วันนี้ผมมีนิทานหนึ่งเรื่องและตลกแสบๆ จากหนังตะลุงอีกหนึ่งเรื่อง ผมคิดว่าทั้งสองเรื่องเหมาะกับสถานการณ์ที่ประชาชนส่วนหนึ่งต้องออกมาโหวตโน นอกจากนี้ผมมีข้อมูลการถือครองที่ดินของนักการเมืองจากพรรคต่างเพื่อตอกย้ำว่าทั้งสามเรื่องนี้มีความสัมพันธ์กัน
ผมได้นิทานเรื่องนี้มากว่า 20 ปีแล้ว แต่คิดว่ายังมีความทันสมัยอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระแสที่ประชาชนกำลังจะ “สั่งสอน” นักการเมือง ผู้ที่เล่านิทานเรื่องนี้ให้ผมฟังคืออาของผมเองซึ่งตอนนี้กำลังป่วยเป็นอัมพาตพูดไม่ได้ อาเคยบอกว่าผู้ที่เล่าให้ฟังเป็นครูประชาบาลที่มีความมุ่งมั่นเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมมาตลอด แต่ท่านน่าจะเสียชีวิตไปแล้ว เรื่องราวมีว่าอย่างนี้ครับ
กาลครั้งหนึ่ง เต่ากับลิงอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน ทั้งสองรักใคร่ชอบพอกันตามประสาชาวชนบทที่ต้องพึ่งพิงกันและกัน ไม่ว่าขาดเกลือ ระวังโจร จนถึงช่วยกันหามศพไปวัด ด้วยธรรมชาติทางสรีระของลิงที่เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วรวดเร็ว ลิงจึงชอบเดินทางท่องเที่ยวจากหมู่บ้านหนึ่งสู่อีกหมู่บ้านหนึ่งอยู่เป็นประจำ ได้ประสบพบเห็นสิ่งต่างๆ มากมาย ต่างจากเต่าซึ่งมีขีดจำกัดทางสรีระจึงเคลื่อนไหวได้เชื่องช้า ไม่ค่อยได้ไปเปิดหูเปิดตาที่ไหน ประกอบกับในยุคนั้นยังไม่มีเครือข่ายการสื่อสารที่ทันสมัยเท่าทุกวันนี้ ลิงจึง “มีภาษี” เหนือกว่าเต่ามากในเรื่องวิสัยทัศน์
วันหนึ่งสองสหายไปพบหน่อกล้วยหน่อหนึ่ง ทั้งสองจึงปรึกษากันว่า “เราน่าจะนำไปปลูก เพราะนับวันอาหารจะหาได้ยากและแพงมาก และเราต่างก็เป็นนักมังสวิรัติด้วยกัน” แต่เนื่องจากมีอยู่เพียงหน่อเดียวจึงต้องมีการแบ่งกันด้วยการตัดหน่อกล้วยออกเป็นสองท่อน
ลิงซึ่งมีวิสัยทัศน์ที่เหนือกว่าพบว่า กล้วยออกลูกที่ปลายจึงขอเลือกเอาท่อนปลายไปปลูก ส่วนเต่าไม่มีทางเลือกจึงจำเป็นต้องเอาท่อนที่เป็นโคนไปปลูก ต่อมาไม่นานกล้วยของลิงก็เหี่ยวเฉาตายในที่สุด แต่กล้วยของเต่ากลับเจริญงอกงามแล้วแทงยอดออกปลีจนออกเป็นเครือกล้วยสุกเหลืองอร่าม
เมื่อกล้วยของเต่าสุก เต่าจึงคิดถึงลิงสหายเก่าให้มาช่วยเก็บกล้วยมาแบ่งกันกิน เมื่อลิงขึ้นไปบนเครือกล้วยแล้ว แทนที่เขาจะปลดกล้วยลงมาแบ่งกับเต่าที่อยู่ใต้โคน เขากลับปอกกล้วยเข้าปากกินอย่างเอร็ดอร่อยแล้วก็ทิ้งเปลือกกล้วยลงมาให้เต่าผู้เป็นเจ้าของด้วยท่าทีเยอะเย้ย
นิทานจบลงเพียงแค่นี้ ไม่มีแม้แต่บทสรุปเช่นนิทานทั่วไปว่า นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
มาถึงเรื่องที่สองครับ ตลกแสบๆ จากหนังตะลุงโรงหนึ่งแต่ผมจำไม่ได้ว่าชื่ออะไร ผู้ที่เล่าให้ผมฟังก็เป็นลูกของอาคนเดิม
เรื่องราวมีอยู่ว่า ตัวเสนาหรือไพร่ 2 คนที่แฟนหนังตะลุงภาคใต้รู้จักกันดี คือ เท่งและหนูนุ้ย โดยนิสัยเท่งเป็นคนชั่งคิด ชอบสงสัย ค่อนข้างจะเป็นคน “หัวหมอ” แต่หนูนุ้ยมีอุปนิสัยเป็นคนค่อนข้างจะตรงกันข้ามกับเท่ง คือ “หัวอ่อน”
วันหนึ่งสองเกลอไปพบธนบัตร 15 ใบๆ ละหนึ่งร้อยบาท ทั้งสองจึงนำมาแบ่งกันคนละครึ่งแต่ด้วยความที่ไม่ถนัดการคำนวณ ทั้งสองจึงใช้วิธีการแจงนับทีละใบ โดยการยื่นใส่มือให้คนละใบสลับกันไป “นี่ของเท่ง นี่ของหนูนุ้ย นี่ของเท่ง …” แต่ในที่สุดก็มาหมดที่เท่งโดยที่หนูนุ้ยไม่ได้รับจึงไม่เป็นธรรม
ทั้งสองจึงเปลี่ยนวิธีการใหม่เป็น “นี่ของหนูนุ้ย นี่ของเท่ง นี่ของหนูนุ้ย …” ในที่สุดก็มาหมดตรงที่หนูนุ้ยโดยที่เท่งไม่ได้รับจึงไม่เป็นธรรมอีก
ทั้งคู่จึงคิดหาวิธีการใหม่ บังเอิญบุรุษไปรษณีย์ผ่านมาพอดี ทั้งสองจึงขอให้ช่วย ไปรษณีย์จึงลงมือแบ่งให้ “นี่ของเท่ง นี่ของหนูนุ้ย นี่ของไปรษณีย์ …” ในที่สุดในทุกรอบจนถึงรอบสุดท้ายทุกคนก็ได้รับเท่ากัน
หนูนุ้ยจึงกล่าวขึ้นมาว่า “เออ! คบคนที่มีความรู้ก็ดีอย่างนี้แหละ” เมื่อไปรษณีย์จากไปได้สักพักใหญ่ๆ แล้ว เท่งจึงเปรยขึ้นมาว่า “กูว่ามันแปลกๆ อยู่นะไอ้หนูนุ้ย”
"เฮ้ย มันลงตัวพอดีแล้ว อย่าคิดมาก เดี๋ยวมันจะยุ่งอีก” หนูนุ้ยกล่าวขึ้นมาอย่างเสียงดังพร้อมกับย้ำว่า "อย่าคิดมาก เดี๋ยวมันจะยุ่งอีก”
ผมขออนุญาตไม่วิจารณ์ทั้งสองเรื่องที่กล่าวมาแล้ว ท่านผู้อ่านคิดเห็นอย่างไรก็แล้วแต่ท่าน และโดยบังเอิญขณะเขียนบทความนี้ รายการโทรทัศน์ “พื้นที่ชีวิต” ได้นำประโยคสำคัญของเรอเน่ เดส์การ์ตส์ นักคณิตศาสตร์และนักปรัชญาคนสำคัญของโลกที่ว่า "ฉันคิด ดังนั้นจึงมีฉันอยู่, I think, therefore I am.”
คงเป็นหน้าที่ของเราทุกคนที่จะต้องหาตัวอย่างรูปธรรมเอาเอง จากนั้นก็ถามตัวเองว่า พอแล้วหรือยังกับสถานการณ์ที่มีนักการเมืองขี้โกงแบบลิงในนิทาน หรือต้องยืมจมูกคนอื่น เช่น บุรุษไปรษณีย์มาหายใจ รวมทั้งการเป็นคนหัวอ่อน ว่านอนสอนง่าย ไม่รู้จักพิทักษ์สิทธิของตนเอง
มาที่เรื่องสุดท้ายคือการถือครองที่ดินของนักการเมือง ผมได้ข้อมูลนี้มาจาก รายงานปาฐกถาเสาหลักของแผ่นดิน โดย ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร (หมายเหตุ ผมขออนุญาตโม้สักนิดครับว่า ผมเองได้รับเกียรติให้แสดงปาฐกถานี้ในวันที่ 6 กรกฎาคม เวลา 13.00-15.00 น. ที่จุฬาฯ ครับ)
ตารางข้างล่างนี้แสดงการถือครองที่ดินของ ส.ส. และ ส.ว.จำนวน 582 คน พบว่ามีการถือครองที่ดินรวมกันถึงกว่า 72,000 ไร่ คิดเป็นมูลค่า 24,800 ล้านบาท (เฉลี่ยไร่ละ 3 แสน 4 หมื่นบาท)
โดยเฉลี่ยนักการเมืองหนึ่งคนถือครองที่ดินจำนวน 124 ไร่
ประเทศไทยเรามีที่ดินทั้งหมดรวมภูเขา แม่น้ำ ป่าไม้ สวนสาธารณะและสนามหลวงด้วย ประมาณ 320 ล้านไร่ (ผมไม่แน่ใจว่ารวมพื้นที่ชายฝั่งทะเลด้วยหรือไม่) ถ้านำพื้นที่ทั้งหมดมาแบ่งให้เท่ากันจะได้คนละ 5 ไร่เท่านั้น แต่นักการเมืองซัดเข้าไปถึงคนละ 124 ไร่
คณะกรรมการปฏิรูปการเมืองที่คุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานได้เสนอให้มีการออกพระราชบัญญัติจำกัดการถือครองที่ดินไม่ให้เกินครอบครัวละ 50 ไร่ จึงคาดได้ว่าคนที่จะออกมาค้านเป็นด่านแรกก็คงไม่ใช่พวกไหน ก็พวกลิงในนิทานนี้เอง!
การ Vote No ในวันนี้จึงเป็นเพียงมาตรการเริ่มต้นของคนช่างคิด ช่างสงสัยครับ จะยุ่งก็ต้องยุ่ง ความชั่วร้ายต้องมีวันสิ้นสุด
ผมได้นิทานเรื่องนี้มากว่า 20 ปีแล้ว แต่คิดว่ายังมีความทันสมัยอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระแสที่ประชาชนกำลังจะ “สั่งสอน” นักการเมือง ผู้ที่เล่านิทานเรื่องนี้ให้ผมฟังคืออาของผมเองซึ่งตอนนี้กำลังป่วยเป็นอัมพาตพูดไม่ได้ อาเคยบอกว่าผู้ที่เล่าให้ฟังเป็นครูประชาบาลที่มีความมุ่งมั่นเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมมาตลอด แต่ท่านน่าจะเสียชีวิตไปแล้ว เรื่องราวมีว่าอย่างนี้ครับ
กาลครั้งหนึ่ง เต่ากับลิงอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน ทั้งสองรักใคร่ชอบพอกันตามประสาชาวชนบทที่ต้องพึ่งพิงกันและกัน ไม่ว่าขาดเกลือ ระวังโจร จนถึงช่วยกันหามศพไปวัด ด้วยธรรมชาติทางสรีระของลิงที่เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วรวดเร็ว ลิงจึงชอบเดินทางท่องเที่ยวจากหมู่บ้านหนึ่งสู่อีกหมู่บ้านหนึ่งอยู่เป็นประจำ ได้ประสบพบเห็นสิ่งต่างๆ มากมาย ต่างจากเต่าซึ่งมีขีดจำกัดทางสรีระจึงเคลื่อนไหวได้เชื่องช้า ไม่ค่อยได้ไปเปิดหูเปิดตาที่ไหน ประกอบกับในยุคนั้นยังไม่มีเครือข่ายการสื่อสารที่ทันสมัยเท่าทุกวันนี้ ลิงจึง “มีภาษี” เหนือกว่าเต่ามากในเรื่องวิสัยทัศน์
วันหนึ่งสองสหายไปพบหน่อกล้วยหน่อหนึ่ง ทั้งสองจึงปรึกษากันว่า “เราน่าจะนำไปปลูก เพราะนับวันอาหารจะหาได้ยากและแพงมาก และเราต่างก็เป็นนักมังสวิรัติด้วยกัน” แต่เนื่องจากมีอยู่เพียงหน่อเดียวจึงต้องมีการแบ่งกันด้วยการตัดหน่อกล้วยออกเป็นสองท่อน
ลิงซึ่งมีวิสัยทัศน์ที่เหนือกว่าพบว่า กล้วยออกลูกที่ปลายจึงขอเลือกเอาท่อนปลายไปปลูก ส่วนเต่าไม่มีทางเลือกจึงจำเป็นต้องเอาท่อนที่เป็นโคนไปปลูก ต่อมาไม่นานกล้วยของลิงก็เหี่ยวเฉาตายในที่สุด แต่กล้วยของเต่ากลับเจริญงอกงามแล้วแทงยอดออกปลีจนออกเป็นเครือกล้วยสุกเหลืองอร่าม
เมื่อกล้วยของเต่าสุก เต่าจึงคิดถึงลิงสหายเก่าให้มาช่วยเก็บกล้วยมาแบ่งกันกิน เมื่อลิงขึ้นไปบนเครือกล้วยแล้ว แทนที่เขาจะปลดกล้วยลงมาแบ่งกับเต่าที่อยู่ใต้โคน เขากลับปอกกล้วยเข้าปากกินอย่างเอร็ดอร่อยแล้วก็ทิ้งเปลือกกล้วยลงมาให้เต่าผู้เป็นเจ้าของด้วยท่าทีเยอะเย้ย
นิทานจบลงเพียงแค่นี้ ไม่มีแม้แต่บทสรุปเช่นนิทานทั่วไปว่า นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
มาถึงเรื่องที่สองครับ ตลกแสบๆ จากหนังตะลุงโรงหนึ่งแต่ผมจำไม่ได้ว่าชื่ออะไร ผู้ที่เล่าให้ผมฟังก็เป็นลูกของอาคนเดิม
เรื่องราวมีอยู่ว่า ตัวเสนาหรือไพร่ 2 คนที่แฟนหนังตะลุงภาคใต้รู้จักกันดี คือ เท่งและหนูนุ้ย โดยนิสัยเท่งเป็นคนชั่งคิด ชอบสงสัย ค่อนข้างจะเป็นคน “หัวหมอ” แต่หนูนุ้ยมีอุปนิสัยเป็นคนค่อนข้างจะตรงกันข้ามกับเท่ง คือ “หัวอ่อน”
วันหนึ่งสองเกลอไปพบธนบัตร 15 ใบๆ ละหนึ่งร้อยบาท ทั้งสองจึงนำมาแบ่งกันคนละครึ่งแต่ด้วยความที่ไม่ถนัดการคำนวณ ทั้งสองจึงใช้วิธีการแจงนับทีละใบ โดยการยื่นใส่มือให้คนละใบสลับกันไป “นี่ของเท่ง นี่ของหนูนุ้ย นี่ของเท่ง …” แต่ในที่สุดก็มาหมดที่เท่งโดยที่หนูนุ้ยไม่ได้รับจึงไม่เป็นธรรม
ทั้งสองจึงเปลี่ยนวิธีการใหม่เป็น “นี่ของหนูนุ้ย นี่ของเท่ง นี่ของหนูนุ้ย …” ในที่สุดก็มาหมดตรงที่หนูนุ้ยโดยที่เท่งไม่ได้รับจึงไม่เป็นธรรมอีก
ทั้งคู่จึงคิดหาวิธีการใหม่ บังเอิญบุรุษไปรษณีย์ผ่านมาพอดี ทั้งสองจึงขอให้ช่วย ไปรษณีย์จึงลงมือแบ่งให้ “นี่ของเท่ง นี่ของหนูนุ้ย นี่ของไปรษณีย์ …” ในที่สุดในทุกรอบจนถึงรอบสุดท้ายทุกคนก็ได้รับเท่ากัน
หนูนุ้ยจึงกล่าวขึ้นมาว่า “เออ! คบคนที่มีความรู้ก็ดีอย่างนี้แหละ” เมื่อไปรษณีย์จากไปได้สักพักใหญ่ๆ แล้ว เท่งจึงเปรยขึ้นมาว่า “กูว่ามันแปลกๆ อยู่นะไอ้หนูนุ้ย”
"เฮ้ย มันลงตัวพอดีแล้ว อย่าคิดมาก เดี๋ยวมันจะยุ่งอีก” หนูนุ้ยกล่าวขึ้นมาอย่างเสียงดังพร้อมกับย้ำว่า "อย่าคิดมาก เดี๋ยวมันจะยุ่งอีก”
ผมขออนุญาตไม่วิจารณ์ทั้งสองเรื่องที่กล่าวมาแล้ว ท่านผู้อ่านคิดเห็นอย่างไรก็แล้วแต่ท่าน และโดยบังเอิญขณะเขียนบทความนี้ รายการโทรทัศน์ “พื้นที่ชีวิต” ได้นำประโยคสำคัญของเรอเน่ เดส์การ์ตส์ นักคณิตศาสตร์และนักปรัชญาคนสำคัญของโลกที่ว่า "ฉันคิด ดังนั้นจึงมีฉันอยู่, I think, therefore I am.”
คงเป็นหน้าที่ของเราทุกคนที่จะต้องหาตัวอย่างรูปธรรมเอาเอง จากนั้นก็ถามตัวเองว่า พอแล้วหรือยังกับสถานการณ์ที่มีนักการเมืองขี้โกงแบบลิงในนิทาน หรือต้องยืมจมูกคนอื่น เช่น บุรุษไปรษณีย์มาหายใจ รวมทั้งการเป็นคนหัวอ่อน ว่านอนสอนง่าย ไม่รู้จักพิทักษ์สิทธิของตนเอง
มาที่เรื่องสุดท้ายคือการถือครองที่ดินของนักการเมือง ผมได้ข้อมูลนี้มาจาก รายงานปาฐกถาเสาหลักของแผ่นดิน โดย ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร (หมายเหตุ ผมขออนุญาตโม้สักนิดครับว่า ผมเองได้รับเกียรติให้แสดงปาฐกถานี้ในวันที่ 6 กรกฎาคม เวลา 13.00-15.00 น. ที่จุฬาฯ ครับ)
ตารางข้างล่างนี้แสดงการถือครองที่ดินของ ส.ส. และ ส.ว.จำนวน 582 คน พบว่ามีการถือครองที่ดินรวมกันถึงกว่า 72,000 ไร่ คิดเป็นมูลค่า 24,800 ล้านบาท (เฉลี่ยไร่ละ 3 แสน 4 หมื่นบาท)
โดยเฉลี่ยนักการเมืองหนึ่งคนถือครองที่ดินจำนวน 124 ไร่
ประเทศไทยเรามีที่ดินทั้งหมดรวมภูเขา แม่น้ำ ป่าไม้ สวนสาธารณะและสนามหลวงด้วย ประมาณ 320 ล้านไร่ (ผมไม่แน่ใจว่ารวมพื้นที่ชายฝั่งทะเลด้วยหรือไม่) ถ้านำพื้นที่ทั้งหมดมาแบ่งให้เท่ากันจะได้คนละ 5 ไร่เท่านั้น แต่นักการเมืองซัดเข้าไปถึงคนละ 124 ไร่
คณะกรรมการปฏิรูปการเมืองที่คุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานได้เสนอให้มีการออกพระราชบัญญัติจำกัดการถือครองที่ดินไม่ให้เกินครอบครัวละ 50 ไร่ จึงคาดได้ว่าคนที่จะออกมาค้านเป็นด่านแรกก็คงไม่ใช่พวกไหน ก็พวกลิงในนิทานนี้เอง!
การ Vote No ในวันนี้จึงเป็นเพียงมาตรการเริ่มต้นของคนช่างคิด ช่างสงสัยครับ จะยุ่งก็ต้องยุ่ง ความชั่วร้ายต้องมีวันสิ้นสุด