ASTVผู้จัดการรายวัน-จับตาค่าเอฟทีงวดใหม่พ.ค.นี้ จ่อปรับขึ้น หลังน้ำมันพุ่งไม่หยุด แย้มยังไม่มีสัญญาณการเมืองให้ตรึง กกพ.เตรียมชงโครงสร้างค่าไฟใหม่และนโยบายใช้ไฟฟรีถาวรสำหรับผู้ใช้ไฟไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือนให้กพช. เคาะ27 เม.ย. ผู้ใช้ไฟบ้านและธุรกิจรายเล็กเฮ ไม่ต้องรับภาระ โยนให้เอกชนรายใหญ่รับแทน ส.อ.ท.โวยประชานิยมไม่ควรโยนภาระให้ใครแบก
นางพัลภา เรืองรอง กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยหลังการสัมมนารับฟังความคิดเห็นเรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศไทย สำหรับปี 2554-2558 วานนี้ (19เม.ย.) ว่า แนวโน้มค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) งวดใหม่พ.ค.-ส.ค.2554 มีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันตลาดโลกได้ไต่ระดับสูงต่อเนื่องจากปัญหาในตะวันออกกลาง ซึ่งจะสะท้อนมายังราคาก๊าซธรรมชาติที่เป็นต้นทุนผลิตไฟถึง 70% นอกจากนี้ ยังคงต้องติดตามภาวะค่าเงินบาทที่ล่าสุดเริ่มอ่อนค่าลงเล็กน้อย รวมถึงอากาศที่เย็นในช่วงฤดูร้อนส่งผลให้การใช้ไฟลดต่ำได้ ซึ่งปัจจัยทั้งหมดจะส่งผลกระทบต่อค่าเอฟที ดังนั้น ตัวเลขที่ชัดเจนคงจะต้องดูรายละเอียดอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม ค่าเอฟทีงวดดังกล่าวจะมีการตรึงราคาหรือไม่อย่างไร ขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาล รวมถึงจะต้องฟังผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานวันที่ 27 เม.ย. เนื่องจากจะมีการนำเสนอพิจารณาโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าใหม่ที่จะใช้ในช่วงปี 2548-2558 ซึ่งอาจจะเริ่มใช้ใหม่ได้ในเดือนก.ค.นี้ ก็จะทำให้ค่าเอฟทีงวดดังกล่าวใช้อัตราค่าไฟแบบเก่าไปก่อนเพียง 2 เดือน
ปัจจุบันค่าไฟฟ้าฐานอยู่ที่ประมาณ 2.464 บาทต่อหน่วย ส่วนค่าไฟฟ้าเอฟทีอยู่ที่ 0.8688 บาทต่อหน่วย เมื่อประกาศใช้โครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่แล้ว ค่าไฟฟ้าเอฟทีจะเป็นศูนย์ แต่ในส่วนค่าไฟฟ้าฐานจะปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งโครงสร้างใหม่จะประกาศใช้ 5 ปี และจะมีการปรับปรุงในช่วง 2 ปีแรก ค่าเอฟทีใหม่จะทำให้ประชาชนแยกแยะให้ชัดเจนว่ามาจากต้นทุนใดบ้าง โดยเอฟทีจะแยกเป็นต้นทุนการผลิตของแต่ละโรงไฟฟ้าว่าค่าผลิตไฟมาจากเชื้อเพลิงใดและราคาเท่าใด ต้นทุนสายส่ง ระบบจำหน่าย
ขณะเดียวกัน จะมีการจัดทำอัตราค่าไฟฟ้าประเภท demand response rate เปิดรับสมัครให้มีการประหยัดไฟฟ้าในกิจการขนาดใหญ่เบื้องต้นและจะขยายไปสู่ประชาชนด้วย ซึ่งหากลดค่าไฟได้ตามที่กำหนดก็จะได้ส่วนลดค่าไฟ แต่โครงการดังกล่าวคาดว่าจะใช้ได้ในปี 2555
นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกกพ. กล่าวว่า ยังไม่มีการส่งสัญญาณจากทางการเมืองมาว่าให้มีการตรึงค่าเอฟทีงวดใหม่ แม้จะใกล้การเลือกตั้งก็ตาม ซึ่งหากนโยบายสั่งให้ตรึง ก็คงต้องมาดูรายละเอียดว่าจะดำเนินการอย่างไร โดยที่ผ่านมา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้เข้ามารับภาระในการตรึงค่าไฟฟ้ารอบที่ผ่านมาประมาณ 20,000 ล้านบาท และได้มีการใช้หนี้ให้ กฟผ.เสร็จสิ้นในค่าเอฟทีงวดปัจจุบัน
ส่วนนโยบายใช้ไฟฟ้าฟรีถาวรสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน กระทรวงพลังงาน จะมีการเสนอกพช. 27 เม.ย.นี้ โดยหลักการ คือ ช่วยเหลือเฉพาะผู้ที่ใช้มิเตอร์ ขนาด 5 แอมแปร์ จำนวน 7.9 ล้านครัวเรือน วงเงินช่วยเหลือประมาณ 12,000 ล้านบาทต่อปี โดยวงเงินที่นำมาช่วยเหลือนั้น ผู้ใช้ไฟภาคครัวเรือนและผู้ประกอบการขนาดเล็กไม่ต้องเข้ามาร่วมรับภาระช่วยเหลือ
ส่วนกลุ่มอื่น ได้แก่ ผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดใหญ่ ภาคราชการ รวมทั้งผู้ซื้อไฟฟ้าตรงจากกฟผ. และภาคเอกชน จะต้องเข้ามาร่วมรับภาระ ซึ่งจะอยู่ในวงเงินไม่เกิน 10 สตางค์ต่อหน่วย
อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกเพื่อเป็นการเตรียมพร้อม ผู้ประกอบการจะยังไม่เข้ามาร่วมรับภาระ เนื่องจากกกพ. จะนำเงินที่ได้รับคืนจาก 3 การไฟฟ้า ซึ่งไม่มีการลงทุนตามแผนการลงทุนในช่วงการปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าฐานเมื่อ 6 ปีที่ผ่านมา คาดว่า จะมีเงินประมาณ 9,000 ล้านบาท มาจ่ายไปก่อนแล้วหลังจากนั้น จึงจะมีการเก็บเพิ่มในลักษณะขั้นบันได เพื่อให้ผู้ที่ต้องรับภาระในการปรับตัว
นายเจน นำชัยศิริ ประธานสถาบันพลังงาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ภาคอุตสาหกรรมไม่เห็นด้วยที่จะให้เอกชน เข้ามารับภาระต้นทุนสำหรับผู้ใช้ไฟฟรี 90 หน่วยต่อเดือน ซึ่งจะทำให้กระทบขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเมื่อรัฐบาลจะทำนโยบายประชานิยมหรือประชาสงเคราะห์ก็ควรจะแยกออกไม่ใช่มาโยนภาระให้ใครแบก
นางพัลภา เรืองรอง กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยหลังการสัมมนารับฟังความคิดเห็นเรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศไทย สำหรับปี 2554-2558 วานนี้ (19เม.ย.) ว่า แนวโน้มค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) งวดใหม่พ.ค.-ส.ค.2554 มีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันตลาดโลกได้ไต่ระดับสูงต่อเนื่องจากปัญหาในตะวันออกกลาง ซึ่งจะสะท้อนมายังราคาก๊าซธรรมชาติที่เป็นต้นทุนผลิตไฟถึง 70% นอกจากนี้ ยังคงต้องติดตามภาวะค่าเงินบาทที่ล่าสุดเริ่มอ่อนค่าลงเล็กน้อย รวมถึงอากาศที่เย็นในช่วงฤดูร้อนส่งผลให้การใช้ไฟลดต่ำได้ ซึ่งปัจจัยทั้งหมดจะส่งผลกระทบต่อค่าเอฟที ดังนั้น ตัวเลขที่ชัดเจนคงจะต้องดูรายละเอียดอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม ค่าเอฟทีงวดดังกล่าวจะมีการตรึงราคาหรือไม่อย่างไร ขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาล รวมถึงจะต้องฟังผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานวันที่ 27 เม.ย. เนื่องจากจะมีการนำเสนอพิจารณาโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าใหม่ที่จะใช้ในช่วงปี 2548-2558 ซึ่งอาจจะเริ่มใช้ใหม่ได้ในเดือนก.ค.นี้ ก็จะทำให้ค่าเอฟทีงวดดังกล่าวใช้อัตราค่าไฟแบบเก่าไปก่อนเพียง 2 เดือน
ปัจจุบันค่าไฟฟ้าฐานอยู่ที่ประมาณ 2.464 บาทต่อหน่วย ส่วนค่าไฟฟ้าเอฟทีอยู่ที่ 0.8688 บาทต่อหน่วย เมื่อประกาศใช้โครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่แล้ว ค่าไฟฟ้าเอฟทีจะเป็นศูนย์ แต่ในส่วนค่าไฟฟ้าฐานจะปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งโครงสร้างใหม่จะประกาศใช้ 5 ปี และจะมีการปรับปรุงในช่วง 2 ปีแรก ค่าเอฟทีใหม่จะทำให้ประชาชนแยกแยะให้ชัดเจนว่ามาจากต้นทุนใดบ้าง โดยเอฟทีจะแยกเป็นต้นทุนการผลิตของแต่ละโรงไฟฟ้าว่าค่าผลิตไฟมาจากเชื้อเพลิงใดและราคาเท่าใด ต้นทุนสายส่ง ระบบจำหน่าย
ขณะเดียวกัน จะมีการจัดทำอัตราค่าไฟฟ้าประเภท demand response rate เปิดรับสมัครให้มีการประหยัดไฟฟ้าในกิจการขนาดใหญ่เบื้องต้นและจะขยายไปสู่ประชาชนด้วย ซึ่งหากลดค่าไฟได้ตามที่กำหนดก็จะได้ส่วนลดค่าไฟ แต่โครงการดังกล่าวคาดว่าจะใช้ได้ในปี 2555
นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกกพ. กล่าวว่า ยังไม่มีการส่งสัญญาณจากทางการเมืองมาว่าให้มีการตรึงค่าเอฟทีงวดใหม่ แม้จะใกล้การเลือกตั้งก็ตาม ซึ่งหากนโยบายสั่งให้ตรึง ก็คงต้องมาดูรายละเอียดว่าจะดำเนินการอย่างไร โดยที่ผ่านมา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้เข้ามารับภาระในการตรึงค่าไฟฟ้ารอบที่ผ่านมาประมาณ 20,000 ล้านบาท และได้มีการใช้หนี้ให้ กฟผ.เสร็จสิ้นในค่าเอฟทีงวดปัจจุบัน
ส่วนนโยบายใช้ไฟฟ้าฟรีถาวรสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน กระทรวงพลังงาน จะมีการเสนอกพช. 27 เม.ย.นี้ โดยหลักการ คือ ช่วยเหลือเฉพาะผู้ที่ใช้มิเตอร์ ขนาด 5 แอมแปร์ จำนวน 7.9 ล้านครัวเรือน วงเงินช่วยเหลือประมาณ 12,000 ล้านบาทต่อปี โดยวงเงินที่นำมาช่วยเหลือนั้น ผู้ใช้ไฟภาคครัวเรือนและผู้ประกอบการขนาดเล็กไม่ต้องเข้ามาร่วมรับภาระช่วยเหลือ
ส่วนกลุ่มอื่น ได้แก่ ผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดใหญ่ ภาคราชการ รวมทั้งผู้ซื้อไฟฟ้าตรงจากกฟผ. และภาคเอกชน จะต้องเข้ามาร่วมรับภาระ ซึ่งจะอยู่ในวงเงินไม่เกิน 10 สตางค์ต่อหน่วย
อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกเพื่อเป็นการเตรียมพร้อม ผู้ประกอบการจะยังไม่เข้ามาร่วมรับภาระ เนื่องจากกกพ. จะนำเงินที่ได้รับคืนจาก 3 การไฟฟ้า ซึ่งไม่มีการลงทุนตามแผนการลงทุนในช่วงการปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าฐานเมื่อ 6 ปีที่ผ่านมา คาดว่า จะมีเงินประมาณ 9,000 ล้านบาท มาจ่ายไปก่อนแล้วหลังจากนั้น จึงจะมีการเก็บเพิ่มในลักษณะขั้นบันได เพื่อให้ผู้ที่ต้องรับภาระในการปรับตัว
นายเจน นำชัยศิริ ประธานสถาบันพลังงาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ภาคอุตสาหกรรมไม่เห็นด้วยที่จะให้เอกชน เข้ามารับภาระต้นทุนสำหรับผู้ใช้ไฟฟรี 90 หน่วยต่อเดือน ซึ่งจะทำให้กระทบขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเมื่อรัฐบาลจะทำนโยบายประชานิยมหรือประชาสงเคราะห์ก็ควรจะแยกออกไม่ใช่มาโยนภาระให้ใครแบก