ASTVผู้จัดการรายวัน - ปตท.ประกาศรุกธุรกิจค้าปลีกน้ำมันในอาเซียนรองรับการเปิดเสรีAECในอีก 4ปีข้างหน้า โดยจะเน้นทำปั๊มปตท.ในถนนและเมืองใหญ่ในประเทศอาเซียน คาดใช้เงินลงทุน 1 พันล้านบาทในอีก 5ปีข้างหน้าหวังครองส่วนแบ่งตลาดอันดับ 2 ในแต่ละประเทศ จี้รัฐบาลชุดใหม่เร่งปรับแผนPDPใหม่เพื่อรู้ความต้องการใช้ก๊าซฯเพื่อผลิตไฟฟ้าที่แน่นอน พร้อมล้มแผนความร่วมมือระหว่างปตท.กับโตเกียว แก๊ส หลังญี่ปุ่นประสบปัญหาสึนามิทำให้มีการนำเข้าแอลเอ็นจีจำนวนมาก
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า ในปี2558 ไทยจะเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)ทำให้มีการเคลื่อนย้ายทุนและแรงงานได้อย่างเสรี การเดินทางระหว่างประเทศของกลุ่มAECจะสะดวกขึ้น ปตท.ในฐานะบริษัทพลังงานของคนไทย ได้วางเป้าหมายการเป็นทำธุรกิจค้าปลีกน้ำมันในภูมิภาคอาเซียน(Regional TopBrand )ภายใน 5-10ปีข้างหน้า หลังจากบริษัทฯมีส่วนแบ่งการตลาดครองอันดับ 1 ในไทยมานานหลายปี
ดังนั้นในอนาคตจะเห็นสถานีบริการน้ำมันปตท.ในถนนสายหลักหรือเมืองใหญ่ในประเทศอาเซียนหลายร้อยสถานีซึ่งรูปแบบการขยายสถานีบริการน้ำมันไปในภูมิภาคอาเซียนนั้นจะเป็นการลงทุนเองของปตท.หรือการร่วมมือพันธมิตรท้องถิ่น จะเป็นการทยอยการลงทุน เนื่องจากธุรกิจค้าปลีกน้ำมันมีมาร์จินต่ำดังนั้นจะมีการนำธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำมัน (นอนออยล์)เข้าไปทำตลาดด้วย อาทิ น้ำมันเครื่อง ซึ่งปัจจุบันปตท.มีปั๊มน้ำมันอยู่ที่ลาวและกัมพูชาแล้วเช่นเดียวกับฟิลิปปินส์ แต่เนื่องจากฟิลิปปินส์ไม่มีพื้นที่เชื่อมต่อกันดังนั้นปั๊มน้ำมันปตท.ส่วนใหญ่ในฟิลิปปินส์เป็นการลงทุนของดีลเลอร์
นับจากนี้มองลู่ทางการลงทุนปั๊มน้ำมันที่พม่าและจีนตอนใต้ ส่วนเวียดนามนั้นยังต้องรอนโยบายรัฐที่จะส่งเสริมให้เอกชนเข้ามาลงทุนทำปั๊มน้ำมันได้ โดยเชื่อว่าเมื่อมีการรวมตัวเป็นAEC ทางเวียดนามก็จะเปิดเสรีค้าปลีกน้ำมันมากขึ้น
นายสรัญ รังคสิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในช่วง 3-5 ปี บริษัทมีแผนขยายปั๊มน้ำมันในภูมิภาคใช้เงินลงทุน 1 พันล้านบาท เน้นไปที่ลาว กัมพูชา ฟิลิปินส์ และพม่า รวมไปถึงเวียดนามและจีนตอนใต้ โดยตั้งเป้าหมายขยายปั๊มน้ำมันในประเทศดังกล่าว 40-50 ปั๊มภายใน 5ปี โดยมีเป้าหมายส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 2รองจากบริษัทน้ำมันแห่งชาติของประเทศนั้นๆ
นายประเสริฐ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้บริษัทฯอยู่ระหว่างรอความชัดเจนการปรับแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าใหม่ (พีดีพี) เพื่อให้ทราบถึงความต้องการก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าที่แน่นอน หลังจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติให้มีการเลื่อนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ออกไป
ซึ่งปริมาณความต้องการใช้ก๊าซฯในภาคขนส่งก็มีการขยายตัวเช่นกันทำให้ปริมาณก๊าซฯไม่เพียงพอที่จะป้อนโรงไฟฟ้าใหม่ ทำให้ปตท.ต้องตัดสินใจว่าจะเดินหน้าลงทุนโครงการสถานีรับก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ แอลเอ็นจี รีซีฟวิ่ง เทอร์มินอลเฟส 2หรือไม่
“เราอยากให้รัฐบาลชุดใหม่มีความชัดเจนในการปรับแผนพีดีพีใหม่ว่าจะใช้เชื้อเพลิงใดบ้างในการผลิตไฟฟ้า หลังจากเลื่อนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ออกไป ทำให้ความต้องการใช้ก๊าซฯเพิ่มมากขึ้น ทำให้ปตท.ต้องนำเข้า LNGจากต่างประเทศเข้ามาใช้ในการผลิตไฟฟ้า เนื่องจากก๊าซฯในอ่าวไทยและประเทศเพื่อนบ้านไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ หากความต้องการใช้ก๊าซฯในภาคการขนส่งเติบโตปีละ 10% จากเดิมใช้ 200 ล้านลบ.ฟุต/วันเป็น250-300 ล้านลบ.ฟุต/วันในปีนี้ไทยจะนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG)ประมาณ 1 ล้านตันจากปัจจุบันโครงการสถานีรับก๊าซธรรมชาติเหลว เฟสแรก มีกำลังผลิต 5 ล้านตัน หากจะขยายโครงการฯเฟส 2 อีก 5 ล้านตัน เป็นเรื่องที่รัฐบาลชุดใหม่ต้องพิจารณาอย่างเร่งด่วนภายในปีนี้ เพราะต้องใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 5ปี โดยประเมินว่าโครงการเฟสแรกจะใช้เต็มกำลังการผลิตไม่เกิน 5ปีข้างหน้า"
ล้มแผนจับมือนำเข้าLNGกับโตเกียว แก๊ส
นายประเสริฐ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้บริษัทฯได้ล้มแผนการจับมือกับโตเกียว แก๊ส ประเทศญี่ปุ่นในการนำเข้า LNG หลังจากญี่ปุ่นประสบปัญหาแผ่นดินไหวและสึนามิ ทำให้ญี่ปุ่นต้องนำเข้าLNG เพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งในหลายประเทศทบทวนในการใช้พลังงานดังกล่าวและหันมาใช้LNGมากขึ้นในการผลิตไฟฟ้า ทำให้ไทยจะต้องมีการเตรียมความพร้อมในการซื้อLNG เช่นกัน ซึ่งปัจจุบันไทยมีการนำเข้าจากตะวันออกกลางผ่านตลาดซื้อขายล่วงหน้า จึงจำเป็นต้องมองหาแหล่งนำเข้าLNGเพิ่มเติม เช่น สหรัฐอเมริกา
ก่อนหน้านี้ ปตท.ได้หารือความร่วมมือในการเจรจาซื้อก๊าซธรรมชาติเหลวกับโตเกียว แก๊ส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่นำเข้าLNGรายใหญ่ของโลก ซึ่งการร่วมมือกันของ 2 บริษัทฯมีแผนที่จะเจรจาซื้อLNG ร่วมกันเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองในฐานะผู้ซื้อกับ ผู้ขายในตลาดโลก โดยในช่วงฤดูหนาวของประเทศญี่ปุ่นจะมีความต้องการใช้LNGเป็นจำนวน มาก แต่ในฤดูร้อนกลับพบว่า มีการใช้LNGลดลง และจะใช้ช่วงเวลาที่ไทยมีความต้องการใช้LNGมาก
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า ในปี2558 ไทยจะเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)ทำให้มีการเคลื่อนย้ายทุนและแรงงานได้อย่างเสรี การเดินทางระหว่างประเทศของกลุ่มAECจะสะดวกขึ้น ปตท.ในฐานะบริษัทพลังงานของคนไทย ได้วางเป้าหมายการเป็นทำธุรกิจค้าปลีกน้ำมันในภูมิภาคอาเซียน(Regional TopBrand )ภายใน 5-10ปีข้างหน้า หลังจากบริษัทฯมีส่วนแบ่งการตลาดครองอันดับ 1 ในไทยมานานหลายปี
ดังนั้นในอนาคตจะเห็นสถานีบริการน้ำมันปตท.ในถนนสายหลักหรือเมืองใหญ่ในประเทศอาเซียนหลายร้อยสถานีซึ่งรูปแบบการขยายสถานีบริการน้ำมันไปในภูมิภาคอาเซียนนั้นจะเป็นการลงทุนเองของปตท.หรือการร่วมมือพันธมิตรท้องถิ่น จะเป็นการทยอยการลงทุน เนื่องจากธุรกิจค้าปลีกน้ำมันมีมาร์จินต่ำดังนั้นจะมีการนำธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำมัน (นอนออยล์)เข้าไปทำตลาดด้วย อาทิ น้ำมันเครื่อง ซึ่งปัจจุบันปตท.มีปั๊มน้ำมันอยู่ที่ลาวและกัมพูชาแล้วเช่นเดียวกับฟิลิปปินส์ แต่เนื่องจากฟิลิปปินส์ไม่มีพื้นที่เชื่อมต่อกันดังนั้นปั๊มน้ำมันปตท.ส่วนใหญ่ในฟิลิปปินส์เป็นการลงทุนของดีลเลอร์
นับจากนี้มองลู่ทางการลงทุนปั๊มน้ำมันที่พม่าและจีนตอนใต้ ส่วนเวียดนามนั้นยังต้องรอนโยบายรัฐที่จะส่งเสริมให้เอกชนเข้ามาลงทุนทำปั๊มน้ำมันได้ โดยเชื่อว่าเมื่อมีการรวมตัวเป็นAEC ทางเวียดนามก็จะเปิดเสรีค้าปลีกน้ำมันมากขึ้น
นายสรัญ รังคสิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในช่วง 3-5 ปี บริษัทมีแผนขยายปั๊มน้ำมันในภูมิภาคใช้เงินลงทุน 1 พันล้านบาท เน้นไปที่ลาว กัมพูชา ฟิลิปินส์ และพม่า รวมไปถึงเวียดนามและจีนตอนใต้ โดยตั้งเป้าหมายขยายปั๊มน้ำมันในประเทศดังกล่าว 40-50 ปั๊มภายใน 5ปี โดยมีเป้าหมายส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 2รองจากบริษัทน้ำมันแห่งชาติของประเทศนั้นๆ
นายประเสริฐ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้บริษัทฯอยู่ระหว่างรอความชัดเจนการปรับแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าใหม่ (พีดีพี) เพื่อให้ทราบถึงความต้องการก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าที่แน่นอน หลังจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติให้มีการเลื่อนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ออกไป
ซึ่งปริมาณความต้องการใช้ก๊าซฯในภาคขนส่งก็มีการขยายตัวเช่นกันทำให้ปริมาณก๊าซฯไม่เพียงพอที่จะป้อนโรงไฟฟ้าใหม่ ทำให้ปตท.ต้องตัดสินใจว่าจะเดินหน้าลงทุนโครงการสถานีรับก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ แอลเอ็นจี รีซีฟวิ่ง เทอร์มินอลเฟส 2หรือไม่
“เราอยากให้รัฐบาลชุดใหม่มีความชัดเจนในการปรับแผนพีดีพีใหม่ว่าจะใช้เชื้อเพลิงใดบ้างในการผลิตไฟฟ้า หลังจากเลื่อนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ออกไป ทำให้ความต้องการใช้ก๊าซฯเพิ่มมากขึ้น ทำให้ปตท.ต้องนำเข้า LNGจากต่างประเทศเข้ามาใช้ในการผลิตไฟฟ้า เนื่องจากก๊าซฯในอ่าวไทยและประเทศเพื่อนบ้านไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ หากความต้องการใช้ก๊าซฯในภาคการขนส่งเติบโตปีละ 10% จากเดิมใช้ 200 ล้านลบ.ฟุต/วันเป็น250-300 ล้านลบ.ฟุต/วันในปีนี้ไทยจะนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG)ประมาณ 1 ล้านตันจากปัจจุบันโครงการสถานีรับก๊าซธรรมชาติเหลว เฟสแรก มีกำลังผลิต 5 ล้านตัน หากจะขยายโครงการฯเฟส 2 อีก 5 ล้านตัน เป็นเรื่องที่รัฐบาลชุดใหม่ต้องพิจารณาอย่างเร่งด่วนภายในปีนี้ เพราะต้องใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 5ปี โดยประเมินว่าโครงการเฟสแรกจะใช้เต็มกำลังการผลิตไม่เกิน 5ปีข้างหน้า"
ล้มแผนจับมือนำเข้าLNGกับโตเกียว แก๊ส
นายประเสริฐ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้บริษัทฯได้ล้มแผนการจับมือกับโตเกียว แก๊ส ประเทศญี่ปุ่นในการนำเข้า LNG หลังจากญี่ปุ่นประสบปัญหาแผ่นดินไหวและสึนามิ ทำให้ญี่ปุ่นต้องนำเข้าLNG เพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งในหลายประเทศทบทวนในการใช้พลังงานดังกล่าวและหันมาใช้LNGมากขึ้นในการผลิตไฟฟ้า ทำให้ไทยจะต้องมีการเตรียมความพร้อมในการซื้อLNG เช่นกัน ซึ่งปัจจุบันไทยมีการนำเข้าจากตะวันออกกลางผ่านตลาดซื้อขายล่วงหน้า จึงจำเป็นต้องมองหาแหล่งนำเข้าLNGเพิ่มเติม เช่น สหรัฐอเมริกา
ก่อนหน้านี้ ปตท.ได้หารือความร่วมมือในการเจรจาซื้อก๊าซธรรมชาติเหลวกับโตเกียว แก๊ส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่นำเข้าLNGรายใหญ่ของโลก ซึ่งการร่วมมือกันของ 2 บริษัทฯมีแผนที่จะเจรจาซื้อLNG ร่วมกันเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองในฐานะผู้ซื้อกับ ผู้ขายในตลาดโลก โดยในช่วงฤดูหนาวของประเทศญี่ปุ่นจะมีความต้องการใช้LNGเป็นจำนวน มาก แต่ในฤดูร้อนกลับพบว่า มีการใช้LNGลดลง และจะใช้ช่วงเวลาที่ไทยมีความต้องการใช้LNGมาก