เช้าวานนี้ (24 พ.ค) ที่ศาลปกครองกลาง ถนนแจ้งวัฒนะ นายรัฐชทรัพย์ นิชิด้า ยื่นฟ้อง สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา และคณะกรรมการสรรหากรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (คณะกรรมการสรรหา กสทช.) เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-2 ขอให้พิพากษาเพิกถอนมติผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เมื่อวันที่ 25 เมษายน2554 ที่คัดเลือกผู้สมัคร 22 คน เป็นบุคคลเป็นบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็น กสทช. และเพิกถอนระเบียบสำนักงานเลขาธิการสำนักงานวุฒิสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีคัดเลือกผู้สมควรได้รับการคัดเลือกเป็น กสทช. โดยวิธีการสรรหาตามประกาศวันที่ 24 ธันวาคม 2553 เนื่องจากกระบวนการสรรหามิชอบด้วยกฎหมาย โดยศาลรับคำฟ้องไว้เพื่อพิจารณาว่าจะมีคำสั่งรับฟ้องหรือไม่ต่อไป
**เดินหน้าหลังศาลปกครองไม่รับไต่สวนเร่งด่วน
นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 กล่าวถึงกรณีนายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร ผู้เข้ารับการสรรหาเป็นกสทช.ฟ้องศาลปกครองให้พิจารณากระบวนการสรรหาเป็นไปโดยมิชอบ โดยศาลปกครองวินิจฉัยไม่รับเป็นกรณีไต่สวนเร่งด่วนแต่รับไว้พิจารณาเป็นคดีปกติ ว่า ยังไม่ได้อ่านคำวินิจฉัยของศาลปกครองโดยละเอียด แต่น่าจะเป็นสัญญาณที่บอกว่า ให้ขั้นตอนการสรรหาเดินหน้าต่อไป และไม่ต้องโยงการฟ้องร้องกับกระบวนการสรรหาตามที่พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯฉบับใหม่บัญญัติไว้ ดังนั้น หากกระบวนการสรรหาได้รายชื่อครบ 44 คน ประมาณกลางเดือนก.ค. เรื่องจะส่งมายังวุฒิสภาซึ่งวุฒิสภาก็จะตั้งคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อตรวจสอบประวัติเชิงลึกและความประพฤติต่อไป ตรงนี้ก็จะดูทั้งคุณสมบัติตัวบุคคล และตรวจสอบกระบวนการสรรหาว่าชอบหรือไม่ในชั้นการสรรหา ไม่ว่าจะเป็นข้อท้วงติงว่า กรรมการรายใดมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ได้รับการเสนอชื่อรายใด คณะกรรมาธิการฯก็จะทำรายงานเสนอที่ประชุมวุฒิภสา โดยอาจจะตั้งเป็นข้อสังเกตว่า บุคคลนั้นๆมีปัญหา ที่ประชุมวุฒิสภาไม่ควรเลือก เป็นต้น แต่คงไม่ชะลอไว้ทั้งบัญชี เพราะผู้ได้รับการเสนอชื่อรายอื่นไม่มีปัญหา จึงไม่เสียไปหมด
"เบื้องต้นต้องให้เกียรติคณะกรรมการสรรหาซึ่งเขาก็ทำตามระเบียบที่ออกโดยสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ส่วนใครเห็นว่ากระบวนการสรรหามีปัญหาก็ไปฟ้องร้องต่อศาล ผลคำตัดสินออกมาอย่างไรก็ทำตามคำสั่งศาล แต่กระบวนการสรรหายังต้องเดินหน้าต่อ และวุฒิสภาหากได้รายชื่อมาก็คงคัดเลือกให้ได้เลือก 11 คน เพราะถ้าล่าช้าเกิน 180 วัน นายกรัฐมนตรีจะเป็นคนตั้ง ตรงนี้วุฒิสภาจะไม่สามารถตรวจสอบได้เลย และไม่รู้ว่าจะไปเข้าทางใครหรือไม่ ฉะนั้นชั่งน้ำหนักแล้ววุฒิสภาก็ควรเดินหน้า ซึ่งประเทศจะได้มากกว่าเสีย" นายนิคม กล่าว
**ปธ.กสทช.บัญชี 2 ยันทุกขั้นตอนทำโดยสุจริต
นายจาตุรงค์ ปัญญาดิลก ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน กสทช. ระบบบัญชี 2 กล่าว ถึงกรณีศาลปกครองยกคำร้องไต่สวนฉุกเฉินฟ้องประธาน และกรรมการ กสทช. และ เลขาฯวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่มิชอบว่า ไม่ได้เป็นสิ่งที่เหนือความคาดหมายเนื่องจากผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิย่อมมีความเห็น และข้อโต้แย้งที่แตกต่าง ถือเป็นเรื่องปกติกับการสรรหา ขอยืนยันว่าทุกขั้นตอนอยู่บนเจตนาโดยสุจริต การใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการอยู่ภายใต้กรอบระเบียบที่กำหนดไว้ คือ กรณีที่มีปัญหาผู้ได้รับการคัดเลือกขาดคุณสมบัติ ระเบียบสำนักงานเลขาฯ กำหนดให้กรรมการวินิจฉัย ซึ่งการตัดสินใจเลือกบุคคลใหม่ แทนในสาขาเศรษฐศาสตร์ เพียงคนเดียว เพราะเห็นว่าปัญหาเกิดขึ้นเฉพาะตัว จึงไม่จำเป็นต้องเลือกใหม่ทั้งสาขา ส่วนการทำลายหลักฐานบัตรลงคะแนนนั้น ถือเป็นวิธีการปกติที่สำนักเลขาฯวุฒิสภาปฏิบัติมา ซึ่งกรรมการทำตามขั้นตอนโปร่งใสและพร้อมอธิบายชี้แจงได้
**เดินหน้าหลังศาลปกครองไม่รับไต่สวนเร่งด่วน
นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 กล่าวถึงกรณีนายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร ผู้เข้ารับการสรรหาเป็นกสทช.ฟ้องศาลปกครองให้พิจารณากระบวนการสรรหาเป็นไปโดยมิชอบ โดยศาลปกครองวินิจฉัยไม่รับเป็นกรณีไต่สวนเร่งด่วนแต่รับไว้พิจารณาเป็นคดีปกติ ว่า ยังไม่ได้อ่านคำวินิจฉัยของศาลปกครองโดยละเอียด แต่น่าจะเป็นสัญญาณที่บอกว่า ให้ขั้นตอนการสรรหาเดินหน้าต่อไป และไม่ต้องโยงการฟ้องร้องกับกระบวนการสรรหาตามที่พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯฉบับใหม่บัญญัติไว้ ดังนั้น หากกระบวนการสรรหาได้รายชื่อครบ 44 คน ประมาณกลางเดือนก.ค. เรื่องจะส่งมายังวุฒิสภาซึ่งวุฒิสภาก็จะตั้งคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อตรวจสอบประวัติเชิงลึกและความประพฤติต่อไป ตรงนี้ก็จะดูทั้งคุณสมบัติตัวบุคคล และตรวจสอบกระบวนการสรรหาว่าชอบหรือไม่ในชั้นการสรรหา ไม่ว่าจะเป็นข้อท้วงติงว่า กรรมการรายใดมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ได้รับการเสนอชื่อรายใด คณะกรรมาธิการฯก็จะทำรายงานเสนอที่ประชุมวุฒิภสา โดยอาจจะตั้งเป็นข้อสังเกตว่า บุคคลนั้นๆมีปัญหา ที่ประชุมวุฒิสภาไม่ควรเลือก เป็นต้น แต่คงไม่ชะลอไว้ทั้งบัญชี เพราะผู้ได้รับการเสนอชื่อรายอื่นไม่มีปัญหา จึงไม่เสียไปหมด
"เบื้องต้นต้องให้เกียรติคณะกรรมการสรรหาซึ่งเขาก็ทำตามระเบียบที่ออกโดยสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ส่วนใครเห็นว่ากระบวนการสรรหามีปัญหาก็ไปฟ้องร้องต่อศาล ผลคำตัดสินออกมาอย่างไรก็ทำตามคำสั่งศาล แต่กระบวนการสรรหายังต้องเดินหน้าต่อ และวุฒิสภาหากได้รายชื่อมาก็คงคัดเลือกให้ได้เลือก 11 คน เพราะถ้าล่าช้าเกิน 180 วัน นายกรัฐมนตรีจะเป็นคนตั้ง ตรงนี้วุฒิสภาจะไม่สามารถตรวจสอบได้เลย และไม่รู้ว่าจะไปเข้าทางใครหรือไม่ ฉะนั้นชั่งน้ำหนักแล้ววุฒิสภาก็ควรเดินหน้า ซึ่งประเทศจะได้มากกว่าเสีย" นายนิคม กล่าว
**ปธ.กสทช.บัญชี 2 ยันทุกขั้นตอนทำโดยสุจริต
นายจาตุรงค์ ปัญญาดิลก ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน กสทช. ระบบบัญชี 2 กล่าว ถึงกรณีศาลปกครองยกคำร้องไต่สวนฉุกเฉินฟ้องประธาน และกรรมการ กสทช. และ เลขาฯวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่มิชอบว่า ไม่ได้เป็นสิ่งที่เหนือความคาดหมายเนื่องจากผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิย่อมมีความเห็น และข้อโต้แย้งที่แตกต่าง ถือเป็นเรื่องปกติกับการสรรหา ขอยืนยันว่าทุกขั้นตอนอยู่บนเจตนาโดยสุจริต การใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการอยู่ภายใต้กรอบระเบียบที่กำหนดไว้ คือ กรณีที่มีปัญหาผู้ได้รับการคัดเลือกขาดคุณสมบัติ ระเบียบสำนักงานเลขาฯ กำหนดให้กรรมการวินิจฉัย ซึ่งการตัดสินใจเลือกบุคคลใหม่ แทนในสาขาเศรษฐศาสตร์ เพียงคนเดียว เพราะเห็นว่าปัญหาเกิดขึ้นเฉพาะตัว จึงไม่จำเป็นต้องเลือกใหม่ทั้งสาขา ส่วนการทำลายหลักฐานบัตรลงคะแนนนั้น ถือเป็นวิธีการปกติที่สำนักเลขาฯวุฒิสภาปฏิบัติมา ซึ่งกรรมการทำตามขั้นตอนโปร่งใสและพร้อมอธิบายชี้แจงได้