ASTVผู้จัดการรายวัน – ธ.ก.ส.กาง 2 นโยบาย 2 พรรค เปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย “ประกันราคา – รับจำนำ” พืชผลทางการเกษตร ระบุประกันรายได้เกษตรกรใช้เงินน้อยกว่าจำนำ มีผู้ได้รับประโยชน์มากกว่า ยอมรับรัฐบาลใหม่เป็นผู้ตัดสินใจ
แหล่งข่าวจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผว่า ธ.ก.ส.ได้สรุปผลการดำเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตรกรและโครงการรับจำนำผลผลิตเกษตรที่พรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทยใช้เป็นนโยบายในการหาเสียง เพื่อเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย ต่อการดำเนินงานของธ.ก.ส. ใน 4 ด้าน เพื่อเป็นข้อมูลไว้เสนอรัฐบาลใหม่พิจารณา
“เห็นได้ชัดเจนว่าการรับประกันรายได้เกษตรกรนั้น มีตัวเลขแสดงได้ว่า รัฐใช้เงินน้อยกว่าการรับจำนำ ขณะที่มีผู้ได้รับประโยชน์มากกว่าด้วย ซึ่งนับเป็นข้อดีที่สำคัญต่อการดำเนินงานของธ.ก.ส.ด้วย เพราะใช้เงินไม่ถึง 50,000 ล้านบาท แต่มีผู้ได้ประโยชน์มากกว่า 4 ล้านราย ขณะที่การรับจำนำนั้น มีเกษตรกรผู้ได้รับประโยชน์เพียง 1 ล้านกว่ารายเท่านั้น แต่รัฐบาลต้องใช้เงินมากกว่า 100,000 ล้านบาท นี่ยังไม่รวมประเด็นอื่น ๆ โดยเฉพาะการทุจริต การสวมสิทธิ์การรับจำนำต่างๆ ”
สำหรับโครงการรับจำนำผลผลิตเกษตรกรปี 51/52 ที่ผ่านมานั้น มีเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์ 1.314 ล้านราย มีผลผลิตเข้าร่วมโครงการ 4 ชนิดรวม 23.17 ล้านตัน คือ ข้าวเปลือกนาปี มันสำปะหลัง ข้าวโพดสัตว์เลี้ยง และข้าวเปลือกนาปรัง ซึ่งเกษตรกรได้รับเงินรวมทั้งสิ้น 161,051.12 ล้านบาท ทั้งนี้ได้ประมาณการภาระขาดทุนโดยไม่รวมค่าใช้จ่ายดำเนินงาน 53,997.93 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้งสิ้น 17,096.86 ล้านบาท
ขณะที่โครงการประกันรายได้เกษตรกรปี 52/53 ครม.ได้อนุมัติงบประมาณ 40,000 ล้านบาท มีเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์ 4.907 ล้านราย มีผลผลิตเข้าร่วมโครงการทั้ง 4 ชนิด 58.15 ล้านตัน เกษตรกรได้รับเงินรวมทั้งสิ้น 54,66.363 ล้านบาท ขณะที่มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 2,475.38 ล้านบาท
ส่วนการประกันรายได้เกษตรกรปี 53/54 ครม.ได้อนุมัติวงเงิน 45,270.89 ล้านบาท มีเกษตรกรที่ได้รับผลประโยชน์ 5.488 ล้านราย มีผลผลิตเข้าร่วมโครงการ 68.3 ล้านตัน เกษตรกรได้รับเงินทั้งสิ้น 62,223.45 ล้านบาท ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานนั้นยังไม่สามารถสรุปได้ มีเบื้องต้นที่ ธ.ก.ส.จ่ายไปแล้ว 2,257 ล้านบาท
ข้อเสียของการรับจำนำนั้น มี 6 ประเด็นหลัก คือ เกิดภาระขาดทุนที่รัฐต้องจัดสรรงบประมาณชดเชยภายหลัง โดยไม่ทราบภาระหนี้ทั้งหมดจนกว่าจะระบายผลผลิตหมด มีแรงกดดันทำให้รัฐบาลกำหนดราคารับจำนำสูงกว่าราคาตลาด และมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทำให้เกิดภาระขาดทุน เป็นภาระในการจัดสรรงบประมาณ ที่สำคัญ การกำหนดราคารับจำนำสูงทำให้เกิดแรงจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มรอบการผลิตมากขึ้น รัฐบาลก็ต้องเพิ่มงบประมาณในการรับจำนำทุกปี ขณะที่เกษตรกรจะปลูกข้าวอายุสั้น เพื่อให้เข้าร่วมโครงการได้หลายรอบ ส่งผลให้คุณภาพข้าวลดลงเรื่อยๆ
ที่สำคัญ ผู้ที่ได้รับประโยชน์ส่วนใหญ่คือเกษตรกรที่มีฐานะดีในเขตชลประทาน ธุรกิจโรงสี คลังสินค้ากลาง เซอร์เวย์เยอร์ และผู้ส่งออกข้าวเท่านั้น การที่รัฐบาลเป็นผู้ค้าขายข้าวรายใหญ่นั้น ทำให้เกิดการบิดเบือนราคาตลาด ท้ายสุดราคาข้าวไทยจะสูงกว่าคู่แข่ง ทำให้สูญเสียตลาดส่งออก และที่สำคัญที่สุด มีโอกาสเกิดการทุจริตได้ในทุกขั้นตอนการดำเนินงาน
อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของการรับประกันนั้นก็มี เช่น มีโอกาสเกิดการทุจริตในขั้นตอนการขึ้นทะเบียนเกษตรกร การรับรองพื้นที และปริมาณผลผลิต อีกทั้งหากกำหนดราคารับประกันสูง จะทำให้เกิดแรงจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มเนื้อที่การผลิต หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเพิ่มบุคลากรจำนวนมากมาสนับสนุนการดำเนินงาน หากราคาผลผลิตตกต่ำมาก จะเป็นภาระของรัฐบาลในการจัดหาเงินทุนมาชดเชยเกษตรกร โดยเฉพาะการร่วมมือกันกดดันราคาของผู้ค้า และเกษตรกรที่ไม่ได้รับเงินชดเชยส่วนต่าง หรือได้รับเงินชดเชยต่ำ ก็จะเรียกร้องให้ได้รับเงินชดเชยสูงขึ้น.
แหล่งข่าวจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผว่า ธ.ก.ส.ได้สรุปผลการดำเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตรกรและโครงการรับจำนำผลผลิตเกษตรที่พรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทยใช้เป็นนโยบายในการหาเสียง เพื่อเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย ต่อการดำเนินงานของธ.ก.ส. ใน 4 ด้าน เพื่อเป็นข้อมูลไว้เสนอรัฐบาลใหม่พิจารณา
“เห็นได้ชัดเจนว่าการรับประกันรายได้เกษตรกรนั้น มีตัวเลขแสดงได้ว่า รัฐใช้เงินน้อยกว่าการรับจำนำ ขณะที่มีผู้ได้รับประโยชน์มากกว่าด้วย ซึ่งนับเป็นข้อดีที่สำคัญต่อการดำเนินงานของธ.ก.ส.ด้วย เพราะใช้เงินไม่ถึง 50,000 ล้านบาท แต่มีผู้ได้ประโยชน์มากกว่า 4 ล้านราย ขณะที่การรับจำนำนั้น มีเกษตรกรผู้ได้รับประโยชน์เพียง 1 ล้านกว่ารายเท่านั้น แต่รัฐบาลต้องใช้เงินมากกว่า 100,000 ล้านบาท นี่ยังไม่รวมประเด็นอื่น ๆ โดยเฉพาะการทุจริต การสวมสิทธิ์การรับจำนำต่างๆ ”
สำหรับโครงการรับจำนำผลผลิตเกษตรกรปี 51/52 ที่ผ่านมานั้น มีเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์ 1.314 ล้านราย มีผลผลิตเข้าร่วมโครงการ 4 ชนิดรวม 23.17 ล้านตัน คือ ข้าวเปลือกนาปี มันสำปะหลัง ข้าวโพดสัตว์เลี้ยง และข้าวเปลือกนาปรัง ซึ่งเกษตรกรได้รับเงินรวมทั้งสิ้น 161,051.12 ล้านบาท ทั้งนี้ได้ประมาณการภาระขาดทุนโดยไม่รวมค่าใช้จ่ายดำเนินงาน 53,997.93 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้งสิ้น 17,096.86 ล้านบาท
ขณะที่โครงการประกันรายได้เกษตรกรปี 52/53 ครม.ได้อนุมัติงบประมาณ 40,000 ล้านบาท มีเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์ 4.907 ล้านราย มีผลผลิตเข้าร่วมโครงการทั้ง 4 ชนิด 58.15 ล้านตัน เกษตรกรได้รับเงินรวมทั้งสิ้น 54,66.363 ล้านบาท ขณะที่มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 2,475.38 ล้านบาท
ส่วนการประกันรายได้เกษตรกรปี 53/54 ครม.ได้อนุมัติวงเงิน 45,270.89 ล้านบาท มีเกษตรกรที่ได้รับผลประโยชน์ 5.488 ล้านราย มีผลผลิตเข้าร่วมโครงการ 68.3 ล้านตัน เกษตรกรได้รับเงินทั้งสิ้น 62,223.45 ล้านบาท ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานนั้นยังไม่สามารถสรุปได้ มีเบื้องต้นที่ ธ.ก.ส.จ่ายไปแล้ว 2,257 ล้านบาท
ข้อเสียของการรับจำนำนั้น มี 6 ประเด็นหลัก คือ เกิดภาระขาดทุนที่รัฐต้องจัดสรรงบประมาณชดเชยภายหลัง โดยไม่ทราบภาระหนี้ทั้งหมดจนกว่าจะระบายผลผลิตหมด มีแรงกดดันทำให้รัฐบาลกำหนดราคารับจำนำสูงกว่าราคาตลาด และมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทำให้เกิดภาระขาดทุน เป็นภาระในการจัดสรรงบประมาณ ที่สำคัญ การกำหนดราคารับจำนำสูงทำให้เกิดแรงจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มรอบการผลิตมากขึ้น รัฐบาลก็ต้องเพิ่มงบประมาณในการรับจำนำทุกปี ขณะที่เกษตรกรจะปลูกข้าวอายุสั้น เพื่อให้เข้าร่วมโครงการได้หลายรอบ ส่งผลให้คุณภาพข้าวลดลงเรื่อยๆ
ที่สำคัญ ผู้ที่ได้รับประโยชน์ส่วนใหญ่คือเกษตรกรที่มีฐานะดีในเขตชลประทาน ธุรกิจโรงสี คลังสินค้ากลาง เซอร์เวย์เยอร์ และผู้ส่งออกข้าวเท่านั้น การที่รัฐบาลเป็นผู้ค้าขายข้าวรายใหญ่นั้น ทำให้เกิดการบิดเบือนราคาตลาด ท้ายสุดราคาข้าวไทยจะสูงกว่าคู่แข่ง ทำให้สูญเสียตลาดส่งออก และที่สำคัญที่สุด มีโอกาสเกิดการทุจริตได้ในทุกขั้นตอนการดำเนินงาน
อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของการรับประกันนั้นก็มี เช่น มีโอกาสเกิดการทุจริตในขั้นตอนการขึ้นทะเบียนเกษตรกร การรับรองพื้นที และปริมาณผลผลิต อีกทั้งหากกำหนดราคารับประกันสูง จะทำให้เกิดแรงจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มเนื้อที่การผลิต หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเพิ่มบุคลากรจำนวนมากมาสนับสนุนการดำเนินงาน หากราคาผลผลิตตกต่ำมาก จะเป็นภาระของรัฐบาลในการจัดหาเงินทุนมาชดเชยเกษตรกร โดยเฉพาะการร่วมมือกันกดดันราคาของผู้ค้า และเกษตรกรที่ไม่ได้รับเงินชดเชยส่วนต่าง หรือได้รับเงินชดเชยต่ำ ก็จะเรียกร้องให้ได้รับเงินชดเชยสูงขึ้น.