ผลิตภาพแรงงาน ความสามารถในการแข่งขัน และค่าจ้างแรงงาน ต่างมีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่นในระยะยาวตามกลไกตลาด
การบิดเบือนใช้นโยบายแบบ “ทักษิณ”ของอภิสิทธิ์ในเรื่องค่าจ้างจึงเลวร้ายไม่แพ้กัน
เมื่อพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทยต่างไม่จำกัดบทบาททางเศรษฐกิจของภาครัฐ เสนอนโยบายเข้าไปแทรกแซงกลไกตลาดโดยการขึ้นค่าจ้างแรงงาน ผลกระทบในการก่อให้เกิดความเสี่ยงกับความเสียหายกับประเทศจึงหลีกเลี่ยงได้ยาก
พรรคเพื่อไทยเสนอนโยบายค่าจ้างขึ้นต่ำในราคา 300 บาทต่อวัน และสำหรับผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรี 15,000 บาทต่อเดือนนั้นก็เป็นสภาวะที่เหมือนกับการ “แทรกแซง” ราคาสินค้า เช่น ข้าวหรือน้ำมันที่ได้เคยทำมาก่อนหน้านี้ ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ก็กระทำในทิศทางเดียวกันโดยเสนอการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอีกร้อยละ 25 ในอีก 2 ปี
ประเด็นสำคัญก็คือบทบาทของรัฐในการแทรกแซงราคาค่าจ้างนั้นมีได้น้อยมากในสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน เนื่องจากสาเหตุ 2 ประการหลักก็คือ (1) รัฐไม่ได้เป็นผู้จ้างงานรายเดียวในประเทศ ภาคเอกชนต่างหากที่น่าจะมีบทบาทมากกว่า และ (2) รัฐไม่มีเงินเพียงพอที่จะเข้าไปบอกว่าหากใครได้เงินค่าจ้างต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือนหรือต่ำกว่า 300 บาทต่อวันให้มาเอาส่วนที่ขาดจากรัฐบาลได้
โดยหลักแล้ว ค่าจ้างแรงงานจะมาจากอุปสงค์และอุปทานของแรงงานเป็นปัจจัยกำหนด โดยอุปทานจะมาจากจำนวนประชากรที่มีอายุก้าวเข้าสู่ “กำลังแรงงาน” คือมีอายุระหว่าง 15-59 ปี ในขณะที่อุปสงค์ในแรงงานจะมีที่มาโดยอ้อมหรือ derived demand จากความต้องการในสินค้าและบริการที่มีมากขึ้นซึ่งจะทำให้นายจ้างมีความต้องการแรงงานมากขึ้นเพื่อเข้ามาทำงานร่วมกับเครื่องจักรเครื่องมือเพื่อผลิตสินค้าบริการเพื่อตอบสนอง อุปทานของแรงงานจึงไม่สามารถปรับเพิ่มหรือลดในระยะสั้นได้เท่ากับอุปสงค์ในแรงงานที่สามารถแปรเปลี่ยนไปตามความต้องการในสินค้าและบริการในขณะนั้น
การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยจากอดีตที่ผ่านมาที่อาศัยจำนวนมากกว่าคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็น เนื้อที่ป่าไม้ สินแร่ต่างๆ ที่ดินเพาะปลูก หรือแม้แต่คน ทั้งหมดล้วนถูกนำไปล้างผลาญเป็นปัจจัยการผลิตสร้างความเจริญเติบโตที่แสดงด้วย GDP โดยไม่คำนึงถึงอนาคตของคนรุ่นต่อไป เมื่อป่าหมด แร่หาย เศรษฐกิจไทยจึงติดหล่มไปไม่เป็นจนถึงทุกวันนี้
โครงสร้างประชากรไทยที่ผ่านมามีสัดส่วนกำลังแรงงานสูงที่สุดอยู่ที่ปี พ.ศ. 2553 ที่ร้อยละ 67.0 ของประชากรทั้งหมด แต่นับต่อจากนี้เป็นต้นไปสัดส่วนกำลังแรงงานนี้จะลดลงตามลำดับ กล่าวคือในปี พ.ศ. 2553 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีผู้ที่สามารถทำงานได้สูงถึง 2 คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด 3 คน หรืออีกนัยหนึ่งมีเด็กและคนชรารวมเป็นผู้ทำงานไม่ได้หรือเป็นผู้พึ่งพาเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น โอกาสที่จะอาศัยประโยชน์จากโครงสร้างประชากรเช่นนี้จะไม่มีวันหวนคืนกลับมาอีกแล้วเพราะสัดส่วนนี้มีแต่ลดลงหรือมีจำนวนผู้ที่ทำงานไม่ได้จะเพิ่มมากขึ้น
หากทึกทักเอาง่ายๆ ว่าความต้องการในสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อปีตามอัตราการเจริญเติบโตของประเทศ ค่าจ้างก็น่าจะเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4 เพราะอัตราการเพิ่มของประชากรไทยอันเป็นที่มาของการเพิ่มในอุปทานแรงงานโดยเฉลี่ยในช่วงหลังๆ อยู่ที่ต่ำกว่าร้อยละ 1 ซึ่งน้อยกว่าอุปสงค์มาก
แต่ส่วนสำคัญของการเพิ่มขึ้นในค่าจ้างแรงงานมาจากสิ่งที่เรียกว่า “ผลิตภาพแรงงาน” หรือ labor productivity มากกว่าอย่างอื่น เนื่องจากเป็นปัจจัยเชิงคุณภาพที่ทำให้แรงงานจำนวนเท่ากันสามารถให้ผลผลิตได้ในจำนวนที่แตกต่างกัน
ดังนั้น ความสามารถในการแข่งขันหรือ competiveness ของธุรกิจ/ประเทศจึงมีพื้นฐานมาจาก “คน” ที่อยู่ในกระบวนการผลิต หากได้คนหรือแรงงานที่มีผลิตภาพสูง ผลผลิตก็ย่อมจะมีมากกว่า นายจ้างจึงยอมจ่ายเพื่อจ้างคนที่มีคุณภาพดีกว่าจ้างคนที่ไม่มีคุณภาพ
ระหว่างแรงงานที่รู้ภาษาอังกฤษกับไม่รู้ภาษาอังกฤษ คนใดจะสามารถนำไปอบรมบ่มเพาะให้มีความสามารถหรือผลิตภาพได้มากกว่ากัน ประเทศที่เป็น 4 เสือเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง แม้ไม่มีทรัพยากรอะไรเลย แต่ต่างก็มีดีที่ผลิตภาพแรงงานในระดับที่สูงเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ก้าวหน้า สิ่งนี้จึงเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ไทยเป็นได้แค่เสือข้างขวด
ข้อมูลจากตารางที่ 1 ข้างต้นชี้ให้เห็นว่าผลิตภาพของแรงงานไทยในช่วงปี ค.ศ. 2002-10 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยเพียงร้อยละ 2.6 ต่อปีแม้จะมีการจ้างงานที่เพิ่มร้อยละ 1.9 ต่อปีก็ตาม หากดูตามรายสาขาจะพบว่า ภาคเกษตรช่วงปี ค.ศ. 2002-05 มีผลิตภาพเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.6 ต่อปีและลดลงมาโดยตลอดจนเฉลี่ยระหว่างปี ค.ศ. 2002-10 มีอัตราการเพิ่มเพียงร้อยละ 0.6 ต่อปีเท่านั้น เรียกว่าไม่มีการเพิ่มขึ้นเลยก็ว่าได้แม้จะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ต่อปีก็ตาม ในขณะที่ภาคการก่อสร้าง (-0.8) ภาคอสังหาริมทรัพย์ (-0.8) การบริหารภาครัฐ (-1.3) หรือภาคสาธารณสุขฯ (-1.4) แม้จะมีการจ้างงานเพิ่มกว่าร้อยละ 4 แต่ส่วนใหญ่ก็มีผลิตภาพลดลงกว่าเดิม และเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับเพื่อนบ้านตามตามรางที่ 3 จะพบว่าผลิตภาพของแรงงานไทยมีแนวโน้มลดลงในขณะที่คู่แข่งอื่นๆในปัจจุบันต่างแซงหน้าไทย แม้แต่จีนที่มีประชากรถึง 1,200 ล้านคนแต่ก็มีแนวโน้มของผลิตภาพแรงงานที่เพิ่มขึ้นสูงมากกว่าไทย แล้วไทยจะเอาอะไรไปแข่งสู้ในอนาคต?
การเพิ่มขึ้นในอัตราค่าจ้างจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้สอดคล้องกับผลิตภาพของแรงงานเป็นสำคัญ หาไม่แล้วก็จะกลายเป็นกระทำตามอำเภอใจเพื่อหาเสียง มีหลักฐานอะไรบ้างที่สนับสนุนว่าค่าจ้างต้องเป็น 300 บาทต่อวัน หรือต้องขึ้นอีกร้อยละ 25 ใน 2 ปี หากแรงงานสามารถผลิตสินค้าได้ 20 ชิ้นต่อวัน การจะขึ้นค่าจ้างอีกร้อยละ 25 ก็ควรจะต้องผลิตได้สินค้าเพิ่มขึ้นอีก 5 ชิ้น ไม่มีนายจ้างคนใดยินดีที่จะให้ค่าจ้างเพิ่มขึ้นหากผลิตได้เท่าเดิมแน่ๆ การขึ้นค่าจ้างจึงไม่ใช่เรื่องคุณธรรมของนายจ้างหรือการเพิ่มตามค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นแต่เพียงลำพัง
การแทรกแซงตลาดค่าจ้างแรงงานด้วยการเพิ่มขึ้นในค่าจ้างขั้นต่ำโดยไม่มีนโยบายเพิ่มผลิตภาพแรงงานดูจะเป็นการทำร้ายแรงงานมากกว่าให้คุณ เพราะค่าจ้างขั้นต่ำนั้นเป็นเสมือนเพดานราคาที่ทำให้ราคาค่าจ้างตามกฎหมายอยู่สูงกว่าราคา (ดุลยภาพ) ตามผลิตภาพแรงงานที่มี ผลก็คือจะมีแรงงานด้อยคุณภาพถูกเลิกจ้างในระบบมากขึ้น นายจ้างที่ยังมีกำไรพอเพียงจะเลือกจ้างเฉพาะแรงงานที่มีคุณภาพ ในขณะที่นายจ้างที่มีกำไรน้อยจะไม่สามารถจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำตามที่รัฐกำหนดเป็นกฎหมายได้และจะเลือกจ้างเฉพาะผู้ที่ถูกคัดออกมาจากที่อื่นๆ หรือใช้แรงงานนอกกฎหมาย แรงงานต่างชาติเข้ามาทดแทน ค่าจ้างขั้นต่ำจึงไม่สามารถสร้างงานและใช้กับแรงงานทุกคนเหมือนกันหมด อย่าลืมว่าในหลายๆ ประเทศที่เจริญกว่าไทยก็ไม่มีการกำหนดค่าจ้างขึ้นต่ำ
การเพิ่มผลิตภาพแรงงานจึงเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างแท้จริงและปัจจัยหลักที่เอื้อให้เกิดก็คือการศึกษา ทุนหรือเครื่องจักรสามารถหามาได้เท่าเทียมกัน แต่ที่แตกต่างกันอยู่ที่การศึกษาเพื่อให้แรงงานมีผลิตภาพเพิ่มขึ้นต่างหากที่เป็น “ของจริง” ซึ่งทำยากและได้ผลช้า ประดุจดั่งการปลูกไม้ยืนต้นที่ได้ผลช้าแต่เก็บกินได้นาน นักการเมืองไม่ปลูกแต่ชอบขโมย
อาจกล่าวได้ว่าในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา มีชัย “มีชัย” ในการทำให้ประชากรไทยเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงจากอัตราเกิด 60 คนจากประชากร 10,000 คนในยุคทศวรรษที่ 2500 ให้ต่ำกว่า 6 คนในปัจจุบัน ประเทศไทยตัว “เบา” มากขึ้นไม่อุ้ยอ้ายด้วยประชากรเป็นพันล้านเช่นอินเดียหรือจีน
แต่ฝ่ายการเมืองต่างหากที่ไม่สามารถทำงานสานต่อความได้เปรียบจาก(ก)แรงกดดันจากจำนวนประชากรที่ลดลงและ(ข)ปล่อยโอกาสจากโครงสร้างประชากรที่มีกำลังแรงงานสูงสุดให้ผ่านพ้นไปโดยมิได้มีการใช้ให้เกิดประโยชน์แต่อย่างใด
ค่าจ้างจะเพิ่มขึ้นได้อย่างมั่นคงก็ด้วยผลิตภาพแรงงานที่มีอยู่ซึ่งจะเกิดได้ก็ด้วยการศึกษาเป็นสำคัญ และเมื่อผลิตภาพแรงงานเพิ่มขึ้นความสามารถในการแข่งขันก็จะเพิ่มตาม
การไม่มีนโยบายที่เป็นรูปธรรมและละเลยไม่เอาใจใส่เกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา ขึ้นค่าจ้างโดยไม่พัฒนาความรู้คนจึงเป็นเสมือนนโยบายที่ทำร้ายทุกคน ไม่ว่าจะเป็น นายจ้าง ลูกจ้าง และ ไทยจะกลายเป็นประเทศต้นทุนสูง จากค่าจ้างแพง ค่าครองชีพสูง แต่ประสิทธิภาพต่ำ ไม่มีใครได้ประโยชน์นอกเสียจากนักการเมืองเอาไว้หาเสียงหลอกคนที่ไม่รู้
สิ่งนี้จึงทำให้อภิสิทธิ์ดูไปแล้วกลับเลวร้ายกว่าทักษิณที่รู้เรื่องเศรษฐศาสตร์น้อยกว่า เพราะนอกจากจะรู้ดีว่าทักษิณเดิน “ผิด” แล้วตนเองยังทำ “ผิด” มากกว่า การขึ้นค่าจ้างให้กินดีอยู่ดีจึงไม่สามารถทำได้ด้วยนโยบายแบบ “ทักษิณ” รีเทิร์น ที่เสนอโดยทั้ง 2 พรรคแต่อย่างใด
การบิดเบือนใช้นโยบายแบบ “ทักษิณ”ของอภิสิทธิ์ในเรื่องค่าจ้างจึงเลวร้ายไม่แพ้กัน
เมื่อพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทยต่างไม่จำกัดบทบาททางเศรษฐกิจของภาครัฐ เสนอนโยบายเข้าไปแทรกแซงกลไกตลาดโดยการขึ้นค่าจ้างแรงงาน ผลกระทบในการก่อให้เกิดความเสี่ยงกับความเสียหายกับประเทศจึงหลีกเลี่ยงได้ยาก
พรรคเพื่อไทยเสนอนโยบายค่าจ้างขึ้นต่ำในราคา 300 บาทต่อวัน และสำหรับผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรี 15,000 บาทต่อเดือนนั้นก็เป็นสภาวะที่เหมือนกับการ “แทรกแซง” ราคาสินค้า เช่น ข้าวหรือน้ำมันที่ได้เคยทำมาก่อนหน้านี้ ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ก็กระทำในทิศทางเดียวกันโดยเสนอการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอีกร้อยละ 25 ในอีก 2 ปี
ประเด็นสำคัญก็คือบทบาทของรัฐในการแทรกแซงราคาค่าจ้างนั้นมีได้น้อยมากในสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน เนื่องจากสาเหตุ 2 ประการหลักก็คือ (1) รัฐไม่ได้เป็นผู้จ้างงานรายเดียวในประเทศ ภาคเอกชนต่างหากที่น่าจะมีบทบาทมากกว่า และ (2) รัฐไม่มีเงินเพียงพอที่จะเข้าไปบอกว่าหากใครได้เงินค่าจ้างต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือนหรือต่ำกว่า 300 บาทต่อวันให้มาเอาส่วนที่ขาดจากรัฐบาลได้
โดยหลักแล้ว ค่าจ้างแรงงานจะมาจากอุปสงค์และอุปทานของแรงงานเป็นปัจจัยกำหนด โดยอุปทานจะมาจากจำนวนประชากรที่มีอายุก้าวเข้าสู่ “กำลังแรงงาน” คือมีอายุระหว่าง 15-59 ปี ในขณะที่อุปสงค์ในแรงงานจะมีที่มาโดยอ้อมหรือ derived demand จากความต้องการในสินค้าและบริการที่มีมากขึ้นซึ่งจะทำให้นายจ้างมีความต้องการแรงงานมากขึ้นเพื่อเข้ามาทำงานร่วมกับเครื่องจักรเครื่องมือเพื่อผลิตสินค้าบริการเพื่อตอบสนอง อุปทานของแรงงานจึงไม่สามารถปรับเพิ่มหรือลดในระยะสั้นได้เท่ากับอุปสงค์ในแรงงานที่สามารถแปรเปลี่ยนไปตามความต้องการในสินค้าและบริการในขณะนั้น
การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยจากอดีตที่ผ่านมาที่อาศัยจำนวนมากกว่าคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็น เนื้อที่ป่าไม้ สินแร่ต่างๆ ที่ดินเพาะปลูก หรือแม้แต่คน ทั้งหมดล้วนถูกนำไปล้างผลาญเป็นปัจจัยการผลิตสร้างความเจริญเติบโตที่แสดงด้วย GDP โดยไม่คำนึงถึงอนาคตของคนรุ่นต่อไป เมื่อป่าหมด แร่หาย เศรษฐกิจไทยจึงติดหล่มไปไม่เป็นจนถึงทุกวันนี้
โครงสร้างประชากรไทยที่ผ่านมามีสัดส่วนกำลังแรงงานสูงที่สุดอยู่ที่ปี พ.ศ. 2553 ที่ร้อยละ 67.0 ของประชากรทั้งหมด แต่นับต่อจากนี้เป็นต้นไปสัดส่วนกำลังแรงงานนี้จะลดลงตามลำดับ กล่าวคือในปี พ.ศ. 2553 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีผู้ที่สามารถทำงานได้สูงถึง 2 คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด 3 คน หรืออีกนัยหนึ่งมีเด็กและคนชรารวมเป็นผู้ทำงานไม่ได้หรือเป็นผู้พึ่งพาเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น โอกาสที่จะอาศัยประโยชน์จากโครงสร้างประชากรเช่นนี้จะไม่มีวันหวนคืนกลับมาอีกแล้วเพราะสัดส่วนนี้มีแต่ลดลงหรือมีจำนวนผู้ที่ทำงานไม่ได้จะเพิ่มมากขึ้น
หากทึกทักเอาง่ายๆ ว่าความต้องการในสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อปีตามอัตราการเจริญเติบโตของประเทศ ค่าจ้างก็น่าจะเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4 เพราะอัตราการเพิ่มของประชากรไทยอันเป็นที่มาของการเพิ่มในอุปทานแรงงานโดยเฉลี่ยในช่วงหลังๆ อยู่ที่ต่ำกว่าร้อยละ 1 ซึ่งน้อยกว่าอุปสงค์มาก
แต่ส่วนสำคัญของการเพิ่มขึ้นในค่าจ้างแรงงานมาจากสิ่งที่เรียกว่า “ผลิตภาพแรงงาน” หรือ labor productivity มากกว่าอย่างอื่น เนื่องจากเป็นปัจจัยเชิงคุณภาพที่ทำให้แรงงานจำนวนเท่ากันสามารถให้ผลผลิตได้ในจำนวนที่แตกต่างกัน
ดังนั้น ความสามารถในการแข่งขันหรือ competiveness ของธุรกิจ/ประเทศจึงมีพื้นฐานมาจาก “คน” ที่อยู่ในกระบวนการผลิต หากได้คนหรือแรงงานที่มีผลิตภาพสูง ผลผลิตก็ย่อมจะมีมากกว่า นายจ้างจึงยอมจ่ายเพื่อจ้างคนที่มีคุณภาพดีกว่าจ้างคนที่ไม่มีคุณภาพ
ระหว่างแรงงานที่รู้ภาษาอังกฤษกับไม่รู้ภาษาอังกฤษ คนใดจะสามารถนำไปอบรมบ่มเพาะให้มีความสามารถหรือผลิตภาพได้มากกว่ากัน ประเทศที่เป็น 4 เสือเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง แม้ไม่มีทรัพยากรอะไรเลย แต่ต่างก็มีดีที่ผลิตภาพแรงงานในระดับที่สูงเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ก้าวหน้า สิ่งนี้จึงเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ไทยเป็นได้แค่เสือข้างขวด
ข้อมูลจากตารางที่ 1 ข้างต้นชี้ให้เห็นว่าผลิตภาพของแรงงานไทยในช่วงปี ค.ศ. 2002-10 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยเพียงร้อยละ 2.6 ต่อปีแม้จะมีการจ้างงานที่เพิ่มร้อยละ 1.9 ต่อปีก็ตาม หากดูตามรายสาขาจะพบว่า ภาคเกษตรช่วงปี ค.ศ. 2002-05 มีผลิตภาพเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.6 ต่อปีและลดลงมาโดยตลอดจนเฉลี่ยระหว่างปี ค.ศ. 2002-10 มีอัตราการเพิ่มเพียงร้อยละ 0.6 ต่อปีเท่านั้น เรียกว่าไม่มีการเพิ่มขึ้นเลยก็ว่าได้แม้จะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ต่อปีก็ตาม ในขณะที่ภาคการก่อสร้าง (-0.8) ภาคอสังหาริมทรัพย์ (-0.8) การบริหารภาครัฐ (-1.3) หรือภาคสาธารณสุขฯ (-1.4) แม้จะมีการจ้างงานเพิ่มกว่าร้อยละ 4 แต่ส่วนใหญ่ก็มีผลิตภาพลดลงกว่าเดิม และเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับเพื่อนบ้านตามตามรางที่ 3 จะพบว่าผลิตภาพของแรงงานไทยมีแนวโน้มลดลงในขณะที่คู่แข่งอื่นๆในปัจจุบันต่างแซงหน้าไทย แม้แต่จีนที่มีประชากรถึง 1,200 ล้านคนแต่ก็มีแนวโน้มของผลิตภาพแรงงานที่เพิ่มขึ้นสูงมากกว่าไทย แล้วไทยจะเอาอะไรไปแข่งสู้ในอนาคต?
การเพิ่มขึ้นในอัตราค่าจ้างจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้สอดคล้องกับผลิตภาพของแรงงานเป็นสำคัญ หาไม่แล้วก็จะกลายเป็นกระทำตามอำเภอใจเพื่อหาเสียง มีหลักฐานอะไรบ้างที่สนับสนุนว่าค่าจ้างต้องเป็น 300 บาทต่อวัน หรือต้องขึ้นอีกร้อยละ 25 ใน 2 ปี หากแรงงานสามารถผลิตสินค้าได้ 20 ชิ้นต่อวัน การจะขึ้นค่าจ้างอีกร้อยละ 25 ก็ควรจะต้องผลิตได้สินค้าเพิ่มขึ้นอีก 5 ชิ้น ไม่มีนายจ้างคนใดยินดีที่จะให้ค่าจ้างเพิ่มขึ้นหากผลิตได้เท่าเดิมแน่ๆ การขึ้นค่าจ้างจึงไม่ใช่เรื่องคุณธรรมของนายจ้างหรือการเพิ่มตามค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นแต่เพียงลำพัง
การแทรกแซงตลาดค่าจ้างแรงงานด้วยการเพิ่มขึ้นในค่าจ้างขั้นต่ำโดยไม่มีนโยบายเพิ่มผลิตภาพแรงงานดูจะเป็นการทำร้ายแรงงานมากกว่าให้คุณ เพราะค่าจ้างขั้นต่ำนั้นเป็นเสมือนเพดานราคาที่ทำให้ราคาค่าจ้างตามกฎหมายอยู่สูงกว่าราคา (ดุลยภาพ) ตามผลิตภาพแรงงานที่มี ผลก็คือจะมีแรงงานด้อยคุณภาพถูกเลิกจ้างในระบบมากขึ้น นายจ้างที่ยังมีกำไรพอเพียงจะเลือกจ้างเฉพาะแรงงานที่มีคุณภาพ ในขณะที่นายจ้างที่มีกำไรน้อยจะไม่สามารถจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำตามที่รัฐกำหนดเป็นกฎหมายได้และจะเลือกจ้างเฉพาะผู้ที่ถูกคัดออกมาจากที่อื่นๆ หรือใช้แรงงานนอกกฎหมาย แรงงานต่างชาติเข้ามาทดแทน ค่าจ้างขั้นต่ำจึงไม่สามารถสร้างงานและใช้กับแรงงานทุกคนเหมือนกันหมด อย่าลืมว่าในหลายๆ ประเทศที่เจริญกว่าไทยก็ไม่มีการกำหนดค่าจ้างขึ้นต่ำ
การเพิ่มผลิตภาพแรงงานจึงเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างแท้จริงและปัจจัยหลักที่เอื้อให้เกิดก็คือการศึกษา ทุนหรือเครื่องจักรสามารถหามาได้เท่าเทียมกัน แต่ที่แตกต่างกันอยู่ที่การศึกษาเพื่อให้แรงงานมีผลิตภาพเพิ่มขึ้นต่างหากที่เป็น “ของจริง” ซึ่งทำยากและได้ผลช้า ประดุจดั่งการปลูกไม้ยืนต้นที่ได้ผลช้าแต่เก็บกินได้นาน นักการเมืองไม่ปลูกแต่ชอบขโมย
อาจกล่าวได้ว่าในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา มีชัย “มีชัย” ในการทำให้ประชากรไทยเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงจากอัตราเกิด 60 คนจากประชากร 10,000 คนในยุคทศวรรษที่ 2500 ให้ต่ำกว่า 6 คนในปัจจุบัน ประเทศไทยตัว “เบา” มากขึ้นไม่อุ้ยอ้ายด้วยประชากรเป็นพันล้านเช่นอินเดียหรือจีน
แต่ฝ่ายการเมืองต่างหากที่ไม่สามารถทำงานสานต่อความได้เปรียบจาก(ก)แรงกดดันจากจำนวนประชากรที่ลดลงและ(ข)ปล่อยโอกาสจากโครงสร้างประชากรที่มีกำลังแรงงานสูงสุดให้ผ่านพ้นไปโดยมิได้มีการใช้ให้เกิดประโยชน์แต่อย่างใด
ค่าจ้างจะเพิ่มขึ้นได้อย่างมั่นคงก็ด้วยผลิตภาพแรงงานที่มีอยู่ซึ่งจะเกิดได้ก็ด้วยการศึกษาเป็นสำคัญ และเมื่อผลิตภาพแรงงานเพิ่มขึ้นความสามารถในการแข่งขันก็จะเพิ่มตาม
การไม่มีนโยบายที่เป็นรูปธรรมและละเลยไม่เอาใจใส่เกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา ขึ้นค่าจ้างโดยไม่พัฒนาความรู้คนจึงเป็นเสมือนนโยบายที่ทำร้ายทุกคน ไม่ว่าจะเป็น นายจ้าง ลูกจ้าง และ ไทยจะกลายเป็นประเทศต้นทุนสูง จากค่าจ้างแพง ค่าครองชีพสูง แต่ประสิทธิภาพต่ำ ไม่มีใครได้ประโยชน์นอกเสียจากนักการเมืองเอาไว้หาเสียงหลอกคนที่ไม่รู้
สิ่งนี้จึงทำให้อภิสิทธิ์ดูไปแล้วกลับเลวร้ายกว่าทักษิณที่รู้เรื่องเศรษฐศาสตร์น้อยกว่า เพราะนอกจากจะรู้ดีว่าทักษิณเดิน “ผิด” แล้วตนเองยังทำ “ผิด” มากกว่า การขึ้นค่าจ้างให้กินดีอยู่ดีจึงไม่สามารถทำได้ด้วยนโยบายแบบ “ทักษิณ” รีเทิร์น ที่เสนอโดยทั้ง 2 พรรคแต่อย่างใด