที่กนง.ได้เริ่มวัฏจักรอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นมาตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม 2553 นั้น คาดว่า กนง.จะยังคงมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน หรืออัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย อีก 0.25% จาก 3.00% มาที่ 3.25% ซึ่งจะเป็นการดำเนินนโยบายสู่ระดับที่เป็นปกติมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อดูแลความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อที่ยังคงมีน้ำหนักท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงมีแรงส่งของการขยายตัว และลดสภาวะความไม่สมดุลที่อาจจะเกิดขึ้นจากทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่ยังคงมีค่าติดลบ
ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ของสถาบันการเงินนั้น คาดว่าจะทยอยปรับขึ้นเช่นเดียวกัน โดยที่ขนาดและจังหวะเวลาของการปรับขึ้นของแต่ละสถาบันการเงิน จะยังคงขึ้นอยู่กับมุมมองต่อแนวโน้มการขยายสินเชื่อ และการแข่งขันของผู้เล่นทั้งในตลาดสินเชื่อและผลิตภัณฑ์เงินออม เป็นหลัก หลังจากในช่วงที่ผ่านมา การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ส่งผลให้สถาบันการเงินปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามด้วยขนาดที่ใกล้เคียงกันและจังหวะเวลาที่ไม่ห่างกันนัก ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินธุรกิจหลักอย่างสินเชื่อที่เติบโตในเกณฑ์ดี ภาวการณ์แข่งขันที่เข้มข้น ตลอดจนการเตรียมการรับมือกับการทยอยลดวงเงินคุ้มครองเงินฝากของสถาบันคุ้มครองเงินฝากที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 11 สิงหาคม 2554 นี้
นอกจากนี้ คงจะต้องติดตามการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทยที่มีแนวโน้มจะมุ่งเน้นเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจ รวมถึงมีหลายโครงการที่มีความเกี่ยวพันกับระดับราคาสินค้าและเงินเฟ้อในประเทศ ซึ่งในที่สุดแล้วอาจผลักดันให้การคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะข้างหน้าของภาคส่วนต่างๆ ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมไปถึงอาจจะเพิ่มความกังวลต่อประเด็นด้านเสถียรภาพและแรงกดดันเงินเฟ้อในระยะกลาง ในขณะที่ ปัจจัยภายนอกประเทศ โดยเฉพาะการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงของเศรษฐกิจโลก นำโดยสหรัฐฯ และจีน อาจมีส่วนช่วยบรรเทาแรงกดดันเงินเฟ้อหากระดับราคาอาหารและพลังงานไม่ปรับตัวสูงขึ้นมาก
ทั้งนี้ จากทั้งปัจจัยภายในและภายนอกประเทศดังกล่าว คงจะเป็นความท้าทายสำหรับการเดินหน้านโยบายการเงินของ กนง.ในการประชุมรอบถัดไปในวันที่ 24 สิงหาคม 2554 อย่างยากจะหลีกเลี่ยง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (กนง.)ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2554 ซึ่งเป็นการประชุมครั้งที่ 5 ของปีนี้ และจะครบรอบ 1 ปีที่กนง.ได้เริ่มวัฏจักรอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นมาตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม 2553 นั้น คาดว่า กนง.จะยังคงมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน หรืออัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย อีก 0.25% จาก 3.00% มาที่ 3.25% ซึ่งจะเป็นการดำเนินนโยบายสู่ระดับที่เป็นปกติมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อดูแลความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อที่ยังคงมีน้ำหนักท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงมีแรงส่งของการขยายตัว และลดสภาวะความไม่สมดุลที่อาจจะเกิดขึ้นจากทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่ยังคงมีค่าติดลบ
ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ของสถาบันการเงินนั้น คาดว่าจะทยอยปรับขึ้นเช่นเดียวกัน โดยที่ขนาดและจังหวะเวลาของการปรับขึ้นของแต่ละสถาบันการเงิน จะยังคงขึ้นอยู่กับมุมมองต่อแนวโน้มการขยายสินเชื่อ และการแข่งขันของผู้เล่นทั้งในตลาดสินเชื่อและผลิตภัณฑ์เงินออม เป็นหลัก หลังจากในช่วงที่ผ่านมา การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ส่งผลให้สถาบันการเงินปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามด้วยขนาดที่ใกล้เคียงกันและจังหวะเวลาที่ไม่ห่างกันนัก ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินธุรกิจหลักอย่างสินเชื่อที่เติบโตในเกณฑ์ดี ภาวการณ์แข่งขันที่เข้มข้น ตลอดจนการเตรียมการรับมือกับการทยอยลดวงเงินคุ้มครองเงินฝากของสถาบันคุ้มครองเงินฝากที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 11 สิงหาคม 2554 นี้
นอกจากนี้ คงจะต้องติดตามการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทยที่มีแนวโน้มจะมุ่งเน้นเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจ รวมถึงมีหลายโครงการที่มีความเกี่ยวพันกับระดับราคาสินค้าและเงินเฟ้อในประเทศ ซึ่งในที่สุดแล้วอาจผลักดันให้การคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะข้างหน้าของภาคส่วนต่างๆ ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมไปถึงอาจจะเพิ่มความกังวลต่อประเด็นด้านเสถียรภาพและแรงกดดันเงินเฟ้อในระยะกลาง ในขณะที่ ปัจจัยภายนอกประเทศ โดยเฉพาะการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงของเศรษฐกิจโลก นำโดยสหรัฐฯ และจีน อาจมีส่วนช่วยบรรเทาแรงกดดันเงินเฟ้อหากระดับราคาอาหารและพลังงานไม่ปรับตัวสูงขึ้นมาก
ทั้งนี้ จากทั้งปัจจัยภายในและภายนอกประเทศดังกล่าว คงจะเป็นความท้าทายสำหรับการเดินหน้านโยบายการเงินของ กนง.ในการประชุมรอบถัดไปในวันที่ 24 สิงหาคม 2554 อย่างยากจะหลีกเลี่ยง