นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ในรายการเปิดข่าวเด่นเจาะประเด็นดัง ถึงความพร้อมในการเปิดรับจำนำข้าว ตามนโยบายรัฐบาล ในวันที่ 7 ตุลาคมนี้ ทาง ธ.ก.ส. มีความพร้อมทั้งงบประมาณและบุคคลากรโดยขั้นตอนแรก เกษตรกรที่ต้องการเข้าร่วมโครงการฯ ให้กรอกใบสมัคร เพื่อขอขึ้นทะเบียนกับเกษตรอำเภอจากนั้น ปลัดองค์กรบริหารส่วนตำบล เป็นผู้รับรองอีกครั้งหนึ่ง เพื่อป้องกันการทุจริต สวมสิทธิ์ข้าว จากนั้นนำใบรับรองพร้อมข้าวเปลือกที่เกี่ยว ได้ไปจำนำกับโรงสีที่เข้าร่วมโครงการ ในราคารับจำนำที่ 15,000 บาทต่อตัน ส่วนข้าวหอมมะลิ อยู่ที่ 20,000 บาทต่อตัน หลังจากนั้น เกษตรกรนำใบประทวนสินค้าไปยัง ธ.ก.ส. ที่ใกล้บ้าน เพื่อเป็นหลักวางประกัน ในการขอสินเชื่อ ภายใน 4 เดือน หากเกษตรกรไม่มาไถ่ถอน ข้าวดังกล่าวตกเป็นของรัฐบาล เพื่อนำออกไปจำหน่าย
ทั้งนี้ จะมีการตรวจสอบผู้ที่จะนำข้าวเปลือกมาจำนำอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการสวมสิทธิ์ของโรงสี โดยจะยึดใบรับรองที่ผ่านการเซ็นอนุมัติจาก เกษตรอำเภอ และปลัดองค์กรบริหารส่วนตำบล ซึ่งในวันที่มีเปิดรับจำนำข้าว จะมีผู้นำชุมชน บุคลากรขององค์การคลังสินค้า (อ.ต.ก.) และในบางจังหวัด จะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยดูแลความเรียบร้อย โดยนโยบายของรัฐบาล จะมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานคณะกรรมการการกำกับดูแล เพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้น โดยตามนโยบายของรัฐบาล หากจังหวัดใดมีการทุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดนั้นๆ จะต้องรับผิดชอบ และในส่วนของข้าวเปลือก เมื่อรับจำนำแล้ว จะมีการสีเป็นข้าวสารภายใน 10 วัน เพื่อป้องกันการนำข้าวเปลือกมาจำนำอีกรอบ
อย่างไรก็ตาม สำหรับเกษตรชาวนาที่มีใบรับรองเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา และน้ำได้ท่วมข้าวไม่ซึ่งในส่วนนี้ มติของ ครม.จะมีการชดเชยให้ และจะกันรายชื่อเกษตรกรส่วนนี้ออกไป เพื่อป้องกันการนำใบรับรองมาสวมสิทธิ์ และรวมถึงข้าวที่โรงสีรับจำนำไปแล้วก่อนหน้านี้ จำนวน 40,000-50,000 ตัน ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้เช่นกัน
ทั้งนี้ จะมีการตรวจสอบผู้ที่จะนำข้าวเปลือกมาจำนำอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการสวมสิทธิ์ของโรงสี โดยจะยึดใบรับรองที่ผ่านการเซ็นอนุมัติจาก เกษตรอำเภอ และปลัดองค์กรบริหารส่วนตำบล ซึ่งในวันที่มีเปิดรับจำนำข้าว จะมีผู้นำชุมชน บุคลากรขององค์การคลังสินค้า (อ.ต.ก.) และในบางจังหวัด จะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยดูแลความเรียบร้อย โดยนโยบายของรัฐบาล จะมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานคณะกรรมการการกำกับดูแล เพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้น โดยตามนโยบายของรัฐบาล หากจังหวัดใดมีการทุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดนั้นๆ จะต้องรับผิดชอบ และในส่วนของข้าวเปลือก เมื่อรับจำนำแล้ว จะมีการสีเป็นข้าวสารภายใน 10 วัน เพื่อป้องกันการนำข้าวเปลือกมาจำนำอีกรอบ
อย่างไรก็ตาม สำหรับเกษตรชาวนาที่มีใบรับรองเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา และน้ำได้ท่วมข้าวไม่ซึ่งในส่วนนี้ มติของ ครม.จะมีการชดเชยให้ และจะกันรายชื่อเกษตรกรส่วนนี้ออกไป เพื่อป้องกันการนำใบรับรองมาสวมสิทธิ์ และรวมถึงข้าวที่โรงสีรับจำนำไปแล้วก่อนหน้านี้ จำนวน 40,000-50,000 ตัน ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้เช่นกัน