ผมเขียนงานชิ้นนี้ล่วงหน้าในวันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม 2554 เวลาสิบนาฬิกาเศษ ๆ ครับ...
วันนี้วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม 2554 มีการประชุมวุฒิสภาตามปกติถ้ายังไม่มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรพระราชทานลงมาก่อน และก็ทราบว่าในวันพุธวันพฤหัสบดีสภาผู้แทนราษฎรก็ได้ออกระเบียบวาระการประชุมไว้แล้วหากยังไม่มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรพระราชทานลงมาก่อน
เรื่องมันสับสนเพราะคนทั่วไปเข้าใจว่าจะมีการยุบสภาภายในวันที่ 6 พฤษภาคม 2554
จะไปกล่าวหานายกรัฐมนตรีท่านไม่ได้หรอก เพราะท่านพูดชัดถ้อยชัดคำแต่เพียงว่าจะทูลเกล้าฯ ถวายร่างพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยภายในสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม 2554 ท่านไม่ได้พูดว่าจะยุบสภาผู้แทนราษฎรภายในสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม 2554
แต่เรื่องมันจะไม่สับสน ถ้าท่านนายกรัฐมนตรีจะพูดอีกอย่างหนึ่ง
“จะทูลเกล้าฯ ถวายร่างพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยทันทีภายหลังจากที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับมีผลบังคับใช้แล้ว”
ถ้าพูดเสียอย่างนี้ ยืนยันเสียอย่างนี้ ก็จะไม่มีใครสับสนว่าจะมีการยุบสภาในวันนั้นวันนี้ อย่างดีก็จะเป็นเพียงการคาดการณ์กันไปกลมๆ ว่าน่าจะอยู่ภายในเดือนพฤษภาคมหรือต้นเดือนมิถุนายน 2554 ไม่หนีไปจากนี้ และไม่เป็นการไปกดดันฝ่ายต่างๆ รวมทั้งตัวเองที่จะต้องเร่งทำงานที่จำเป็นให้เสร็จก่อนวันยุบสภา เช่น ที่มีการประชุมคณะรัฐมนตรีข้ามวันข้ามคืนยาวนานเป็นประวัติศาสตร์เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา อันเป็นวันเดียวกับที่ประธานรัฐสภาจัดงานเลี้ยงอำลาสมาชิกรัฐสภาในตอนเที่ยงหลังเรียกประชุมร่วม 2 สภาเพื่อให้คณะรัฐมนตรีถอนเรื่องที่ค้างพิจารณาออกไป 8 เรื่อง
การยุบสภาเป็นพระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญของพระมหากษัตริย์
แต่โดยประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พระราชอำนาจนี้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และในเมื่อพระมหากษัตริย์ในระบอบนี้ทรงอยู่เหนือการเมือง ก็เลยถือโดยประเพณีเสมือนว่าอำนาจการยุบสภาเป็นของนายกรัฐมนตรีหรือฝ่ายบริหารตามธรรมเนียมของระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาแบบอังกฤษที่เรานำมา เหมือนๆ กับพระราชอำนาจอื่นตามรัฐธรรมนูญของพระมหากษัตริย์ที่แทบทั้งหมดกำหนดให้ต้องมีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ก็ถือโดยประเพณีเสมือนว่าผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการนั้นๆ เป็นผู้รับผิดชอบ
แต่โดยประเพณีแล้วก็มิควรพูดจาก้าวล่วงเสมือนเป็นการกำหนดวันว่าเหตุการณ์จะเกิดขึ้นวันนั้นวันนี้
เพราะขั้นตอนภายในสำนักราชเลขาธิการในเรื่องเหล่านี้มีอยู่ อย่างน้อยที่สุดก็คือขั้นตอนตรวจสอบความถูกต้อง ซึ่งจะกำหนดวันเวลาล่วงหน้าไม่ได้ แม้โดยปกติจะใช้เวลานับจากที่เริ่มทูลเกล้าฯ ประมาณ 7 – 15 วัน แต่ก็มีบางกรณีที่นานกว่านั้น กระทั่งมีบางกรณีที่ไม่พระราชทานลงมาเลย แม้จะมีน้อยมากจนแทบจำไม่ได้ แต่ไม่ใช่ว่าไม่มี ล่าสุดเราก็เพิ่งได้เห็นในกรณีแต่งตั้งผู้ว่าการ สตง.คนใหม่แทนคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกาในช่วงปี 2548 ซึ่งโดยประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขถือเสมือนหนึ่งเป็นการใช้พระราชอำนาจประการหนึ่งของพระมหากษัตริย์ที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
จริงๆ ในเรื่องการยุบสภาครั้งนี้มีคนทักท้วงมามากว่าไม่ควรกำหนดวันล่วงหน้า เพราะจะเป็นการยุบสภาภายหลังมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นว่าด้วยระบบเลือกตั้ง
จะต้องรอให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับมีผลบังคับใช้เสียก่อน!
แต่ดูเหมือนนายรัฐมนตรีคนนี้ไม่เห็นด้วย ท่านพูดหลายครั้งหลายหนว่าเมื่อแก้รัฐธรรมนูญเรียบร้อยแล้วก็สามารถยุบสภาได้ เพราะถึงแม้จะยังไม่ได้แก้ไขกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ก.ก.ต.) ก็สามารถออกระบียบ ก.ก.ต.มาใช้ได้เลย
ก็คงทราบกันดีแล้วว่า ก.ก.ต.ท่านไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านสดศรี สัตยธรรม!
โดยสรุปแล้ว ก.ก.ต.มีความเห็นร่วมกันว่าไม่สามารถออกระเบียบ ก.ก.ต.มาทดแทนกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญได้ในกรณีนี้
ที่จริงถ้าท่านนายกรัฐมนตรีจะฟังคนอื่นบ้าง หลังจาก ก.ก.ต.มีท่าทีเช่นนั้น ท่านก็สามารถปรับแก้คำพูดของท่านใหม่ได้โดยไม่ทำให้ตัวท่านต้องเสียคำพูด อย่าไปยืนยันเรื่องสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม 2554 พูดใหม่เสียว่าหลังจากกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับมีผลบังคับใช้แล้ว
แต่ท่านนายกรัฐมนตรีคนนี้ท่านก็ยังคงยืนยันเหมือนเดิม
ทั้งๆ ที่กำหนดระยะเวลามันหวุดหวิดมาก
วุฒิสภาไม่ได้พิจารณากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญล่าช้าอะไร เพียงแต่ไม่สู้จะทันใจรัฐบาล คือเวลาในชั้นกรรมาธิการ 2 สัปดาห์แทนที่จะเป็น 1 สัปดาห์ และในการพิจารณาวาระ 2 – 3 ก็ไม่ได้แก้ไขอะไรมากมายจนจะต้องตั้งกรรมาธิการร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร แต่ขั้นตอนของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญมันไม่ได้จบแค่นี้ ยังต้องไปศาลรัฐธรรมนูญโดยอัตโนมัติ แล้วจึงจะถึงกระบวนการทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้ช้าครับ เพียงแต่จะพิจารณาวินิจฉัยในวันนี้วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม 2554 แทนที่จะเป็นเมื่อวันจันทร์ที่แล้ววันที่ 2 พฤษภาคม 2554 ต่อให้วันนี้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่ากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ใช้บังคับได้ ก็ยังต้องรอกระบวนการทูลเกล้าฯ อีกอย่างน้อยๆ ก็สัปดาห์หนึ่ง ซึ่งก็อย่างที่บอกแหละครับว่าแม้ว่าจะไม่น่ามีปัญหาอะไร แต่ประเพณีของความจงรักภักดีก็ไม่บังควรไปทำไปพูดอะไรให้เกินเลยจนกลายเป็นเสมือนกำหนดวัน/เวลาปฏิบัติพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่เรื่องผิดหรือถูก แต่เป็นเรื่องของความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมมากกว่า
เรื่องนี้รู้กันตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว
นายกรัฐมนตรีสามารถแก้ไขคำพูดและความตั้งใจแต่เดิมได้ใหม่ โดยท่านนอกจากไม่เสียคำพูดอะไรเลยแล้วยังจะเป็นแสดงออกถึงความเป็นผู้เข้าใจอย่างถ่องแท้ในตัวบทกฎหมายและประเพณีปฏิบัติ
แต่นายกรัฐมนตรีท่านก็เลือกที่จะเดินหน้าตามคำพูดเดิมที่ท่านให้ไว้นานแล้วว่าจะทูลเกล้าฯ ร่างพระราชกฤษฎีกายุบสภาภายในสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม 2554 คือเมื่อบ่ายวันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม 2554
เลือกที่จะประชุมคณะรัฐมนตรีนัดสุดท้ายไปแล้ว
เลือกที่จะจัดรายการพบประชาชนทางช่อง 11 นัดสุดท้ายไปแล้ว
ฯลฯ
ไม่ใช่เรื่องผิดหรือถูก แต่เป็นเรื่องของความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมมากกว่า!
ถ้าเป็นอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรทำแบบนี้ ก็คงถูกด่าเปิงมากกว่านี้ ดีไม่ดีอาจจะเป็นนักการเมืองจากพรรคของท่านนายกรัฐมนตรีออกมาร่วมชยันโตด้วย
ผมไม่เข้าใจว่ายุบสภาช้าไปสัปดาห์สองสัปดาห์เสียหายอะไร ผมไม่เข้าใจว่าเลือกตั้งทั่วไปช้าไปสัปดาห์สองสัปดาห์เสียหายอะไร
และผมไม่เข้าใจว่าเหตุใดถึงประสงค์จะให้การเลือกตั้งทั่วไปอยู่ในช่วงวันที่ 26 มิถุนายน 2554
รอให้ผลการประชุมมรดกโลกผ่านไปเสียก่อนสัปดาห์สองสัปดาห์แล้วค่อยเลือกตั้งทั่วไปจะไม่ดีกว่าหรือ??!
วันนี้วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม 2554 มีการประชุมวุฒิสภาตามปกติถ้ายังไม่มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรพระราชทานลงมาก่อน และก็ทราบว่าในวันพุธวันพฤหัสบดีสภาผู้แทนราษฎรก็ได้ออกระเบียบวาระการประชุมไว้แล้วหากยังไม่มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรพระราชทานลงมาก่อน
เรื่องมันสับสนเพราะคนทั่วไปเข้าใจว่าจะมีการยุบสภาภายในวันที่ 6 พฤษภาคม 2554
จะไปกล่าวหานายกรัฐมนตรีท่านไม่ได้หรอก เพราะท่านพูดชัดถ้อยชัดคำแต่เพียงว่าจะทูลเกล้าฯ ถวายร่างพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยภายในสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม 2554 ท่านไม่ได้พูดว่าจะยุบสภาผู้แทนราษฎรภายในสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม 2554
แต่เรื่องมันจะไม่สับสน ถ้าท่านนายกรัฐมนตรีจะพูดอีกอย่างหนึ่ง
“จะทูลเกล้าฯ ถวายร่างพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยทันทีภายหลังจากที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับมีผลบังคับใช้แล้ว”
ถ้าพูดเสียอย่างนี้ ยืนยันเสียอย่างนี้ ก็จะไม่มีใครสับสนว่าจะมีการยุบสภาในวันนั้นวันนี้ อย่างดีก็จะเป็นเพียงการคาดการณ์กันไปกลมๆ ว่าน่าจะอยู่ภายในเดือนพฤษภาคมหรือต้นเดือนมิถุนายน 2554 ไม่หนีไปจากนี้ และไม่เป็นการไปกดดันฝ่ายต่างๆ รวมทั้งตัวเองที่จะต้องเร่งทำงานที่จำเป็นให้เสร็จก่อนวันยุบสภา เช่น ที่มีการประชุมคณะรัฐมนตรีข้ามวันข้ามคืนยาวนานเป็นประวัติศาสตร์เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา อันเป็นวันเดียวกับที่ประธานรัฐสภาจัดงานเลี้ยงอำลาสมาชิกรัฐสภาในตอนเที่ยงหลังเรียกประชุมร่วม 2 สภาเพื่อให้คณะรัฐมนตรีถอนเรื่องที่ค้างพิจารณาออกไป 8 เรื่อง
การยุบสภาเป็นพระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญของพระมหากษัตริย์
แต่โดยประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พระราชอำนาจนี้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และในเมื่อพระมหากษัตริย์ในระบอบนี้ทรงอยู่เหนือการเมือง ก็เลยถือโดยประเพณีเสมือนว่าอำนาจการยุบสภาเป็นของนายกรัฐมนตรีหรือฝ่ายบริหารตามธรรมเนียมของระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาแบบอังกฤษที่เรานำมา เหมือนๆ กับพระราชอำนาจอื่นตามรัฐธรรมนูญของพระมหากษัตริย์ที่แทบทั้งหมดกำหนดให้ต้องมีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ก็ถือโดยประเพณีเสมือนว่าผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการนั้นๆ เป็นผู้รับผิดชอบ
แต่โดยประเพณีแล้วก็มิควรพูดจาก้าวล่วงเสมือนเป็นการกำหนดวันว่าเหตุการณ์จะเกิดขึ้นวันนั้นวันนี้
เพราะขั้นตอนภายในสำนักราชเลขาธิการในเรื่องเหล่านี้มีอยู่ อย่างน้อยที่สุดก็คือขั้นตอนตรวจสอบความถูกต้อง ซึ่งจะกำหนดวันเวลาล่วงหน้าไม่ได้ แม้โดยปกติจะใช้เวลานับจากที่เริ่มทูลเกล้าฯ ประมาณ 7 – 15 วัน แต่ก็มีบางกรณีที่นานกว่านั้น กระทั่งมีบางกรณีที่ไม่พระราชทานลงมาเลย แม้จะมีน้อยมากจนแทบจำไม่ได้ แต่ไม่ใช่ว่าไม่มี ล่าสุดเราก็เพิ่งได้เห็นในกรณีแต่งตั้งผู้ว่าการ สตง.คนใหม่แทนคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกาในช่วงปี 2548 ซึ่งโดยประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขถือเสมือนหนึ่งเป็นการใช้พระราชอำนาจประการหนึ่งของพระมหากษัตริย์ที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
จริงๆ ในเรื่องการยุบสภาครั้งนี้มีคนทักท้วงมามากว่าไม่ควรกำหนดวันล่วงหน้า เพราะจะเป็นการยุบสภาภายหลังมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นว่าด้วยระบบเลือกตั้ง
จะต้องรอให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับมีผลบังคับใช้เสียก่อน!
แต่ดูเหมือนนายรัฐมนตรีคนนี้ไม่เห็นด้วย ท่านพูดหลายครั้งหลายหนว่าเมื่อแก้รัฐธรรมนูญเรียบร้อยแล้วก็สามารถยุบสภาได้ เพราะถึงแม้จะยังไม่ได้แก้ไขกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ก.ก.ต.) ก็สามารถออกระบียบ ก.ก.ต.มาใช้ได้เลย
ก็คงทราบกันดีแล้วว่า ก.ก.ต.ท่านไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านสดศรี สัตยธรรม!
โดยสรุปแล้ว ก.ก.ต.มีความเห็นร่วมกันว่าไม่สามารถออกระเบียบ ก.ก.ต.มาทดแทนกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญได้ในกรณีนี้
ที่จริงถ้าท่านนายกรัฐมนตรีจะฟังคนอื่นบ้าง หลังจาก ก.ก.ต.มีท่าทีเช่นนั้น ท่านก็สามารถปรับแก้คำพูดของท่านใหม่ได้โดยไม่ทำให้ตัวท่านต้องเสียคำพูด อย่าไปยืนยันเรื่องสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม 2554 พูดใหม่เสียว่าหลังจากกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับมีผลบังคับใช้แล้ว
แต่ท่านนายกรัฐมนตรีคนนี้ท่านก็ยังคงยืนยันเหมือนเดิม
ทั้งๆ ที่กำหนดระยะเวลามันหวุดหวิดมาก
วุฒิสภาไม่ได้พิจารณากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญล่าช้าอะไร เพียงแต่ไม่สู้จะทันใจรัฐบาล คือเวลาในชั้นกรรมาธิการ 2 สัปดาห์แทนที่จะเป็น 1 สัปดาห์ และในการพิจารณาวาระ 2 – 3 ก็ไม่ได้แก้ไขอะไรมากมายจนจะต้องตั้งกรรมาธิการร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร แต่ขั้นตอนของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญมันไม่ได้จบแค่นี้ ยังต้องไปศาลรัฐธรรมนูญโดยอัตโนมัติ แล้วจึงจะถึงกระบวนการทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้ช้าครับ เพียงแต่จะพิจารณาวินิจฉัยในวันนี้วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม 2554 แทนที่จะเป็นเมื่อวันจันทร์ที่แล้ววันที่ 2 พฤษภาคม 2554 ต่อให้วันนี้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่ากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ใช้บังคับได้ ก็ยังต้องรอกระบวนการทูลเกล้าฯ อีกอย่างน้อยๆ ก็สัปดาห์หนึ่ง ซึ่งก็อย่างที่บอกแหละครับว่าแม้ว่าจะไม่น่ามีปัญหาอะไร แต่ประเพณีของความจงรักภักดีก็ไม่บังควรไปทำไปพูดอะไรให้เกินเลยจนกลายเป็นเสมือนกำหนดวัน/เวลาปฏิบัติพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่เรื่องผิดหรือถูก แต่เป็นเรื่องของความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมมากกว่า
เรื่องนี้รู้กันตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว
นายกรัฐมนตรีสามารถแก้ไขคำพูดและความตั้งใจแต่เดิมได้ใหม่ โดยท่านนอกจากไม่เสียคำพูดอะไรเลยแล้วยังจะเป็นแสดงออกถึงความเป็นผู้เข้าใจอย่างถ่องแท้ในตัวบทกฎหมายและประเพณีปฏิบัติ
แต่นายกรัฐมนตรีท่านก็เลือกที่จะเดินหน้าตามคำพูดเดิมที่ท่านให้ไว้นานแล้วว่าจะทูลเกล้าฯ ร่างพระราชกฤษฎีกายุบสภาภายในสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม 2554 คือเมื่อบ่ายวันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม 2554
เลือกที่จะประชุมคณะรัฐมนตรีนัดสุดท้ายไปแล้ว
เลือกที่จะจัดรายการพบประชาชนทางช่อง 11 นัดสุดท้ายไปแล้ว
ฯลฯ
ไม่ใช่เรื่องผิดหรือถูก แต่เป็นเรื่องของความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมมากกว่า!
ถ้าเป็นอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรทำแบบนี้ ก็คงถูกด่าเปิงมากกว่านี้ ดีไม่ดีอาจจะเป็นนักการเมืองจากพรรคของท่านนายกรัฐมนตรีออกมาร่วมชยันโตด้วย
ผมไม่เข้าใจว่ายุบสภาช้าไปสัปดาห์สองสัปดาห์เสียหายอะไร ผมไม่เข้าใจว่าเลือกตั้งทั่วไปช้าไปสัปดาห์สองสัปดาห์เสียหายอะไร
และผมไม่เข้าใจว่าเหตุใดถึงประสงค์จะให้การเลือกตั้งทั่วไปอยู่ในช่วงวันที่ 26 มิถุนายน 2554
รอให้ผลการประชุมมรดกโลกผ่านไปเสียก่อนสัปดาห์สองสัปดาห์แล้วค่อยเลือกตั้งทั่วไปจะไม่ดีกว่าหรือ??!