ASTVผู้จัดการรายวัน-“อลงกรณ์”ปรับโฉมเจรจาการค้า ใช้การสื่อสารออนไลน์ ถกFTA ไทย-ชิลี เผยระยะทางไกลไม่ใช่อุปสรรคอีกต่อไป คาดสรุปผลภายในปี 55 ฉลองครบรอบ 50 ปี สัมพันธ์ของ 2 ประเทศ
นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังนาย Jorge Bunster รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศของชิลี และหัวหน้าคณะเจรจาจัดทำ FTA ฝ่ายชิลี ในระดับการเมือง เข้าพบว่า เป็นการพบกันเป็นครั้งแรกในระดับหัวหน้าคณะเจรจา FTA ของทั้งสองฝ่าย โดยฝ่ายไทยมีตนเป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งได้หารือถึงแผนการเจรจา รูปแบบของการเจรจา และช่องทางการหารือ ในการจัดทำข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-ชิลี โดยทั้งสองฝ่ายมีแผนที่จะเจรจากัน 3 รอบในปีนี้ และจะเจรจาทุกเรื่องไปพร้อมกัน เพื่อให้สามารถสรุปผลการเจรจาได้โดยเร็วที่สุด
ทั้งนี้ การเจรจา FTA ไทย-ชิลี จะเจรจาครอบคลุมการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจในสาขาที่มีศักยภาพและสนใจร่วมกัน โดยทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้ใช้เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารเป็นช่องทางหลัก ผ่านทาง e-mail และ video conference เพื่ออำนวยความสะดวกและลดระยะเวลาในการเดินทาง ซึ่งชิลีเห็นชอบกับข้อเสนอของไทยที่จะเจรจาในรูปแบบ e-FTA ซึ่งจะเปลี่ยนโฉมรูปแบบการเจรจา FTA รูปแบบใหม่ของไทย
"ไทยและชิลีตั้งเป้าสรุปผลการเจรจาได้ภายในปี 2555 เพื่อเป็นการร่วมเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ชิลี โดย FTA ไทย-ชิลี จะเป็นกลไกในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีทางเศรษฐกิจการค้า สร้างโอกาสทางการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียนและภูมิภาคลาตินอเมริกา โดยใช้ไทยและชิลีเป็นประตูการค้า รวมทั้งเสริมสร้างความสามารถทางการแข่งขันของไทยกับประเทศอื่นๆ ที่มีความตกลง FTA กับชิลี ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”นายอลงกรณ์กล่าว
นายอลงกรณ์กล่าวว่า การทำ FTA ไทย-ชิลี เนื่องจากชิลีเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ และปัจจุบันเป็นคู่ค้าอันดับที่ 3 ของไทยในภูมิภาคอเมริกาใต้ รองจากบราซิลและอาร์เจนตินา เป็น FTA ฉบับที่ 2 ต่อจากเปรู โดยการทำ FTA จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของสินค้าไทย โดยใช้ชิลีเป็นประตูสู่ภูมิภาคอเมริกาใต้
สำหรับประโยชน์ที่ไทยจะได้จากการทำ FTA กับชิลี ไทยสามารถนำเข้าวัตถุดิบสำคัญ ได้แก่ สินแร่ ได้แก่ แคโทด ทองแดง โมลิบดีนัม และสินค้าเกษตร เช่น เยื่อกระดาษ อาหารสัตว์ ธัญพืช ผลไม้สด และสินค้าประมง ขณะที่สินค้าส่งออกของไทยที่จะได้ประโยชน์ ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องซักผ้าและส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก และผลไม้กระป๋อง เป็นต้น
นอกจากนี้ ไทยยังจะได้ประโยชน์ในการเปิดเสรีการค้าบริการและการลงทุน โดยสาขาการบริการที่ไทยสนใจ ได้แก่ การท่องเที่ยว และสปา และสาขาการลงทุนระหว่างไทย-ชิลี ได้แก่ การขนส่งทางเรือ การขนส่งทางอากาศ การจัดจำหน่าย และการประมง
นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังนาย Jorge Bunster รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศของชิลี และหัวหน้าคณะเจรจาจัดทำ FTA ฝ่ายชิลี ในระดับการเมือง เข้าพบว่า เป็นการพบกันเป็นครั้งแรกในระดับหัวหน้าคณะเจรจา FTA ของทั้งสองฝ่าย โดยฝ่ายไทยมีตนเป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งได้หารือถึงแผนการเจรจา รูปแบบของการเจรจา และช่องทางการหารือ ในการจัดทำข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-ชิลี โดยทั้งสองฝ่ายมีแผนที่จะเจรจากัน 3 รอบในปีนี้ และจะเจรจาทุกเรื่องไปพร้อมกัน เพื่อให้สามารถสรุปผลการเจรจาได้โดยเร็วที่สุด
ทั้งนี้ การเจรจา FTA ไทย-ชิลี จะเจรจาครอบคลุมการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจในสาขาที่มีศักยภาพและสนใจร่วมกัน โดยทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้ใช้เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารเป็นช่องทางหลัก ผ่านทาง e-mail และ video conference เพื่ออำนวยความสะดวกและลดระยะเวลาในการเดินทาง ซึ่งชิลีเห็นชอบกับข้อเสนอของไทยที่จะเจรจาในรูปแบบ e-FTA ซึ่งจะเปลี่ยนโฉมรูปแบบการเจรจา FTA รูปแบบใหม่ของไทย
"ไทยและชิลีตั้งเป้าสรุปผลการเจรจาได้ภายในปี 2555 เพื่อเป็นการร่วมเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ชิลี โดย FTA ไทย-ชิลี จะเป็นกลไกในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีทางเศรษฐกิจการค้า สร้างโอกาสทางการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียนและภูมิภาคลาตินอเมริกา โดยใช้ไทยและชิลีเป็นประตูการค้า รวมทั้งเสริมสร้างความสามารถทางการแข่งขันของไทยกับประเทศอื่นๆ ที่มีความตกลง FTA กับชิลี ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”นายอลงกรณ์กล่าว
นายอลงกรณ์กล่าวว่า การทำ FTA ไทย-ชิลี เนื่องจากชิลีเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ และปัจจุบันเป็นคู่ค้าอันดับที่ 3 ของไทยในภูมิภาคอเมริกาใต้ รองจากบราซิลและอาร์เจนตินา เป็น FTA ฉบับที่ 2 ต่อจากเปรู โดยการทำ FTA จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของสินค้าไทย โดยใช้ชิลีเป็นประตูสู่ภูมิภาคอเมริกาใต้
สำหรับประโยชน์ที่ไทยจะได้จากการทำ FTA กับชิลี ไทยสามารถนำเข้าวัตถุดิบสำคัญ ได้แก่ สินแร่ ได้แก่ แคโทด ทองแดง โมลิบดีนัม และสินค้าเกษตร เช่น เยื่อกระดาษ อาหารสัตว์ ธัญพืช ผลไม้สด และสินค้าประมง ขณะที่สินค้าส่งออกของไทยที่จะได้ประโยชน์ ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องซักผ้าและส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก และผลไม้กระป๋อง เป็นต้น
นอกจากนี้ ไทยยังจะได้ประโยชน์ในการเปิดเสรีการค้าบริการและการลงทุน โดยสาขาการบริการที่ไทยสนใจ ได้แก่ การท่องเที่ยว และสปา และสาขาการลงทุนระหว่างไทย-ชิลี ได้แก่ การขนส่งทางเรือ การขนส่งทางอากาศ การจัดจำหน่าย และการประมง