ASTVผู้จัดการรายวัน - เปิดงบดุลปี 53 แบงก์ชาติขาดทุนสุทธิ 1.17 แสนล้านบาท เจ๊งแทรกแซงค่าเงินอย่างเดียว 1.03 แสนล้านบาท ส่งผลขาดทุนสะสมเกือบ 2 แสนล้านบาท ยอดตั้งเงินสำรองสำหรับขาดทุนที่อาจจะเกิดในอนาคตจากการตีมูลค่าเงินตราต่างประเทศเป็นเงินบาทอีก 2.78 แสนล้าน
รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้ประกาศงบการเงินฉบับสมบูรณ์ของ ธปท.ปี 2553 พบว่า มีผลขาดทุนสุทธิสูงมากจากการเข้าแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท ไม่ให้แข็งค่ามากเกินไป ขณะที่ส่วนต่างระหว่าอัตราดอกเบี้ยในประเทศกับต่างประเทศ ยังทำให้ ธปท.มีรายจ่ายดอกเบี้ยมากกว่ารายได้จากดอกเบี้ยที่นำทุนสำรองทางการระหว่างประเทศไปลงทุนอีกด้วย
ในงบดุลปี 2553 ระบุว่า ธปท.มีสินทรัพย์ทั้งสิ้น 3,769,001.74 ล้านบาท ขณะที่มีหนี้สินทั้งสิ้น 4,200,830.45 ล้านบาท ส่งผลให้มีเงินทุนติดลบในขณะนี้ทั้งสิ้น 431,828.71 ล้านบาท
ขณะที่งบกำไรขาดทุนของ ธปท. ได้ระบุรายรับรายจ่ายและผลขาดทุนของธปท.ว่า ในปี 2553 ธปท.มีรายได้ทั้งสิ้น 53,895.39 ล้านบาท เป็นรายได้จากดอกเบี้ยรับ 42,598.53 ล้านบาท รายได้จากค่าธรรมเนียมการชำระเงิน และอื่นๆ 585.74 ล้านบาท และเป็นรายได้จากแหล่งอื่นๆอีก 10,711.12 ล้านบาท ขณะที่มีรายจ่ายมากกว่ารายรับ โดยมีรายจ่ายทั้งสิ้น 171,368.59 ล้านบาท โดยเป็นรายจ่ายที่มาจากดอกเบี้ยจ่าย 62,709.29 ล้านบาท รายจ่ายที่มาจากผลขาดทุนจากกอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศสุทธิทั้งสิ้น 103,805.93 ล้านบาท เป็นรายจ่ายเรื่องพนักงานทั้งสิ้น 3,510.07 ล้านบาท และเป็นรายจ่ายอื่นๆอีก 1,343.30 ล้านบาท ส่งผลให้ในปี 2553 ธปท.มีผลขาดทุนจากการดำเนินการทั้งสิ้น 21,249.11 ล้านบาท และมีผลขาดทุนสุทธิทั้งสิ้น 117,473.20 ล้านบาท
ทั้งนี้ งบดังกล่าวเป็นงบของฝ่ายกิจการธปท.ไม่เกี่ยวข้องกับทุนสำรองเงินตรา กิจการธนบัตร และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หากพิจารณาจากการขาดทุนสุทธิของธปท.ในปี 2553 แล้ว ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการเข้าแทรกแซงเพื่อลดการแข็งค่าของเงินบาทในปี 2553 ที่ผ่านมา ซึ่งค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นประมาณ 11% ด้วยการซื้อเงินตราต่างประเทศเข้ามาสะสมเพิ่มเติมในทุนสำรองทางการ ซึ่งจะเห็นได้จาก ทุนสำรองทางการระหว่างประเทศในปี 2553 เพียงปีเดียวเพิ่มขึ้นมากถึง 32,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ดังนั้น เมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นทำให้เกิดผลขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนสูงถึง 103,805.93 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน การออกพันธบัตร ธปท.เพิ่มขึ้นเพื่อดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินในระบบการเงิน จากการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศ และการซื้อเงินดอลลาร์สะสมของธปท.เพื่อชะลอการแข็งค่าของเงินบาท ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยในประเทศสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของต่างประเทศ ซึ่ง ธปท.นำทุนสำรองทางการไปลงทุน ทำให้ในปีที่ผ่านมา ธปท.ขาดทุนจากดอกเบี้ยรับที่ต่ำกว่าดอกเบี้ยจ่าย 20,110.76 ล้านบาท
ในงบการเงินของธปท.ยังระบุด้วยว่า งบการเงินต้นปี 2253 ธปท.มียอดขาดทุนสะสมคงค้างจากปีก่อนหน้าทั้งสิ้น 82,096.22 ล้านบาท ดังนั้น เมื่อรวมยอดขาดทุนสุทธิใหม่ที่เกิดขึ้นในปี 2553 จำนวน 117,473.20 ล้านบาท ทำให้ ยอดขาดทุนสะสมในขณะนี้ของธปท.เพิ่มขึ้นมาเป็น 199,569.42 ล้านบาท และเป็นการขาดทุนสะสมที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2549
แม้ว่า ในการคิดงบดุลแบบใหม่ของธปท.จะไม่คิดผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นไว้ในบัญชีประจำปีเหมือนในช่วงก่อนหน้า แต่ยังต้องมีการตีราคาสินทรัพย์ และหนี้สินในช่วงทุกสิ้นปี ทั้งนี้ จากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในปี 2553 ทำให้เมื่อตีราคาสินทรัพย์ และหนี้สินทั้งหมดของธปท.แล้ว ในงบดุลธปท.ได้ตั้ งเงินสำรองที่ธปท.ต้องจ่ายในอนาคต สำหรับการขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจากการตีราคาสินทรัพย์ และหนี้สิน ไว้เป็นเงินสูงถึง 260,211.3 ล้านบาท
โดยคำนวณจากผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจากการแปลงค่าสินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ 278,667.2 ล้านบาท ผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจากการปรับมูลค่าตราสารอนุพันธ์ 345.4 ล้านบาท ผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจากการปรับมูลค่าสัญญารับฝาก 1,114.3 ล้านบาท และกำไรจากการปรับมูลค่าของเงินลงทุน 19,926.2 ล้านบาท.
รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้ประกาศงบการเงินฉบับสมบูรณ์ของ ธปท.ปี 2553 พบว่า มีผลขาดทุนสุทธิสูงมากจากการเข้าแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท ไม่ให้แข็งค่ามากเกินไป ขณะที่ส่วนต่างระหว่าอัตราดอกเบี้ยในประเทศกับต่างประเทศ ยังทำให้ ธปท.มีรายจ่ายดอกเบี้ยมากกว่ารายได้จากดอกเบี้ยที่นำทุนสำรองทางการระหว่างประเทศไปลงทุนอีกด้วย
ในงบดุลปี 2553 ระบุว่า ธปท.มีสินทรัพย์ทั้งสิ้น 3,769,001.74 ล้านบาท ขณะที่มีหนี้สินทั้งสิ้น 4,200,830.45 ล้านบาท ส่งผลให้มีเงินทุนติดลบในขณะนี้ทั้งสิ้น 431,828.71 ล้านบาท
ขณะที่งบกำไรขาดทุนของ ธปท. ได้ระบุรายรับรายจ่ายและผลขาดทุนของธปท.ว่า ในปี 2553 ธปท.มีรายได้ทั้งสิ้น 53,895.39 ล้านบาท เป็นรายได้จากดอกเบี้ยรับ 42,598.53 ล้านบาท รายได้จากค่าธรรมเนียมการชำระเงิน และอื่นๆ 585.74 ล้านบาท และเป็นรายได้จากแหล่งอื่นๆอีก 10,711.12 ล้านบาท ขณะที่มีรายจ่ายมากกว่ารายรับ โดยมีรายจ่ายทั้งสิ้น 171,368.59 ล้านบาท โดยเป็นรายจ่ายที่มาจากดอกเบี้ยจ่าย 62,709.29 ล้านบาท รายจ่ายที่มาจากผลขาดทุนจากกอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศสุทธิทั้งสิ้น 103,805.93 ล้านบาท เป็นรายจ่ายเรื่องพนักงานทั้งสิ้น 3,510.07 ล้านบาท และเป็นรายจ่ายอื่นๆอีก 1,343.30 ล้านบาท ส่งผลให้ในปี 2553 ธปท.มีผลขาดทุนจากการดำเนินการทั้งสิ้น 21,249.11 ล้านบาท และมีผลขาดทุนสุทธิทั้งสิ้น 117,473.20 ล้านบาท
ทั้งนี้ งบดังกล่าวเป็นงบของฝ่ายกิจการธปท.ไม่เกี่ยวข้องกับทุนสำรองเงินตรา กิจการธนบัตร และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หากพิจารณาจากการขาดทุนสุทธิของธปท.ในปี 2553 แล้ว ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการเข้าแทรกแซงเพื่อลดการแข็งค่าของเงินบาทในปี 2553 ที่ผ่านมา ซึ่งค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นประมาณ 11% ด้วยการซื้อเงินตราต่างประเทศเข้ามาสะสมเพิ่มเติมในทุนสำรองทางการ ซึ่งจะเห็นได้จาก ทุนสำรองทางการระหว่างประเทศในปี 2553 เพียงปีเดียวเพิ่มขึ้นมากถึง 32,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ดังนั้น เมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นทำให้เกิดผลขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนสูงถึง 103,805.93 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน การออกพันธบัตร ธปท.เพิ่มขึ้นเพื่อดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินในระบบการเงิน จากการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศ และการซื้อเงินดอลลาร์สะสมของธปท.เพื่อชะลอการแข็งค่าของเงินบาท ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยในประเทศสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของต่างประเทศ ซึ่ง ธปท.นำทุนสำรองทางการไปลงทุน ทำให้ในปีที่ผ่านมา ธปท.ขาดทุนจากดอกเบี้ยรับที่ต่ำกว่าดอกเบี้ยจ่าย 20,110.76 ล้านบาท
ในงบการเงินของธปท.ยังระบุด้วยว่า งบการเงินต้นปี 2253 ธปท.มียอดขาดทุนสะสมคงค้างจากปีก่อนหน้าทั้งสิ้น 82,096.22 ล้านบาท ดังนั้น เมื่อรวมยอดขาดทุนสุทธิใหม่ที่เกิดขึ้นในปี 2553 จำนวน 117,473.20 ล้านบาท ทำให้ ยอดขาดทุนสะสมในขณะนี้ของธปท.เพิ่มขึ้นมาเป็น 199,569.42 ล้านบาท และเป็นการขาดทุนสะสมที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2549
แม้ว่า ในการคิดงบดุลแบบใหม่ของธปท.จะไม่คิดผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นไว้ในบัญชีประจำปีเหมือนในช่วงก่อนหน้า แต่ยังต้องมีการตีราคาสินทรัพย์ และหนี้สินในช่วงทุกสิ้นปี ทั้งนี้ จากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในปี 2553 ทำให้เมื่อตีราคาสินทรัพย์ และหนี้สินทั้งหมดของธปท.แล้ว ในงบดุลธปท.ได้ตั้ งเงินสำรองที่ธปท.ต้องจ่ายในอนาคต สำหรับการขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจากการตีราคาสินทรัพย์ และหนี้สิน ไว้เป็นเงินสูงถึง 260,211.3 ล้านบาท
โดยคำนวณจากผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจากการแปลงค่าสินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ 278,667.2 ล้านบาท ผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจากการปรับมูลค่าตราสารอนุพันธ์ 345.4 ล้านบาท ผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจากการปรับมูลค่าสัญญารับฝาก 1,114.3 ล้านบาท และกำไรจากการปรับมูลค่าของเงินลงทุน 19,926.2 ล้านบาท.