ASTVผู้จัดการรายวัน- ภาคอุตสาหกรรมและหน่วยงานรัฐรับเละเตรียมจ่ายค่าไฟเต็มๆ 11 สตางค์ต่อหน่วยเพื่ออุ้มผู้ใช้ไฟไม่เกิน 90 สตางค์ต่อหน่วยให้ใช้ไฟฟรีสนองนโยบายประชาวิวัฒน์ หลังเรกูเลเตอร์เผยไม่มีนโยบายนำเงินที่เรียกคืนจาก3 การไฟฟ้าที่ไม่ได้ลงทุนตามแผนหรือ Claw Back 6,900 ล้านบาทมาช่วยลดผลกระทบ
นายกวิน ทังสุภานิช เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน สกพ. เปิดเผยว่า คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(เรกูเลเตอร์ )ไม่มีนโยบายที่จะนำเงินที่เรียกคืนจาก 3 การไฟฟ้าที่วางแผนไว้แต่ไม่ได้ดำเนินการ(Claw Back) ช่วง 5 ปีที่ผ่านมาวงเงินประมาณ 6,900 ล้านบาทมาเกลี่ย เพื่อช่วยรับภาระให้กับภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และกลาง รวมทั้งหน่วยงานรัฐ กรณีที่กลุ่มดังกล่าวต้องรับภาระช่วยเหลือกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือนฟรีเป็นการถาวรตามนโยบายรัฐบาล รวมเป็นเงิน 12,000 ล้านบาทต่อปีหรือเฉลี่ยคิดเป็นค่าไฟ 11 สตางค์ต่อหน่วย
ทั้งนี้ เนื่องจากเงิน Claw Back นั้น ควรจะเป็นการนำมาเกลี่ยช่วยลดผลกระทบในเรื่องของค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติหรือ เอฟที เป็นหลักเนื่องจากเป็นการช่วยประชาชนได้ทุกกลุ่มซึ่งค่าเอฟทีงวดใหม่พ.ค.-ส.ค.นี้ก็ได้นำเงินดังกล่าวมาช่วยเหลือในการลดค่าเอฟทีแล้ว 2,600 ล้านบาทและหากค่าเอฟทีงวดต่อไปต้องมีการปรับเพิ่มขึ้นอีกก็จะนำเงินส่วนดังกล่าวมาลดผลกระทบ
“ เรกูเลเตอร์อยู่ระหว่างการปรับค่าไฟฟ้าฐานใหม่ที่คาดว่าจะเสร็จได้ในช่วงก.ค.นี้ซึ่งจะทำให้บิลค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บจากประชาชนในงวดต่อไปจะมีการปรับโฉมใหม่ ที่จะทำให้ประชาชนตรวจสอบความโปร่งใสมากกว่าเดิมเนื่องจากมีการแสดงต้นทุนการผลิตระบบผลิตไฟฟ้า ระบบส่งไฟฟ้า และระบบจำหน่ายไฟฟ้า แยกกัน”นายกวินกล่าว
สำหรับผลการสำรวจความคิดเห็น เรื่อง การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับใบอนุญาต และประชาชนผู้ใช้พลังงานต่อการกำกับกิจการพลังงาน และการให้บริการสกพ.และเรกูเลเตอร์ ว่าภายหลังการดำเนินงานของ สกพ.มาเป็นระยะเวลา 3 ปี ได้มอบหมายให้ วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดทำการสำรวจความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียในการทำงานของหน่วยงานซึ่งประกอบไปด้วย ภาคประชาชน ผู้รับใบอนุญาตกิจการไฟฟ้า นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ สกพ.ประจำเขต รวมทั้งมีการสำรวจความคิดเห็นโดยออกแบบสอบถามไปทั่วประเทศประมาณ 7,000 ชุด และมีการสัมภาษณ์เชิงลึกบางส่วน
ทั้งนี้ ได้ข้อสรุปที่น่าสนใจจ่อการปรับปรุงพัฒนาการทำงานของ สกพ.เช่น การทำงานของ สกพ.ทั้งในแง่ภาพลักษณ์ ประสิทธิภาพ การคาดหวัง อยู่ในระดับปานกลาง คือได้คะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ 2.48 – 3.10 จากคะแนนเต็ม 5 โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ใช้พลังงานมีความคาดหวังกับ สกพ.ในระดับค่อนข้างน้อย ทั้งเรื่องการดูแลค่าไฟฟ้า การรับเรื่องร้องเรียนเพื่อช่วยเหลือประชาชน
ในขณะที่กลุ่มผู้ประกอบการมีความคาดหวังในระดับค่อนข้างสูง โดยต้องการให้ สกพ. มีการบริการให้เป็นระบบในแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ มีบทบาทมากขึ้นในการเป็นสื่อกลางระหว่าง ผู้ประกอบการกับชุมชน และผู้เกี่ยวข้องด้านไฟฟ้าอื่นๆ รวมทั้งต้องการเห็นการลดขั้นตอนในการดำเนินงานต่างๆ โดยเฉพาะความซ้ำซ้อนในด้านเอกสาร เป็นต้น
นายกวิน ทังสุภานิช เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน สกพ. เปิดเผยว่า คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(เรกูเลเตอร์ )ไม่มีนโยบายที่จะนำเงินที่เรียกคืนจาก 3 การไฟฟ้าที่วางแผนไว้แต่ไม่ได้ดำเนินการ(Claw Back) ช่วง 5 ปีที่ผ่านมาวงเงินประมาณ 6,900 ล้านบาทมาเกลี่ย เพื่อช่วยรับภาระให้กับภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และกลาง รวมทั้งหน่วยงานรัฐ กรณีที่กลุ่มดังกล่าวต้องรับภาระช่วยเหลือกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือนฟรีเป็นการถาวรตามนโยบายรัฐบาล รวมเป็นเงิน 12,000 ล้านบาทต่อปีหรือเฉลี่ยคิดเป็นค่าไฟ 11 สตางค์ต่อหน่วย
ทั้งนี้ เนื่องจากเงิน Claw Back นั้น ควรจะเป็นการนำมาเกลี่ยช่วยลดผลกระทบในเรื่องของค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติหรือ เอฟที เป็นหลักเนื่องจากเป็นการช่วยประชาชนได้ทุกกลุ่มซึ่งค่าเอฟทีงวดใหม่พ.ค.-ส.ค.นี้ก็ได้นำเงินดังกล่าวมาช่วยเหลือในการลดค่าเอฟทีแล้ว 2,600 ล้านบาทและหากค่าเอฟทีงวดต่อไปต้องมีการปรับเพิ่มขึ้นอีกก็จะนำเงินส่วนดังกล่าวมาลดผลกระทบ
“ เรกูเลเตอร์อยู่ระหว่างการปรับค่าไฟฟ้าฐานใหม่ที่คาดว่าจะเสร็จได้ในช่วงก.ค.นี้ซึ่งจะทำให้บิลค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บจากประชาชนในงวดต่อไปจะมีการปรับโฉมใหม่ ที่จะทำให้ประชาชนตรวจสอบความโปร่งใสมากกว่าเดิมเนื่องจากมีการแสดงต้นทุนการผลิตระบบผลิตไฟฟ้า ระบบส่งไฟฟ้า และระบบจำหน่ายไฟฟ้า แยกกัน”นายกวินกล่าว
สำหรับผลการสำรวจความคิดเห็น เรื่อง การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับใบอนุญาต และประชาชนผู้ใช้พลังงานต่อการกำกับกิจการพลังงาน และการให้บริการสกพ.และเรกูเลเตอร์ ว่าภายหลังการดำเนินงานของ สกพ.มาเป็นระยะเวลา 3 ปี ได้มอบหมายให้ วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดทำการสำรวจความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียในการทำงานของหน่วยงานซึ่งประกอบไปด้วย ภาคประชาชน ผู้รับใบอนุญาตกิจการไฟฟ้า นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ สกพ.ประจำเขต รวมทั้งมีการสำรวจความคิดเห็นโดยออกแบบสอบถามไปทั่วประเทศประมาณ 7,000 ชุด และมีการสัมภาษณ์เชิงลึกบางส่วน
ทั้งนี้ ได้ข้อสรุปที่น่าสนใจจ่อการปรับปรุงพัฒนาการทำงานของ สกพ.เช่น การทำงานของ สกพ.ทั้งในแง่ภาพลักษณ์ ประสิทธิภาพ การคาดหวัง อยู่ในระดับปานกลาง คือได้คะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ 2.48 – 3.10 จากคะแนนเต็ม 5 โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ใช้พลังงานมีความคาดหวังกับ สกพ.ในระดับค่อนข้างน้อย ทั้งเรื่องการดูแลค่าไฟฟ้า การรับเรื่องร้องเรียนเพื่อช่วยเหลือประชาชน
ในขณะที่กลุ่มผู้ประกอบการมีความคาดหวังในระดับค่อนข้างสูง โดยต้องการให้ สกพ. มีการบริการให้เป็นระบบในแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ มีบทบาทมากขึ้นในการเป็นสื่อกลางระหว่าง ผู้ประกอบการกับชุมชน และผู้เกี่ยวข้องด้านไฟฟ้าอื่นๆ รวมทั้งต้องการเห็นการลดขั้นตอนในการดำเนินงานต่างๆ โดยเฉพาะความซ้ำซ้อนในด้านเอกสาร เป็นต้น