ASTVผู้จัดการรายวัน – กระทรวงอุตสาหกรรมขีดเส้นโรงงาน 15 ประเภทต้องเข้าสู่ระบบการจัดการกาก อุตสาหกรรมภายใน 30 ส.ค.นี้เตรียมประเมินผลเบื้องต้นพ.ค.ก่อนลุยเต็มพิกัด เล็งศึกษาแผนจัดตั้ง “ศูนย์รวบรวมและขนถ่ายกากอุตสาหกรรม” ในพื้นที่ไม่มีโรงงานรับกำจัดกากอุตสาหกรรมตั้งอยู่
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ปลายเดือนพ.ค.นี้ จะมีการประชุมคณะทำงานประสานความร่วมมือด้านการจัดการกากอุตสาหกรรมเพื่อประเมินผลถึงการดึงโรงงานเข้าสู่ระบบการจัดการกากอุตสาหกรรม ภายใต้เป้าหมายการกำกับดูแลโรงงานครอบคลุม 15 ประเภท ซึ่งถือเป็นโรงงานที่มีการเกิดกากอุตสาหกรรมค่อนข้างมาก และโรงงานที่มีขนาดมากกว่า 100 แรงม้าที่จะต้องเข้าสู่ระบบการจัดการภายใน 30 ส.ค.นี้
ทั้งนี้ คณะทำงานฯ ได้รายงานว่าโรงงานเป้าหมาย 15 ประเภท ที่อยู่ในเขตพื้นที่ทั้งในและนอกนิคมอุตสาหกรรม มีโรงงานอุตสาหกรรม (จำพวก 3) ที่เข้าสู่ระบบมากกว่า 45% คิดเป็นจำนวนที่เข้าสู่ระบบทั้งหมด 1,246 แห่ง จากจำนวนโรงงานที่มีอยู่ทั้งหมด 2,717 แห่ง ส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีขนาดมากกว่า 100 แรงม้า ที่อยู่ในความดูแลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.)
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.) มีทั้งหมด 41,214 แห่ง สามารถเข้าสู่ระบบมากกว่า 20% คิดเป็นจำนวนโรงงาน 8,041 แห่ง
อย่างไรก็ตาม จากการรายงานปริมาณกากของเสียและจำนวนโรงงานที่เข้าสู่ระบบ ณ เดือนพ.ค. พบว่ามีปริมาณกากอุตสาหกรรมที่เข้าสู่ระบบเพิ่มมากขึ้น โดยตั้งแต่ต้นปี 2554 จนถึงปัจจุบัน มีโรงงานประมาณ 15,000 แห่งที่เข้าสู่ระบบ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2553 ที่มีโรงงานเข้าสู่ระบบ 13,436 แห่ง โดยในปี2554 มีปริมาณของเสียอันตรายกว่า 1 ล้านตัน และปริมาณของเสียที่ไม่อันตราย 11.6 ล้านตัน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ลดลงจากปี 2553 เนื่องจากผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มีการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ ตามแนวทาง 3R โดยการนำของเสียไปใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าให้มากที่สุด
นอกจากนี้ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อาจจะมีการพิจารณาถึงการปรับแก้กฎหมายให้สามารถจัดตั้ง “ศูนย์รวบรวมและขนถ่ายกากอุตสาหกรรม” โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ไม่มีโรงงานรับกำจัดกากอุตสาหกรรมตั้งอยู่ เพื่อให้เกิดการรวบรวมของเสียอย่างเป็นระบบและสามารถลดต้นทุนการขนส่ง จากปัจจุบันที่มีระบบการขนส่งผ่านกันหลายบริษัท
อย่างไรก็ดี ในส่วนของความคืบหน้าการติดตั้งระบบ GPS กับรถยนต์ขนส่งกากของเสียอุตสาหกรรม ขณะนี้ได้มีการติดตั้งกับรถยนต์ฯดังกล่าวจำนวน 40 คัน และติดตั้ง Server อีกจำนวน 1 ชุด ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม เขตราชเทวี กรุงเทพฯ เพื่อใช้เป็นเครื่องสำรองหรือเชื่อมโยงกับระบบเดิมที่ศูนย์ชลบุรี เพื่อป้องกันการลักลอบทิ้งกากของเสียอุตสาหกรรม โดยคาดว่าจะมีการขยายการติดตั้งเครื่องมือดังกล่าวเพิ่มขึ้นอีกภายในปีนี้
สำหรับโรงงาน 15ประเภท อาทิ โรงงานหมัก ชำแหละ อบ ป่นหรือบด ฟอก ขัดและแต่ง แต่งสำเร็จ อัดให้เป็นลายนูน การทำเยื่อจากไม้ หรือวัสดุอื่น การทำกระดาษ กระดาษแข็ง หรือกระดาษที่ใช้ในการก่อสร้างชนิดที่ทำจากเส้นใย การทำเคมีภัณฑ์ สารเคมี หรือวัสดุเคมี ซึ่งมิใช่ปุ๋ย การทำปุ๋ยหรือสารป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชหรือการทำสีสำหรับใช้ทา พ่น หรือเคลือบ โรงงานกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เป็นต้น
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ปลายเดือนพ.ค.นี้ จะมีการประชุมคณะทำงานประสานความร่วมมือด้านการจัดการกากอุตสาหกรรมเพื่อประเมินผลถึงการดึงโรงงานเข้าสู่ระบบการจัดการกากอุตสาหกรรม ภายใต้เป้าหมายการกำกับดูแลโรงงานครอบคลุม 15 ประเภท ซึ่งถือเป็นโรงงานที่มีการเกิดกากอุตสาหกรรมค่อนข้างมาก และโรงงานที่มีขนาดมากกว่า 100 แรงม้าที่จะต้องเข้าสู่ระบบการจัดการภายใน 30 ส.ค.นี้
ทั้งนี้ คณะทำงานฯ ได้รายงานว่าโรงงานเป้าหมาย 15 ประเภท ที่อยู่ในเขตพื้นที่ทั้งในและนอกนิคมอุตสาหกรรม มีโรงงานอุตสาหกรรม (จำพวก 3) ที่เข้าสู่ระบบมากกว่า 45% คิดเป็นจำนวนที่เข้าสู่ระบบทั้งหมด 1,246 แห่ง จากจำนวนโรงงานที่มีอยู่ทั้งหมด 2,717 แห่ง ส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีขนาดมากกว่า 100 แรงม้า ที่อยู่ในความดูแลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.)
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.) มีทั้งหมด 41,214 แห่ง สามารถเข้าสู่ระบบมากกว่า 20% คิดเป็นจำนวนโรงงาน 8,041 แห่ง
อย่างไรก็ตาม จากการรายงานปริมาณกากของเสียและจำนวนโรงงานที่เข้าสู่ระบบ ณ เดือนพ.ค. พบว่ามีปริมาณกากอุตสาหกรรมที่เข้าสู่ระบบเพิ่มมากขึ้น โดยตั้งแต่ต้นปี 2554 จนถึงปัจจุบัน มีโรงงานประมาณ 15,000 แห่งที่เข้าสู่ระบบ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2553 ที่มีโรงงานเข้าสู่ระบบ 13,436 แห่ง โดยในปี2554 มีปริมาณของเสียอันตรายกว่า 1 ล้านตัน และปริมาณของเสียที่ไม่อันตราย 11.6 ล้านตัน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ลดลงจากปี 2553 เนื่องจากผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มีการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ ตามแนวทาง 3R โดยการนำของเสียไปใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าให้มากที่สุด
นอกจากนี้ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อาจจะมีการพิจารณาถึงการปรับแก้กฎหมายให้สามารถจัดตั้ง “ศูนย์รวบรวมและขนถ่ายกากอุตสาหกรรม” โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ไม่มีโรงงานรับกำจัดกากอุตสาหกรรมตั้งอยู่ เพื่อให้เกิดการรวบรวมของเสียอย่างเป็นระบบและสามารถลดต้นทุนการขนส่ง จากปัจจุบันที่มีระบบการขนส่งผ่านกันหลายบริษัท
อย่างไรก็ดี ในส่วนของความคืบหน้าการติดตั้งระบบ GPS กับรถยนต์ขนส่งกากของเสียอุตสาหกรรม ขณะนี้ได้มีการติดตั้งกับรถยนต์ฯดังกล่าวจำนวน 40 คัน และติดตั้ง Server อีกจำนวน 1 ชุด ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม เขตราชเทวี กรุงเทพฯ เพื่อใช้เป็นเครื่องสำรองหรือเชื่อมโยงกับระบบเดิมที่ศูนย์ชลบุรี เพื่อป้องกันการลักลอบทิ้งกากของเสียอุตสาหกรรม โดยคาดว่าจะมีการขยายการติดตั้งเครื่องมือดังกล่าวเพิ่มขึ้นอีกภายในปีนี้
สำหรับโรงงาน 15ประเภท อาทิ โรงงานหมัก ชำแหละ อบ ป่นหรือบด ฟอก ขัดและแต่ง แต่งสำเร็จ อัดให้เป็นลายนูน การทำเยื่อจากไม้ หรือวัสดุอื่น การทำกระดาษ กระดาษแข็ง หรือกระดาษที่ใช้ในการก่อสร้างชนิดที่ทำจากเส้นใย การทำเคมีภัณฑ์ สารเคมี หรือวัสดุเคมี ซึ่งมิใช่ปุ๋ย การทำปุ๋ยหรือสารป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชหรือการทำสีสำหรับใช้ทา พ่น หรือเคลือบ โรงงานกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เป็นต้น