ตาก- เขต ศก.พิเศษแม่สอดคืบเชื่อมิถุนายน 54 นี้รู้ชัด พร้อมเปิดให้นักลงทุนเข้าได้ปีหน้า ด้าน สศอ. ชี้อุตสาหกรรมสิ่งทอ ผักและผลไม้กระป๋อง เฟอร์นิเจอร์ เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย พร้อมย้ำรัฐต้องวางนโยบายส่งเสริมให้ชัด
นายอำนาจ นันทหาร ประธานคณะกรรมการเศรษฐกิจชายแดน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และอดีตประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตาก กล่าวถึงการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนแม่สอด ว่า ขณะนี้มีความคืบหน้าเป็นอย่างมาก คาดว่าหลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบและอนุมัติหลักการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษฯ รวมทั้งอนุมัติงบประมาณ 14 ล้านบาท เพื่อศึกษาจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำนวน 5,600 ไร่แล้ว จะสามารถทราบผลการศึกษาได้ภายในเดือนมิถุนายน 2554 และเปิดให้นักลงทุนเข้ามาดำเนินธุรกิจในพื้นที่ได้ในปี 2555
ส่วนประเด็นด้านสิทธิประโยชน์จะต้องมีการพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พระราชบัญญัติศุลกากร และพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าจะสามารถให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษได้หรือไม่ ซึ่งเสนอว่าในส่วนของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนน่าจะให้การสนับสนุนสิทธิประโยชน์ทางภาษีสูงกว่าการลงทุนในเขต 3 เช่น ให้มีการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 8 ปี เป็น 10 ปี เป็นต้น ขณะเดียวกันจะต้องมีการผ่อนปรนเรื่องการจ้างแรงงานต่างด้าว เพื่อดึงดูดให้อุตสาหกรรมเคลื่อนย้ายเข้าไปในเขตเศรษฐกิจพิเศษ
นายชัยยุทธ เสณีตันติกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตาก กล่าวในเรื่องเดียวกันว่า จากการศึกษาเรื่อง "เขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด:โอกาสและศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมชายแดน" พบว่าอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันสูงสุดในพื้นที่ดังกล่าว ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป อุตสาหกรรมผักและผลไม้กระป๋อง อุตสาหกรรมไม้และเฟอร์นิเจอร์
โดยส่วนใหญ่มีความพร้อมในด้านความต้องการของตลาด มีโอกาสที่จะขยายตลาดเข้าไปในสหภาพพม่า ผ่านไปยังจีนได้ รวมถึงมีศักยภาพในการผลิตสูง เนื่องจากอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ อาทิ ผัก ผลไม้เมืองหนาว จากจังหวัดใกล้เคียงและการนำเข้าจากสหภาพพม่า ทั้งยังมีป่าไม้มาก และมีปัจจัยสนับสนุนทางด้านแรงงานต่างด้าว
“อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการทั้ง 3 กลุ่ม ยังมองว่าภาครัฐมีนโยบายและมาตรการสนับสนุนต่ออุตสาหกรรมค่อนข้างน้อย และมีนโยบายที่ไม่ชัดเจนด้านการปรับปรุงกฎระเบียบทางภาษีที่เอื้อประโยชน์ และช่วยลดต้นทุนสินค้าที่จะส่งออกให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก รวมถึงการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจ เช่น ระบบศุลกากร การส่งออก หรือศูนย์ One Stop Services ขาดการส่งเสริมการทำตลาดในต่างประเทศ เป็นต้น” ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตาก กล่าว
รายงานข่าวแจ้งว่าสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตาก ได้มีการเสนอแนะเชิงนโยบายที่สำคัญ คือ ภาครัฐควรมีนโยบายและมาตรการส่งเสริมการลงทุนของสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพสูงสุดในเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด ทั้ง 3 สาขาอย่างจริงจัง มีมาตรการจูงใจในการดึงดูดนักลงทุนให้เข้าไปลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยอาจให้สิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากรมากกว่าเขตการลงทุนเขต 3 ตามมาตรการส่งเสริมของ BOI และภาครัฐควรมีการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานเป็นแรงงานในภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมให้ถูกกฎหมาย
โดยเลือกใช้นโยบายที่มุ่งเน้นความมั่นคงทางการเมือง หรือมุ่งเน้นความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ทางใดทางหนึ่งให้มีมาตรการและแนวทางที่ชัดเจน และควรหาเร่งหาทางแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวอย่างจริงจัง ส่วนอุตสาหกรรมที่ภาครัฐควรให้การสนับสนุนให้เกิดการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด ควรเป็นอุตสาหกรรมประเภทที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษแก่ท้องถิ่นและไม่ก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
นายอำนาจ นันทหาร ประธานคณะกรรมการเศรษฐกิจชายแดน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และอดีตประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตาก กล่าวถึงการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนแม่สอด ว่า ขณะนี้มีความคืบหน้าเป็นอย่างมาก คาดว่าหลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบและอนุมัติหลักการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษฯ รวมทั้งอนุมัติงบประมาณ 14 ล้านบาท เพื่อศึกษาจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำนวน 5,600 ไร่แล้ว จะสามารถทราบผลการศึกษาได้ภายในเดือนมิถุนายน 2554 และเปิดให้นักลงทุนเข้ามาดำเนินธุรกิจในพื้นที่ได้ในปี 2555
ส่วนประเด็นด้านสิทธิประโยชน์จะต้องมีการพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พระราชบัญญัติศุลกากร และพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าจะสามารถให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษได้หรือไม่ ซึ่งเสนอว่าในส่วนของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนน่าจะให้การสนับสนุนสิทธิประโยชน์ทางภาษีสูงกว่าการลงทุนในเขต 3 เช่น ให้มีการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 8 ปี เป็น 10 ปี เป็นต้น ขณะเดียวกันจะต้องมีการผ่อนปรนเรื่องการจ้างแรงงานต่างด้าว เพื่อดึงดูดให้อุตสาหกรรมเคลื่อนย้ายเข้าไปในเขตเศรษฐกิจพิเศษ
นายชัยยุทธ เสณีตันติกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตาก กล่าวในเรื่องเดียวกันว่า จากการศึกษาเรื่อง "เขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด:โอกาสและศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมชายแดน" พบว่าอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันสูงสุดในพื้นที่ดังกล่าว ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป อุตสาหกรรมผักและผลไม้กระป๋อง อุตสาหกรรมไม้และเฟอร์นิเจอร์
โดยส่วนใหญ่มีความพร้อมในด้านความต้องการของตลาด มีโอกาสที่จะขยายตลาดเข้าไปในสหภาพพม่า ผ่านไปยังจีนได้ รวมถึงมีศักยภาพในการผลิตสูง เนื่องจากอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ อาทิ ผัก ผลไม้เมืองหนาว จากจังหวัดใกล้เคียงและการนำเข้าจากสหภาพพม่า ทั้งยังมีป่าไม้มาก และมีปัจจัยสนับสนุนทางด้านแรงงานต่างด้าว
“อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการทั้ง 3 กลุ่ม ยังมองว่าภาครัฐมีนโยบายและมาตรการสนับสนุนต่ออุตสาหกรรมค่อนข้างน้อย และมีนโยบายที่ไม่ชัดเจนด้านการปรับปรุงกฎระเบียบทางภาษีที่เอื้อประโยชน์ และช่วยลดต้นทุนสินค้าที่จะส่งออกให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก รวมถึงการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจ เช่น ระบบศุลกากร การส่งออก หรือศูนย์ One Stop Services ขาดการส่งเสริมการทำตลาดในต่างประเทศ เป็นต้น” ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตาก กล่าว
รายงานข่าวแจ้งว่าสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตาก ได้มีการเสนอแนะเชิงนโยบายที่สำคัญ คือ ภาครัฐควรมีนโยบายและมาตรการส่งเสริมการลงทุนของสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพสูงสุดในเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด ทั้ง 3 สาขาอย่างจริงจัง มีมาตรการจูงใจในการดึงดูดนักลงทุนให้เข้าไปลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยอาจให้สิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากรมากกว่าเขตการลงทุนเขต 3 ตามมาตรการส่งเสริมของ BOI และภาครัฐควรมีการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานเป็นแรงงานในภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมให้ถูกกฎหมาย
โดยเลือกใช้นโยบายที่มุ่งเน้นความมั่นคงทางการเมือง หรือมุ่งเน้นความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ทางใดทางหนึ่งให้มีมาตรการและแนวทางที่ชัดเจน และควรหาเร่งหาทางแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวอย่างจริงจัง ส่วนอุตสาหกรรมที่ภาครัฐควรให้การสนับสนุนให้เกิดการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด ควรเป็นอุตสาหกรรมประเภทที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษแก่ท้องถิ่นและไม่ก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม