วานนี้(14 มิ.ย.)ฉนายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในฐานะโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าววว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันนี้รับทราบกรณีความเสียหายที่เกิดขึ้นกับประชาชนตลอดจนผู้ที่ทำประมงในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากเหตุเรือน้ำตาลล่มที่ จ.พระนครศรีอยุธยา พบว่ามีผู้เสียหายรวมทั้งสิ้น 30 ราย กระชังปลาเสียหาย 119 แห่ง คิดเป็นพื้นที่ 2,200 ตร.ม.ความเสียหายรวมมูลค่า 6 ล้านบาท
ทั้งนี้ ครม.อนุมัติให้เยียวยาความเสียหายประมาณ 60% ของมูลค่าความเสียหายทั้งหมด หรือคิดเป็นมูลค่าราว 3.6 ล้านบาท ให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายกินบริเวณ จ.พระนครศรีอยุธยา และ จ.ปทุมธานี โดยทั้งสองจังหวัดนี้ได้ผ่านเกณฑ์การพิจารณาในระดับจังหวัดแล้วว่าเกิดความเสียหายขึ้นจริง
ส่วนการดูแลและเยียวยาผู้ที่บ้านเรือนได้รับความเสียหาย ส่วนหนึ่งได้รับความช่วยเหลือจากมูลนิธิมิราเคิล ออฟ ไลฟ์ แล้ว ตลอดจนกาชาดจังหวัด และความช่วยเหลือตามระเบียบของกระทรวงการคลัง ขณะเดียวกัน ครม.ให้เร่งประเมินค่าก่อสร้าง และสรุปวงเงิน พร้อมทั้งรีบดำเนินการก่อสร้างโดยเร็ว
ขณะที่กรมเจ้าท่า รายงานว่าจะมีการสร้างเขื่อนเพื่อกันการกัดเซาะของน้ำในบริเวณดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 4 เดือน ใช้งบประมาณราว 5 ล้านบาท พร้อมทั้งจะดำเนินการปรับปรุงระบบการจราจรทางน้ำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ส่วนกรณีที่ชาวบ้านที่มีอาชีพจับสัตว์น้ำร้องเรียนว่าขาดรายได้นั้น ครม.มอบหมายให้กรมประมงไปดำเนินการปล่อยพันธุ์ปลาและกุ้งก้ามกรามประมาณ 50 ล้านตัว เริ่มตั้งแต่วันที่ 26 มิ.ย.เป็นต้นไป
ด้านนายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวถึงการชดเชยความเสียหายให้กับผู้ได้รับผลกระทบกรณีเรือน้ำตาลล่มที่ ต.ภูเขาทอง จ.พระนครศรีอยุธยา ว่า เบื้องต้นจะช่วยเหลือชดเชยกรณีบ้านพัง และในภาคประมงเสียหาย โดยกรณีบ้านพังได้รับเงินช่วยเหลือจากการบริจาคและเงินทดรองราชการไปแล้วทั้งสิ้น 52,000 บาท ค่ารื้อถอนอีก 15,000 บาท รวมเป็นเงิน 67,000 บาท และบริษัทเรือน้ำตาลจะสร้างบ้านให้อยู่ชั่วคราวพร้อมจ่ายค่าเช่าบ้านเดือนละ 2,000 บาท เมื่อสร้างเขื่อนถาวรแล้วเสร็จ บริษัทจะเป็นผู้สร้างบ้านตามสภาพเดิมให้ ส่วนบ้านเสียหายบางส่วน ได้รับเงินช่วยเหลือจากการบริจาค 27,000 บาท ค่ารื้อถอนอีก 30,000 บาท รวมเป็นเงิน 57,000 บาท อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 15 มิถุนายน บริษัทจะจัดหาช่างซ่อมบ้านกำหนดแนวทางการซ่อมและก่อสร้างบ้านใหม่ให้คืนสู่สภาพเดิม
สำหรับความเสียหายในภาคประมง กรณีปลาในกระชังตาย คณะรัฐมนตรีมีมติให้ใช้จ่ายเงินกองทุนช่วยเหลือรายละร้อยละ 60 ของมูลค่าความเสียหาย ล่าสุดทางจังหวัด ขอให้บริษัทพิจารณาให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติม ซึ่งบริษัทขอเวลาไปพิจารณาก่อน
ทั้งนี้ ครม.อนุมัติให้เยียวยาความเสียหายประมาณ 60% ของมูลค่าความเสียหายทั้งหมด หรือคิดเป็นมูลค่าราว 3.6 ล้านบาท ให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายกินบริเวณ จ.พระนครศรีอยุธยา และ จ.ปทุมธานี โดยทั้งสองจังหวัดนี้ได้ผ่านเกณฑ์การพิจารณาในระดับจังหวัดแล้วว่าเกิดความเสียหายขึ้นจริง
ส่วนการดูแลและเยียวยาผู้ที่บ้านเรือนได้รับความเสียหาย ส่วนหนึ่งได้รับความช่วยเหลือจากมูลนิธิมิราเคิล ออฟ ไลฟ์ แล้ว ตลอดจนกาชาดจังหวัด และความช่วยเหลือตามระเบียบของกระทรวงการคลัง ขณะเดียวกัน ครม.ให้เร่งประเมินค่าก่อสร้าง และสรุปวงเงิน พร้อมทั้งรีบดำเนินการก่อสร้างโดยเร็ว
ขณะที่กรมเจ้าท่า รายงานว่าจะมีการสร้างเขื่อนเพื่อกันการกัดเซาะของน้ำในบริเวณดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 4 เดือน ใช้งบประมาณราว 5 ล้านบาท พร้อมทั้งจะดำเนินการปรับปรุงระบบการจราจรทางน้ำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ส่วนกรณีที่ชาวบ้านที่มีอาชีพจับสัตว์น้ำร้องเรียนว่าขาดรายได้นั้น ครม.มอบหมายให้กรมประมงไปดำเนินการปล่อยพันธุ์ปลาและกุ้งก้ามกรามประมาณ 50 ล้านตัว เริ่มตั้งแต่วันที่ 26 มิ.ย.เป็นต้นไป
ด้านนายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวถึงการชดเชยความเสียหายให้กับผู้ได้รับผลกระทบกรณีเรือน้ำตาลล่มที่ ต.ภูเขาทอง จ.พระนครศรีอยุธยา ว่า เบื้องต้นจะช่วยเหลือชดเชยกรณีบ้านพัง และในภาคประมงเสียหาย โดยกรณีบ้านพังได้รับเงินช่วยเหลือจากการบริจาคและเงินทดรองราชการไปแล้วทั้งสิ้น 52,000 บาท ค่ารื้อถอนอีก 15,000 บาท รวมเป็นเงิน 67,000 บาท และบริษัทเรือน้ำตาลจะสร้างบ้านให้อยู่ชั่วคราวพร้อมจ่ายค่าเช่าบ้านเดือนละ 2,000 บาท เมื่อสร้างเขื่อนถาวรแล้วเสร็จ บริษัทจะเป็นผู้สร้างบ้านตามสภาพเดิมให้ ส่วนบ้านเสียหายบางส่วน ได้รับเงินช่วยเหลือจากการบริจาค 27,000 บาท ค่ารื้อถอนอีก 30,000 บาท รวมเป็นเงิน 57,000 บาท อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 15 มิถุนายน บริษัทจะจัดหาช่างซ่อมบ้านกำหนดแนวทางการซ่อมและก่อสร้างบ้านใหม่ให้คืนสู่สภาพเดิม
สำหรับความเสียหายในภาคประมง กรณีปลาในกระชังตาย คณะรัฐมนตรีมีมติให้ใช้จ่ายเงินกองทุนช่วยเหลือรายละร้อยละ 60 ของมูลค่าความเสียหาย ล่าสุดทางจังหวัด ขอให้บริษัทพิจารณาให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติม ซึ่งบริษัทขอเวลาไปพิจารณาก่อน