ในจำนวนสิทธิประโยชน์ต่างๆ ตั้งแต่การเพิ่มค่าแรง การคุ้มครองสวัสดิการ และปรับปรุงสภาพการทำงานที่แรงงานทั่วโลกเรียกร้องในวันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม การเร่งรัดสร้างเสริมสิทธิประโยชน์ด้านสวัสดิการ การประกันสังคม และรายได้ให้แก่แรงงานสูงอายุที่ถือเป็นชายขอบของตลาดแรงงานนอกจากจะเปิดพื้นที่ที่เท่าเทียม เป็นธรรม และลดเหลื่อมล้ำที่กลืนกินสังคมไทยได้ไม่น้อยแล้ว ยังสามารถตอบโจทย์สังคมสูงอายุระดับประเทศไทยและโลกได้ด้วย จากการที่ปี พ.ศ. 2573 ประเทศไทยจะมีประชากรสูงอายุเพิ่มเป็น 17.8 ล้านคน หรือร้อยละ 25 ของประชากรไทยทั้งประเทศ ขณะที่โลกก็จะมีสัดส่วนประชากรสูงอายุสูงขึ้นมาก จากร้อยละ 11 ในปี ค.ศ. 2009 จะทะยานเป็นร้อยละ 22 ในปี ค.ศ. 2050
กล่าวเฉพาะประเทศไทย ปัจจุบันมีผู้สูงอายุที่ทำงานนอกระบบประมาณ 2.79 ล้านคนที่ไม่ได้รับการดูแลด้านการคุ้มครองสวัสดิการ การประกันสังคม และขาดไร้อำนาจต่อรองเรียกร้องสิทธิต่างๆ ตามกฎหมายแรงงาน จนแนวโน้มปัญหาจากการทำงานสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะด้านค่าตอบแทนที่น้อยนิดแต่งานกลับหนักและขาดความต่อเนื่อง ยิ่งเป็นผู้สูงอายุหญิงยิ่งประสบปัญหาการทำงานที่ไม่ตรงเวลาปกติ งานขาดความต่อเนื่อง และไม่มีวันหยุด การมีอายุยืนยาวกว่าชายจึงหมายถึงช่วงเวลาแห่งความยากลำบากจากการต้องทำงานหารายได้ให้เพียงพอซื้อหาปัจจัยยังชีพเพื่อพยุงชีวิตบั้นปลายที่ยาวนานกว่า
ภาวการณ์ทำงานของผู้สูงวัยไทยจึงไม่ใกล้เคียงคำว่า ยิ่งขยันทำงานยิ่งมีรายได้ ด้วยต่อให้มีชั่วโมงการทำงานสูง แต่รายได้ก็ไม่ได้สูงตามไปด้วย เพราะไม่เพียงจะถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้างโดยไร้อำนาจต่อรองสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่พึงมีพึงได้อันเนื่องมาจากเข้าไม่ถึงกฎหมายหรือไม่ก็ไม่มีกฎหมายคุ้มครองแรงงานผู้สูงวัยโดยตรง หากแต่สถานภาพทางเพศยังถูกนำมาใช้กีดกันการจ้างงานผู้สูงวัยอีกด้วย
ด้วยขนาดและสัดส่วนประชากรสูงอายุไทยที่ทวีขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ทำให้รัฐ และหน่วยงานเกี่ยวข้องจำเป็นจักต้องทบทวนและหามาตรการลดการกีดกันทางอาชีพระหว่างผู้สูงวัยกับวัยอื่นๆ และระหว่างผู้สูงอายุชายกับหญิง โดยการผลักดันให้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองแรงงานสำหรับผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เพื่อให้ผู้สูงอายุมีงานทำ มีรายได้ และมีสวัสดิการที่ได้รับการคุ้มครองอย่างต่อเนื่อง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า ไม่เป็นภาระแก่บุตรหลานและสังคม ตลอดจนเป็น ‘พลังการผลิตสำคัญของระบบเศรษฐกิจ’ สำหรับผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี มีความพร้อมทำงานหารายได้เลี้ยงดูตนเองและครอบครัว
ดังนั้น การเสริมสร้างส่วนร่วมในกำลังแรงงานของผู้สูงอายุโดยได้รับการคุ้มครองและมีหลักประกันทางสังคมด้านสุขภาพและความมั่นคงในชีวิตตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน จึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วน ด้วยนอกจากจะสอดรับกับความปรารถนาของผู้สูงอายุทุกช่วงวัยที่ยังคงต้องการทำงานอยู่จนตัวเลขผู้สูงวัยทำงานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 35 ในปี พ.ศ. 2547 เป็นร้อยละ 37.2 ในปี พ.ศ. 2552 แล้ว ยังสามารถคลี่คลายวิกฤตการณ์แรงงานสูงอายุไทยที่เป็นแรงงานนอกระบบถึง 2.79 ล้านคน จากจำนวนผู้สูงอายุที่ยังคงทำงานทั้งสิ้น 3.07 ล้านคนได้ด้วย ทั้งกลุ่มผู้สูงอายุที่ทำงานรับจ้างและได้รับเงินเงินเดือนประจำ เช่น รับจ้างทำของ รับจ้างทำการเกษตรตามฤดูกาล และกลุ่มอาชีพอิสระ อาทิ คนขับรถรับจ้าง และเกษตรกร
9 ใน 10 คนของผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบจะได้มีหลักประกันด้านสวัสดิการ ประกันสังคม และมีอำนาจต่อรองเรียกร้องสิทธิต่างๆ ตามกฎหมายแรงงาน เพื่อไม่ให้ถูกข่มขู่ ขูดรีด เอาเปรียบจากนายจ้างโดยการเลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากอายุ นอกเหนือไปจากการได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุจากการทำงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในผู้สูงอายุชายและหญิง เช่น ถูกของมีคมบาด และพลักตกหกล้ม
ทั้งนี้ปัจจุบันผู้สูงอายุไทยส่วนใหญ่ยังคงทำงานในภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะพื้นที่ชนบท ดังจำนวนผู้สูงอายุที่ทำงานในภาคเกษตรกรรมถึงร้อยละ 58.6 ในปี พ.ศ. 2552 แม้ว่าการทำงานนอกภาคเกษตรกรรมจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 38.8 ในปี พ.ศ. 2547 เป็นร้อยละ 41.4 ในปี พ.ศ. 2552 ก็ตามที ทว่าด้วยการงานในภาคเกษตรกรรมที่ไม่กำหนดอายุเกษียณ ผู้เกษียณอายุจากภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการที่ไม่จ้างผู้สูงอายุจึงเคลื่อนย้ายเข้ามาทำงานในภาคเกษตรกรรมซึ่งจะทำงานได้จนกว่าไม่ต้องการ รายได้ในยามชราจึงมาจากภาคเกษตรเป็นสำคัญ นอกเหนือไปจากความมั่นคงทางอาหารที่จะตามมา
สังคมเกษตรกรรมไทยจึงมีผู้สูงอายุเข้าร่วมในแรงงานจำนวนมาก หากแต่ด้วยโครงสร้างงานในภาคอุตสาหกรรมและบริการที่กำลังขยายตัวรวดเร็วก็เป็นปัจจัยควบคุมตลาดแรงงานผู้สูงอายุต่อไปได้เช่นกัน ในอนาคตที่สัดส่วนประชากรสูงวัยพุ่งสูงขึ้นทั้งในไทยและโลกดังกล่าวมาข้างต้น ผลผลิตในระบบเศรษฐกิจจะก้าวหน้าหรือล้าหลังจึงมาจากพลังการผลิตของผู้สูงอายุเป็นสำคัญ เพราะอนาคตประชากรวัยแรงงานจะลดลงมาก
ดังนั้นการพัฒนาทักษะแรงงานสูงอายุควบคู่กับกำหนดหลักเกณฑ์ชั่วโมงการทำงาน ผลประโยชน์ค่าตอบแทน สวัสดิการ และวันหยุดงาน ที่สอดคล้องกับศักยภาพผู้สูงวัยจะทำให้ทั้งประเทศไทยและโลกได้รับประโยชน์จากทักษะความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นปูชนียบุคคลเหล่านี้เต็มที่ ที่สำคัญสามารถสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างสูงวัยจากการเข้าใจสภาพปัญหาร่วมกัน
แรงงานสูงอายุ (Elderly worker) จึงเป็นพลังการผลิตของโลกอนาคตอย่างแท้จริง ด้วยมีประสิทธิภาพการทำงาน (Work performance) สูง จากการเคี่ยวกรำประสบการณ์ยาวนาน รวมทั้งยังอุทิศตนเองจนสามารถสร้างงานที่มีคุณค่าได้มากกว่า ขณะเดียวกันก็หยุดงานและลาออกน้อยกว่า เพียงขอแค่ค่าครองชีพที่ได้จากการงานคุ้มค่าต่อการอุตสาหะเสียสละของชีวิตบั้นปลายก็พอ
กล่าวเฉพาะประเทศไทย ปัจจุบันมีผู้สูงอายุที่ทำงานนอกระบบประมาณ 2.79 ล้านคนที่ไม่ได้รับการดูแลด้านการคุ้มครองสวัสดิการ การประกันสังคม และขาดไร้อำนาจต่อรองเรียกร้องสิทธิต่างๆ ตามกฎหมายแรงงาน จนแนวโน้มปัญหาจากการทำงานสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะด้านค่าตอบแทนที่น้อยนิดแต่งานกลับหนักและขาดความต่อเนื่อง ยิ่งเป็นผู้สูงอายุหญิงยิ่งประสบปัญหาการทำงานที่ไม่ตรงเวลาปกติ งานขาดความต่อเนื่อง และไม่มีวันหยุด การมีอายุยืนยาวกว่าชายจึงหมายถึงช่วงเวลาแห่งความยากลำบากจากการต้องทำงานหารายได้ให้เพียงพอซื้อหาปัจจัยยังชีพเพื่อพยุงชีวิตบั้นปลายที่ยาวนานกว่า
ภาวการณ์ทำงานของผู้สูงวัยไทยจึงไม่ใกล้เคียงคำว่า ยิ่งขยันทำงานยิ่งมีรายได้ ด้วยต่อให้มีชั่วโมงการทำงานสูง แต่รายได้ก็ไม่ได้สูงตามไปด้วย เพราะไม่เพียงจะถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้างโดยไร้อำนาจต่อรองสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่พึงมีพึงได้อันเนื่องมาจากเข้าไม่ถึงกฎหมายหรือไม่ก็ไม่มีกฎหมายคุ้มครองแรงงานผู้สูงวัยโดยตรง หากแต่สถานภาพทางเพศยังถูกนำมาใช้กีดกันการจ้างงานผู้สูงวัยอีกด้วย
ด้วยขนาดและสัดส่วนประชากรสูงอายุไทยที่ทวีขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ทำให้รัฐ และหน่วยงานเกี่ยวข้องจำเป็นจักต้องทบทวนและหามาตรการลดการกีดกันทางอาชีพระหว่างผู้สูงวัยกับวัยอื่นๆ และระหว่างผู้สูงอายุชายกับหญิง โดยการผลักดันให้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองแรงงานสำหรับผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เพื่อให้ผู้สูงอายุมีงานทำ มีรายได้ และมีสวัสดิการที่ได้รับการคุ้มครองอย่างต่อเนื่อง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า ไม่เป็นภาระแก่บุตรหลานและสังคม ตลอดจนเป็น ‘พลังการผลิตสำคัญของระบบเศรษฐกิจ’ สำหรับผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี มีความพร้อมทำงานหารายได้เลี้ยงดูตนเองและครอบครัว
ดังนั้น การเสริมสร้างส่วนร่วมในกำลังแรงงานของผู้สูงอายุโดยได้รับการคุ้มครองและมีหลักประกันทางสังคมด้านสุขภาพและความมั่นคงในชีวิตตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน จึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วน ด้วยนอกจากจะสอดรับกับความปรารถนาของผู้สูงอายุทุกช่วงวัยที่ยังคงต้องการทำงานอยู่จนตัวเลขผู้สูงวัยทำงานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 35 ในปี พ.ศ. 2547 เป็นร้อยละ 37.2 ในปี พ.ศ. 2552 แล้ว ยังสามารถคลี่คลายวิกฤตการณ์แรงงานสูงอายุไทยที่เป็นแรงงานนอกระบบถึง 2.79 ล้านคน จากจำนวนผู้สูงอายุที่ยังคงทำงานทั้งสิ้น 3.07 ล้านคนได้ด้วย ทั้งกลุ่มผู้สูงอายุที่ทำงานรับจ้างและได้รับเงินเงินเดือนประจำ เช่น รับจ้างทำของ รับจ้างทำการเกษตรตามฤดูกาล และกลุ่มอาชีพอิสระ อาทิ คนขับรถรับจ้าง และเกษตรกร
9 ใน 10 คนของผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบจะได้มีหลักประกันด้านสวัสดิการ ประกันสังคม และมีอำนาจต่อรองเรียกร้องสิทธิต่างๆ ตามกฎหมายแรงงาน เพื่อไม่ให้ถูกข่มขู่ ขูดรีด เอาเปรียบจากนายจ้างโดยการเลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากอายุ นอกเหนือไปจากการได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุจากการทำงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในผู้สูงอายุชายและหญิง เช่น ถูกของมีคมบาด และพลักตกหกล้ม
ทั้งนี้ปัจจุบันผู้สูงอายุไทยส่วนใหญ่ยังคงทำงานในภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะพื้นที่ชนบท ดังจำนวนผู้สูงอายุที่ทำงานในภาคเกษตรกรรมถึงร้อยละ 58.6 ในปี พ.ศ. 2552 แม้ว่าการทำงานนอกภาคเกษตรกรรมจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 38.8 ในปี พ.ศ. 2547 เป็นร้อยละ 41.4 ในปี พ.ศ. 2552 ก็ตามที ทว่าด้วยการงานในภาคเกษตรกรรมที่ไม่กำหนดอายุเกษียณ ผู้เกษียณอายุจากภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการที่ไม่จ้างผู้สูงอายุจึงเคลื่อนย้ายเข้ามาทำงานในภาคเกษตรกรรมซึ่งจะทำงานได้จนกว่าไม่ต้องการ รายได้ในยามชราจึงมาจากภาคเกษตรเป็นสำคัญ นอกเหนือไปจากความมั่นคงทางอาหารที่จะตามมา
สังคมเกษตรกรรมไทยจึงมีผู้สูงอายุเข้าร่วมในแรงงานจำนวนมาก หากแต่ด้วยโครงสร้างงานในภาคอุตสาหกรรมและบริการที่กำลังขยายตัวรวดเร็วก็เป็นปัจจัยควบคุมตลาดแรงงานผู้สูงอายุต่อไปได้เช่นกัน ในอนาคตที่สัดส่วนประชากรสูงวัยพุ่งสูงขึ้นทั้งในไทยและโลกดังกล่าวมาข้างต้น ผลผลิตในระบบเศรษฐกิจจะก้าวหน้าหรือล้าหลังจึงมาจากพลังการผลิตของผู้สูงอายุเป็นสำคัญ เพราะอนาคตประชากรวัยแรงงานจะลดลงมาก
ดังนั้นการพัฒนาทักษะแรงงานสูงอายุควบคู่กับกำหนดหลักเกณฑ์ชั่วโมงการทำงาน ผลประโยชน์ค่าตอบแทน สวัสดิการ และวันหยุดงาน ที่สอดคล้องกับศักยภาพผู้สูงวัยจะทำให้ทั้งประเทศไทยและโลกได้รับประโยชน์จากทักษะความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นปูชนียบุคคลเหล่านี้เต็มที่ ที่สำคัญสามารถสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างสูงวัยจากการเข้าใจสภาพปัญหาร่วมกัน
แรงงานสูงอายุ (Elderly worker) จึงเป็นพลังการผลิตของโลกอนาคตอย่างแท้จริง ด้วยมีประสิทธิภาพการทำงาน (Work performance) สูง จากการเคี่ยวกรำประสบการณ์ยาวนาน รวมทั้งยังอุทิศตนเองจนสามารถสร้างงานที่มีคุณค่าได้มากกว่า ขณะเดียวกันก็หยุดงานและลาออกน้อยกว่า เพียงขอแค่ค่าครองชีพที่ได้จากการงานคุ้มค่าต่อการอุตสาหะเสียสละของชีวิตบั้นปลายก็พอ