ASTV ผู้จัดการรายวัน - ด่านศุลกากรช่องจอม อนุญาตให้ส่งออกน้ำมัน สินค้ายุทธปัจจัยเข้าเขมรแล้ว อ้างเป็นการผ่อนปรนแก้ปัญหาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการ แต่บรรยากาศโดยรวมยังซบเซา “พันธมิตร”อัดรัฐบาลดีแต่พูด แต่ไม่ทำอะไรชี้ ผลหารือ3ฝ่าย ไม่มีข้อใดที่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรกำหนดให้กัมพูชาต้องถอนกำลังออกจากแผ่นดินไทยแม้แต่น้อย ฝั่งเขมรเขมร โต้ ไม่เคยเห็นพ้องไทย เรื่องถอนทหาร พร้อมด่าไทยเจ้าเล่ห์
วานนี้ (12 พ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่จุดผ่านแดนถาวรไทย-กัมพูชา ช่องจอม-โอร์เสม็ด ต.ด่าน อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ ซึ่งเปิดให้ประชาชนทั้ง 2 ประเทศได้ผ่านแดนเข้าออกเพื่อการค้าขายและการท่องเที่ยวตามปกติ ตั้งแต่วันที่ 4 พ.ค. ล่าสุด เจ้าหน้าที่ได้อนุญาตให้ผู้ประกอบการค้าน้ำมันฝั่งกัมพูชาสามารถนำเข้าสินค้าน้ำมันเชื้อเพลิงได้แล้ว โดยล่าสุดได้นำเข้าน้ำมันดีเซล 80,000 ลิตร และน้ำมันเบนซิน 40,000 ลิตร ซึ่งเป็นการผ่อนปรนเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการเนื่องจากได้มีการสั่งซื้อน้ำเชื้อเพลิงไว้ล่วงหน้าแล้ว
ส่วนปูนซีเมนต์รวมทั้งวัสดุก่อสร้างต่างๆ ก็ให้มีการส่งออกเข้าไปยังประเทศกัมพูชาตามปกติ แต่จะมีการตรวจตราอย่างเข้มงวด ทั้งนี้ เนื่องจากเหตุการณ์การปะทะกันของทหารทั้ง 2 ฝ่ายได้สงบลงแล้ว อีกทั้งด่านผ่านแดนถาวรช่องจอม เป็นด่านการค้าขายเสรี ไม่ใช่จุดที่เกิดการสู้รบ โดยแต่ละปีที่ผ่านมาด่านช่องจอมมีมูลค่าการค้าชายแดนมากกว่า 1,8000 ล้านบาท
สำหรับบรรยากาศการค้าขายและการท่องเที่ยวบริเวณตลาดชายแดน ขณะนี้ยังซบเซา ถึงแม้บรรดาพ่อค้า แม่ค้าชาวกัมพูชาได้เริ่มทยอย นำสินค้าเข้ามาจำหน่ายในฝั่งไทยกันมากขึ้น แต่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวกันน้อย จากปกติจะมีนักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางข้ามไปยังฝั่งกัมพูชาวันละไม่ต่ำกว่า 800-900 คน แต่ขณะนี้นักท่องเที่ยวลดลงไปกว่า 50% รวมถึงชาวกัมพูชาที่เข้ามาซื้อสินค้าก็น้อยลงตามไปด้วย
**คนชายแดนบุรีรัมย์ยังผวาปืนใหญ่เขมร
ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.บุรีรัมย์ว่า บรรดาพ่อแม่ ผู้ปกครอง และเด็กนักเรียน ในพื้นที่เสี่ยงภัยตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ที่บ้านสายโท 10 และบ้านสายโท 12 ใต้ ต.สายตะกู อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ ยังมีความหวาดผวา ในเหตุการณ์ปะทะระหว่างทหารไทยกับฝ่ายกัมพูชา เมื่อช่วง 22 เม.ย.-2 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยเฉพาะในสัปดาห์หน้าซึ่งเป็นช่วงเปิดภาคเรียนใหม่เกรงว่า บุตรหลานจะได้รับอันตรายหากเกิดเหตุการณ์ปะทะขึ้นซ้ำอีก หลังรัฐบาลทั้งสองประเทศไม่สามารถเจรจาตกลงกันได้ ทำให้สถานการณ์ตึงเครียดอย่างในขณะนี้
รวมทั้งทราบข่าวว่าฝ่ายทหารกัมพูชาได้มีการเสริมกำลังเข้ามาประชิดชายแดน ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดการปะทะรุนแรงอีกครั้ง ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อเด็กนักเรียน และชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยได้ จึงขอเรียกร้องให้หน่วยงานภาครัฐ เร่งเข้าก่อสร้างหลุมหลบภัยที่ได้มาตรฐานในหมู่บ้าน และโรงเรียนตามพื้นที่แนวชายแดนให้ครบทุกโรงเรียน เพื่อให้มีความปลอดภัยมากขึ้นเพราะขณะนี้โรงเรียน และหมู่บ้านหลายแห่งยังไม่มีหลุมหลบภัยที่ได้มาตรฐาน
นางลำไย ณพล อายุ 55 ปี ผู้ปกครองนักเรียนบ้านสายโท 10 ใต้ บอกว่า เหตุการณ์สู้รบที่เพิ่งเกิดขึ้นยังสร้างความหวาดผวาให้ชาวบ้าน โดยเฉพาะในช่วงเปิดภาคเรียน เกรงจะเกิดมีการปะทะของกองกำลังทั้งสองฝ่ายเกิดขึ้นอีก ซึ่งจะทำให้เป็นอันตรายต่อบุตรหลาน เพราะการปะทะที่ผ่านมามีลูกกระสุนปืนใหญ่เข้ามาตกในหมู่บ้านถึง 9 ลูก ทำให้ชาวบ้านทั้งหมดต้องอพยพบุตรหลานไปพักพิงอยู่ที่ศูนย์อพยพชั่วคราว
“ขอให้ทางภาครัฐ ได้เร่งจัดสรรงบประมาณมาดำเนินการก่อสร้างหลุมหลบภัยที่มีมาตรฐานภายในโรงเรียน และหมู่บ้าน อย่างเร่งด่วน เพื่อความปลอดภัยของชาวบ้านและเด็กนักเรียน” นางลำไย กล่าว
ขณะที่ ด.ช.สุรทัศน์ มุนิล อายุ 8 ปี เรียนอยู่ชั้น ป.2 โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ กล่าวว่า ดีใจที่จะได้ไปโรงเรียนและเล่นกับเพื่อนๆ แต่ยังหวาดกลัวกับเหตุการณ์ปะทะกันที่เกิดขึ้น เพราะโรงเรียนอยู่ติดแนวชายแดนและมีลูกปืนใหญ่ยิงตกมาใกล้โรงเรียนด้วย เมื่อก่อนในโรงเรียนเคยมีหลุมหลบภัย แต่ได้ปรับสภาพเป็นสวนไปแล้ว จึงอยากให้ทางราชการเข้ามาทำหลุมหลบภัยขึ้นในโรงเรียน เพื่อความปลอดภัยของพวกเรา แต่ตอนนี้ก็ยังไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาทำให้เลย
**โวย รบ.ดีแต่พูดไม่ทำอะไร
ขณะเดียวกัน ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ นายปานเทพ พัวพงศ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ตั้งข้อสังเกตกรณีที่ทางการกัมพูชาออกมาเปิดเผยผลการหารือ 3 ฝ่าย ระหว่าง รมว.ต่างประเทศ ของไทย กัมพูชาและอินโดเซีย ระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเมื่อวันที่ 9 พ.ค.ที่ผ่านมาว่า ในการเปิดเผยโดยทางการกัมพูชามีการระบุถึงมีข้อสรุปที่จะให้มีการลงนามในร่างทีโออาร์ทั้ง 3 ฝ่ายว่า ซึ่งไม่มีข้อใดที่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรที่กำหนดให้กัมพูชาต้องถอนกำลังออกจากแผ่นดินไทยแม้แต่น้อย ซึ่งเท่ากับว่ากัมพูชากับอินโดเซีย ต้องการบีบให้ไทยยอมรับการมีผู้สังเกตการณ์เข้ามา โดยไม่มีหลักประกันว่าจะผลักดันทหารกัมพูชาออกจากพื้นที่ ที่สำคัญยังมีการกำหนดกรอบเวลาเป็น 3 ช่วงเวลา คือ ให้ทั้ง 3 ฝ่ายลงนามและแลกเปลี่ยนทีโออาร์ในการเชิญผู้สังเกตการณ์จากอินโดนีเซียเข้ามาในพื้นที่พิพาท และจัดให้มีการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนทั่วไป (จีบีซี) และคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (เจบีซี) ไทย-กัมพูชา ในคราวเดียวกัน หลังจากนั้น 5 วันให้ทีมสำรวจจากอินโดนีเซียเข้ามา ถัดไป 10 วันให้ส่งทีมผู้สังเกตการณ์ลงพื้นที่ และติดตามผลการประชุมจีบีซี และเจบีซี ซึ่งถือเป็นเล่ห์เพทุบายที่ปรากฎเป็นหนังสือออกมาจากฝ่ายกัมพูชา
“สิ่งนี้คือปรากฎการณ์ที่กัมพูชาแถลงว่าเป็นผลการประชุม 3 ฝ่ายที่ตกลงกัน ซึ่งเราไม่ทราบว่าจริงเท็จอย่างไร แต่ขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยออกมาทำหน้าที่ปกป้องแผ่นดิน ไม่ใช่ดีแต่พูดว่าจะไม่ลงนามในทีโออาร์ แต่เมื่อถึงเวลากลับไม่ปฏิบัติสิ่งใดที่เป็นการทวงคืนประเทศไทยกลับคืนมา” นายปานเทพ กล่าว
**เขมร โต้ ไม่เคยเห็นพ้องไทย เรื่องถอนทหาร
เว็บไซต์ ฟิฟทีนมูฟ รายงานข้อมูลจากหนังสือพิมพ์กัมพูชาใหม่ ค่ำวานนี้ (11พ.ค.) ตามคำกล่าวของ นายโกย กวง โฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา เพื่อเป็นการตอบโต้ นายธานี ทองภักดี โฆษกกระทรวงต่างประเทศไทย ที่ระบุว่า ไทยและกัมพูชา เห็นพ้องที่จะถอนทหารทั้งสองฝ่ายออกจากพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร โดยโฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา กล่าวว่า เป็นเรื่องไม่จริงและไทยเป็นคนเจ้าเล่ห์อย่างที่สุด
ตามรายงานระบุ นายโกย กวง กล่าวว่า การยกเรื่องขึ้นมาของโฆษกกระทรวงการต่างประเทศของไทย ที่จริงเป็นเพียง "เล่ห์กล" และไม่เป็นความจริง เพราะการประชุมกันระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา ไทย และอินโดนีเซีย ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องถอนทหารเลย ในการหารือดังกล่าวได้เห็นพ้องต่อชุดทางออกที่พูดเกี่ยวกับหน้าที่ผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย และการประชุม JBC และ GBC เท่านั้น
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมกัมพูชาที่แนวหลัง กล่าวว่า เรื่องถอนทหารหรือไม่ถอนนั้น ไม่ใช่ฝ่ายขัดแย้งเป็นผู้พูด แต่ควรยกโอกาสให้กรรมการ เป็นผู้ตัดสิน อีกทั้ง ยังระบุด้วยว่า ถ้าหากฝ่ายขัดแย้งทั้งสองเห็นชอบกัน และถอนทหารของทั้งสองฝ่ายออกไปหมด แล้วยังจะจำเป็นให้มีผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียมาทำอะไร เพราะเรื่องมันจบไปแล้ว ด้วยเหตุนี้ไทยไม่ควรทำตัวเป็นตุลาการไปด้วยเป็นลูกความไปด้วยในเวลาเดียวกัน แล้วมาตัดสินในเรื่องนี้ และไทยก็ไม่ควรกลัวผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย ให้เข้ามาเป็นกรรมการตัดสิน
** เปิดตัวหนังสือ “ข้อมูลพื้นฐานพระวิหารกับศาลโลก”
นอกจากนี้ ที่ห้องห้องรามราฆพ (ห้องม้าขาว) ราชตฤณมัยสมาคม สนามม้านางเลิ้ง ได้มีการจัดงานแถลงข่าวและเปิดตัวหนังสือ “ข้อมูลพื้นฐานพระวิหารกับศาลโลก จากข้อเขียนของ ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล” ซึ่งเรียบเรียงโดยนางถ่ายเถา สุจริตกุล ภรรยาของ ศ.ดร.สุจริต โดยมีแขกผู้มีเกียรติ อาทิ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และ ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ และผู้ที่สนใจอีกจำนวนหนึ่งเข้าร่วมงาน
โดย นางถ่ายเถา เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาตนได้ทำหน้าที่เป็นเลขาฯส่วนตัวให้แก่สามีมาโดยตลอด จึงได้มีส่วนได้รับรู้ข้อมูลประวิติศาสตร์เกี่ยวกับปราสาทพระวิหารดยตลอด และเมื่อเห็นว่าในปัจจุบันได้เกิดปัญหาที่มีความคิดเห็นของหลายฝ่ายที่ไม่ตรงกัน และยอกย้อนกันจนเกิดเป็นความขัดแย้ง จึงอยากทำอะไรที่สามารถทำให้คนไทยรู้สึกสำนึกรักชาติ พร้อมทั้งช่วยให้ไทยไม่ให้ถูกใครมาย่ำยี การเรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ออกมานั้นก็ไม่ได้ต้องการชื่อเสียงเงินทอง เพียงแต่อยากให้ข้อมูลที่มีการพูดกันมากมีความเข้าใจที่ตรงกัน เพราะเรื่องนี้เกิดขึ้นมาแล้วหลายสิบปี มีโอกาสที่จะผิดเพี้ยนสูง จึงนำข้อมูลที่มีอยู่เดิมมาเรียบเรียงเป็นหนังสือเล่มเล็กๆนี้ขึ้นมา ซึ่งคิดว่าผู้อ่านใช้เวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมงก็สามารถอ่านจบได้ และนำไปสู่ความรู้ซึ่งเป็นช้อมูลที่แท้จริง รวมทั้งอยากให้ผู้ที่อ่านจบแล้วพกพาติดตัวไว้ด้วย เพื่อเผยแพร่ความรู้และทบทวน มิให้ต้องถูกหลิกจากข้อมูลที่ผิดเพี้ยน
“หนังสือเล่มนี้ตั้งราคาขายเพียง 71 บาทเท่านั้น เพราะเห็นว่าการที่ต้องการเสริมความรู้นั้น ไม่จำเป็นต้องใช้เงินถึง 71 แนบาทหรือ 7.1 ล้านบาท ก็สามารถได้ความรู้ที่อท้จริงจากหลังสือเล่มเล็กๆนี้ได้” นางถ่ายเถา กล่าว
ด้าน ศ.ดร.สมปอง กล่าวตอนหนึ่งว่า การยื่นคำร้องของกัมพูชายังคลุมเครืออยู่ว่าเป็นคดีใหม่หรือคดีเก่าที่ต้องการให้มีการขยายผลของคำพิพากษาศาลโลกเมื่อปี 2505 หากเป็นคดีเก่าตนอยากถามว่าที่ผ่านมา 48 ปีนี้ไม่เคยตีความเลยอย่างนั้นหรือ ถ้าเป็นคดีใหม่แล้วศาลไม่รับคำร้องก็จบ ดังนั้นสิ่งที่เราต้องทำคือ ทำอย่างไรก็ได้ไม่ให้กัมพูชาสามารถขยายความคำพิพากษาเดิมได้ ซึ่งจะทำให้กัมพูชาตกอยู่ในที่นั่งลำบาก จึงเป็นเหตุให้ฝ่ายกัมพูชาออกมาพูดแบบกำกวม จะเอาทั้งขึ้นทั้งล่อง ซึ่งฝ่ายเราก็ต้องโต้แย้งให้ได้
ศ.ดร.สมปอง กล่าวอีกว่า ตนเคยบอกนายกฯและรัฐบาลเสมอว่า เราไม่จำเป็นต้องยึดถือเอ็มโอยู 2543 ก็สามารถปกป้องดินแดนของไทยได้ เพราะการที่กัมพูชารุกล้ำเข้ามาเขตแดนไทยนั้นก็เข้าข่ายความผิดชัดเจน
วานนี้ (12 พ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่จุดผ่านแดนถาวรไทย-กัมพูชา ช่องจอม-โอร์เสม็ด ต.ด่าน อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ ซึ่งเปิดให้ประชาชนทั้ง 2 ประเทศได้ผ่านแดนเข้าออกเพื่อการค้าขายและการท่องเที่ยวตามปกติ ตั้งแต่วันที่ 4 พ.ค. ล่าสุด เจ้าหน้าที่ได้อนุญาตให้ผู้ประกอบการค้าน้ำมันฝั่งกัมพูชาสามารถนำเข้าสินค้าน้ำมันเชื้อเพลิงได้แล้ว โดยล่าสุดได้นำเข้าน้ำมันดีเซล 80,000 ลิตร และน้ำมันเบนซิน 40,000 ลิตร ซึ่งเป็นการผ่อนปรนเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการเนื่องจากได้มีการสั่งซื้อน้ำเชื้อเพลิงไว้ล่วงหน้าแล้ว
ส่วนปูนซีเมนต์รวมทั้งวัสดุก่อสร้างต่างๆ ก็ให้มีการส่งออกเข้าไปยังประเทศกัมพูชาตามปกติ แต่จะมีการตรวจตราอย่างเข้มงวด ทั้งนี้ เนื่องจากเหตุการณ์การปะทะกันของทหารทั้ง 2 ฝ่ายได้สงบลงแล้ว อีกทั้งด่านผ่านแดนถาวรช่องจอม เป็นด่านการค้าขายเสรี ไม่ใช่จุดที่เกิดการสู้รบ โดยแต่ละปีที่ผ่านมาด่านช่องจอมมีมูลค่าการค้าชายแดนมากกว่า 1,8000 ล้านบาท
สำหรับบรรยากาศการค้าขายและการท่องเที่ยวบริเวณตลาดชายแดน ขณะนี้ยังซบเซา ถึงแม้บรรดาพ่อค้า แม่ค้าชาวกัมพูชาได้เริ่มทยอย นำสินค้าเข้ามาจำหน่ายในฝั่งไทยกันมากขึ้น แต่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวกันน้อย จากปกติจะมีนักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางข้ามไปยังฝั่งกัมพูชาวันละไม่ต่ำกว่า 800-900 คน แต่ขณะนี้นักท่องเที่ยวลดลงไปกว่า 50% รวมถึงชาวกัมพูชาที่เข้ามาซื้อสินค้าก็น้อยลงตามไปด้วย
**คนชายแดนบุรีรัมย์ยังผวาปืนใหญ่เขมร
ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.บุรีรัมย์ว่า บรรดาพ่อแม่ ผู้ปกครอง และเด็กนักเรียน ในพื้นที่เสี่ยงภัยตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ที่บ้านสายโท 10 และบ้านสายโท 12 ใต้ ต.สายตะกู อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ ยังมีความหวาดผวา ในเหตุการณ์ปะทะระหว่างทหารไทยกับฝ่ายกัมพูชา เมื่อช่วง 22 เม.ย.-2 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยเฉพาะในสัปดาห์หน้าซึ่งเป็นช่วงเปิดภาคเรียนใหม่เกรงว่า บุตรหลานจะได้รับอันตรายหากเกิดเหตุการณ์ปะทะขึ้นซ้ำอีก หลังรัฐบาลทั้งสองประเทศไม่สามารถเจรจาตกลงกันได้ ทำให้สถานการณ์ตึงเครียดอย่างในขณะนี้
รวมทั้งทราบข่าวว่าฝ่ายทหารกัมพูชาได้มีการเสริมกำลังเข้ามาประชิดชายแดน ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดการปะทะรุนแรงอีกครั้ง ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อเด็กนักเรียน และชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยได้ จึงขอเรียกร้องให้หน่วยงานภาครัฐ เร่งเข้าก่อสร้างหลุมหลบภัยที่ได้มาตรฐานในหมู่บ้าน และโรงเรียนตามพื้นที่แนวชายแดนให้ครบทุกโรงเรียน เพื่อให้มีความปลอดภัยมากขึ้นเพราะขณะนี้โรงเรียน และหมู่บ้านหลายแห่งยังไม่มีหลุมหลบภัยที่ได้มาตรฐาน
นางลำไย ณพล อายุ 55 ปี ผู้ปกครองนักเรียนบ้านสายโท 10 ใต้ บอกว่า เหตุการณ์สู้รบที่เพิ่งเกิดขึ้นยังสร้างความหวาดผวาให้ชาวบ้าน โดยเฉพาะในช่วงเปิดภาคเรียน เกรงจะเกิดมีการปะทะของกองกำลังทั้งสองฝ่ายเกิดขึ้นอีก ซึ่งจะทำให้เป็นอันตรายต่อบุตรหลาน เพราะการปะทะที่ผ่านมามีลูกกระสุนปืนใหญ่เข้ามาตกในหมู่บ้านถึง 9 ลูก ทำให้ชาวบ้านทั้งหมดต้องอพยพบุตรหลานไปพักพิงอยู่ที่ศูนย์อพยพชั่วคราว
“ขอให้ทางภาครัฐ ได้เร่งจัดสรรงบประมาณมาดำเนินการก่อสร้างหลุมหลบภัยที่มีมาตรฐานภายในโรงเรียน และหมู่บ้าน อย่างเร่งด่วน เพื่อความปลอดภัยของชาวบ้านและเด็กนักเรียน” นางลำไย กล่าว
ขณะที่ ด.ช.สุรทัศน์ มุนิล อายุ 8 ปี เรียนอยู่ชั้น ป.2 โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ กล่าวว่า ดีใจที่จะได้ไปโรงเรียนและเล่นกับเพื่อนๆ แต่ยังหวาดกลัวกับเหตุการณ์ปะทะกันที่เกิดขึ้น เพราะโรงเรียนอยู่ติดแนวชายแดนและมีลูกปืนใหญ่ยิงตกมาใกล้โรงเรียนด้วย เมื่อก่อนในโรงเรียนเคยมีหลุมหลบภัย แต่ได้ปรับสภาพเป็นสวนไปแล้ว จึงอยากให้ทางราชการเข้ามาทำหลุมหลบภัยขึ้นในโรงเรียน เพื่อความปลอดภัยของพวกเรา แต่ตอนนี้ก็ยังไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาทำให้เลย
**โวย รบ.ดีแต่พูดไม่ทำอะไร
ขณะเดียวกัน ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ นายปานเทพ พัวพงศ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ตั้งข้อสังเกตกรณีที่ทางการกัมพูชาออกมาเปิดเผยผลการหารือ 3 ฝ่าย ระหว่าง รมว.ต่างประเทศ ของไทย กัมพูชาและอินโดเซีย ระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเมื่อวันที่ 9 พ.ค.ที่ผ่านมาว่า ในการเปิดเผยโดยทางการกัมพูชามีการระบุถึงมีข้อสรุปที่จะให้มีการลงนามในร่างทีโออาร์ทั้ง 3 ฝ่ายว่า ซึ่งไม่มีข้อใดที่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรที่กำหนดให้กัมพูชาต้องถอนกำลังออกจากแผ่นดินไทยแม้แต่น้อย ซึ่งเท่ากับว่ากัมพูชากับอินโดเซีย ต้องการบีบให้ไทยยอมรับการมีผู้สังเกตการณ์เข้ามา โดยไม่มีหลักประกันว่าจะผลักดันทหารกัมพูชาออกจากพื้นที่ ที่สำคัญยังมีการกำหนดกรอบเวลาเป็น 3 ช่วงเวลา คือ ให้ทั้ง 3 ฝ่ายลงนามและแลกเปลี่ยนทีโออาร์ในการเชิญผู้สังเกตการณ์จากอินโดนีเซียเข้ามาในพื้นที่พิพาท และจัดให้มีการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนทั่วไป (จีบีซี) และคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (เจบีซี) ไทย-กัมพูชา ในคราวเดียวกัน หลังจากนั้น 5 วันให้ทีมสำรวจจากอินโดนีเซียเข้ามา ถัดไป 10 วันให้ส่งทีมผู้สังเกตการณ์ลงพื้นที่ และติดตามผลการประชุมจีบีซี และเจบีซี ซึ่งถือเป็นเล่ห์เพทุบายที่ปรากฎเป็นหนังสือออกมาจากฝ่ายกัมพูชา
“สิ่งนี้คือปรากฎการณ์ที่กัมพูชาแถลงว่าเป็นผลการประชุม 3 ฝ่ายที่ตกลงกัน ซึ่งเราไม่ทราบว่าจริงเท็จอย่างไร แต่ขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยออกมาทำหน้าที่ปกป้องแผ่นดิน ไม่ใช่ดีแต่พูดว่าจะไม่ลงนามในทีโออาร์ แต่เมื่อถึงเวลากลับไม่ปฏิบัติสิ่งใดที่เป็นการทวงคืนประเทศไทยกลับคืนมา” นายปานเทพ กล่าว
**เขมร โต้ ไม่เคยเห็นพ้องไทย เรื่องถอนทหาร
เว็บไซต์ ฟิฟทีนมูฟ รายงานข้อมูลจากหนังสือพิมพ์กัมพูชาใหม่ ค่ำวานนี้ (11พ.ค.) ตามคำกล่าวของ นายโกย กวง โฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา เพื่อเป็นการตอบโต้ นายธานี ทองภักดี โฆษกกระทรวงต่างประเทศไทย ที่ระบุว่า ไทยและกัมพูชา เห็นพ้องที่จะถอนทหารทั้งสองฝ่ายออกจากพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร โดยโฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา กล่าวว่า เป็นเรื่องไม่จริงและไทยเป็นคนเจ้าเล่ห์อย่างที่สุด
ตามรายงานระบุ นายโกย กวง กล่าวว่า การยกเรื่องขึ้นมาของโฆษกกระทรวงการต่างประเทศของไทย ที่จริงเป็นเพียง "เล่ห์กล" และไม่เป็นความจริง เพราะการประชุมกันระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา ไทย และอินโดนีเซีย ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องถอนทหารเลย ในการหารือดังกล่าวได้เห็นพ้องต่อชุดทางออกที่พูดเกี่ยวกับหน้าที่ผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย และการประชุม JBC และ GBC เท่านั้น
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมกัมพูชาที่แนวหลัง กล่าวว่า เรื่องถอนทหารหรือไม่ถอนนั้น ไม่ใช่ฝ่ายขัดแย้งเป็นผู้พูด แต่ควรยกโอกาสให้กรรมการ เป็นผู้ตัดสิน อีกทั้ง ยังระบุด้วยว่า ถ้าหากฝ่ายขัดแย้งทั้งสองเห็นชอบกัน และถอนทหารของทั้งสองฝ่ายออกไปหมด แล้วยังจะจำเป็นให้มีผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียมาทำอะไร เพราะเรื่องมันจบไปแล้ว ด้วยเหตุนี้ไทยไม่ควรทำตัวเป็นตุลาการไปด้วยเป็นลูกความไปด้วยในเวลาเดียวกัน แล้วมาตัดสินในเรื่องนี้ และไทยก็ไม่ควรกลัวผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย ให้เข้ามาเป็นกรรมการตัดสิน
** เปิดตัวหนังสือ “ข้อมูลพื้นฐานพระวิหารกับศาลโลก”
นอกจากนี้ ที่ห้องห้องรามราฆพ (ห้องม้าขาว) ราชตฤณมัยสมาคม สนามม้านางเลิ้ง ได้มีการจัดงานแถลงข่าวและเปิดตัวหนังสือ “ข้อมูลพื้นฐานพระวิหารกับศาลโลก จากข้อเขียนของ ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล” ซึ่งเรียบเรียงโดยนางถ่ายเถา สุจริตกุล ภรรยาของ ศ.ดร.สุจริต โดยมีแขกผู้มีเกียรติ อาทิ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และ ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ และผู้ที่สนใจอีกจำนวนหนึ่งเข้าร่วมงาน
โดย นางถ่ายเถา เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาตนได้ทำหน้าที่เป็นเลขาฯส่วนตัวให้แก่สามีมาโดยตลอด จึงได้มีส่วนได้รับรู้ข้อมูลประวิติศาสตร์เกี่ยวกับปราสาทพระวิหารดยตลอด และเมื่อเห็นว่าในปัจจุบันได้เกิดปัญหาที่มีความคิดเห็นของหลายฝ่ายที่ไม่ตรงกัน และยอกย้อนกันจนเกิดเป็นความขัดแย้ง จึงอยากทำอะไรที่สามารถทำให้คนไทยรู้สึกสำนึกรักชาติ พร้อมทั้งช่วยให้ไทยไม่ให้ถูกใครมาย่ำยี การเรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ออกมานั้นก็ไม่ได้ต้องการชื่อเสียงเงินทอง เพียงแต่อยากให้ข้อมูลที่มีการพูดกันมากมีความเข้าใจที่ตรงกัน เพราะเรื่องนี้เกิดขึ้นมาแล้วหลายสิบปี มีโอกาสที่จะผิดเพี้ยนสูง จึงนำข้อมูลที่มีอยู่เดิมมาเรียบเรียงเป็นหนังสือเล่มเล็กๆนี้ขึ้นมา ซึ่งคิดว่าผู้อ่านใช้เวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมงก็สามารถอ่านจบได้ และนำไปสู่ความรู้ซึ่งเป็นช้อมูลที่แท้จริง รวมทั้งอยากให้ผู้ที่อ่านจบแล้วพกพาติดตัวไว้ด้วย เพื่อเผยแพร่ความรู้และทบทวน มิให้ต้องถูกหลิกจากข้อมูลที่ผิดเพี้ยน
“หนังสือเล่มนี้ตั้งราคาขายเพียง 71 บาทเท่านั้น เพราะเห็นว่าการที่ต้องการเสริมความรู้นั้น ไม่จำเป็นต้องใช้เงินถึง 71 แนบาทหรือ 7.1 ล้านบาท ก็สามารถได้ความรู้ที่อท้จริงจากหลังสือเล่มเล็กๆนี้ได้” นางถ่ายเถา กล่าว
ด้าน ศ.ดร.สมปอง กล่าวตอนหนึ่งว่า การยื่นคำร้องของกัมพูชายังคลุมเครืออยู่ว่าเป็นคดีใหม่หรือคดีเก่าที่ต้องการให้มีการขยายผลของคำพิพากษาศาลโลกเมื่อปี 2505 หากเป็นคดีเก่าตนอยากถามว่าที่ผ่านมา 48 ปีนี้ไม่เคยตีความเลยอย่างนั้นหรือ ถ้าเป็นคดีใหม่แล้วศาลไม่รับคำร้องก็จบ ดังนั้นสิ่งที่เราต้องทำคือ ทำอย่างไรก็ได้ไม่ให้กัมพูชาสามารถขยายความคำพิพากษาเดิมได้ ซึ่งจะทำให้กัมพูชาตกอยู่ในที่นั่งลำบาก จึงเป็นเหตุให้ฝ่ายกัมพูชาออกมาพูดแบบกำกวม จะเอาทั้งขึ้นทั้งล่อง ซึ่งฝ่ายเราก็ต้องโต้แย้งให้ได้
ศ.ดร.สมปอง กล่าวอีกว่า ตนเคยบอกนายกฯและรัฐบาลเสมอว่า เราไม่จำเป็นต้องยึดถือเอ็มโอยู 2543 ก็สามารถปกป้องดินแดนของไทยได้ เพราะการที่กัมพูชารุกล้ำเข้ามาเขตแดนไทยนั้นก็เข้าข่ายความผิดชัดเจน