ใช่เพียงที่ดิน 30 ล้านไร่ของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูหนี้สินเกษตรกรกำลังจะหลุดมือเพราะอยู่ระหว่างการฟ้องร้องดำเนินคดี และยึดทรัพย์ขายทอดตลาดอันเนื่องมาจากการส่งเสริมการผลิตการเกษตรล้มเหลว หากแต่ 2,700 ชุมชน 1.2 ล้านคนยังกลายเป็นผู้บุกรุกทำผิดกฎหมาย หลายหมื่นพันครอบครัวคนจนถูกฟ้องร้องดำเนิคดี จับกุมคุมขัง ทั้งๆ ที่อยู่อาศัยและทำกินในที่ดินมาก่อนการประกาศเขตป่า ในขณะที่กลุ่มกุมอำนาจการเมืองและทุนกลับรุกแผ้วผืนป่าสงวนสร้างสนามกอล์ฟ รีสอร์ต บ้านพักตากอากาศ กระทั่งไร่ข้าวโพด สวนปาล์มน้ำมันและยางพารากันอย่างมโหฬาร แต่กลับไม่ถูกดำเนินคดีอย่างใด
ในความเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรมของการกระจายการถือครองที่ดินทำให้ร้อยละ 90 ของที่ดิน 120 ล้านไร่ที่ถูกครอบครองโดยประชาชนทั่วไปกระจุกอยู่ในมือคนแค่ร้อยละ 10 หรือ 6 ล้านคนเท่านั้น และร้อยละ 70 ของที่ดินที่ถือครองก็ถูกเก็บเก็งกำไรโดยปล่อยให้ทิ้งร้างว่างเปล่าไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่จนสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจปีละ 127,384 ล้านบาท ขณะเดียวกับที่เกษตรกรมหาศาล 4.8 ล้านคนกำลังต้องการที่ดินทำกินแค่สักผืน เพราะกว่าร้อยละ 40 ไม่มีที่ดินทำกินหรือมีที่ดินทำกินน้อยกว่า 10 ไร่
ภายใต้ปฏิบัติการขจัดความเหลื่อมล้ำจำต้องนำที่ดินรกชัฏที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์มาจัดสรรอย่างก้าวหน้าที่ไม่ใช่แนวทางสงเคราะห์เพื่อเกษตรกรเรือนล้านจะได้มีที่ดินทำกิน รวมถึงต้องควบคุมการเก็งกำไรซื้อขายที่ดินและการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ด้วยการวางแผนการใช้ที่ดินอย่างเป็นระบบซึ่งจะทำลายการเก็งกำไรที่ทำให้ราคาที่ดินพุ่งสูงจนเป็นภาระทั้งแก่คนเมืองและชนบท โดยเฉพาะเกษตรกรที่ยากจะเข้าถึงทรัพยากรหายาก (scarce resource) นี้ในห้วงเวลาที่ราคาที่ดินทั่วประเทศปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 15
นอกจากนั้นรัฐต้องกำหนดมาตรการจัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้าตามข้อเสนอคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) ด้วยจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการสร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากรที่ดินเพราะจะเป็นกลไกในการลดแรงจูงใจในการสะสมที่ดินไว้โดยไม่ทำประโยชน์และเก็งกำไร ในขณะเดียวกันก็ต้องมีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรก่อนที่ดินจะหลุดมือจากการเป็นหนี้สินและกว้านซื้อที่ดินโดยทุนใหญ่ ด้วยถึงที่สุดแล้วที่ดินถือเป็นเครื่องมือการผลิตและฐานชีวิตของประชาชนที่ไม่ควรถูกทอนคุณค่าเป็นสินค้าเสรีที่ง่ายต่อการถูกทุนและการเมืองฉกฉวยด้วยการใช้อำนาจเงินผสานอำนาจรัฐเข้ามากอบโกยโดยการบังคับใช้กฎหมายสองมาตรฐานที่รุกไล่ชาวบ้านแต่กลับออกเอกสารสิทธิ์อย่างฉ้อฉลแก่นายทุนหรือนักการเมือง
เนื่องจากการเมืองที่ถูกขับเคลื่อนโดยทุนนิยมเสรีที่มีตลาดทุนเป็นกลไกไม่เคยสร้างนักการเมืองที่มีเจตนารมณ์ทางการเมือง (political will) กล้าหาญพอจะกำหนดนโยบายใดๆ ที่ทำให้เกษตรกรรายย่อยมีโอกาสเข้าถึงและครอบครอง ‘ขุมทรัพย์’ ปัจจัยการผลิตต่างๆ ตั้งแต่ทรัพยากรเมล็ดพันธุ์ยันที่ดินได้ เพราะทุกพรรคที่อาสามาเป็นรัฐบาลล้วนได้รับการสนับสนุนทุนมหาศาลจากบรรษัทเกษตรและอาหารยักษ์ใหญ่ การปล่อยให้บรรษัทผูกขาดปัจจัยการผลิตโดยเฉพาะที่ดินต่อไปจึงไม่ต่างอะไรกับการต่ออายุอำนาจรัฐ
ทั้งนี้ การปฏิรูประบบเกษตรกรรมไม่ให้เหลื่อมล้ำไปกว่านี้ก็ต้องกำหนดมาตรการกำจัดเพดานการถือครองที่ดินเพื่อการเกษตรไม่เกิน 50 ไร่ต่อครัวเรือนเพื่อลดการกระจุกตัวของการถือครองที่ดิน และให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรอย่างแท้จริง ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มผลผลิตทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพจากการที่เกษตรกรรายย่อยที่เป็นหัวใจการผลิตและรากฐานวัฒนธรรมของประเทศไทยไม่เพียงมีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรที่ดินอย่างเท่าเทียมขึ้นมากจากการที่บรรษัทเกษตรและอาหารยักษ์ใหญ่ยอมคายที่ดินหลังจากต้องเสียภาษีในอัตราก้าวหน้า ทว่ายังสามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างเกษตรกรรมให้ทวีความเป็นธรรมขึ้นด้วย เพราะเข้าไปจัดความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างเกษตรกรรายย่อยกับบรรษัทเกษตรรายใหญ่ในระบบเกษตรพันธสัญญาเสียใหม่ให้มีสัญญาที่เป็นธรรม รับภาระความเสี่ยงเท่าเทียมกัน ที่สำคัญจากเคยถือครองที่ดินจำนวนมากแล้วจ้างเกษตรกรด้วยค่าแรงราคาถูกก็เปลี่ยนเป็นกระจายที่ดินให้เกษตรกรรายย่อยถือแทน แล้วใช้หลักธุรกิจบริหารให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันภายใต้แผนการผลิตและการตลาดที่จูงใจ
ในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการถือครองที่ดินยังจำเป็นต้องสร้างความโปร่งใสในการเข้าถึงข้อมูลที่ดินด้วยการจัดระบบฐานข้อมูลการถือครองที่ดินเพื่อการเกษตรทั้งประเทศให้เป็นข้อมูลสาธารณะเพื่อใช้ในการบริหารจัดการที่ดินให้เกิดประโยชน์และเกิดความเป็นธรรม รวมทั้งกำหนดเขตการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรอย่างชัดเจน โดยกำหนดให้ผู้ถือครองที่ดินดังกล่าวจะต้องเป็นผู้ทำการเกษตรด้วยตนเองเท่านั้น
ไม่เท่านั้นยังต้องจัดตั้งกองทุนธนาคารที่ดินเพื่อการเกษตรขึ้นมาทำหน้าที่จัดซื้อที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือที่มีการถือครองล้นเกินมาจัดสรรให้แก่เกษตรกรที่ขาดแคลนที่ดินทำกินด้วย
ถึงกระนั้นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องคลี่คลาย คือ การให้โอกาสและสิทธิคนจนที่ต้องคดีที่ดินเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทั้งจากข้อพิพาทระหว่างรัฐกับประชาชนและเอกชนกับประชาชน เพราะตัวเลขถึงปลายปีที่ผ่านมา มีเกษตรกรถูกดำเนินคดีและถูกคุมขังในเรือนจำหรือสภาพที่ต้องขังแล้ว 836 ราย หลายแสนครอบครัวข้นแค้นอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีเกี่ยวกับที่ดินและยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม โดยเสนอให้คดีที่ดินที่ศาลพิพากษาถึงที่สุดแล้วมีการพักโทษ ลดโทษ และคุมประพฤติ เกษตรกรกลับไปอยู่กับครอบครัวและทำกินในที่ดินเดิมได้ คดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาให้มีการจำหน่ายคดีชั่วคราว และอนุญาตให้ครอบครัวอยู่อาศัยทำกินในที่ดินเดิม ส่วนกรณียังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมให้ระงับการดำเนินการใดๆ ที่ทวีความเดือดร้อนรุนแรงแก่คนจนในระหว่างรอแก้ไขนโยบายรัฐ โดยเฉพาะชุมชนในเขตป่า
ด้วยถึงเวลาแล้วที่สังคมไทยต้องตั้งคำถามและถากถางความเป็นธรรมในการถือครองที่ดินร่วมกัน ด้วยขณะที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 134 คนจาก 480 คนถือครองที่ดินกว่า 100 ไร่ รวมกันทั้งสิ้น 6,418 แปลง 42,221 ไร่ มูลค่าที่ดินรวม 10,872 ล้านบาท แต่เกษตรกรไทยผู้มีอำนาจอธิปไตยในมือกลับไร้ที่ดินทำกินถึง 889,022 ราย มีที่ดินทำกินแต่ไม่เพียงพอ 517,263 ราย มีที่ดินแต่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ 811,279 ราย และต่อให้ขวนขวายแค่ไหนก็ไปไม่ถึงขุมทรัพย์สุดขอบฟ้าถ้านโยบายรัฐยังเอื้อแค่ทุน...หรือว่าพวกเขาต้องตายก่อนถึงจะได้ครอบครองที่ดินสักผืน!
ในความเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรมของการกระจายการถือครองที่ดินทำให้ร้อยละ 90 ของที่ดิน 120 ล้านไร่ที่ถูกครอบครองโดยประชาชนทั่วไปกระจุกอยู่ในมือคนแค่ร้อยละ 10 หรือ 6 ล้านคนเท่านั้น และร้อยละ 70 ของที่ดินที่ถือครองก็ถูกเก็บเก็งกำไรโดยปล่อยให้ทิ้งร้างว่างเปล่าไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่จนสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจปีละ 127,384 ล้านบาท ขณะเดียวกับที่เกษตรกรมหาศาล 4.8 ล้านคนกำลังต้องการที่ดินทำกินแค่สักผืน เพราะกว่าร้อยละ 40 ไม่มีที่ดินทำกินหรือมีที่ดินทำกินน้อยกว่า 10 ไร่
ภายใต้ปฏิบัติการขจัดความเหลื่อมล้ำจำต้องนำที่ดินรกชัฏที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์มาจัดสรรอย่างก้าวหน้าที่ไม่ใช่แนวทางสงเคราะห์เพื่อเกษตรกรเรือนล้านจะได้มีที่ดินทำกิน รวมถึงต้องควบคุมการเก็งกำไรซื้อขายที่ดินและการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ด้วยการวางแผนการใช้ที่ดินอย่างเป็นระบบซึ่งจะทำลายการเก็งกำไรที่ทำให้ราคาที่ดินพุ่งสูงจนเป็นภาระทั้งแก่คนเมืองและชนบท โดยเฉพาะเกษตรกรที่ยากจะเข้าถึงทรัพยากรหายาก (scarce resource) นี้ในห้วงเวลาที่ราคาที่ดินทั่วประเทศปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 15
นอกจากนั้นรัฐต้องกำหนดมาตรการจัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้าตามข้อเสนอคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) ด้วยจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการสร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากรที่ดินเพราะจะเป็นกลไกในการลดแรงจูงใจในการสะสมที่ดินไว้โดยไม่ทำประโยชน์และเก็งกำไร ในขณะเดียวกันก็ต้องมีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรก่อนที่ดินจะหลุดมือจากการเป็นหนี้สินและกว้านซื้อที่ดินโดยทุนใหญ่ ด้วยถึงที่สุดแล้วที่ดินถือเป็นเครื่องมือการผลิตและฐานชีวิตของประชาชนที่ไม่ควรถูกทอนคุณค่าเป็นสินค้าเสรีที่ง่ายต่อการถูกทุนและการเมืองฉกฉวยด้วยการใช้อำนาจเงินผสานอำนาจรัฐเข้ามากอบโกยโดยการบังคับใช้กฎหมายสองมาตรฐานที่รุกไล่ชาวบ้านแต่กลับออกเอกสารสิทธิ์อย่างฉ้อฉลแก่นายทุนหรือนักการเมือง
เนื่องจากการเมืองที่ถูกขับเคลื่อนโดยทุนนิยมเสรีที่มีตลาดทุนเป็นกลไกไม่เคยสร้างนักการเมืองที่มีเจตนารมณ์ทางการเมือง (political will) กล้าหาญพอจะกำหนดนโยบายใดๆ ที่ทำให้เกษตรกรรายย่อยมีโอกาสเข้าถึงและครอบครอง ‘ขุมทรัพย์’ ปัจจัยการผลิตต่างๆ ตั้งแต่ทรัพยากรเมล็ดพันธุ์ยันที่ดินได้ เพราะทุกพรรคที่อาสามาเป็นรัฐบาลล้วนได้รับการสนับสนุนทุนมหาศาลจากบรรษัทเกษตรและอาหารยักษ์ใหญ่ การปล่อยให้บรรษัทผูกขาดปัจจัยการผลิตโดยเฉพาะที่ดินต่อไปจึงไม่ต่างอะไรกับการต่ออายุอำนาจรัฐ
ทั้งนี้ การปฏิรูประบบเกษตรกรรมไม่ให้เหลื่อมล้ำไปกว่านี้ก็ต้องกำหนดมาตรการกำจัดเพดานการถือครองที่ดินเพื่อการเกษตรไม่เกิน 50 ไร่ต่อครัวเรือนเพื่อลดการกระจุกตัวของการถือครองที่ดิน และให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรอย่างแท้จริง ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มผลผลิตทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพจากการที่เกษตรกรรายย่อยที่เป็นหัวใจการผลิตและรากฐานวัฒนธรรมของประเทศไทยไม่เพียงมีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรที่ดินอย่างเท่าเทียมขึ้นมากจากการที่บรรษัทเกษตรและอาหารยักษ์ใหญ่ยอมคายที่ดินหลังจากต้องเสียภาษีในอัตราก้าวหน้า ทว่ายังสามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างเกษตรกรรมให้ทวีความเป็นธรรมขึ้นด้วย เพราะเข้าไปจัดความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างเกษตรกรรายย่อยกับบรรษัทเกษตรรายใหญ่ในระบบเกษตรพันธสัญญาเสียใหม่ให้มีสัญญาที่เป็นธรรม รับภาระความเสี่ยงเท่าเทียมกัน ที่สำคัญจากเคยถือครองที่ดินจำนวนมากแล้วจ้างเกษตรกรด้วยค่าแรงราคาถูกก็เปลี่ยนเป็นกระจายที่ดินให้เกษตรกรรายย่อยถือแทน แล้วใช้หลักธุรกิจบริหารให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันภายใต้แผนการผลิตและการตลาดที่จูงใจ
ในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการถือครองที่ดินยังจำเป็นต้องสร้างความโปร่งใสในการเข้าถึงข้อมูลที่ดินด้วยการจัดระบบฐานข้อมูลการถือครองที่ดินเพื่อการเกษตรทั้งประเทศให้เป็นข้อมูลสาธารณะเพื่อใช้ในการบริหารจัดการที่ดินให้เกิดประโยชน์และเกิดความเป็นธรรม รวมทั้งกำหนดเขตการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรอย่างชัดเจน โดยกำหนดให้ผู้ถือครองที่ดินดังกล่าวจะต้องเป็นผู้ทำการเกษตรด้วยตนเองเท่านั้น
ไม่เท่านั้นยังต้องจัดตั้งกองทุนธนาคารที่ดินเพื่อการเกษตรขึ้นมาทำหน้าที่จัดซื้อที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือที่มีการถือครองล้นเกินมาจัดสรรให้แก่เกษตรกรที่ขาดแคลนที่ดินทำกินด้วย
ถึงกระนั้นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องคลี่คลาย คือ การให้โอกาสและสิทธิคนจนที่ต้องคดีที่ดินเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทั้งจากข้อพิพาทระหว่างรัฐกับประชาชนและเอกชนกับประชาชน เพราะตัวเลขถึงปลายปีที่ผ่านมา มีเกษตรกรถูกดำเนินคดีและถูกคุมขังในเรือนจำหรือสภาพที่ต้องขังแล้ว 836 ราย หลายแสนครอบครัวข้นแค้นอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีเกี่ยวกับที่ดินและยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม โดยเสนอให้คดีที่ดินที่ศาลพิพากษาถึงที่สุดแล้วมีการพักโทษ ลดโทษ และคุมประพฤติ เกษตรกรกลับไปอยู่กับครอบครัวและทำกินในที่ดินเดิมได้ คดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาให้มีการจำหน่ายคดีชั่วคราว และอนุญาตให้ครอบครัวอยู่อาศัยทำกินในที่ดินเดิม ส่วนกรณียังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมให้ระงับการดำเนินการใดๆ ที่ทวีความเดือดร้อนรุนแรงแก่คนจนในระหว่างรอแก้ไขนโยบายรัฐ โดยเฉพาะชุมชนในเขตป่า
ด้วยถึงเวลาแล้วที่สังคมไทยต้องตั้งคำถามและถากถางความเป็นธรรมในการถือครองที่ดินร่วมกัน ด้วยขณะที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 134 คนจาก 480 คนถือครองที่ดินกว่า 100 ไร่ รวมกันทั้งสิ้น 6,418 แปลง 42,221 ไร่ มูลค่าที่ดินรวม 10,872 ล้านบาท แต่เกษตรกรไทยผู้มีอำนาจอธิปไตยในมือกลับไร้ที่ดินทำกินถึง 889,022 ราย มีที่ดินทำกินแต่ไม่เพียงพอ 517,263 ราย มีที่ดินแต่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ 811,279 ราย และต่อให้ขวนขวายแค่ไหนก็ไปไม่ถึงขุมทรัพย์สุดขอบฟ้าถ้านโยบายรัฐยังเอื้อแค่ทุน...หรือว่าพวกเขาต้องตายก่อนถึงจะได้ครอบครองที่ดินสักผืน!