พระนครศรีอยุธยา - เรือบรรทุกน้ำตาลที่จมอยู่ใต้แม่น้ำเจ้าพระยาในพระนครศรีอยุธยามาร่วม 2 สัปดาห์ถูกกู้ขึ้นฝั่งเรียบร้อยแล้ว ท่ามกลางไทยมุงนับพันแห่ดูการกู้เรือน้ำแน่นสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา "สาทิต-สุวิทย์" เอาหน้า สั่งการด้วยตัวเอง เตรียมให้ บ.เรือน้ำตาลร่างสัญญาเหลือช่วยเหลือประชาชน
เรือบรรทุกน้ำตาลทรายน้ำหนัก 2,400 ตัน ที่จมอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่บริเวณหมู่ 2 ต.ภูเขาทอง อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่วันที่ 31 พ.ค.ที่ผ่านมาได้ถูกกู้ขึ้นฝั่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากที่เรือลำดังกล่าวจมอยู่ในแม่น้ำเจ้ายามาร่วม 13 วัน ซึ่งได้สร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือนของประชาชนที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและสัตว์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาจำนวนมาก
การกู้เรือลำดังกล่าวเป็นไปด้วยความยากลำบากจนกระทั่งกู้ได้สำเร้จเมื่อวานนี้ (12 มิ.ย.) โดยระหว่างการกู้นายสาธิต วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายจตุรงค์ ปัญญาดิลก ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รมช.คมนาคมและนายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ อธิบดีกรมเจ้าท่า ได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมและสั่งการในการกู้เรือในครั้งนี้ด้วย
สำหรับการกู้เริ่มตั้งแต่เวลา 07.30 น. เจ้าหน้าที่ทีมกู้ ได้นำเรือกรมเจ้าท่าพร้อมเครนขนาดใหญ่ออกจากจุดเกิดเหตุ เรือลาดตระเวนกรมเจ้าท่า 6 ลำคอยสกัดไม่ให้เรือทุกชนิดวิ่งผ่านทั้งขาขึ้นและขาล่อง จากนั้นได้นำเรือบรรทุกเครื่องอัดลมขนาดใหญ่เข้าเทียบเรือบี เอ็ม 6 ที่ล่มอยู่ แล้วให้เจ้าหน้าที่ติดตั้งอุปกรณ์สายอัดลมเข้าที่พอนทูนทั้ง 2 ลูก เพื่ออัดอากาศเข้าไปเพื่อไล่น้ำออกมา
จากนั้นกรมเจ้าท่าได้นำเรือลากขนาดใหญ่ 4 ลำผูกเชือกไว้ที่ท้ายเรือ (สภาพเรือที่ล่มท้ายเรือโด่งและขวางแม่น้ำ) จนเวลา 11.35 น.เจ้าหน้าที่กู้เรือได้อัดอากาศเข้าไปในพอนทูนทำให้เรือยกสูงขึ้นลอยตัวมาประมาณ 50 ซ.ม. จากนั้นเรือลากทั้ง 4 ลำได้ทำการดึงท้ายเรือให้เรือตั้งขนานกับแม่น้ำ
จนเวลา 12.20 น.เจ้าหน้าที่ได้อัดอากาศเข้าพอนทูนอีกครั้งทำให้ด้านท้ายเรือเริ่มยกขึ้นเหนือน้ำประมาณ 4 เมตร ขณะที่ด้านหัวเรือปริ่มน้ำ ต่อจากนั้นเรือลากทั้ง 4 ลำเริ่มลากเรือบีเอ็ม 6 ทวนน้ำขึ้นไปออกจากจุดที่เกิดเหตุได้อย่างง่ายดาย โดยนำไปจอดไว้ที่ท่าเทียบเรือของกรมเจ้าท่าตั้งอยู่ซอย 13 ภูเขาทอง หมู่ 2 ต.ภูเขาทอง อ.พระนครศรีอยุธยา ห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณ 200 เมตรท่ามกลางเสียงปรมมือของประชาชนที่มาชมการกู้ทั้ง 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
ต่อมาเวลา 17.20 น.เจ้าหน้าที่ได้ใช้เรือลากจูง 3 ลำปรับระดับการทรงตัวของเรือบีเอ็ม 6 ที่กู้สำเร็จให้อยู่ในระดับที่พอดีทั้งหัวและท้ายก่อนที่จะลากไปจอดเพื่อรอซ่อมที่วัดบัวทอง จ.ปทุมธานีต่อไป
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การกู้เรือน้ำตาลล่มครั้งนี้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ทางอธิบดีกรมเจ้าท่า กองทัพเรือ กองทัพบก และผู้เชี่ยวชาญในการกู้เรือได้ดำเนินการเป็นไปตามแผนทุกประการ สาเหตุที่กู้ได้ล่าช้าเกิดจากอุปสรรค์กระแสน้ำไหลเชี่ยวกรากและเรือมีขนาดใหญ่จึงต้องวางแผนอย่างรอบคอบและประสบความสำเร็จ หลังจากนี้กรมเจ้าท่า จะได้ติดป้ายเตือนอันตรายทางน้ำและกรมทางหลวงให้ติดป้ายเตือนบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
"ส่วนความเสียหายที่ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำสร้างความหายนะสูงมากพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาได้ตายล้างเผาพันธุ์จึงต้องเร่งฟื้นฟูให้กรมประมงนำสัตว์น้ำจำนวน 50 ล้านตัวปล่อยลงแม่น้ำโดยจะปล่อยครั้งแรกวันที่ 16 มิ.ย.ที่อำเภอบางปะอิน ซึ่งอยู่ห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณ 10 กม.ทั้งนี้ ไม่รวมพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาที่จับมาไว้ที่ศูนย์วิจัยกรมประมง อำเภอบางไทร ส่วนทางด้านการชดเชยค่าเสียหายนั้นได้ผ่านระเบียบการคลังแล้ว โดยจะเยียวยา 60% ให้ผู้เสียหายทั้ง 2 จังหวัด คือ พระนครอยุธยา และปทุมธานี คาดว่าสัปดาห์หน้าคงเสร็จงบประมาณ 3-4 ล้านบาท"
นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การชดเชยจ่ายค่าเสียหายบ้านพังนี้ต้องให้เจ้าของเรือน้ำตาลเป็นคนชดใช้ให้ ถ้าตกลงกันได้ก็จะได้รับเงินเร็ว แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้ก็ต้องพิสูจน์กันทางหลักฐานเป็นขบวนการทางศาลก็จะล่าช้าออกไป ส่วนมลพิษทางน้ำตอนนี้ปกติ กรมควบคุมมลพิษได้วัดค่าน้ำตลอดเวลา
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนได้รับรายงานจากนายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รมช.คมนาคม ว่าสามารถกู้เรือบรรทุกน้ำตาลได้สำเร็จแล้ว ส่วนประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนกรณีเรื่องบ้านล่าสุดก็มีการยกร่างสัญญาว่าบริษัทจะต้องรับผิดชอบแล้ว ส่วนจะถึงขั้นต้องฟ้องร้องหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการเจรจาของสองฝ่าย โดยอัยการกำลังดูแลอยู่.
เรือบรรทุกน้ำตาลทรายน้ำหนัก 2,400 ตัน ที่จมอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่บริเวณหมู่ 2 ต.ภูเขาทอง อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่วันที่ 31 พ.ค.ที่ผ่านมาได้ถูกกู้ขึ้นฝั่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากที่เรือลำดังกล่าวจมอยู่ในแม่น้ำเจ้ายามาร่วม 13 วัน ซึ่งได้สร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือนของประชาชนที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและสัตว์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาจำนวนมาก
การกู้เรือลำดังกล่าวเป็นไปด้วยความยากลำบากจนกระทั่งกู้ได้สำเร้จเมื่อวานนี้ (12 มิ.ย.) โดยระหว่างการกู้นายสาธิต วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายจตุรงค์ ปัญญาดิลก ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รมช.คมนาคมและนายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ อธิบดีกรมเจ้าท่า ได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมและสั่งการในการกู้เรือในครั้งนี้ด้วย
สำหรับการกู้เริ่มตั้งแต่เวลา 07.30 น. เจ้าหน้าที่ทีมกู้ ได้นำเรือกรมเจ้าท่าพร้อมเครนขนาดใหญ่ออกจากจุดเกิดเหตุ เรือลาดตระเวนกรมเจ้าท่า 6 ลำคอยสกัดไม่ให้เรือทุกชนิดวิ่งผ่านทั้งขาขึ้นและขาล่อง จากนั้นได้นำเรือบรรทุกเครื่องอัดลมขนาดใหญ่เข้าเทียบเรือบี เอ็ม 6 ที่ล่มอยู่ แล้วให้เจ้าหน้าที่ติดตั้งอุปกรณ์สายอัดลมเข้าที่พอนทูนทั้ง 2 ลูก เพื่ออัดอากาศเข้าไปเพื่อไล่น้ำออกมา
จากนั้นกรมเจ้าท่าได้นำเรือลากขนาดใหญ่ 4 ลำผูกเชือกไว้ที่ท้ายเรือ (สภาพเรือที่ล่มท้ายเรือโด่งและขวางแม่น้ำ) จนเวลา 11.35 น.เจ้าหน้าที่กู้เรือได้อัดอากาศเข้าไปในพอนทูนทำให้เรือยกสูงขึ้นลอยตัวมาประมาณ 50 ซ.ม. จากนั้นเรือลากทั้ง 4 ลำได้ทำการดึงท้ายเรือให้เรือตั้งขนานกับแม่น้ำ
จนเวลา 12.20 น.เจ้าหน้าที่ได้อัดอากาศเข้าพอนทูนอีกครั้งทำให้ด้านท้ายเรือเริ่มยกขึ้นเหนือน้ำประมาณ 4 เมตร ขณะที่ด้านหัวเรือปริ่มน้ำ ต่อจากนั้นเรือลากทั้ง 4 ลำเริ่มลากเรือบีเอ็ม 6 ทวนน้ำขึ้นไปออกจากจุดที่เกิดเหตุได้อย่างง่ายดาย โดยนำไปจอดไว้ที่ท่าเทียบเรือของกรมเจ้าท่าตั้งอยู่ซอย 13 ภูเขาทอง หมู่ 2 ต.ภูเขาทอง อ.พระนครศรีอยุธยา ห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณ 200 เมตรท่ามกลางเสียงปรมมือของประชาชนที่มาชมการกู้ทั้ง 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
ต่อมาเวลา 17.20 น.เจ้าหน้าที่ได้ใช้เรือลากจูง 3 ลำปรับระดับการทรงตัวของเรือบีเอ็ม 6 ที่กู้สำเร็จให้อยู่ในระดับที่พอดีทั้งหัวและท้ายก่อนที่จะลากไปจอดเพื่อรอซ่อมที่วัดบัวทอง จ.ปทุมธานีต่อไป
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การกู้เรือน้ำตาลล่มครั้งนี้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ทางอธิบดีกรมเจ้าท่า กองทัพเรือ กองทัพบก และผู้เชี่ยวชาญในการกู้เรือได้ดำเนินการเป็นไปตามแผนทุกประการ สาเหตุที่กู้ได้ล่าช้าเกิดจากอุปสรรค์กระแสน้ำไหลเชี่ยวกรากและเรือมีขนาดใหญ่จึงต้องวางแผนอย่างรอบคอบและประสบความสำเร็จ หลังจากนี้กรมเจ้าท่า จะได้ติดป้ายเตือนอันตรายทางน้ำและกรมทางหลวงให้ติดป้ายเตือนบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
"ส่วนความเสียหายที่ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำสร้างความหายนะสูงมากพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาได้ตายล้างเผาพันธุ์จึงต้องเร่งฟื้นฟูให้กรมประมงนำสัตว์น้ำจำนวน 50 ล้านตัวปล่อยลงแม่น้ำโดยจะปล่อยครั้งแรกวันที่ 16 มิ.ย.ที่อำเภอบางปะอิน ซึ่งอยู่ห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณ 10 กม.ทั้งนี้ ไม่รวมพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาที่จับมาไว้ที่ศูนย์วิจัยกรมประมง อำเภอบางไทร ส่วนทางด้านการชดเชยค่าเสียหายนั้นได้ผ่านระเบียบการคลังแล้ว โดยจะเยียวยา 60% ให้ผู้เสียหายทั้ง 2 จังหวัด คือ พระนครอยุธยา และปทุมธานี คาดว่าสัปดาห์หน้าคงเสร็จงบประมาณ 3-4 ล้านบาท"
นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การชดเชยจ่ายค่าเสียหายบ้านพังนี้ต้องให้เจ้าของเรือน้ำตาลเป็นคนชดใช้ให้ ถ้าตกลงกันได้ก็จะได้รับเงินเร็ว แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้ก็ต้องพิสูจน์กันทางหลักฐานเป็นขบวนการทางศาลก็จะล่าช้าออกไป ส่วนมลพิษทางน้ำตอนนี้ปกติ กรมควบคุมมลพิษได้วัดค่าน้ำตลอดเวลา
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนได้รับรายงานจากนายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รมช.คมนาคม ว่าสามารถกู้เรือบรรทุกน้ำตาลได้สำเร็จแล้ว ส่วนประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนกรณีเรื่องบ้านล่าสุดก็มีการยกร่างสัญญาว่าบริษัทจะต้องรับผิดชอบแล้ว ส่วนจะถึงขั้นต้องฟ้องร้องหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการเจรจาของสองฝ่าย โดยอัยการกำลังดูแลอยู่.