นอกเหนือจากการถูกมองเป็นภาระที่รัฐและสังคมต้องช่วยเหลือดูแลเป็นพิเศษแล้ว ความเปราะบางทางธรรมชาติยังผลักไสให้กลุ่มผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งและเอารัดเอาเปรียบจากสังคมอย่างมาก แม้กระทั่งสิทธิพื้นฐานในการดำรงชีวิตให้อยู่อย่างมั่นคงก็ถูกลิดรอนละเลยและละเมิดอยู่เนืองนิตย์
วิกฤตสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยจึงไม่ได้หมายความแค่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่ทวีจำนวนผู้สูงอายุมากถึง 1 ใน 4 ของประชากรทั้งประเทศในอีกไม่ถึงสองทศวรรษข้างหน้าจนจำนวนวัยทำงานที่เกื้อหนุนกลุ่มอื่นทางสังคมลดลงจนไม่อาจเอื้ออาทรผู้สูงวัยได้ดังเดิมเท่านั้น ทว่ายังรวมถึงการไม่สามารถปฏิรูปประเทศให้เป็นสังคมที่ตั้งอยู่บนฐานของสิทธิ (Rights-based society) ที่คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน ตลอดจนสร้างสังคมปราศจากอุปสรรค (Barrier-free society) ที่ไม่กีดกันกลุ่มหนึ่งใดด้วยข้อจำกัดกายภาพ ทัศนคติ หรือกระทั่งสถาบัน ได้ทันท่วงทีกับการทบทวีสัดส่วนผู้อ่อนแอของสังคมไทย
ในการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์สังคมสูงอายุสมบูรณ์ ลำพังมาตรการจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุ 500 บาท/คน/เดือนในปัจจุบันจึงไม่เพียงพอป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งหรือถูกละเมิดด้วยเหตุต่างๆ อย่าว่าแต่จำนวนเงินน้อยนิดนั้นจะพอเพียงพยุงชีวิตบั้นปลายไว้ได้เลย ดังนั้น การปรับเปลี่ยนหลักคิดแบบการกุศล (Charity-based approach) เป็นหลักความคิดแบบสิทธิ์ (Rights-based approach) เพื่อปกป้องคุ้มครองคนแก่เฒ่าของสังคมไทยในด้านสิทธิพลเรือน วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง และสังคมจึงจำเป็นยิ่งยวด โดยการสร้างเสริมให้ผู้สูงอายุทุกคนสามารถรักษาศักยภาพการดำเนินชีวิตประจำวัน รวมทั้งปรับสภาพแวดล้อมในสังคมให้เอื้อต่อการเดินทาง การเข้ารับบริการ หรือเข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมทางสังคม
ทว่าก็ว่าเถอะ ถ้ายังไม่มีการปรับกระบวนทัศน์ (Paradigm shift) ด้านสิทธิไม่ให้เป็นแค่รูปแบบการสงเคราะห์หรือช่วยเป็นกรณีๆ และผลิตข้อเสนอเชิงนโยบายที่มาจากกระบวนการทางสังคมที่ภาคประชาชน ชุมชน ธุรกิจ วิชาการ และรัฐ ร่วมกันฟันฝ่าเสนอแนะเสียแล้ว อนาคตผู้สูงอายุก็ยังคงเสี่ยงต่อการถูกละเมิดหรือเลือกปฏิบัติสูงกว่า ‘สองมาตรฐาน’ ดังเช่นก่อนหน้า ไม่ว่าจะโดยการปฏิบัติโดยตรงต่อผู้สูงวัยหรือจัดสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสถานที่และบริการสาธารณะ
การพิทักษ์สิทธิขั้นพื้นฐานและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้สูงวัยไม่ให้ถูกลิดรอน ละเลย หรือละเมิด จึงต้องสร้างหลักประกันการเข้าถึงโอกาสที่เท่าเทียมกันแก่กลุ่มเปราะบางทางสังคมโดยการสร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคขึ้นในสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงของชีวิตชราบนแนวทางการสร้างสรรค์สังคมบูรณาการ สังคมไม่ทอดทิ้งกัน สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (Inclusive society)
ด้วยตราบใดไม่สามารถสร้างโอกาสในการเข้าถึงโครงสร้างและทรัพยากร ตลอดจนจัดตั้งกลไกพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสิทธิและบริการที่จำเป็นโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ ตราบนั้นภาพผู้สูงวัยในความยากแค้นขัดสนก็จะอยู่คู่สื่อหรือกระทั่งในครอบครัวของตนเอง
กล่าวอีกนัยหนึ่ง การสร้างความเป็นธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างประชากรตามแนวทางการปฏิรูปประเทศไทยไม่อาจเลี่ยงการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนได้ โดยการเร่งเปิดพื้นที่ทางสังคมแก่ทุกคน โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเปราะบางและด้อยโอกาสให้สามารถเข้าถึงโอกาสอย่างเท่าเทียม เข้าถึงสิทธิ ทรัพยากร และใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อม สถานที่ บริการ และข้อมูลข่าวสาร ได้จริง
ยิ่งกว่านั้น ต้องเร่งสร้างความเสมอภาคและขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล (Equity and non-discrimination) โดยแก้ไขกฎหมายไม่เป็นธรรม เลือกปฏิบัติ หรือจำกัดสิทธิบุคคลควบคู่กับสร้างความมั่นคงด้านการคลังระดับประเทศและหลักประกันด้านรายได้ระดับปัจเจกผ่านระบบบำนาญแห่งชาติที่มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ศึกษามาอย่างรอบด้านถึงผลดีผลเสียทั้งในระยะสั้นและยาวก็จะสามารถพังทลายโครงสร้างสังคมเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรมที่อยู่คู่สังคมไทยได้
ไม่เท่านั้นการพัฒนาผู้สูงวัยให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมโดยการสร้างงานสร้างรายได้สร้างเงินออม โดยกำหนดประเภทงานและอัตราจ้างที่เหมาะสม ตลอดจนเพิ่มพูนความรู้ ทักษะวิชาการเพื่อการประกอบอาชีพและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตามยุทธศาสตร์แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ที่อยู่ระหว่างจัดทำ จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของสังคมเหลื่อมล้ำ ด้วยจะทำให้วัยไม้ใกล้ฝั่งกลับมามีคุณภาพ มีคุณค่า สามารถปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลง จนเป็นพลังสรรค์สร้างสังคมไทยได้
ยิ่งถ้าผู้สูงวัยได้อยู่อาศัยในชุมชนที่มีการออกแบบกลไกลและระบบการดูแลผู้สูงอายุทั้งด้านการจัดบริการสุขภาพและสวัสดิการสังคมอย่างบูรณาการ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมด้านทรัพยากรและความต้องการของท้องถิ่นก็จะยิ่งฉายพลังจนกระทั่งเป็นความหวังสังคมไทยในการต่อกรความเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรม ด้วยไม่ต้องเครียดหรือเศร้าซึมจากการผจญชีวิตเดียวดาย แต่จะสามารถใช้ประสบการณ์ความรู้มาพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น และประเทศได้ ในฐานะ ‘คลังสมองของชาติ’ ในการแก้ไขวิกฤตการณ์ต่างๆ
การก้าวย่างสู่สังคมสูงอายุที่เคารพสิทธิเท่าเทียม และเป็นธรรม ที่ไม่กีดกันกลุ่มหนึ่งใดออกไปนั้น จักต้องตั้งต้นตั้งแต่ปัจจุบัน โดยการพิทักษ์ ‘สิทธิขั้นพื้นฐานและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์’ ของผู้สูงวัยไม่ให้ถูกทอนลด ลิดรอน ละเลย และละเมิดเหมือนเมื่อก่อนมาเป็นสำคัญ
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org
วิกฤตสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยจึงไม่ได้หมายความแค่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่ทวีจำนวนผู้สูงอายุมากถึง 1 ใน 4 ของประชากรทั้งประเทศในอีกไม่ถึงสองทศวรรษข้างหน้าจนจำนวนวัยทำงานที่เกื้อหนุนกลุ่มอื่นทางสังคมลดลงจนไม่อาจเอื้ออาทรผู้สูงวัยได้ดังเดิมเท่านั้น ทว่ายังรวมถึงการไม่สามารถปฏิรูปประเทศให้เป็นสังคมที่ตั้งอยู่บนฐานของสิทธิ (Rights-based society) ที่คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน ตลอดจนสร้างสังคมปราศจากอุปสรรค (Barrier-free society) ที่ไม่กีดกันกลุ่มหนึ่งใดด้วยข้อจำกัดกายภาพ ทัศนคติ หรือกระทั่งสถาบัน ได้ทันท่วงทีกับการทบทวีสัดส่วนผู้อ่อนแอของสังคมไทย
ในการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์สังคมสูงอายุสมบูรณ์ ลำพังมาตรการจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุ 500 บาท/คน/เดือนในปัจจุบันจึงไม่เพียงพอป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งหรือถูกละเมิดด้วยเหตุต่างๆ อย่าว่าแต่จำนวนเงินน้อยนิดนั้นจะพอเพียงพยุงชีวิตบั้นปลายไว้ได้เลย ดังนั้น การปรับเปลี่ยนหลักคิดแบบการกุศล (Charity-based approach) เป็นหลักความคิดแบบสิทธิ์ (Rights-based approach) เพื่อปกป้องคุ้มครองคนแก่เฒ่าของสังคมไทยในด้านสิทธิพลเรือน วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง และสังคมจึงจำเป็นยิ่งยวด โดยการสร้างเสริมให้ผู้สูงอายุทุกคนสามารถรักษาศักยภาพการดำเนินชีวิตประจำวัน รวมทั้งปรับสภาพแวดล้อมในสังคมให้เอื้อต่อการเดินทาง การเข้ารับบริการ หรือเข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมทางสังคม
ทว่าก็ว่าเถอะ ถ้ายังไม่มีการปรับกระบวนทัศน์ (Paradigm shift) ด้านสิทธิไม่ให้เป็นแค่รูปแบบการสงเคราะห์หรือช่วยเป็นกรณีๆ และผลิตข้อเสนอเชิงนโยบายที่มาจากกระบวนการทางสังคมที่ภาคประชาชน ชุมชน ธุรกิจ วิชาการ และรัฐ ร่วมกันฟันฝ่าเสนอแนะเสียแล้ว อนาคตผู้สูงอายุก็ยังคงเสี่ยงต่อการถูกละเมิดหรือเลือกปฏิบัติสูงกว่า ‘สองมาตรฐาน’ ดังเช่นก่อนหน้า ไม่ว่าจะโดยการปฏิบัติโดยตรงต่อผู้สูงวัยหรือจัดสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสถานที่และบริการสาธารณะ
การพิทักษ์สิทธิขั้นพื้นฐานและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้สูงวัยไม่ให้ถูกลิดรอน ละเลย หรือละเมิด จึงต้องสร้างหลักประกันการเข้าถึงโอกาสที่เท่าเทียมกันแก่กลุ่มเปราะบางทางสังคมโดยการสร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคขึ้นในสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงของชีวิตชราบนแนวทางการสร้างสรรค์สังคมบูรณาการ สังคมไม่ทอดทิ้งกัน สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (Inclusive society)
ด้วยตราบใดไม่สามารถสร้างโอกาสในการเข้าถึงโครงสร้างและทรัพยากร ตลอดจนจัดตั้งกลไกพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสิทธิและบริการที่จำเป็นโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ ตราบนั้นภาพผู้สูงวัยในความยากแค้นขัดสนก็จะอยู่คู่สื่อหรือกระทั่งในครอบครัวของตนเอง
กล่าวอีกนัยหนึ่ง การสร้างความเป็นธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างประชากรตามแนวทางการปฏิรูปประเทศไทยไม่อาจเลี่ยงการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนได้ โดยการเร่งเปิดพื้นที่ทางสังคมแก่ทุกคน โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเปราะบางและด้อยโอกาสให้สามารถเข้าถึงโอกาสอย่างเท่าเทียม เข้าถึงสิทธิ ทรัพยากร และใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อม สถานที่ บริการ และข้อมูลข่าวสาร ได้จริง
ยิ่งกว่านั้น ต้องเร่งสร้างความเสมอภาคและขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล (Equity and non-discrimination) โดยแก้ไขกฎหมายไม่เป็นธรรม เลือกปฏิบัติ หรือจำกัดสิทธิบุคคลควบคู่กับสร้างความมั่นคงด้านการคลังระดับประเทศและหลักประกันด้านรายได้ระดับปัจเจกผ่านระบบบำนาญแห่งชาติที่มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ศึกษามาอย่างรอบด้านถึงผลดีผลเสียทั้งในระยะสั้นและยาวก็จะสามารถพังทลายโครงสร้างสังคมเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรมที่อยู่คู่สังคมไทยได้
ไม่เท่านั้นการพัฒนาผู้สูงวัยให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมโดยการสร้างงานสร้างรายได้สร้างเงินออม โดยกำหนดประเภทงานและอัตราจ้างที่เหมาะสม ตลอดจนเพิ่มพูนความรู้ ทักษะวิชาการเพื่อการประกอบอาชีพและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตามยุทธศาสตร์แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ที่อยู่ระหว่างจัดทำ จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของสังคมเหลื่อมล้ำ ด้วยจะทำให้วัยไม้ใกล้ฝั่งกลับมามีคุณภาพ มีคุณค่า สามารถปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลง จนเป็นพลังสรรค์สร้างสังคมไทยได้
ยิ่งถ้าผู้สูงวัยได้อยู่อาศัยในชุมชนที่มีการออกแบบกลไกลและระบบการดูแลผู้สูงอายุทั้งด้านการจัดบริการสุขภาพและสวัสดิการสังคมอย่างบูรณาการ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมด้านทรัพยากรและความต้องการของท้องถิ่นก็จะยิ่งฉายพลังจนกระทั่งเป็นความหวังสังคมไทยในการต่อกรความเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรม ด้วยไม่ต้องเครียดหรือเศร้าซึมจากการผจญชีวิตเดียวดาย แต่จะสามารถใช้ประสบการณ์ความรู้มาพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น และประเทศได้ ในฐานะ ‘คลังสมองของชาติ’ ในการแก้ไขวิกฤตการณ์ต่างๆ
การก้าวย่างสู่สังคมสูงอายุที่เคารพสิทธิเท่าเทียม และเป็นธรรม ที่ไม่กีดกันกลุ่มหนึ่งใดออกไปนั้น จักต้องตั้งต้นตั้งแต่ปัจจุบัน โดยการพิทักษ์ ‘สิทธิขั้นพื้นฐานและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์’ ของผู้สูงวัยไม่ให้ถูกทอนลด ลิดรอน ละเลย และละเมิดเหมือนเมื่อก่อนมาเป็นสำคัญ
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org