กระทรวงพาณิชย์ เพิ่งประกาศปรับเป้าหมายการส่งออกสินค้าไทยเพิ่มจาก 10% มูลค่า 2.15 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มเป็น 12% มูลค่า 2.19 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินบาทเกือบ 7 ล้านล้านบาท ไปเมื่อช่วงต้นเดือนเม.ย.2554 ที่ผ่านมา หลังจากประเมินว่าเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น และส่งผลดีให้ไทยส่งออกได้มากขึ้น
จากปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น ผ่านไปได้ไม่ถึงเดือน กลับมีข้อมูลใหม่ ที่ส่งผลดีต่อการส่งออกสินค้าไทยในปี 2554 ที่ทำท่าว่าจะไม่หยุดเพียงแค่เป้า 12% โดยมองกันว่าอาจจะขยายตัวไปถึง 15% เลยก็ว่าได้ ซึ่งเป้าหมายตรงนี้ นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ก็มองว่ามีความเป็นไปได้ เพียงแต่ว่ายังไม่มีการประกาศอย่างเป็นทางการออกมาเท่านั้น
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก ให้ข้อมูลว่า มีความเป็นไปได้สูงที่การส่งออกจะขยายตัวได้เกินไปกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 12% เพราะมีปัจจัยสนับสนุนการส่งออกในปี 2554 นี้มากมาย ทั้งความต้องการสินค้าเกษตรและอาหารในตลาดโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เศรษฐกิจและการค้าของโลกและตลาดส่งออกสำคัญมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น ทั้ง อาเซียน จีน อินเดีย รัสเซียและ CIS ผู้ประกอบการไทยได้รับการยอมรับในด้านการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐานเหนือคู่แข่ง และยังได้รับผลดีจากการทำข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ ที่ทำให้สินค้าไทยส่งออกได้มากขึ้น
ดังนั้น เพื่อให้การส่งออกไทยมีการขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง นางนันทวัลย์บอกว่า กรมฯ จะใช้โอกาสในการจัดงานแสดงสินค้าอาหาร 2554 (THAIFEX–World of Food Asia 2011) ระหว่างวันที่ 25-29 พ.ค.2554 นี้ ที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี เชิญผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (ทูตพาณิชย์) ที่ประจำอยู่ทั่วโลก และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของกระทรวงพาณิชย์ (HTA) ที่อยู่ในประเทศต่างๆ มาประชุมร่วมกัน เพื่อประเมินสถานการณ์ส่งออกและจัดทำแผนสนับสนุนการส่งออกสินค้าไทย
"การประชุมครั้งนี้ นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะเป็นผู้ให้นโยบายในการทำงาน โดยเฉพาะการผลักดันการส่งออกสินค้าไทยในปี 2554 หลังจากที่กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับเป้าหมายใหม่เพิ่มเป็น 12% และล่าสุดมีแนวโน้มที่การส่งออกจะเพิ่มขึ้นได้เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งเป็นไปตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และความต้องการสินค้าไทย”นางนันทวัลย์กล่าว
นางนันทวัลย์บอกว่า หน้าที่ของทูตพาณิชย์ หลักๆ จะต้องมีการติดตามเศรษฐกิจของตลาดที่มีศักยภาพสูง เช่น อาเซียน จีน อินเดีย รัสเซีย และ CIS ที่ปัจจุบันมีการขยายตัวเติบโตอย่างต่อเนื่อง และมีความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น โดยต้องดูว่าจะมีการปรับแผนการส่งออกเพื่อผลักดันสินค้าไทยเข้าสู่ตลาดได้อย่างไร มีลู่ทางอะไรบ้าง มีวิธีการใหม่ๆ อะไร ก็ให้เสนอมาเพื่อจัดทำเป็นแผนในการบุกเจาะตลาดต่อไป
ขณะเดียวกัน ต้องประเมินว่า ความต้องการสินค้าเกษตรและอาหารในตลาดโลกที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ไทยจะมีโอกาสในการผลักดันการส่งออกไปยังประเทศไหนบ้าง ซึ่งจะต้องไปสำรวจและประเมินความต้องการให้ได้ เพราะประเทศที่เป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรอื่นๆ ก็มองเห็นโอกาสนี้เช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ ทูตพาณิชย์ที่ประจำอยู่ในประเทศที่ไทยได้มีการทำข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) จะต้องมีการประเมินว่า หลังจากที่มีการลดภาษีสินค้าตามข้อตกลง FTA ไปแล้ว เช่น อาเซียน จีน ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สินค้าไทยอะไรบ้างที่มีโอกาสในการบุกเจาะตลาด ซึ่งจะต้องมีการติดตามสถานการณ์สินค้าอย่างใกล้ชิด รวมไปถึงสินค้าใหม่ๆ ที่มีการลดภาษีและมีโอกาสในการเจาะตลาด โดยขอให้มีการติดตามและประเมินช่องทางในการเข้าสู่ตลาดให้ด้วย
พร้อมกันนี้ ให้มองหาโอกาสใหม่ๆ ในการผลักดันการส่งออกสินค้า โดยให้ประเมินคู่แข่งของไทยในตลาดที่ตนเองรับผิดชอบว่าสินค้าอะไรมีโอกาสในการส่งออกได้เพิ่มขึ้น จากการที่สินค้าของคู่แข่งบางประเทศอาจมีปัญหาในเรื่องคุณภาพและมาตรฐาน
สำหรับ HTA จะขอความร่วมมือให้ช่วยชี้ช่องทางการค้าให้กับไทย โดยเฉพาะการค้าการลงทุนที่มีศักยภาพในประเทศที่ประจำอยู่ ขอให้เป็นคนกลางในการเชื่อมโยงให้เกิดการเจรจาธุรกิจให้กับภาคเอกชนไทย แนะนำบุคคลที่มีศักยภาพในการทำการค้า การลงทุนให้มาเจรจาการค้ากับไทย ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการลงทุนระหว่างกัน และขอให้ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกตลอดจนนโยบายด้านเศรษฐกิจและอุปสรรคในประเทศที่ตนเองประจำอยู่ เพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ ในการส่งออกสินค้าไทย
เป็นการปรับแผนการทำงานในการผลักดันการส่งออกอย่างทันควัน หลังจากมองเห็นสัญญาณว่าไทยมีโอกาสในการส่งออกได้เพิ่มขึ้น และอาจจะขยายตัวได้มากกว่าเป้าหมาย 12% ที่ได้ตั้งไว้ ส่วนจะเป็น 15% ตามที่คาดการณ์เอาไว้ หรือทำได้มากกว่า ต้องคอยติดตามดูกันต่อไป
จากปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น ผ่านไปได้ไม่ถึงเดือน กลับมีข้อมูลใหม่ ที่ส่งผลดีต่อการส่งออกสินค้าไทยในปี 2554 ที่ทำท่าว่าจะไม่หยุดเพียงแค่เป้า 12% โดยมองกันว่าอาจจะขยายตัวไปถึง 15% เลยก็ว่าได้ ซึ่งเป้าหมายตรงนี้ นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ก็มองว่ามีความเป็นไปได้ เพียงแต่ว่ายังไม่มีการประกาศอย่างเป็นทางการออกมาเท่านั้น
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก ให้ข้อมูลว่า มีความเป็นไปได้สูงที่การส่งออกจะขยายตัวได้เกินไปกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 12% เพราะมีปัจจัยสนับสนุนการส่งออกในปี 2554 นี้มากมาย ทั้งความต้องการสินค้าเกษตรและอาหารในตลาดโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เศรษฐกิจและการค้าของโลกและตลาดส่งออกสำคัญมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น ทั้ง อาเซียน จีน อินเดีย รัสเซียและ CIS ผู้ประกอบการไทยได้รับการยอมรับในด้านการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐานเหนือคู่แข่ง และยังได้รับผลดีจากการทำข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ ที่ทำให้สินค้าไทยส่งออกได้มากขึ้น
ดังนั้น เพื่อให้การส่งออกไทยมีการขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง นางนันทวัลย์บอกว่า กรมฯ จะใช้โอกาสในการจัดงานแสดงสินค้าอาหาร 2554 (THAIFEX–World of Food Asia 2011) ระหว่างวันที่ 25-29 พ.ค.2554 นี้ ที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี เชิญผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (ทูตพาณิชย์) ที่ประจำอยู่ทั่วโลก และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของกระทรวงพาณิชย์ (HTA) ที่อยู่ในประเทศต่างๆ มาประชุมร่วมกัน เพื่อประเมินสถานการณ์ส่งออกและจัดทำแผนสนับสนุนการส่งออกสินค้าไทย
"การประชุมครั้งนี้ นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะเป็นผู้ให้นโยบายในการทำงาน โดยเฉพาะการผลักดันการส่งออกสินค้าไทยในปี 2554 หลังจากที่กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับเป้าหมายใหม่เพิ่มเป็น 12% และล่าสุดมีแนวโน้มที่การส่งออกจะเพิ่มขึ้นได้เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งเป็นไปตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และความต้องการสินค้าไทย”นางนันทวัลย์กล่าว
นางนันทวัลย์บอกว่า หน้าที่ของทูตพาณิชย์ หลักๆ จะต้องมีการติดตามเศรษฐกิจของตลาดที่มีศักยภาพสูง เช่น อาเซียน จีน อินเดีย รัสเซีย และ CIS ที่ปัจจุบันมีการขยายตัวเติบโตอย่างต่อเนื่อง และมีความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น โดยต้องดูว่าจะมีการปรับแผนการส่งออกเพื่อผลักดันสินค้าไทยเข้าสู่ตลาดได้อย่างไร มีลู่ทางอะไรบ้าง มีวิธีการใหม่ๆ อะไร ก็ให้เสนอมาเพื่อจัดทำเป็นแผนในการบุกเจาะตลาดต่อไป
ขณะเดียวกัน ต้องประเมินว่า ความต้องการสินค้าเกษตรและอาหารในตลาดโลกที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ไทยจะมีโอกาสในการผลักดันการส่งออกไปยังประเทศไหนบ้าง ซึ่งจะต้องไปสำรวจและประเมินความต้องการให้ได้ เพราะประเทศที่เป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรอื่นๆ ก็มองเห็นโอกาสนี้เช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ ทูตพาณิชย์ที่ประจำอยู่ในประเทศที่ไทยได้มีการทำข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) จะต้องมีการประเมินว่า หลังจากที่มีการลดภาษีสินค้าตามข้อตกลง FTA ไปแล้ว เช่น อาเซียน จีน ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สินค้าไทยอะไรบ้างที่มีโอกาสในการบุกเจาะตลาด ซึ่งจะต้องมีการติดตามสถานการณ์สินค้าอย่างใกล้ชิด รวมไปถึงสินค้าใหม่ๆ ที่มีการลดภาษีและมีโอกาสในการเจาะตลาด โดยขอให้มีการติดตามและประเมินช่องทางในการเข้าสู่ตลาดให้ด้วย
พร้อมกันนี้ ให้มองหาโอกาสใหม่ๆ ในการผลักดันการส่งออกสินค้า โดยให้ประเมินคู่แข่งของไทยในตลาดที่ตนเองรับผิดชอบว่าสินค้าอะไรมีโอกาสในการส่งออกได้เพิ่มขึ้น จากการที่สินค้าของคู่แข่งบางประเทศอาจมีปัญหาในเรื่องคุณภาพและมาตรฐาน
สำหรับ HTA จะขอความร่วมมือให้ช่วยชี้ช่องทางการค้าให้กับไทย โดยเฉพาะการค้าการลงทุนที่มีศักยภาพในประเทศที่ประจำอยู่ ขอให้เป็นคนกลางในการเชื่อมโยงให้เกิดการเจรจาธุรกิจให้กับภาคเอกชนไทย แนะนำบุคคลที่มีศักยภาพในการทำการค้า การลงทุนให้มาเจรจาการค้ากับไทย ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการลงทุนระหว่างกัน และขอให้ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกตลอดจนนโยบายด้านเศรษฐกิจและอุปสรรคในประเทศที่ตนเองประจำอยู่ เพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ ในการส่งออกสินค้าไทย
เป็นการปรับแผนการทำงานในการผลักดันการส่งออกอย่างทันควัน หลังจากมองเห็นสัญญาณว่าไทยมีโอกาสในการส่งออกได้เพิ่มขึ้น และอาจจะขยายตัวได้มากกว่าเป้าหมาย 12% ที่ได้ตั้งไว้ ส่วนจะเป็น 15% ตามที่คาดการณ์เอาไว้ หรือทำได้มากกว่า ต้องคอยติดตามดูกันต่อไป