ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์ชาติเผยตัวเลขธนบัตรหมุนเวียนเดือนก่อนยุบและหลังยุบสภา เม.ย.-พ.ค.ความต้องการแบงก์พันพุ่งผิดสังเกตกว่า 7 หมื่นล้าน "ประสาร" ยอมรับเป็นธรรมชาติของช่วงเลือกตั้ง ขณะเดียวกันเศรษฐกิจขยายตัวดีก็มีส่วน
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การใช้จ่ายภาคเอกชนในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นมากถึง 5.1% จากระยะเดียวกันของปีก่อนนั้น ธปท.มองว่า ส่วนหนึ่งของเม็ดเงินที่ใช้จ่ายเพิ่มขึ้น อาจจะมาจากความต้องการใช้จ่ายเงินในช่วงการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง เพราะเป็นเรื่องธรรมชาติที่จะมีการใช้จ่ายเงินเพิ่มขึ้นในช่วงเลือกตั้ง อีกส่วนหนึ่ง การใช้จ่ายที่ดีขึ้นมาจากกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากเศรษฐกิจที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง และเมื่อเศรษฐกิจของเราใหญ่ขึ้น ทำให้ความต้องการธนบัตรเพิ่มมากขึ้น
“ในช่วงเดือน พ.ค.เป็นเดือนที่มีการยุบสภา การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งทำให้มีการใช้จ่ายเงินเพิ่มขึ้นส่วนหนึ่ง แต่ตามปกติการเร่งใช้จ่ายเงิน หรือ การใช้เงินเพื่อซื้อเสียงนั้น ธปท.ไม่ได้ตาม และคงแยกแยะได้ยาก ขณะเดียวกัน ในเดือน พ.ค.นั้น เวลาอย่างไกลจากการเลือกตั้ง เพราะการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันที่ 3 ก.ค.ที่จะถึงนี้ ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้ที่การเคลื่อนไหวของเงิน หรือธนบัตรหมุนเวียนอาจจะเปลี่ยนไปใกล้ๆช่วงเลือกตั้ง ถ้าต้องการตามดูความเคลื่อนของเงินคงจะต้องรอดูช่วงสิ้นเดือน มิ.ย.อีกครั้ง”
กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม จากตัวเลขการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในช่วงนี้ ธปท.คงระบุไม่ได้ว่า เงินส่วนไหนเป็นเม็ดเงินที่ใช้จ่ายเพื่อการเลือกตั้ง และส่วนไหนเป็นเงินที่เพิ่มขึ้นจากกำลังซื้อของประชาชนที่ดีขึ้น เพราะการดูในระดับมหภาคคงแยกแยะเม็ดเงินได้ค่อนข้างยาก แต่ภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ การผลิตในบางรถยนต์ที่หายไปจากผลกระทบญี่ปุ่น ก็เริ่มกลับมาขยายตัวแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานเงินสดหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทยล่าสุดสิ้นเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเดือนที่มีการยุบสภาเพื่อเลือกตั้งทั่วไป พบว่า มีธนบัตรหมุนเวียนอยู่ในระบบการเงิน ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับธนบัตรที่อยู่ในมือ ธปท.ทั้งสิ้น 1,214,485 ล้านบาท เท่ากับเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตุว่า
ระบบการเงินมีความต้องการธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาทเพิ่มขึ้น และเป็นธนบัตรชนิดราคาเดียวที่มีการหมุนเวียนในระบบเพิ่มขึ้นในเดือนที่ผ่านมา
โดย ณ สิ้นเดือน พ.ค.มีธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท หมุนเวียนทั้งสิ้น 961,643 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 509 ล้านบาท ขณะที่ธนบัตรชนิดราคา 500 บาท มีหมุนเวียนในตลาด108,599 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 246 ล้านบาท ขณะที่ธนบัตรชนิดราคา 100 บาท มีความต้องการลดลงเช่นกัน โดยมีหมุนเวียนทั้งสิ้น 100,449 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 58 ล้าน ขณะที่ธนบัตรชนิดราคา 50 บาทหมุนเวียนทั้งสิ้น 12,189 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 206 ล้านบาท
ความต้องการธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาทที่เพิ่มขึ้นในระบบเศรษฐกิจในช่วงการเลือกตั้งนั้น เกิดขึ้นชัดเจนมาตั้งแต่เดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเดือนที่นายกรัฐมนตรีมีการประกาศชัดเจนว่า จะยุบสภาอย่างแน่นอนในช่วงปลายปี เม.ย. หรือต้นปี พ.ค.ที่ผ่านมา โดยสิ้นเดือน เม.ย.มีธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท หมุนเวียนในระบบ 961,134 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าถึง 70,011 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นเม็ดเงินที่เพิ่มขึ้นที่ค่อนข้างผิดปกติ เพราะหากย้อนกลับไปอีกเดือน ณ สิ้นเดือน มี.ค.ธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาทเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าประมาณ 4,033 ล้านบาท.
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การใช้จ่ายภาคเอกชนในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นมากถึง 5.1% จากระยะเดียวกันของปีก่อนนั้น ธปท.มองว่า ส่วนหนึ่งของเม็ดเงินที่ใช้จ่ายเพิ่มขึ้น อาจจะมาจากความต้องการใช้จ่ายเงินในช่วงการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง เพราะเป็นเรื่องธรรมชาติที่จะมีการใช้จ่ายเงินเพิ่มขึ้นในช่วงเลือกตั้ง อีกส่วนหนึ่ง การใช้จ่ายที่ดีขึ้นมาจากกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากเศรษฐกิจที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง และเมื่อเศรษฐกิจของเราใหญ่ขึ้น ทำให้ความต้องการธนบัตรเพิ่มมากขึ้น
“ในช่วงเดือน พ.ค.เป็นเดือนที่มีการยุบสภา การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งทำให้มีการใช้จ่ายเงินเพิ่มขึ้นส่วนหนึ่ง แต่ตามปกติการเร่งใช้จ่ายเงิน หรือ การใช้เงินเพื่อซื้อเสียงนั้น ธปท.ไม่ได้ตาม และคงแยกแยะได้ยาก ขณะเดียวกัน ในเดือน พ.ค.นั้น เวลาอย่างไกลจากการเลือกตั้ง เพราะการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันที่ 3 ก.ค.ที่จะถึงนี้ ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้ที่การเคลื่อนไหวของเงิน หรือธนบัตรหมุนเวียนอาจจะเปลี่ยนไปใกล้ๆช่วงเลือกตั้ง ถ้าต้องการตามดูความเคลื่อนของเงินคงจะต้องรอดูช่วงสิ้นเดือน มิ.ย.อีกครั้ง”
กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม จากตัวเลขการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในช่วงนี้ ธปท.คงระบุไม่ได้ว่า เงินส่วนไหนเป็นเม็ดเงินที่ใช้จ่ายเพื่อการเลือกตั้ง และส่วนไหนเป็นเงินที่เพิ่มขึ้นจากกำลังซื้อของประชาชนที่ดีขึ้น เพราะการดูในระดับมหภาคคงแยกแยะเม็ดเงินได้ค่อนข้างยาก แต่ภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ การผลิตในบางรถยนต์ที่หายไปจากผลกระทบญี่ปุ่น ก็เริ่มกลับมาขยายตัวแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานเงินสดหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทยล่าสุดสิ้นเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเดือนที่มีการยุบสภาเพื่อเลือกตั้งทั่วไป พบว่า มีธนบัตรหมุนเวียนอยู่ในระบบการเงิน ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับธนบัตรที่อยู่ในมือ ธปท.ทั้งสิ้น 1,214,485 ล้านบาท เท่ากับเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตุว่า
ระบบการเงินมีความต้องการธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาทเพิ่มขึ้น และเป็นธนบัตรชนิดราคาเดียวที่มีการหมุนเวียนในระบบเพิ่มขึ้นในเดือนที่ผ่านมา
โดย ณ สิ้นเดือน พ.ค.มีธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท หมุนเวียนทั้งสิ้น 961,643 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 509 ล้านบาท ขณะที่ธนบัตรชนิดราคา 500 บาท มีหมุนเวียนในตลาด108,599 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 246 ล้านบาท ขณะที่ธนบัตรชนิดราคา 100 บาท มีความต้องการลดลงเช่นกัน โดยมีหมุนเวียนทั้งสิ้น 100,449 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 58 ล้าน ขณะที่ธนบัตรชนิดราคา 50 บาทหมุนเวียนทั้งสิ้น 12,189 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 206 ล้านบาท
ความต้องการธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาทที่เพิ่มขึ้นในระบบเศรษฐกิจในช่วงการเลือกตั้งนั้น เกิดขึ้นชัดเจนมาตั้งแต่เดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเดือนที่นายกรัฐมนตรีมีการประกาศชัดเจนว่า จะยุบสภาอย่างแน่นอนในช่วงปลายปี เม.ย. หรือต้นปี พ.ค.ที่ผ่านมา โดยสิ้นเดือน เม.ย.มีธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท หมุนเวียนในระบบ 961,134 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าถึง 70,011 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นเม็ดเงินที่เพิ่มขึ้นที่ค่อนข้างผิดปกติ เพราะหากย้อนกลับไปอีกเดือน ณ สิ้นเดือน มี.ค.ธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาทเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าประมาณ 4,033 ล้านบาท.