“อย่าโหวตโนเดี๋ยวทักษิณและพรรคเพื่อไทยจะกลับมา” วลีนี้ถูกงัดขึ้นมาต่อกรกับกระแส “โหวตโน-ไม่ประสงค์จะลงคะแนน” ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มันทำให้หลายคนชะงักไปนิดหนึ่ง และคิดในใจว่า ถ้าเพื่อไทยกลับมาแล้วจะทำอย่างไร
“ถ้าเราไปกาช่องไม่เลือกใคร คนที่ชนะเลือกตั้งก็ได้เป็นรัฐบาลอยู่ดี” นี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ถูกนำขึ้นมาตีโต้แคมเปญโหวตโนของพันธมิตรฯ
ฟังน้ำเสียง 2 ประโยค และ 2 วลีนี้แล้ว นอกจากสะท้อนถึงความหวั่นไหวต่อกระแสโหวตโนของพันธมิตรฯ แล้ว ยังฟังเหมือนจะอ้อนวอนว่า อย่าไปโหวตโนเลย มากาให้ปชป.ดีกว่า เดี๋ยวทักษิณจะกลับมา
แล้วรัฐบาล ปชป.ทำให้ทักษิณกลับมาเข้าคุกได้หรือไม่ คำตอบคือ ไม่ได้ ดังนั้นทักษิณกลับมาก็มาซิ มาแล้วก็เข้าคุก ใครจะมาลบล้างความผิดให้ทักษิณโดยไม่ผ่านขื่นแปของบ้านเมืองก็ลองดู
ถามว่า คนที่พูด 2 วลีหรือ 2 ประโยคนี้ เชื่อว่า ถ้าไม่โหวตโนคะแนนเหล่านั้นจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์เช่นนั้นหรือ คำตอบคือ ไม่ใช่ เพราะอย่างน้อยพันธมิตรฯ ซึ่งออกมาชุมนุมเรียกร้องรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์อยู่ในตอนนี้ย่อมไม่เลือกพรรคประชาธิปัตย์อยู่แล้ว
พันธมิตรฯ ไล่รัฐบาล ปชป.อยู่ทุกวัน เพราะปฏิเสธที่จะทำตามข้อเรียกร้อง 3 ข้อในการปกป้องดินแดน ถอนตัวจากมรดกโลก ยกเลิก MOU 2543 ผลักไล่ผู้รุกรานออกจากพื้นที่ 4.6 ตาราง กม. แต่รัฐบาล ปชป.ปฏิเสธทุกข้อจนต้องชุมนุมยืดเยื้ออยู่บนท้องถนน ใครจะไปลงคะแนนให้ก็บ้าแล้ว
เมื่อพันธมิตรฯ ไม่เลือกพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย คำตอบของพันธมิตรฯ ก็คือ การออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งกาช่องไม่เลือกใคร
แล้วถามว่า มันจะเกี่ยวอะไรกับการทำให้ ปชป.แพ้ เพราะพูดอย่างนั้นเหมือนกับว่า คนทั้งประเทศนี้ต้องออกไปเลือกพรรคประชาธิปัตย์เพื่อป้องกันไม่ให้พรรคเพื่อไทยกลับมาเป็นรัฐบาลเช่นนั้นหรือ
แล้วพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคเพื่อไทยต่างกันตรงไหน ดีเลวกว่ากันอย่างไร
คำถามนี้ตอบง่าย คุณคิดว่า รัฐบาลพรรคเพื่อไทยที่บงการด้วยทักษิณ และรัฐบาล ปชป.ที่บงการด้วยสุเทพและเนวินต่างกันตรงไหน คำตอบเรารู้อยู่แล้วว่าผ่านการบริหารงานของรัฐบาลทั้งสองว่าไม่ได้แตกต่างกันเลย
ความจริงแล้วเมื่อฟังเสียงสะท้อนจากฟาก ปชป.ที่กำลังหวั่นไหวกระแสโหวตโนและบอกว่า โหวตโนจะทำให้ตัวเองแพ้ ก็เท่ากับ ปชป.ยอมรับว่า ถ้าพันธมิตรฯ โหวตโนตัวเองต้องแพ้เลือกตั้งอย่างแน่นอน เพราะย่อมรู้ดีว่าเที่ยวที่แล้วพันธมิตรฯ ลงคะแนนให้ ปชป.เกือบหมด ภายใต้การเลือกตั้งที่คุมโดยคณะปฏิวัติก็ยังแพ้พรรคของทักษิณไม่เป็นท่ามาแล้ว
แต่ถามว่าปัญหานี้เกิดจากตัวพรรคประชาธิปัตย์เองไม่ใช่หรือ เพราะเมื่อเข้ามามีอำนาจแล้ว ก็ได้ทำลายมิตรของตัวเอง ปฏิเสธข้อเสนอของมิตร รับปากมิตรแต่ทำอีกอย่าง และพยายามเป็นกลางระหว่างเหลืองกับแดง แต่สุดท้ายนอกจากไม่สามารถซื้อใจมวลชนเสื้อแดงได้แล้ว ก็ยังทำลายมวลชนเสื้อเหลืองไปด้วย
พรรคเพื่อไทยนั้นมีฐานมวลชนที่แน่นอน แต่พรรคประชาธิปัตย์นอกจากปฏิเสธฐานมวลชนเสื้อเหลืองแล้ว ทำไมไม่ถามตัวเองดูว่าตั้งพรรคมาหลายสิบปีเป็นพรรคเก่าแก่ที่สุดของประเทศ ทำไมไม่เคยมีฐานมวลชนของตัวเองเลย
เราเห็นว่าในการเลือกตั้งแต่ละครั้งของพรรคประชาธิปัตย์นั้น มีฐานคะแนนที่ไม่แน่นอนเดี๋ยวแพ้เดี๋ยวชนะ เป็นรัฐบาลทีไร เลือกตั้งใหม่แล้วเจ๊งทุกที ก็เพราะไม่มีความสามารถในการบริหารประเทศ ดีแต่ปากซึ่งคุณสมบัตินี้เหมาะสมจะเป็นฝ่ายค้านที่สุด
อีกด้านหนึ่งพยายามบอกว่า การไปเลือกตั้งควรเลือกคนที่เราคิดว่า เลวน้อยที่สุด เราคงต้องทบทวนว่า สังคมไทยมันอับจนคนดีจนต้องเลือกคนที่เลวน้อยที่สุดเช่นนั้นหรือ แล้วถามต่อไปว่า คนดีที่เข้าไปอยู่ในระบบที่เน่านั้นมีใครบ้างที่ใช้ความดีส่วนตัวเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับประเทศหลังจากการเข้าสู่การเมืองได้ คำตอบคือ ไม่ดี เพราะระบบพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญนี้นั้น ถูกครอบงำด้วยมติพรรค และมติพรรคนั้นตั้งอยู่บนผลประโยชน์ของพรรคและกลุ่มทุนที่สนับสนุนพรรคไม่ใช่ของประเทศและประชาชน
เรามีประชาธิปไตยมาเกือบ 80 ปี เราเคยเห็นนักการเมืองทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมบ้างไหม หรือถ้ามีคนที่ตั้งใจดีทำเพื่อสังคมหลุดเข้าไปบ้าง เราเคยเห็นระบบที่เป็นอยู่เปิดโอกาสให้เขาทำเพื่อส่วนรวมบ้างไหม คำตอบก็คือ ไม่มีเลย
ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองจึงต้องเริ่มต้นที่ประชาชน เพราะเราจะรอให้นักการเมืองเปลี่ยนแปลงตัวเองนั้นคงรอให้งาช้างงอกออกจากปากหมาเสียก่อน
การไปใช้สิทธิเลือกตั้งและแสดงพลังให้เห็นว่า ประชาชนของประเทศนี้ทุกสีทุกกลุ่มต้องการที่จะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองนั้น เป็นวจีที่ถูกต้องแน่ตามระบอบประชาธิปไตย แต่ถามว่าเราต้องการเปลี่ยนแปลงแค่พรรคการเมืองที่บริหารประเทศหรือต้องการสร้างระบบการเมืองที่ดี คำถามนี้เราต้องถามใจตัวเอง
ถ้าถามว่า เมื่อไม่มีกฎหมายรองรับถ้าเราไปใช้สิทธิไม่เลือกใคร ก็ต้องมีคนชนะการเลือกตั้งอยู่ดี คะแนนของเราก็จะสูญเปล่า ผมถามกลับว่า แล้วเรายอมรับระบบการเมืองที่เป็นอยู่ซึ่งเต็มไปด้วยกลุ่มคนที่เข้ามาหาผลประโยชน์นี้หรือไม่ ถ้าเรายอมจำนนกับสิ่งที่มันเป็นอยู่เราก็ไปใช้สิทธิแค่ว่าเลือกคนที่เลวน้อยที่สุดต่อไป
แต่ถ้าเราคิดว่า ระบบการเมืองต้องถูกเปลี่ยนแปลง เราจะไม่จำนนกับการปล่อยให้นักการเมืองเข้ามาโกงบ้านกินเมืองอีกต่อไป เราก็ต้องกล้าที่จะแสดงพลังไม่เลือกผู้สมัครคนใดหรือพรรคใดเลย เพราะถ้าเราเลือกพรรคใดพรรคหนึ่ง คะแนนเสียงของเราก็จะกลายเป็นคะแนนเสียงที่ไปสร้างความชอบธรรมให้กับคนโกงบ้านโกงเมือง และเราก็เป็นส่วนหนึ่งของความชั่วร้ายนี้
การตัดสินใจไปลงคะแนนในช่องไม่เลือกใครนั้น เราต้องบอกตัวเองว่า เราจะไม่เป็นเครื่องมือให้กับนักการเมืองที่เข้ามาและคดโกงทุจริตคอร์รัปชันอีกต่อไป ถ้าเราทำได้และเลิกกลัวว่าคนเลวน้อยกว่าจะแพ้คนเลวมากกว่า ต่อไปคนเลวก็ไม่กล้าเข้ามาสู่การเมือง แต่ถ้าเราคิดแต่จะเลือกคนที่เลวน้อยที่สุด เราก็ไม่มีวันได้คนดีเข้ามาสู่ระบบการเมือง
ระหว่าง “เลวมาก” กับ “เลวน้อย” และ “การไม่เลือกใคร” ผมคิดว่าทุกคนน่าจะมีคำตอบอยู่ในใจแล้วว่า เราจะเลือกสิ่งไหน และสิ่งที่เราเห็นได้ชัดและน่าตั้งคำถามต่อตัวเองก็คือว่า พรรคการเมืองที่อยู่ในขั้วของการช่วงชิงอำนาจนั้น “เลวมาก” และ “เลวน้อย” ต่างกันจริงๆ หรือ
ดังนั้นระหว่างกลัวว่า “คะแนนที่ไม่ประสงค์จะเลือกใคร” จะกลายเป็นคะแนนที่สูญเปล่านั้น เราต้องถามตัวเองว่า เราจะปล่อยให้หนึ่งเสียงของเราเป็นคะแนนที่สร้างความชอบธรรมให้กับระบบการเมืองที่ชั่วร้ายซึ่งดำรงอยู่เช่นนี้หรือ
และถ้าเราไม่กล้าลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงด้วยการออกมาโหวตโน เราจะปล่อยให้ระบบการเมืองที่ชั่วร้ายดำรงอยู่และสืบทอดไปในรุ่นลุกรุ่นหลานของเราใช่หรือไม่
คะแนนเสียงโหวตโนอาจจะเริ่มจาก 1 ล้าน 2 ล้าน หรือ 3 ล้านเสียง แต่ถ้าเราสามารถเพิ่มคะแนนนี้ให้สูงขึ้นเรื่อยๆ ผมคิดว่าเราจะสามารถต่อต้านระบบการเมืองที่ชั่วร้ายได้
เราต้องตอบตัวเองให้ได้ว่า เราจะเป็นส่วนหนึ่งของระบบการเมืองที่เลวร้าย หรือจะกล้าบอกว่า เราไม่ประสงค์จะเลือกใคร เพราะต้องการปฏิรูปและล้างบางระบบการเมืองเก่า ทั้งหมดนี้อยู่ที่การตัดสินใจของเราเอง
“ถ้าเราไปกาช่องไม่เลือกใคร คนที่ชนะเลือกตั้งก็ได้เป็นรัฐบาลอยู่ดี” นี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ถูกนำขึ้นมาตีโต้แคมเปญโหวตโนของพันธมิตรฯ
ฟังน้ำเสียง 2 ประโยค และ 2 วลีนี้แล้ว นอกจากสะท้อนถึงความหวั่นไหวต่อกระแสโหวตโนของพันธมิตรฯ แล้ว ยังฟังเหมือนจะอ้อนวอนว่า อย่าไปโหวตโนเลย มากาให้ปชป.ดีกว่า เดี๋ยวทักษิณจะกลับมา
แล้วรัฐบาล ปชป.ทำให้ทักษิณกลับมาเข้าคุกได้หรือไม่ คำตอบคือ ไม่ได้ ดังนั้นทักษิณกลับมาก็มาซิ มาแล้วก็เข้าคุก ใครจะมาลบล้างความผิดให้ทักษิณโดยไม่ผ่านขื่นแปของบ้านเมืองก็ลองดู
ถามว่า คนที่พูด 2 วลีหรือ 2 ประโยคนี้ เชื่อว่า ถ้าไม่โหวตโนคะแนนเหล่านั้นจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์เช่นนั้นหรือ คำตอบคือ ไม่ใช่ เพราะอย่างน้อยพันธมิตรฯ ซึ่งออกมาชุมนุมเรียกร้องรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์อยู่ในตอนนี้ย่อมไม่เลือกพรรคประชาธิปัตย์อยู่แล้ว
พันธมิตรฯ ไล่รัฐบาล ปชป.อยู่ทุกวัน เพราะปฏิเสธที่จะทำตามข้อเรียกร้อง 3 ข้อในการปกป้องดินแดน ถอนตัวจากมรดกโลก ยกเลิก MOU 2543 ผลักไล่ผู้รุกรานออกจากพื้นที่ 4.6 ตาราง กม. แต่รัฐบาล ปชป.ปฏิเสธทุกข้อจนต้องชุมนุมยืดเยื้ออยู่บนท้องถนน ใครจะไปลงคะแนนให้ก็บ้าแล้ว
เมื่อพันธมิตรฯ ไม่เลือกพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย คำตอบของพันธมิตรฯ ก็คือ การออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งกาช่องไม่เลือกใคร
แล้วถามว่า มันจะเกี่ยวอะไรกับการทำให้ ปชป.แพ้ เพราะพูดอย่างนั้นเหมือนกับว่า คนทั้งประเทศนี้ต้องออกไปเลือกพรรคประชาธิปัตย์เพื่อป้องกันไม่ให้พรรคเพื่อไทยกลับมาเป็นรัฐบาลเช่นนั้นหรือ
แล้วพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคเพื่อไทยต่างกันตรงไหน ดีเลวกว่ากันอย่างไร
คำถามนี้ตอบง่าย คุณคิดว่า รัฐบาลพรรคเพื่อไทยที่บงการด้วยทักษิณ และรัฐบาล ปชป.ที่บงการด้วยสุเทพและเนวินต่างกันตรงไหน คำตอบเรารู้อยู่แล้วว่าผ่านการบริหารงานของรัฐบาลทั้งสองว่าไม่ได้แตกต่างกันเลย
ความจริงแล้วเมื่อฟังเสียงสะท้อนจากฟาก ปชป.ที่กำลังหวั่นไหวกระแสโหวตโนและบอกว่า โหวตโนจะทำให้ตัวเองแพ้ ก็เท่ากับ ปชป.ยอมรับว่า ถ้าพันธมิตรฯ โหวตโนตัวเองต้องแพ้เลือกตั้งอย่างแน่นอน เพราะย่อมรู้ดีว่าเที่ยวที่แล้วพันธมิตรฯ ลงคะแนนให้ ปชป.เกือบหมด ภายใต้การเลือกตั้งที่คุมโดยคณะปฏิวัติก็ยังแพ้พรรคของทักษิณไม่เป็นท่ามาแล้ว
แต่ถามว่าปัญหานี้เกิดจากตัวพรรคประชาธิปัตย์เองไม่ใช่หรือ เพราะเมื่อเข้ามามีอำนาจแล้ว ก็ได้ทำลายมิตรของตัวเอง ปฏิเสธข้อเสนอของมิตร รับปากมิตรแต่ทำอีกอย่าง และพยายามเป็นกลางระหว่างเหลืองกับแดง แต่สุดท้ายนอกจากไม่สามารถซื้อใจมวลชนเสื้อแดงได้แล้ว ก็ยังทำลายมวลชนเสื้อเหลืองไปด้วย
พรรคเพื่อไทยนั้นมีฐานมวลชนที่แน่นอน แต่พรรคประชาธิปัตย์นอกจากปฏิเสธฐานมวลชนเสื้อเหลืองแล้ว ทำไมไม่ถามตัวเองดูว่าตั้งพรรคมาหลายสิบปีเป็นพรรคเก่าแก่ที่สุดของประเทศ ทำไมไม่เคยมีฐานมวลชนของตัวเองเลย
เราเห็นว่าในการเลือกตั้งแต่ละครั้งของพรรคประชาธิปัตย์นั้น มีฐานคะแนนที่ไม่แน่นอนเดี๋ยวแพ้เดี๋ยวชนะ เป็นรัฐบาลทีไร เลือกตั้งใหม่แล้วเจ๊งทุกที ก็เพราะไม่มีความสามารถในการบริหารประเทศ ดีแต่ปากซึ่งคุณสมบัตินี้เหมาะสมจะเป็นฝ่ายค้านที่สุด
อีกด้านหนึ่งพยายามบอกว่า การไปเลือกตั้งควรเลือกคนที่เราคิดว่า เลวน้อยที่สุด เราคงต้องทบทวนว่า สังคมไทยมันอับจนคนดีจนต้องเลือกคนที่เลวน้อยที่สุดเช่นนั้นหรือ แล้วถามต่อไปว่า คนดีที่เข้าไปอยู่ในระบบที่เน่านั้นมีใครบ้างที่ใช้ความดีส่วนตัวเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับประเทศหลังจากการเข้าสู่การเมืองได้ คำตอบคือ ไม่ดี เพราะระบบพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญนี้นั้น ถูกครอบงำด้วยมติพรรค และมติพรรคนั้นตั้งอยู่บนผลประโยชน์ของพรรคและกลุ่มทุนที่สนับสนุนพรรคไม่ใช่ของประเทศและประชาชน
เรามีประชาธิปไตยมาเกือบ 80 ปี เราเคยเห็นนักการเมืองทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมบ้างไหม หรือถ้ามีคนที่ตั้งใจดีทำเพื่อสังคมหลุดเข้าไปบ้าง เราเคยเห็นระบบที่เป็นอยู่เปิดโอกาสให้เขาทำเพื่อส่วนรวมบ้างไหม คำตอบก็คือ ไม่มีเลย
ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองจึงต้องเริ่มต้นที่ประชาชน เพราะเราจะรอให้นักการเมืองเปลี่ยนแปลงตัวเองนั้นคงรอให้งาช้างงอกออกจากปากหมาเสียก่อน
การไปใช้สิทธิเลือกตั้งและแสดงพลังให้เห็นว่า ประชาชนของประเทศนี้ทุกสีทุกกลุ่มต้องการที่จะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองนั้น เป็นวจีที่ถูกต้องแน่ตามระบอบประชาธิปไตย แต่ถามว่าเราต้องการเปลี่ยนแปลงแค่พรรคการเมืองที่บริหารประเทศหรือต้องการสร้างระบบการเมืองที่ดี คำถามนี้เราต้องถามใจตัวเอง
ถ้าถามว่า เมื่อไม่มีกฎหมายรองรับถ้าเราไปใช้สิทธิไม่เลือกใคร ก็ต้องมีคนชนะการเลือกตั้งอยู่ดี คะแนนของเราก็จะสูญเปล่า ผมถามกลับว่า แล้วเรายอมรับระบบการเมืองที่เป็นอยู่ซึ่งเต็มไปด้วยกลุ่มคนที่เข้ามาหาผลประโยชน์นี้หรือไม่ ถ้าเรายอมจำนนกับสิ่งที่มันเป็นอยู่เราก็ไปใช้สิทธิแค่ว่าเลือกคนที่เลวน้อยที่สุดต่อไป
แต่ถ้าเราคิดว่า ระบบการเมืองต้องถูกเปลี่ยนแปลง เราจะไม่จำนนกับการปล่อยให้นักการเมืองเข้ามาโกงบ้านกินเมืองอีกต่อไป เราก็ต้องกล้าที่จะแสดงพลังไม่เลือกผู้สมัครคนใดหรือพรรคใดเลย เพราะถ้าเราเลือกพรรคใดพรรคหนึ่ง คะแนนเสียงของเราก็จะกลายเป็นคะแนนเสียงที่ไปสร้างความชอบธรรมให้กับคนโกงบ้านโกงเมือง และเราก็เป็นส่วนหนึ่งของความชั่วร้ายนี้
การตัดสินใจไปลงคะแนนในช่องไม่เลือกใครนั้น เราต้องบอกตัวเองว่า เราจะไม่เป็นเครื่องมือให้กับนักการเมืองที่เข้ามาและคดโกงทุจริตคอร์รัปชันอีกต่อไป ถ้าเราทำได้และเลิกกลัวว่าคนเลวน้อยกว่าจะแพ้คนเลวมากกว่า ต่อไปคนเลวก็ไม่กล้าเข้ามาสู่การเมือง แต่ถ้าเราคิดแต่จะเลือกคนที่เลวน้อยที่สุด เราก็ไม่มีวันได้คนดีเข้ามาสู่ระบบการเมือง
ระหว่าง “เลวมาก” กับ “เลวน้อย” และ “การไม่เลือกใคร” ผมคิดว่าทุกคนน่าจะมีคำตอบอยู่ในใจแล้วว่า เราจะเลือกสิ่งไหน และสิ่งที่เราเห็นได้ชัดและน่าตั้งคำถามต่อตัวเองก็คือว่า พรรคการเมืองที่อยู่ในขั้วของการช่วงชิงอำนาจนั้น “เลวมาก” และ “เลวน้อย” ต่างกันจริงๆ หรือ
ดังนั้นระหว่างกลัวว่า “คะแนนที่ไม่ประสงค์จะเลือกใคร” จะกลายเป็นคะแนนที่สูญเปล่านั้น เราต้องถามตัวเองว่า เราจะปล่อยให้หนึ่งเสียงของเราเป็นคะแนนที่สร้างความชอบธรรมให้กับระบบการเมืองที่ชั่วร้ายซึ่งดำรงอยู่เช่นนี้หรือ
และถ้าเราไม่กล้าลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงด้วยการออกมาโหวตโน เราจะปล่อยให้ระบบการเมืองที่ชั่วร้ายดำรงอยู่และสืบทอดไปในรุ่นลุกรุ่นหลานของเราใช่หรือไม่
คะแนนเสียงโหวตโนอาจจะเริ่มจาก 1 ล้าน 2 ล้าน หรือ 3 ล้านเสียง แต่ถ้าเราสามารถเพิ่มคะแนนนี้ให้สูงขึ้นเรื่อยๆ ผมคิดว่าเราจะสามารถต่อต้านระบบการเมืองที่ชั่วร้ายได้
เราต้องตอบตัวเองให้ได้ว่า เราจะเป็นส่วนหนึ่งของระบบการเมืองที่เลวร้าย หรือจะกล้าบอกว่า เราไม่ประสงค์จะเลือกใคร เพราะต้องการปฏิรูปและล้างบางระบบการเมืองเก่า ทั้งหมดนี้อยู่ที่การตัดสินใจของเราเอง