การช่วยเหลือเกื้อกูลกันภายในครอบครัวของสังคมไทยที่เป็นจุดแข็งทางวัฒนธรรมกำลังล้าแรงลงเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากโครงสร้างครอบครัวเปราะบางมากขึ้นเพราะผลพวงทุนนิยมแยกสลายสายใยผูกพันรักของครอบครัว ขณะเดียวกันรายได้ก็กระจุกตัวอยู่ในหมู่ผู้ร่ำรวยน้อยนิด ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่รายได้แทบไม่เพียงพอพยุงชีวิตแต่ละวันอันเกิดจากช่องว่างทางเศรษฐานะและการมีโอกาสที่ต่างกันอย่างมากจนนำไปสู่สภาวะการแข่งขันผูกขาดและเอาเปรียบนั้น ก็ทำให้ทั้งสังคมคุกรุ่นด้วยความเหลื่อมล้ำที่พร้อมจะปะทุระเบิดออกในแนวทางต่างๆ ตั้งแต่ปฏิวัติด้วยอาวุธ ชุมนุมประท้วงบนท้องถนน จนถึงหลอมรวมเครือข่ายปฏิรูปรื้อถอนโครงสร้างสังคมเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรมที่ทับถมสิทธิเสรีภาพของประชาชนเอาไว้
หนึ่งในแนวทางขจัดหรือลดความเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรมทางสังคมก็คือการสร้างหลักประกันการดำรงชีพชราภาพขั้นพื้นฐานอย่างถ้วนหน้าแก่ประชาชน เพราะไม่เพียงเป็นสิทธิเท่าเทียมตามรัฐธรรมนูญที่ ‘ประชาชนทุกคน’ พึงจะได้รับปัจจัยยังชีพในระดับที่พอเพียงเมื่อแก่เฒ่าเข้าวัยชราเท่านั้น ทว่ายังสามารถตอบโจทย์สังคมสูงอายุไทยในห้วงกำลังแรงงานนอกระบบที่ปัจจุบันมีถึง 24.1 ล้านคนกำลังร่วงโรยแก่ตัวลงเรื่อยๆ ได้ด้วย ด้วยนอกจากจะสร้างเสริมสิทธิที่ขาดหายไปจากการไร้อำนาจต่อรองเรียกร้องหรือเข้าถึงโอกาสตามกฎหมายที่พอจะมีอยู่บ้างของเหล่าแรงงานสูงอายุแล้ว ยังถมช่องว่างทางสังคมที่แผ่ขยายความเหลื่อมล้ำจากการถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมอันเนื่องมาจากอายุ (Age-discrimination) อีกด้วย
ทั้งนี้ เพราะปัจจุบันระบบการออมเพื่อเป็นหลักประกันรายได้ในยามชราบนฐานของอาชีพ เช่น ระบบบำนาญ/บำเหน็จ และบำนาญชราภาพจากกองทุนบำนาญข้าราชการ (กบข.) ที่จ่ายแก่ข้าราชการเมื่อเกษียณอายุการทำงาน ระบบประกันสังคม และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับลูกจ้างเอกชนและแรงงานในระบบที่จะได้รับเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ รวมถึงเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 500 บาท/คน/เดือน ที่เป็นสวัสดิการสำหรับผู้สูงวัย ไม่เพียงพอจะนำคุณภาพชีวิตที่ดีมีสุขภาวะสมบูรณ์ทั้งกาย จิต สังคม และปัญญา มาสู่สังคมสูงอายุไทยในอนาคตซึ่งแรงงานนอกระบบที่ไร้หลักประกันในชีวิตจะขยายตัวขึ้นอีกมหาศาลได้
ในการแก้ไขวิกฤตการณ์สังคมสูงอายุ (Aging society) ที่ทวีสัดส่วนผู้สูงอายุและแรงงานนอกระบบที่เป็นผู้มีรายได้น้อย มีอาชีพรับจ้าง ประกอบอาชีพอิสระ ไม่มีบำนาญ และขาดหลักประกันรายได้ในยามชราภาพ ท่ามกลางสถานการณ์ความเสี่ยงอีกด้านของกองทุนประกันสังคมจากภาระทางการเงินในการจ่ายเงินบำเหน็จ/บำนาญผู้ประกันตนที่จะเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่รายได้สมทบจากผู้ประกันตนจะลดลงในอนาคตอันเนื่องมาจากประชากรวัยแรงงานลดลง แต่รายจ่ายกลับจะเพิ่มสูงขึ้นตามเงื่อนไขชราภาพในอนาคตของแรงงานในระบบ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องบูรณาการวิธีการทางสังคมและมาตรการทางการเงินการคลังหลากหลายรูปแบบเข้าด้วยกันเพื่อสร้างสังคมที่ประชาชนมีปัจจัยพอเพียงต่อการดำรงชีพยามชรา
การขับเคลื่อนการส่งเสริมการออมด้วยตนเองแบบบังคับภายใต้ระบบประกันสังคม การออมด้วยความสมัครใจเพื่อเพิ่มหลักประกันในชีวิต และการจัดสวัสดิการเพื่อช่วยผู้ที่ไม่อาจออมเงินได้เพียงพอด้วยตนเอง โดยคำนึงถึงบริบททางสังคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจของประเทศไทย ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมทางเลือกในการสร้างหลักประกันในยามชราภาพขั้นพื้นฐานผ่านการพัฒนารูปแบบและระบบการเงินการคลังที่หลากหลายและครอบคลุมคนทุกสถานะ โดยรัฐสนับสนุนด้วยมาตรการทางการเงินที่เป็นธรรมในระดับที่เหมาะสมและมีความยั่งยืนระยะยาว รวมถึงสร้างระบบสังคมที่สร้างเสริมสุขภาวะ จึงเป็นมาตรการที่สามารถสร้างหลักประกันในการดำรงชีพยามชราภาพและระบบสังคมที่สร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงวัย
ทั้งในการเพิ่มความเป็นไปได้ที่ประชาชนจะดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีเมื่อวัยชราในสภาวะที่ระบบบำนาญชราภาพที่มีอยู่ยังขาดความครอบคลุม ขาดความเสมอภาค ขาดการบูรณาการระบบ และขาดความยั่งยืนทางการเงินตามแนวโน้มในอนาคต ตลอดจนไม่ยืดหยุ่นพอสำหรับผู้ประกันตนที่เปลี่ยนงานสลับไปมาระหว่างช่วงวัยทำงานจนจำนวนปีที่ส่งเงินสมทบในแต่ละกองทุนบำนาญชราภาพไม่ยาวนานพอที่จะได้รับบำนาญ ได้รับแค่บำเหน็จนั้น จักต้องรื้อฟื้นจุดแข็งทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการช่วยเหลือเกื้อกูลกันภายในครอบครัวขึ้นมาใหม่ด้วย เพราะถึงที่สุดแล้วลำพังมาตรการออมแบบบังคับและสมัครใจ ควบคู่กับถักทอตาข่ายนิรภัยทางสังคมโดยเบี้ยยังชีพไม่เพียงพอพยุงชีวิตไม้ใกล้ฝั่งได้ หากไร้ซึ่งครอบครัวที่เป็นหน่วยสังคมเล็กสุดแต่มีศักยภาพคุ้มครองผู้สูงวัยสูงสุด เพราะมีความอาทรอบอุ่นมิตรไมตรี
การสร้าง ‘สังคมสูงอายุที่ไม่ทอดทิ้งกัน’ (Inclusive society) ปกป้องผู้สูงวัยไม่ให้ถูกทิ้งหรือละเมิดสิทธิด้วยเหตุต่างๆ ตั้งแต่การถูกเลือกปฏิบัติมากกว่าสองมาตรฐานยันการจัดสภาพแวดล้อมที่ทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสถานที่และบริการสาธารณะได้จริง จึงต้องเร่งระดมสรรพกำลังกันสร้างสังคมที่พิทักษ์สิทธิขั้นพื้นฐาน กระจายรายได้ และเปิดโอกาสที่เท่าเทียมเป็นธรรมทางเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมสำหรับประชากรกลุ่มเปราะบางนี้ที่จะทวีสัดส่วนขึ้นอย่างสำคัญ รวมถึงส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อเพิ่มอำนาจจัดการปัญหาและปกป้องตนเองจากการถูกเอาเปรียบและละเมิดสิทธิด้วย
การสร้างความเป็นธรรมและเสมอภาคในสังคมโดยการปรับสัมพันธภาพทางอำนาจใหม่ผ่านการสร้างกลไกพิทักษ์สิทธิและคุ้มครองคุณภาพชีวิตบั้นปลายที่มีศักดิ์ศรีโดยภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทั้งรูปแบบออมเงินแบบบังคับและสมัครใจ แก้ไขกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม เลือกปฏิบัติ หรือจำกัดสิทธิต่อบุคคล (Non-discrimination) และร่วมขบวนปฏิรูปโครงสร้างสังคมที่เหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรมจะทำให้สังคมสูงอายุไทยในปัจจุบันและอนาคตไม่ท่วมท้นวิกฤตขัดแย้ง!
หนึ่งในแนวทางขจัดหรือลดความเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรมทางสังคมก็คือการสร้างหลักประกันการดำรงชีพชราภาพขั้นพื้นฐานอย่างถ้วนหน้าแก่ประชาชน เพราะไม่เพียงเป็นสิทธิเท่าเทียมตามรัฐธรรมนูญที่ ‘ประชาชนทุกคน’ พึงจะได้รับปัจจัยยังชีพในระดับที่พอเพียงเมื่อแก่เฒ่าเข้าวัยชราเท่านั้น ทว่ายังสามารถตอบโจทย์สังคมสูงอายุไทยในห้วงกำลังแรงงานนอกระบบที่ปัจจุบันมีถึง 24.1 ล้านคนกำลังร่วงโรยแก่ตัวลงเรื่อยๆ ได้ด้วย ด้วยนอกจากจะสร้างเสริมสิทธิที่ขาดหายไปจากการไร้อำนาจต่อรองเรียกร้องหรือเข้าถึงโอกาสตามกฎหมายที่พอจะมีอยู่บ้างของเหล่าแรงงานสูงอายุแล้ว ยังถมช่องว่างทางสังคมที่แผ่ขยายความเหลื่อมล้ำจากการถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมอันเนื่องมาจากอายุ (Age-discrimination) อีกด้วย
ทั้งนี้ เพราะปัจจุบันระบบการออมเพื่อเป็นหลักประกันรายได้ในยามชราบนฐานของอาชีพ เช่น ระบบบำนาญ/บำเหน็จ และบำนาญชราภาพจากกองทุนบำนาญข้าราชการ (กบข.) ที่จ่ายแก่ข้าราชการเมื่อเกษียณอายุการทำงาน ระบบประกันสังคม และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับลูกจ้างเอกชนและแรงงานในระบบที่จะได้รับเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ รวมถึงเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 500 บาท/คน/เดือน ที่เป็นสวัสดิการสำหรับผู้สูงวัย ไม่เพียงพอจะนำคุณภาพชีวิตที่ดีมีสุขภาวะสมบูรณ์ทั้งกาย จิต สังคม และปัญญา มาสู่สังคมสูงอายุไทยในอนาคตซึ่งแรงงานนอกระบบที่ไร้หลักประกันในชีวิตจะขยายตัวขึ้นอีกมหาศาลได้
ในการแก้ไขวิกฤตการณ์สังคมสูงอายุ (Aging society) ที่ทวีสัดส่วนผู้สูงอายุและแรงงานนอกระบบที่เป็นผู้มีรายได้น้อย มีอาชีพรับจ้าง ประกอบอาชีพอิสระ ไม่มีบำนาญ และขาดหลักประกันรายได้ในยามชราภาพ ท่ามกลางสถานการณ์ความเสี่ยงอีกด้านของกองทุนประกันสังคมจากภาระทางการเงินในการจ่ายเงินบำเหน็จ/บำนาญผู้ประกันตนที่จะเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่รายได้สมทบจากผู้ประกันตนจะลดลงในอนาคตอันเนื่องมาจากประชากรวัยแรงงานลดลง แต่รายจ่ายกลับจะเพิ่มสูงขึ้นตามเงื่อนไขชราภาพในอนาคตของแรงงานในระบบ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องบูรณาการวิธีการทางสังคมและมาตรการทางการเงินการคลังหลากหลายรูปแบบเข้าด้วยกันเพื่อสร้างสังคมที่ประชาชนมีปัจจัยพอเพียงต่อการดำรงชีพยามชรา
การขับเคลื่อนการส่งเสริมการออมด้วยตนเองแบบบังคับภายใต้ระบบประกันสังคม การออมด้วยความสมัครใจเพื่อเพิ่มหลักประกันในชีวิต และการจัดสวัสดิการเพื่อช่วยผู้ที่ไม่อาจออมเงินได้เพียงพอด้วยตนเอง โดยคำนึงถึงบริบททางสังคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจของประเทศไทย ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมทางเลือกในการสร้างหลักประกันในยามชราภาพขั้นพื้นฐานผ่านการพัฒนารูปแบบและระบบการเงินการคลังที่หลากหลายและครอบคลุมคนทุกสถานะ โดยรัฐสนับสนุนด้วยมาตรการทางการเงินที่เป็นธรรมในระดับที่เหมาะสมและมีความยั่งยืนระยะยาว รวมถึงสร้างระบบสังคมที่สร้างเสริมสุขภาวะ จึงเป็นมาตรการที่สามารถสร้างหลักประกันในการดำรงชีพยามชราภาพและระบบสังคมที่สร้างเสริมสุขภาวะผู้สูงวัย
ทั้งในการเพิ่มความเป็นไปได้ที่ประชาชนจะดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีเมื่อวัยชราในสภาวะที่ระบบบำนาญชราภาพที่มีอยู่ยังขาดความครอบคลุม ขาดความเสมอภาค ขาดการบูรณาการระบบ และขาดความยั่งยืนทางการเงินตามแนวโน้มในอนาคต ตลอดจนไม่ยืดหยุ่นพอสำหรับผู้ประกันตนที่เปลี่ยนงานสลับไปมาระหว่างช่วงวัยทำงานจนจำนวนปีที่ส่งเงินสมทบในแต่ละกองทุนบำนาญชราภาพไม่ยาวนานพอที่จะได้รับบำนาญ ได้รับแค่บำเหน็จนั้น จักต้องรื้อฟื้นจุดแข็งทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการช่วยเหลือเกื้อกูลกันภายในครอบครัวขึ้นมาใหม่ด้วย เพราะถึงที่สุดแล้วลำพังมาตรการออมแบบบังคับและสมัครใจ ควบคู่กับถักทอตาข่ายนิรภัยทางสังคมโดยเบี้ยยังชีพไม่เพียงพอพยุงชีวิตไม้ใกล้ฝั่งได้ หากไร้ซึ่งครอบครัวที่เป็นหน่วยสังคมเล็กสุดแต่มีศักยภาพคุ้มครองผู้สูงวัยสูงสุด เพราะมีความอาทรอบอุ่นมิตรไมตรี
การสร้าง ‘สังคมสูงอายุที่ไม่ทอดทิ้งกัน’ (Inclusive society) ปกป้องผู้สูงวัยไม่ให้ถูกทิ้งหรือละเมิดสิทธิด้วยเหตุต่างๆ ตั้งแต่การถูกเลือกปฏิบัติมากกว่าสองมาตรฐานยันการจัดสภาพแวดล้อมที่ทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสถานที่และบริการสาธารณะได้จริง จึงต้องเร่งระดมสรรพกำลังกันสร้างสังคมที่พิทักษ์สิทธิขั้นพื้นฐาน กระจายรายได้ และเปิดโอกาสที่เท่าเทียมเป็นธรรมทางเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมสำหรับประชากรกลุ่มเปราะบางนี้ที่จะทวีสัดส่วนขึ้นอย่างสำคัญ รวมถึงส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อเพิ่มอำนาจจัดการปัญหาและปกป้องตนเองจากการถูกเอาเปรียบและละเมิดสิทธิด้วย
การสร้างความเป็นธรรมและเสมอภาคในสังคมโดยการปรับสัมพันธภาพทางอำนาจใหม่ผ่านการสร้างกลไกพิทักษ์สิทธิและคุ้มครองคุณภาพชีวิตบั้นปลายที่มีศักดิ์ศรีโดยภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทั้งรูปแบบออมเงินแบบบังคับและสมัครใจ แก้ไขกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม เลือกปฏิบัติ หรือจำกัดสิทธิต่อบุคคล (Non-discrimination) และร่วมขบวนปฏิรูปโครงสร้างสังคมที่เหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรมจะทำให้สังคมสูงอายุไทยในปัจจุบันและอนาคตไม่ท่วมท้นวิกฤตขัดแย้ง!