วานนี้(15 ก.พ.)นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงข้อเสนอของนายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมการปฏิรูป เกี่ยวกับแนวทางปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร 5 ข้อ ว่า เนื่องจากข้อเสนอมีค่อนข้างเยอะ และมีรายละเอียดค่อนข้างมาก หลายเรื่องจะตรงกับที่รัฐบาลดำเนินการอยู่แล้ว เช่น กรณีของธนาคารที่ดิน ซึ่งในบางเรื่องก็ตรง แต่อาจจะมีความแตกต่างกันในรายละเอียด เช่น เรื่องภาษีทรัพย์สินและที่ดิน บางเรื่องก็ตรงกัน แต่ยังมีรายละเอียดในเชิงการปฏิบัติที่จะต้องไปทำที่คณะกรรมการปฏิรูป ใช้แนวเขตคุ้มครองพื้นที่ทางการเกษตร แต่รัฐบาลกำลังจะทำเขตเศรษฐกิจพิเศษทางด้านการเกษตร หลักคิดตรงกัน แต่ชื่อ และรายละเอียดอาจจะแตกต่างกันบ้าง และบางเรื่องยังเป็นเรื่องใหม่ในการที่จะไปดู ในแง่ปัญหาของกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะคดี ซึ่งมีขั้นตอนต่างๆ ฉะนั้นในหลักการโดยภาพรวมตรงกันอยู่แล้ว จะให้ไปดูรายละเอียดซึ่งจะให้นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เชิญรัฐมนตรีของกระทรวงที่เกี่ยวข้องทุกกระทรวง เช่น กระทรวงยุติธรรม กระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงมหาดไทย ให้มาประชุมกัน แล้วสรุปทำเป็นตารางว่า แต่ละมาตรการที่เสนอตรงหรือไม่ ตรงกับสิ่งที่รัฐบาลดำเนินการอย่างไร มาให้ครม. ภายใน 2 สัปดาห์
ผู้สื่อข่าวถามว่า ภายในรัฐบาลชุดนี้ จะได้เห็นผลเกี่ยวกับการดำเนินการหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้ข้อยุติในเชิงนโยบายชัดเจน เมื่อถามว่าในส่วนที่มีการพูดถึงการเผยแพร่ข้อมูลในการครอบครองที่ดิน ครม.เห็นเรื่องนี้อย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่น่าเป็นปัญหา เพราะว่าเมื่อเราออกภาษีทรัพย์สิน และที่ดินอยู่แล้ว ข้อมูลตรงนี้ก็จะต้องเป็นข้อมูลที่เปิดเผย
ทั้งนี้ นายอานันท์ ปันยารชุน ประธานกรรมการปฏิรูป ได้เสนอ ครม.เกี่ยวกับแนวทางการปฏิรูปการจัดการที่ดินเพื่อการเกษตร 5 ข้อ คือ 1.ให้มีการจำกัดเพดานการถือครองที่ดินเพื่อการเกษตรไว้ไม่เกิน 50 ไร่ต่อครัวเรือน 2.ให้มีการจัดระบบข้อมูลการถือครองที่ดินเพื่อการเกษตรทั้งประเทศเป็นข้อมูล สาธารณะ 3.ให้จัดตั้งกองทุนธนาคารที่ดินเพื่อการเกษตรขึ้น 4. ให้มีการจัดเก็บภาษีที่ดินเกษตรกรรมในอัตราก้าวหน้าที่ดินต่ำขนาดกว่า 10ไร่ให้เสียภาษี 0.03% ที่ดิน 10-50 ไร่ เสียภาษี 0.1% สำหรับที่ดินปล่อยทิ้งร้างหรือเกินจาก 50 % ให้เสียภาษีอัตราก้าวหน้าสูง 5% และ5. ให้มีการกำหนดเขตการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตร
**ทส.ขวางปฏิรูปฯส่งเสริมชาวบ้านรุกป่า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้เสนอความเห็นต่อข้อเสนอปฏิรูปการจัดการที่ดินเพื่อการเกษตรให้ครม. ทราบว่า กรณีคดีที่ดินที่ปัญหายังไม่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามที่คณะกรรมการปฏิรูปเสนอ ให้ระงับการขยายเขตพื้นที่อนุรักษ์ หรือระงับการจับกุมประชาชนที่ทำกินอยู่ในพื้นที่ขัดแย้งเดิมที่ไม่ใช่การถางป่าใหม่ หรือระงับการจำกัดการพัฒนาชุมชนขั้นพื้นฐานที่จำเป็น ทางกระทรวงฯเห็นว่าจะเป็นการส่งเสริมทางอ้อมให้มีการบุกรุกพื้นที่ของรัฐ และการฟ้องร้องดำเนินคดีเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
สำหรับการให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อการเกษตรกับเกษตรกรที่ทำเกษตรด้วยตัวเองจะต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงว่าเกษตรกรรายใดทำการเกษตรด้วยตัวเองและต้องมีคำจำกัดความของเกษตรกรต้องชัดเจน รวมถึงต้องมีการตรวจสอบอย่างจริงจัง และการจัดตั้งกองทุนธนาคารที่ดินเพื่อการเกษตร จะซ้ำซ้อนกับการจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการที่ดิน ตามร่างพ.ร.ฎ.การจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์กรมหาชน) ของกระทวงมหาดไทย
**กษ.หนุนเปิดข้อมูลทะเบียนที่ดิน
ทั้งนี้กระทรวงที่เกี่ยวข้องอื่นให้ความเห็น เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เห็นด้วยกับแนวทางการปฏิรูปด้วยการเปิดเผยข้อมูลทะเบียนที่ดินทั้งระบบมิใช่เฉพาะที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมและควรมีแผนแม่บทของชาติเพื่อผลิตบุคลากรในสาขาอาชีพต่างๆมาพิจารณาใช้ที่ดินแต่ละจังหวัดและท้องถิ่น รวมถึงการจัดซื้อที่ดินปีละ 1 แสนล้านบาทรวม 5 ปีเป็นเงิน 5 แสนล้านบาท
อีกทั้งสนับสนุนให้มีองค์กรที่เกี่ยวกับที่ดินเพียงองค์กรเดียวภายใต้กฎหมายฉบับเดียวจะได้เป็นไปทิศทางเดียวกัน และควรปรับปรุงประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อไม่ให้เกษตรกรจะไม่สูญเสียที่ดิน แต่ต้องพัฒนาให้เกษตรกรมีรายได้ที่ดีและไม่ขายที่ดิน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ภายในรัฐบาลชุดนี้ จะได้เห็นผลเกี่ยวกับการดำเนินการหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้ข้อยุติในเชิงนโยบายชัดเจน เมื่อถามว่าในส่วนที่มีการพูดถึงการเผยแพร่ข้อมูลในการครอบครองที่ดิน ครม.เห็นเรื่องนี้อย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่น่าเป็นปัญหา เพราะว่าเมื่อเราออกภาษีทรัพย์สิน และที่ดินอยู่แล้ว ข้อมูลตรงนี้ก็จะต้องเป็นข้อมูลที่เปิดเผย
ทั้งนี้ นายอานันท์ ปันยารชุน ประธานกรรมการปฏิรูป ได้เสนอ ครม.เกี่ยวกับแนวทางการปฏิรูปการจัดการที่ดินเพื่อการเกษตร 5 ข้อ คือ 1.ให้มีการจำกัดเพดานการถือครองที่ดินเพื่อการเกษตรไว้ไม่เกิน 50 ไร่ต่อครัวเรือน 2.ให้มีการจัดระบบข้อมูลการถือครองที่ดินเพื่อการเกษตรทั้งประเทศเป็นข้อมูล สาธารณะ 3.ให้จัดตั้งกองทุนธนาคารที่ดินเพื่อการเกษตรขึ้น 4. ให้มีการจัดเก็บภาษีที่ดินเกษตรกรรมในอัตราก้าวหน้าที่ดินต่ำขนาดกว่า 10ไร่ให้เสียภาษี 0.03% ที่ดิน 10-50 ไร่ เสียภาษี 0.1% สำหรับที่ดินปล่อยทิ้งร้างหรือเกินจาก 50 % ให้เสียภาษีอัตราก้าวหน้าสูง 5% และ5. ให้มีการกำหนดเขตการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตร
**ทส.ขวางปฏิรูปฯส่งเสริมชาวบ้านรุกป่า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้เสนอความเห็นต่อข้อเสนอปฏิรูปการจัดการที่ดินเพื่อการเกษตรให้ครม. ทราบว่า กรณีคดีที่ดินที่ปัญหายังไม่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามที่คณะกรรมการปฏิรูปเสนอ ให้ระงับการขยายเขตพื้นที่อนุรักษ์ หรือระงับการจับกุมประชาชนที่ทำกินอยู่ในพื้นที่ขัดแย้งเดิมที่ไม่ใช่การถางป่าใหม่ หรือระงับการจำกัดการพัฒนาชุมชนขั้นพื้นฐานที่จำเป็น ทางกระทรวงฯเห็นว่าจะเป็นการส่งเสริมทางอ้อมให้มีการบุกรุกพื้นที่ของรัฐ และการฟ้องร้องดำเนินคดีเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
สำหรับการให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อการเกษตรกับเกษตรกรที่ทำเกษตรด้วยตัวเองจะต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงว่าเกษตรกรรายใดทำการเกษตรด้วยตัวเองและต้องมีคำจำกัดความของเกษตรกรต้องชัดเจน รวมถึงต้องมีการตรวจสอบอย่างจริงจัง และการจัดตั้งกองทุนธนาคารที่ดินเพื่อการเกษตร จะซ้ำซ้อนกับการจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการที่ดิน ตามร่างพ.ร.ฎ.การจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์กรมหาชน) ของกระทวงมหาดไทย
**กษ.หนุนเปิดข้อมูลทะเบียนที่ดิน
ทั้งนี้กระทรวงที่เกี่ยวข้องอื่นให้ความเห็น เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เห็นด้วยกับแนวทางการปฏิรูปด้วยการเปิดเผยข้อมูลทะเบียนที่ดินทั้งระบบมิใช่เฉพาะที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมและควรมีแผนแม่บทของชาติเพื่อผลิตบุคลากรในสาขาอาชีพต่างๆมาพิจารณาใช้ที่ดินแต่ละจังหวัดและท้องถิ่น รวมถึงการจัดซื้อที่ดินปีละ 1 แสนล้านบาทรวม 5 ปีเป็นเงิน 5 แสนล้านบาท
อีกทั้งสนับสนุนให้มีองค์กรที่เกี่ยวกับที่ดินเพียงองค์กรเดียวภายใต้กฎหมายฉบับเดียวจะได้เป็นไปทิศทางเดียวกัน และควรปรับปรุงประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อไม่ให้เกษตรกรจะไม่สูญเสียที่ดิน แต่ต้องพัฒนาให้เกษตรกรมีรายได้ที่ดีและไม่ขายที่ดิน