เมื่อวานนี้ (1 พ.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวผ่านรายการ "เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์" ถึงผู้ใช้แรงงาน เนื่องในโอกาสวันแรงงานแห่งชาติว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญอย่างมาก กับพี่น้องผู้ใช้แรงงาน เพราะคนเหล่านี้มีบทบาทสำคัญมาก ในการที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยในช่วงระยะเวลา 2 ปีกว่าๆ ที่ผ่านมา ตนได้ดูแล ยกระดับความเป็นอยู่ของพี่น้องผู้ใช้แรงงาน ตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งได้ทำไปมากและ ต่อเนื่อง อาทิ การจัดให้มีการดูแลเด็กเล็กในสถานประกอบการ ขณะนี้ได้เร่งหลายๆทาง มีการออกกฎระเบียบเพื่อจะให้สถานประกอบการที่ทำศูนย์เด็กเล็กในสถานประกอบการ สามารถเอาค่าใช้จ่ายไปลดหย่อนภาษีได้ เชิญชวนภาคเอกชน และจูงใจทุกรูปแบบเพื่อพี่น้องแรงงานได้ใช้ประโยชน์ตรงนี้
ขณะเดียวกันเรื่องค่าตอบแทน ค่าจ้าง คณะรัฐมนตรีเมื่อวังอังคารที่ผ่านมา ได้อนุมัติค่าจ้าง ประกาศค่าจ้างตามมาตรการฝีมือแรงงาน ใน 11 สาขา ซึ่งเป็นการประกาศครั้งแรก ปกติจะดูแลเฉพาะค่าแรงขั้นต่ำ แต่ตอนนี้ผู้ใช้แรงงานที่มีฝีมือต่างๆ ก็จะมีการประกาศกำหนดค่าจ้างครั้งแรก มีตั้งแต่ 200 กว่าบาทไปถึง 500 กว่าบาท ซึ่งก็ถือว่าเรื่องนี้จะเป็นหลักประกันของผู้ใช้แรงงาน ได้ผ่านมาตรฐานฝีมือแรงงาน ก็จะมีค่าจ้างที่มีความเป็นธรรม ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการช่วยต่อสู้ในเรื่องของค่าครองชีพ ส่วนเรื่องของค่าจ้างขั้นต่ำนั้น ก็อยู่ในช่วงที่มีการปรับให้สอดคล้องกับค่าครองชีพอีกครั้งหนึ่ง คาดว่าจะดำเนินการได้อีก 1 เดือนข้างหน้า
นอกจากนี้ มีการผลักดันกฎหมายหลายฉบับ เช่น เรื่องความปลอดภัยอาชีวะอนามัย และเรื่องของกฎหมายอื่นๆ ด้านแรงงาน รวมไปถึงการยกเลิกข้อสงวนตามข้อตกลงระหว่างประเทศ มีการผลักดันอย่างต่อเนื่อง และสิ่งที่เน้นย้ำตลอดคือ เรื่องการเปิดโอกาสให้แรงงานนอกระบบเข้าอยู่ในประกันสังคม โดยจ่ายสบทบ 30 บาท 50 บาท ผู้ใช้แรงงานจ่ายสมบท 70 บาท 100 บาท จะเริ่มต้นได้ในวันนี้ เป็นการขยายเรื่องสวัสดิการให้ครอบคลุม ตลอดจนถึงการรับงานไปทำที่บ้าน ก็จะมีผลบังคับใช้แรงงานเหล่านี้ นอกจากนี้งานด้านอื่นๆ เกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคมรัฐบาลยังเดินหน้าต่อเนื่อง จะไปดูการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร-ปริมณฑล การลงทุนในโครงสร้างขั้นพื้นฐาน
** พท.คุยได้เป็นรัฐบาลขึ้นค่าแรง300บาท
ด้านนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ ทางพรรคเพื่อไทย ได้ออกนโยบายคือ ค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท เพราะในปัจจุบบันได้รับเพียงเฉลี่ย 215 บาทต่อวัน แต่ค่าครองชีพในขณะนี้ทำให้ผู้ใช้แรงงานมีรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย ซึ่งทางพรรคเพื่อไทยเห็นว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำนั้นไม่กระทบต่อค่าใช้จ่ายในการผลิตของผู้ประกอบการแต่อย่างใด อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่ทำให้มีการเติบโตมากขึ้น
นอกจากนี้ พรรคเพื่อไทยได้ทำแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่าง 2,500 คน จากประชาชนทุกภาค โดยมีหัวข้อในการทำสำรวจคือ การจัดรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายอภิสิทธิ์ ว่าเป็นอย่างไร พบว่า มีประชาชนติดตามรายการนี้เพียงแค่ร้อยละ 17 เท่านั้น และเมื่อนำไปเทียบกับการจัดรายการของนายกรัฐมนตรี คนก่อนหน้านี้ จะเห็นว่าตัวเลขนี้เทียบกันได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้จึงพิสูจน์ได้ว่ารัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนั้น ดีแต่พูด ประชาชนจึงไม่ให้ความสนใจ
คกก.ปฏิรูปอัดแผนหาเสียง ซ้ำเติมปชช. ตอกข้อเสนอหาเสียงขึ้นค่าแรงของพรรคการเมืองซ้ำเติมประชาชน
นายณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย (คปร.) กล่าวว่า การหาเสียงของพรรคการเมืองต่างๆ โดยการเน้นเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำในทุกวันนี้ เปรียบเทียบในทางวิชาการว่า เป็นทฤษฎีลูกกวาด เพราะจะนำผลร้ายตามมา เนื่องจากเจ้าของกิจการ จะใช้เป็นข้ออ้างสร้างความเห็นใจ ในการขอขยับราคาสินค้าในภายหลัง ทำให้ต้นทุนค่าครองชีพของแรงงานเพิ่มขึ้นยิ่งกว่าค่าแรงที่ได้รับ เพราะที่ผ่านมา เมื่อมีการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ 9 บาท คำนวนแล้วไม่ถึง 5 % ของค่าจ้างเดิม และไม่ถึง 1 % ของราคาสินค้าที่ขยับหนีจากต้นทุนเดิมหลังค่าแรงเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งถือเป็นซ้ำเติมประชาชนอีกทางหนึ่ง
นายณรงค์ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับ ทฤษฎี 2 สูง ที่มีกลุ่มทุนเสนอ ด้วยการเพิ่มค่าแรง เพราะ ความเป็นจริงแล้วไม่สามารถแก้ปัญหาค่าแรงได้ถูกวิธี ทางที่ถูกต้องเป็นการลดต้นทุนการผลิต ลดค่าครองชีพ มากกว่า ยกตัวอย่างเกษตรกร แม้จะเพิ่มค่าจ้าง มากเท่าไร แต่หากราคาปุ๋ยของชาวนายังขยับเพิ่มสูงขึ้น ก็ไม่ได้ช่วยให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้จริง
ทั้งนี้ ในปัจจุบันผู้ใช้แรงงานมีจำนวนมากขึ้น เพราะเกษตรกรทำนา ก็ยังต้องซื้อข้าวกิน แต่การรวมตัวของภาคแรงงาน กลุ่มสหภาพฯ กลับอ่อนแอ ไม่เข้มแข็งเท่าที่ควร
"ในประเทศไทย พรรคแรงงานไม่เกิดขึ้น เพราะ ทุนกับข้าราชการ มันไปด้วยกัน วันแรงงานที่รณรงค์กัน ก็ไม่ทำให้คนงานเข้าใจประวัติศาสตร์ ทั้งนายอารมณ์ พงศ์พงัน และนายทนง โพธิ์อ่าน 2 นักต่อสู้ที่ล้มตายไป แต่คนเหล่านี้ ถูกทำลาย สังคมไทยถูกทำให้ลืมรากเหง้าของประวัติศาสตร์ของนักต่อสู้ด้านแรงงาน " นายณรงค์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม นายณรงค์ เห็นว่าสังคมกำลังเดินทางมาถึงจุดเปลี่ยน ถ้าเป็นอุณภูมิน้ำก็เดือดถึง 60 องศา ความหมายคือการต่อรองของกลุ่มก้อนภาคประชาชน จะเริ่มมีพลังมากขึ้นเรื่อยๆ และจากประสบการณ์ที่ทำงานร่วมกับพรรคการเมืองมา 5-6 พรรค เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีมาหลายคน ก็เห็นว่าคนไทยไม่ควรหวังพึ่งนักการเมือง แต่ควรหันมารวมตัวกันและทำให้ข้อเสนอจากภาคประชาชนมีเสียงดัง รวมตัวกันให้ใหญ่พอเท่าๆ กับกลุ่มทุนที่กำลังขยายอิทธิพลอยู่ในพรรคการเมืองแทบทุกพรรคในเวลานี้
----------------------
ขณะเดียวกันเรื่องค่าตอบแทน ค่าจ้าง คณะรัฐมนตรีเมื่อวังอังคารที่ผ่านมา ได้อนุมัติค่าจ้าง ประกาศค่าจ้างตามมาตรการฝีมือแรงงาน ใน 11 สาขา ซึ่งเป็นการประกาศครั้งแรก ปกติจะดูแลเฉพาะค่าแรงขั้นต่ำ แต่ตอนนี้ผู้ใช้แรงงานที่มีฝีมือต่างๆ ก็จะมีการประกาศกำหนดค่าจ้างครั้งแรก มีตั้งแต่ 200 กว่าบาทไปถึง 500 กว่าบาท ซึ่งก็ถือว่าเรื่องนี้จะเป็นหลักประกันของผู้ใช้แรงงาน ได้ผ่านมาตรฐานฝีมือแรงงาน ก็จะมีค่าจ้างที่มีความเป็นธรรม ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการช่วยต่อสู้ในเรื่องของค่าครองชีพ ส่วนเรื่องของค่าจ้างขั้นต่ำนั้น ก็อยู่ในช่วงที่มีการปรับให้สอดคล้องกับค่าครองชีพอีกครั้งหนึ่ง คาดว่าจะดำเนินการได้อีก 1 เดือนข้างหน้า
นอกจากนี้ มีการผลักดันกฎหมายหลายฉบับ เช่น เรื่องความปลอดภัยอาชีวะอนามัย และเรื่องของกฎหมายอื่นๆ ด้านแรงงาน รวมไปถึงการยกเลิกข้อสงวนตามข้อตกลงระหว่างประเทศ มีการผลักดันอย่างต่อเนื่อง และสิ่งที่เน้นย้ำตลอดคือ เรื่องการเปิดโอกาสให้แรงงานนอกระบบเข้าอยู่ในประกันสังคม โดยจ่ายสบทบ 30 บาท 50 บาท ผู้ใช้แรงงานจ่ายสมบท 70 บาท 100 บาท จะเริ่มต้นได้ในวันนี้ เป็นการขยายเรื่องสวัสดิการให้ครอบคลุม ตลอดจนถึงการรับงานไปทำที่บ้าน ก็จะมีผลบังคับใช้แรงงานเหล่านี้ นอกจากนี้งานด้านอื่นๆ เกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคมรัฐบาลยังเดินหน้าต่อเนื่อง จะไปดูการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร-ปริมณฑล การลงทุนในโครงสร้างขั้นพื้นฐาน
** พท.คุยได้เป็นรัฐบาลขึ้นค่าแรง300บาท
ด้านนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ ทางพรรคเพื่อไทย ได้ออกนโยบายคือ ค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท เพราะในปัจจุบบันได้รับเพียงเฉลี่ย 215 บาทต่อวัน แต่ค่าครองชีพในขณะนี้ทำให้ผู้ใช้แรงงานมีรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย ซึ่งทางพรรคเพื่อไทยเห็นว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำนั้นไม่กระทบต่อค่าใช้จ่ายในการผลิตของผู้ประกอบการแต่อย่างใด อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่ทำให้มีการเติบโตมากขึ้น
นอกจากนี้ พรรคเพื่อไทยได้ทำแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่าง 2,500 คน จากประชาชนทุกภาค โดยมีหัวข้อในการทำสำรวจคือ การจัดรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายอภิสิทธิ์ ว่าเป็นอย่างไร พบว่า มีประชาชนติดตามรายการนี้เพียงแค่ร้อยละ 17 เท่านั้น และเมื่อนำไปเทียบกับการจัดรายการของนายกรัฐมนตรี คนก่อนหน้านี้ จะเห็นว่าตัวเลขนี้เทียบกันได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้จึงพิสูจน์ได้ว่ารัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนั้น ดีแต่พูด ประชาชนจึงไม่ให้ความสนใจ
คกก.ปฏิรูปอัดแผนหาเสียง ซ้ำเติมปชช. ตอกข้อเสนอหาเสียงขึ้นค่าแรงของพรรคการเมืองซ้ำเติมประชาชน
นายณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย (คปร.) กล่าวว่า การหาเสียงของพรรคการเมืองต่างๆ โดยการเน้นเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำในทุกวันนี้ เปรียบเทียบในทางวิชาการว่า เป็นทฤษฎีลูกกวาด เพราะจะนำผลร้ายตามมา เนื่องจากเจ้าของกิจการ จะใช้เป็นข้ออ้างสร้างความเห็นใจ ในการขอขยับราคาสินค้าในภายหลัง ทำให้ต้นทุนค่าครองชีพของแรงงานเพิ่มขึ้นยิ่งกว่าค่าแรงที่ได้รับ เพราะที่ผ่านมา เมื่อมีการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ 9 บาท คำนวนแล้วไม่ถึง 5 % ของค่าจ้างเดิม และไม่ถึง 1 % ของราคาสินค้าที่ขยับหนีจากต้นทุนเดิมหลังค่าแรงเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งถือเป็นซ้ำเติมประชาชนอีกทางหนึ่ง
นายณรงค์ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับ ทฤษฎี 2 สูง ที่มีกลุ่มทุนเสนอ ด้วยการเพิ่มค่าแรง เพราะ ความเป็นจริงแล้วไม่สามารถแก้ปัญหาค่าแรงได้ถูกวิธี ทางที่ถูกต้องเป็นการลดต้นทุนการผลิต ลดค่าครองชีพ มากกว่า ยกตัวอย่างเกษตรกร แม้จะเพิ่มค่าจ้าง มากเท่าไร แต่หากราคาปุ๋ยของชาวนายังขยับเพิ่มสูงขึ้น ก็ไม่ได้ช่วยให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้จริง
ทั้งนี้ ในปัจจุบันผู้ใช้แรงงานมีจำนวนมากขึ้น เพราะเกษตรกรทำนา ก็ยังต้องซื้อข้าวกิน แต่การรวมตัวของภาคแรงงาน กลุ่มสหภาพฯ กลับอ่อนแอ ไม่เข้มแข็งเท่าที่ควร
"ในประเทศไทย พรรคแรงงานไม่เกิดขึ้น เพราะ ทุนกับข้าราชการ มันไปด้วยกัน วันแรงงานที่รณรงค์กัน ก็ไม่ทำให้คนงานเข้าใจประวัติศาสตร์ ทั้งนายอารมณ์ พงศ์พงัน และนายทนง โพธิ์อ่าน 2 นักต่อสู้ที่ล้มตายไป แต่คนเหล่านี้ ถูกทำลาย สังคมไทยถูกทำให้ลืมรากเหง้าของประวัติศาสตร์ของนักต่อสู้ด้านแรงงาน " นายณรงค์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม นายณรงค์ เห็นว่าสังคมกำลังเดินทางมาถึงจุดเปลี่ยน ถ้าเป็นอุณภูมิน้ำก็เดือดถึง 60 องศา ความหมายคือการต่อรองของกลุ่มก้อนภาคประชาชน จะเริ่มมีพลังมากขึ้นเรื่อยๆ และจากประสบการณ์ที่ทำงานร่วมกับพรรคการเมืองมา 5-6 พรรค เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีมาหลายคน ก็เห็นว่าคนไทยไม่ควรหวังพึ่งนักการเมือง แต่ควรหันมารวมตัวกันและทำให้ข้อเสนอจากภาคประชาชนมีเสียงดัง รวมตัวกันให้ใหญ่พอเท่าๆ กับกลุ่มทุนที่กำลังขยายอิทธิพลอยู่ในพรรคการเมืองแทบทุกพรรคในเวลานี้
----------------------