ในบางครั้งคนเราอาจจำเป็นต้องปฏิเสธหรืออาจถึงขั้นต้องประณามสิ่งที่ตนเองชอบ และอยากได้มาเป็นของตน เมื่อผู้คนส่วนใหญ่เห็นว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งเลวทราม และขัดต่อหลักศีลธรรมอันดีงามของสังคม และในทางกลับกัน คนเราอาจจำเป็นต้องเสแสร้างเป็นชอง หรือเห็นด้วยกับผู้คนส่วนใหญ่ที่เห็นดีเห็นงาม ทั้งๆ ที่ตนเองไม่ชอบ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเคารพกติกาทางสังคม และนี่เองที่บางคนที่เป็นคนประเภทขวางโลก หรือพูดแบบขวานผ่าซากบอกว่า ดัดจริต
แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม จึงจำเป็นต้องเห็นด้วยหรือคล้อยตามในสิ่งที่กระแสสังคมพาไป ทั้งนี้เพื่อไม่เป็นคนขวางโลกหรือเป็นแกะดำนั่นเอง
ส่วนว่าในความเป็นจริง การคล้อยตามกระแสสังคมจะผิดหรือถูกเป็นคนละเรื่องกัน หรือพูดง่ายๆ ความเป็นจริงกับปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นในขณะนั้น หรือในเวลานั้น อาจเป็นคนละเรื่องกับความจริงที่ค้นพบในอนาคตหลังจากนั้น หรือแม้กระทั่งกับความจริงที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต แต่เนื่องจากกาลเวลาได้ล่วงเลยมานานจนทำให้ผู้คนลืมความจริงข้อนี้ไปแล้ว ดังที่ปรากฏขึ้นในกรณีของละครเรื่อง ดอกส้มสีทอง ที่ผู้คนได้พากันวิพากษ์วิจารณ์ และร้องเรียนต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับวัฒนธรรมให้เข้ามาทบทวนเกี่ยวกับเรื่องนี้ และเป็นเหตุให้รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมต้องลงมาดูเรื่องนี้ด้วยตนเอง และได้มีการตำหนิ กบว.ว่าบกพร่องในการทำหน้าที่ตรวจสอบ พร้อมกับคาดโทษถึงขั้นปลด กบว.ด้วย
อะไรคือเหตุให้ละครเรื่องดอกส้มสีทอง ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าทำลายศีลธรรม และอาจทำให้เยาวชนเลียนแบบแสดงพฤติกรรมในทางไม่ดี?
เพื่อให้ท่านผู้อ่านที่ยังไม่ดูละครดอกส้มสีทอง ที่กำลังออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 อาทิตย์ละ 2 วัน คือ พุธ พฤหัสฯ เวลาประมาณ 20.30-22.00 น. หรือได้ดูแต่มองไม่เห็นจุดที่ทำให้ละครเรื่องนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในทางลบ ผู้เขียนจึงใคร่ขอนำเรื่องนี้มาเสนอในประเด็นที่เห็นว่าเป็นจุดที่ก่อให้เกิดเสียงวิจารณ์ในทางลบ โดยสรุปเป็นประเด็นและแง่คิดในเชิงตรรกะดังต่อไปนี้
1. ละครเรื่องดอกส้มสีทอง เป็นละครที่มีเค้าโครงเรื่องต่อเนื่องกับละครเรื่องมงกุฎดอกส้ม โดยมีเนื้อเรื่องเชื่อมโยงโดยตัวละครที่ชื่อ เรยา และละครทั้งสองเรื่องนี้มีจุดที่ทำลายศีลธรรมข้อกาเมฯ ด้วยกันทั้งสองเรื่อง โดยที่เรื่องมงกุฎดอกส้มมีพฤติกรรมผิดศีลธรรมข้อกาเมฯ จากบทของภรรยาน้อยคนหนึ่งของเจ้าสัวที่ชอบเที่ยวเตร่ และคบชู้สู่ชาย รวมไปถึงภรรยาคนสุดท้ายที่แสดงท่าทีปันใจให้ลูกชายอันเกิดจากภรรยาคนที่หนึ่งอย่างออกหน้าออกตา
ส่วนในเรื่องดอกส้มสีทอง มีจุดเสื่อมทางศีลธรรมข้อกาเมฯ จากบทบาทของเรยา ที่อาศัยหน้าตาและรูปร่างไต่เต้าขึ้นสู่สถานภาพทางสังคมโดยการยอมเป็นภรรยาน้อยของชายถึง 2 คน และหนึ่งในสองก็คือ คุณใหญ่ ลูกชายของเจ้าสัวในเรื่องมงกุฎดอกส้มนั่นเอง
2. ถึงแม้ว่าละคร 2 เรื่องนี้บ่งบอกชัดเจนถึงพฤติกรรมที่ผิดศีลข้อกาเมฯ ทั้งคู่ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ทำไมในเรื่อง มงกุฎดอกส้ม คนดูไม่รู้สึกว่าทำลายศีลธรรม แต่มารู้สึกในเรื่องดอกส้มสีทอง จากบทบาทของเรยา ซึ่งแสดงโดยชมพู่ อารยา
3. ไม่ว่าละครทั้งสองเรื่องนี้จะจบลงอย่างไร และให้อะไรแก่ผู้ดู ละครในลักษณะนี้คงไม่ใช่เรื่องสุดท้าย แต่คงจะมีมาเรื่อยๆ ตราบเท่าที่สังคมยังชอบดูความหายนะของคนอื่น และไม่เห็นความเลวที่ผู้เขียนยกขึ้นมาเพื่อเป็นอุทาหรณ์สอนคนดูจากผลกรรมที่ตัวละครได้รับตอนจบ
ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งจากละครเรื่องนี้ ก็คือว่า เมื่อคนระดับรัฐมนตรีให้ความสนใจความคิดอันเกิดจากการแสดง และกังวลต่ออนาคตของเยาวชนที่จะเลียนแบบจากละคร ซึ่งว่าเป็นเรื่องดี แต่ถ้าจะให้ดีกว่านี้ รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมน่าจะให้ความสนใจต่อเรื่องการกระทำผิดศีลข้อ 2 คือ อทินนาทานาฯ ที่เกิดขึ้นจากการกระทำจริงของคนในระดับสูงของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในวงการเมืองที่คดโกง แสวงหาความร่ำรวยจนเป็นที่ยอมรับนับหน้าถือตา และกลายเป็นแบบอย่างให้ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ในสังคมเลียนแบบ มากกว่าที่จะลงไปสนใจเรื่องเล็กน้อยดังที่เกิดขึ้นกับละครดอกส้มสีทอง หรือแม้กระทั่งการสอนของแม่ชีทศพรดังที่เคยปรากฏเป็นข่าวมาแล้ว
จริงอยู่ ละครเป็นเรื่องที่ผู้คนในทุกชนชั้นของสังคมได้ดู และเด็กจดจำทำตามได้ง่ายกว่าการคดโกงโดยอาศัยตำแหน่งของผู้มีอำนาจทางการเมือง แต่ถ้ามองความเสียหายและความจำเป็นเร่งด่วนในการแก้ไขแล้ว การคดโกงทางการเมืองควรจะได้รับความสนใจ และแก้ไขจากผู้นำทางวัฒนธรรมในฐานะเจ้ากระทรวงมากกว่าเป็นไหนๆ
อีกประการหนึ่ง ถ้าจะแก้และป้องกันการกระทำผิดทางวัฒนธรรม หรือศีลธรรม รวมไปถึงกฎหมายอันเป็นความผิดอย่างหยาบที่สุด จะต้องเริ่มตั้งแต่การสอนในระดับครอบครัว โรงเรียน และสุดท้ายจบลงที่การปกครอง โดยอาศัยความรู้สึกสำนึกในการกระทำผิดไปจนถึงกลัวติดคุกติดตะราง แต่คงจะแก้ไขอะไรด้วยการออกมาพูดพอเป็นข่าวแล้วเงียบหายไปดังที่กระทำอยู่ในเรื่องที่ว่านี้
อย่างไรก็ตาม ในฐานะสื่อมวลชนคนเขียนหนังสือ ผู้เขียนใคร่ขอให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสื่อ โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์มองหาหนทางป้องกันไว้ก่อนจะดีกว่ามาตามแก้ไขด้วยการออกมาแก้ตัวเมื่อพบว่าความผิดเกิดแล้ว และวิธีมองหาความผิดที่ว่านี้ทำได้ไม่ยาก เพียงแต่ถามตัวเองว่า ถ้าตัวเองมีลูกสาวที่มีพฤติกรรมเหมือนเรยา ท่านรับได้หรือไม่ ถ้ารับไม่ได้ก็ไม่ควรเอามาให้เด็กดู เพียงแค่นี้ก็ไม่ต้องออกมาเถียงกันว่า ใครถูก ใครผิด
แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม จึงจำเป็นต้องเห็นด้วยหรือคล้อยตามในสิ่งที่กระแสสังคมพาไป ทั้งนี้เพื่อไม่เป็นคนขวางโลกหรือเป็นแกะดำนั่นเอง
ส่วนว่าในความเป็นจริง การคล้อยตามกระแสสังคมจะผิดหรือถูกเป็นคนละเรื่องกัน หรือพูดง่ายๆ ความเป็นจริงกับปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นในขณะนั้น หรือในเวลานั้น อาจเป็นคนละเรื่องกับความจริงที่ค้นพบในอนาคตหลังจากนั้น หรือแม้กระทั่งกับความจริงที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต แต่เนื่องจากกาลเวลาได้ล่วงเลยมานานจนทำให้ผู้คนลืมความจริงข้อนี้ไปแล้ว ดังที่ปรากฏขึ้นในกรณีของละครเรื่อง ดอกส้มสีทอง ที่ผู้คนได้พากันวิพากษ์วิจารณ์ และร้องเรียนต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับวัฒนธรรมให้เข้ามาทบทวนเกี่ยวกับเรื่องนี้ และเป็นเหตุให้รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมต้องลงมาดูเรื่องนี้ด้วยตนเอง และได้มีการตำหนิ กบว.ว่าบกพร่องในการทำหน้าที่ตรวจสอบ พร้อมกับคาดโทษถึงขั้นปลด กบว.ด้วย
อะไรคือเหตุให้ละครเรื่องดอกส้มสีทอง ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าทำลายศีลธรรม และอาจทำให้เยาวชนเลียนแบบแสดงพฤติกรรมในทางไม่ดี?
เพื่อให้ท่านผู้อ่านที่ยังไม่ดูละครดอกส้มสีทอง ที่กำลังออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 อาทิตย์ละ 2 วัน คือ พุธ พฤหัสฯ เวลาประมาณ 20.30-22.00 น. หรือได้ดูแต่มองไม่เห็นจุดที่ทำให้ละครเรื่องนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในทางลบ ผู้เขียนจึงใคร่ขอนำเรื่องนี้มาเสนอในประเด็นที่เห็นว่าเป็นจุดที่ก่อให้เกิดเสียงวิจารณ์ในทางลบ โดยสรุปเป็นประเด็นและแง่คิดในเชิงตรรกะดังต่อไปนี้
1. ละครเรื่องดอกส้มสีทอง เป็นละครที่มีเค้าโครงเรื่องต่อเนื่องกับละครเรื่องมงกุฎดอกส้ม โดยมีเนื้อเรื่องเชื่อมโยงโดยตัวละครที่ชื่อ เรยา และละครทั้งสองเรื่องนี้มีจุดที่ทำลายศีลธรรมข้อกาเมฯ ด้วยกันทั้งสองเรื่อง โดยที่เรื่องมงกุฎดอกส้มมีพฤติกรรมผิดศีลธรรมข้อกาเมฯ จากบทของภรรยาน้อยคนหนึ่งของเจ้าสัวที่ชอบเที่ยวเตร่ และคบชู้สู่ชาย รวมไปถึงภรรยาคนสุดท้ายที่แสดงท่าทีปันใจให้ลูกชายอันเกิดจากภรรยาคนที่หนึ่งอย่างออกหน้าออกตา
ส่วนในเรื่องดอกส้มสีทอง มีจุดเสื่อมทางศีลธรรมข้อกาเมฯ จากบทบาทของเรยา ที่อาศัยหน้าตาและรูปร่างไต่เต้าขึ้นสู่สถานภาพทางสังคมโดยการยอมเป็นภรรยาน้อยของชายถึง 2 คน และหนึ่งในสองก็คือ คุณใหญ่ ลูกชายของเจ้าสัวในเรื่องมงกุฎดอกส้มนั่นเอง
2. ถึงแม้ว่าละคร 2 เรื่องนี้บ่งบอกชัดเจนถึงพฤติกรรมที่ผิดศีลข้อกาเมฯ ทั้งคู่ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ทำไมในเรื่อง มงกุฎดอกส้ม คนดูไม่รู้สึกว่าทำลายศีลธรรม แต่มารู้สึกในเรื่องดอกส้มสีทอง จากบทบาทของเรยา ซึ่งแสดงโดยชมพู่ อารยา
3. ไม่ว่าละครทั้งสองเรื่องนี้จะจบลงอย่างไร และให้อะไรแก่ผู้ดู ละครในลักษณะนี้คงไม่ใช่เรื่องสุดท้าย แต่คงจะมีมาเรื่อยๆ ตราบเท่าที่สังคมยังชอบดูความหายนะของคนอื่น และไม่เห็นความเลวที่ผู้เขียนยกขึ้นมาเพื่อเป็นอุทาหรณ์สอนคนดูจากผลกรรมที่ตัวละครได้รับตอนจบ
ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งจากละครเรื่องนี้ ก็คือว่า เมื่อคนระดับรัฐมนตรีให้ความสนใจความคิดอันเกิดจากการแสดง และกังวลต่ออนาคตของเยาวชนที่จะเลียนแบบจากละคร ซึ่งว่าเป็นเรื่องดี แต่ถ้าจะให้ดีกว่านี้ รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมน่าจะให้ความสนใจต่อเรื่องการกระทำผิดศีลข้อ 2 คือ อทินนาทานาฯ ที่เกิดขึ้นจากการกระทำจริงของคนในระดับสูงของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในวงการเมืองที่คดโกง แสวงหาความร่ำรวยจนเป็นที่ยอมรับนับหน้าถือตา และกลายเป็นแบบอย่างให้ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ในสังคมเลียนแบบ มากกว่าที่จะลงไปสนใจเรื่องเล็กน้อยดังที่เกิดขึ้นกับละครดอกส้มสีทอง หรือแม้กระทั่งการสอนของแม่ชีทศพรดังที่เคยปรากฏเป็นข่าวมาแล้ว
จริงอยู่ ละครเป็นเรื่องที่ผู้คนในทุกชนชั้นของสังคมได้ดู และเด็กจดจำทำตามได้ง่ายกว่าการคดโกงโดยอาศัยตำแหน่งของผู้มีอำนาจทางการเมือง แต่ถ้ามองความเสียหายและความจำเป็นเร่งด่วนในการแก้ไขแล้ว การคดโกงทางการเมืองควรจะได้รับความสนใจ และแก้ไขจากผู้นำทางวัฒนธรรมในฐานะเจ้ากระทรวงมากกว่าเป็นไหนๆ
อีกประการหนึ่ง ถ้าจะแก้และป้องกันการกระทำผิดทางวัฒนธรรม หรือศีลธรรม รวมไปถึงกฎหมายอันเป็นความผิดอย่างหยาบที่สุด จะต้องเริ่มตั้งแต่การสอนในระดับครอบครัว โรงเรียน และสุดท้ายจบลงที่การปกครอง โดยอาศัยความรู้สึกสำนึกในการกระทำผิดไปจนถึงกลัวติดคุกติดตะราง แต่คงจะแก้ไขอะไรด้วยการออกมาพูดพอเป็นข่าวแล้วเงียบหายไปดังที่กระทำอยู่ในเรื่องที่ว่านี้
อย่างไรก็ตาม ในฐานะสื่อมวลชนคนเขียนหนังสือ ผู้เขียนใคร่ขอให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสื่อ โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์มองหาหนทางป้องกันไว้ก่อนจะดีกว่ามาตามแก้ไขด้วยการออกมาแก้ตัวเมื่อพบว่าความผิดเกิดแล้ว และวิธีมองหาความผิดที่ว่านี้ทำได้ไม่ยาก เพียงแต่ถามตัวเองว่า ถ้าตัวเองมีลูกสาวที่มีพฤติกรรมเหมือนเรยา ท่านรับได้หรือไม่ ถ้ารับไม่ได้ก็ไม่ควรเอามาให้เด็กดู เพียงแค่นี้ก็ไม่ต้องออกมาเถียงกันว่า ใครถูก ใครผิด