ASTVผู้จัดการรายวัน-"มาร์ค"ลั่นวันนี้จบ"สุวิทย์" ออกไม่ออก รอนัดเคลียร์ใจหลังประชุมครม. ชี้มีแผนรับมือแล้วหากเกิดปัญหา ระบุเป็นเรื่องทำงานให้ประเทศ ไม่ใช่เรื่องตัวบุคคล "เทือก"ไล่ส่ง หากไม่ทำงานก็กลับไปอยู่บ้าน ด้าน"สุวิทย์"พูดชัดลาออกกรรมการมรดกโลก เหตุแนวคิดสวนทางบัวแก้ว ย้ำไม่ต้องการยกแผ่นดินให้เขมร พันธมิตรฯ ชี้ "สุวิทย์" ชิ่งเพราะกลัวตกเป็นแพะรับบาป ย้ำไทยต้องถอนตัวจากภาคีมรดกโลก ขณะที่รัฐสภายอมถอนบันทึกเจบีซี ทั้ง 3 ฉบับแล้ว
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีนายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกาศจะลาออกจากการเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการไปประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 19-29 มิ.ย. ที่ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวานนี้ (19 เม.ย.) ว่า นายสุวิทย์ยังไม่ได้บอกตนอย่างนั้น และเมื่อวันที่ 18 เม.ย.ที่ผ่านมา ทราบจากนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี และที่คุยกับนายสุวิทย์ เพียงแต่บอกว่าพูดคุยกันในเรื่องของคณะกรรมการมรดกโลก และได้มีการพูดคุยหลายเรื่อง ซึ่งยังไม่ได้ข้อยุติอะไร
"ความจริงตอนประมาณสายๆ ได้โทรศัพท์คุยกับนายสุวิทย์อยู่แล้ว ตั้งแต่เมื่อวานว่าอยากให้มีการประชุมกันทุกหน่วยงาน เพื่อเตรียมในการประชุมทั้งในเดือนพ.ค.และมิ.ย. ซึ่งได้ตกลงกันว่าจะคุยกันหลังการประชุมครม.ในวันนี้ และค่ำวันที่ 18 เม.ย. ก็ได้พบกับนายสุวิทย์ ก็ยืนยันกันว่าวันพุธนี้จะคุยกัน"นายกรัฐมนตรีกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายสุวิทย์ได้ให้สัมภาษณ์เหมือนยอมรับแล้วว่า จะไม่ทำหน้าที่นี้ต่อไป นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า นายสุวิทย์ บอกยังไม่ได้ให้สัมภาษณ์อะไร นายสุวิทย์ บอกกับตนอย่างนี้
ผู้สื่อข่าวย้ำว่า ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 18 เม.ย.ที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า นายสุวิทย์ บอกว่าพูดในประชุม และมีบางเรื่องเห็นไม่ตรงกัน นายไตรรงค์ ก็รายงานว่าบางเรื่องอาจจะเห็นไม่ตรงกัน ตนก็ได้พูดไปแล้วว่า ทั้งหมดต้องมีความเป็นเอกภาพ ฉะนั้นวันพุธนี้ ควรมาคุยกัน ก็ตกลงกันตามนั้น
เมื่อถามว่าถ้านายสุวิทย์ ไม่ทำหน้าที่ ควรเป็นรัฐมนตรีต่อไปหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า วันนี้คุยกัน เมื่อถามว่าหากเกิดปัญหาจริง มีแผนรองรับอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า แผนมีตลอด เรื่องหลักไม่ได้อยู่ที่ตัวบุคคล เรื่องหลักอยู่ที่งานที่เราต้องไปทำให้ประเทศ ฉะนั้นคงไม่มีปัญหาอะไร เมื่อถามว่างานนี้ควรมีความต่อเนื่อง คนที่ทำอยู่ควรทำต่อไป นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า วันนี้จะคุยกัน เมื่อถามว่าเหมือนเป็นการปัดความรับผิดชอบหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อย่าไปถามว่า ถ้าอย่างนั้น ถ้าอย่างนี้ เดี๋ยวคุยกัน ก็เรียบร้อย
เมื่อถามว่านายสุวิทย์ ได้บอกหรือไม่ว่าจะต้องไปลงพื้นที่หาเสียง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า มีการพูดในที่ประชุมมั้ง แต่ไม่ได้บอกว่ามีอะไรที่ชัดเจน
เมื่อถามว่าเป็นเพราะนายสุวิทย์ กลัวเผือกร้อน เรื่องนี้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ทราบ และยังไม่มีการบอกรายละเอียด
** "เทือก"ลั่นไม่ทำงานก็กลับไปอยู่บ้าน
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายสุวิทย์ยังลาออกไม่ได้ ยังคงต้องไปทำหน้าที่ จะมาอ้างว่าจะไปเตรียมการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นคงไม่ได้ เพราะตรงนี้ถือเป็นหน้าที่ เหมือนกับตนที่ต้องไปดูแลงานด้านยาเสพติด หรือด้านความมั่นคง และอยู่ๆ จะมาบอกว่าไม่ทำ ไม่ได้ ถ้าไม่ทำ ก็ต้องกลับบ้าน
"ผมยังไม่อยากพูดอะไร เพราะนายสุวิทย์ ยังไม่ได้ทำอะไรที่เป็นทางการ และคงไม่จำเป็นที่ต้องนำเรื่องนี้คุยกันในที่ประชุมครม.วันนี้ เพราะนายสุวิทย์ ต้องมีความรับผิดชอบด้วยตัวเอง"
เมื่อถามว่า คนที่จะสามารถตัดสินใจได้ว่า นายสุวิทย์ จะลาออกได้หรือไม่คือใคร นายสุเทพ ย้อนถามว่า ออกจากรัฐบาลหรือ ผู้สื่อข่าวตอบว่า ออกจากหัวหน้าคณะเจรจา นายสุเทพ กล่าวว่า เอาเป็นว่า ตราบใดที่นายสุวิทย์ ยังเป็นรัฐมนตรีอยู่ มีหน้าที่อยู่ ก็ต้องทำหน้าที่
เมื่อถามว่าแสดงว่าถ้านายสุวิทย์ไม่ทำหน้าที่ ก็ต้องออกจากรัฐมนตรี ใช่หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ตนไม่ได้พูด แต่สื่อพูดเอง เมื่อถามว่าถ้านายสุวิทย์ จะอ้างกรณีเดียวกับนายสุเทพ ที่เคยลาออกไปเพื่อแก้ปัญหาภายในพรรค จะได้หรือไม่ นายสุเทพ อ้ำอึ้งก่อนตอบว่า ก็ได้ครับ ถ้าถามผมอย่างนี้ ผมก็ต้องตอบว่าได้ สื่อพยายามตะล่อมผมให้จนมุม เดี๋ยวก็ไปพาดหัวกัน ว่าผมบีบให้นายสุวิทย์ ออกจากรัฐบาล สื่อพยายามตะล่อมให้ผมตกหลุมพราง ขอย้ำว่าคุณต้องทำหน้าที่ของคุณ คนที่เป็นรัฐมนตรีแม้ว่าจะอยู่ในระหว่างการเลือกตั้ง ก็ต้องทำหน้าที่ของตัวเองให้สมบูรณ์
เมื่อถามว่ามีกระแสข่าวว่า นายสุวิทย์ ขัดแย้งกับนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ จริงหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่เคยได้ยินข่าวนี้
**"กษิต"โยน"สุวิทย์" ลาออกอยู่ที่นายกฯ
นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ กล่าวว่า เรื่องนี้ นายอภิสิทธิ์ ได้ยืนยันให้นายสุวิทย์ ทำหน้าที่ต่อไป แต่หากนายสุวิทย์ ยืนยันจะลาออก คงต้องให้เป็นเรื่องที่นายไตรรงค์ และนายสุวิทย์ ไปหารือกับนายกฯ เพราะเมื่อวันที่ 18 เม.ย. ตนได้คุยกันในการประชุมเตรียมความพร้อมก่อนประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งใช้เวลาประชุม 2-3 ชั่วโมง ได้คุยแบบเปิดอก ก็ไม่มีปัญหาอะไร ส่วนแรงกดดันจากการชุมนุมนอกสภา จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้นายสุวิทย์ ลาออกหรือไม่นั้น ตนไม่ทราบ แต่เชื่อว่านายสุวิทย์ เป็นนักการเมืองที่มีความอาวุโส
เมื่อถามว่าเหตุผลที่นายสุวิทย์ ลาออกเพราะความขัดแย้งทางความคิดเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก นายกษิต กล่าวว่า ไม่จริง แค่ยอมรับว่าความคิดที่แตกต่างมีอยู่บ้างเป็นระยะ แต่การทำงานก็มีคณะกรรมการประสานงาน ทั้งนี้ การทำงานก็ไม่ได้มีเพียงกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงทรัพย์ฯ เท่านั้น แต่ยังมีหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และการตัดสินใจใดๆ นอกจากคณะกรรมการมรดกโลกแล้ว ต้องนำเข้าที่ประชุมครม. หรือรัฐสภาด้วย ทั้งนี้จะกระทบต่อการประชุมมรกดโลกในเดือนมิ.ย.หรือไม่ ตนมองว่าหากทำงานด้วยความมีสปิริต ต้องทำงานเป็นทีม
"การขึ้นทะเบียนมรดกโลก พื้นที่รอบปราสาทพระวิหารนั้น ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ ซึ่งยังไม่ได้ข้อยุติ ส่วนการศึกษาแนวทางจะเข้าไปมีบทบาทในตัวปราสาทพระวิหาร มีแนวทางเข้าได้ 2 แนวทาง ได้แก่ 1.การข้ามเขตแดน และ 2.วิธีซีเรียล แอพพลิเคชั่น ทั้งนี้ พื้นที่โดยรอบเป็นพื้นที่ทางด้านประวัติศาสตร์ เป็นป่าเขาตามธรรมชาติที่คาบเกี่ยวกับชายแดน แต่ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศเกี่ยวกับตัวปราสาทนั้นยอมรับว่ามีแต่เป็นเรื่องภายในของเรา โดยผลการศึกษาคาดว่าจะไม่เสร็จทันการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกในเดือนมิ.ย.นี้”นายกษิตกล่าว
เมื่อถามถึงแนวทางการเจรจา รมว.ต่างประเทศ กล่าวว่า ยืนยันในท่าทีเดิม คือ ควรชะลอและระงับการขึ้นทะเบียนไว้ก่อน เนื่องจากการเจรจาว่าด้วยเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชา ยังไม่แล้วเสร็จ และแผนบริหารจัดการของกัมพูชา ทำนอกปราสาทนั่นเป็นการละเมิดอธิปไตยไทย
***"สุวิทย์"เผยไม่อยากทำไทยเสียแผ่นดิน
นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงกรณีการถอนตัวออกจากหัวหน้าคณะผู้แทนเจรจามรดกโลกฝ่ายไทย ว่า สาเหตุที่ที่ถอนตัวต่อที่ประชุมคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกเมื่อวันที่ 18 เม.ย.ที่ผ่านมานั้น ข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกับการออกไปเพื่อเตรียมเลือกตั้งครั้งใหม่ แต่มีสาเหตุจากนโยบายของกระทรวงการต่างประเทศกับของตนไม่ตรงกัน เพราะมีนโยบายการดำเนินการเป็น 2 แนวทาง คือ ในส่วนของตนต้องการให้มีการปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชาให้ชัดเจนก่อน เนื่องจากในแผนบริหารจัดการพื้นที่ของกัมพูชาที่เสนอเข้ามายังมีการรุกล้ำชายแดนไทยอยู่ ขณะที่ความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กลับต้องการทำให้มีการจัดทำแผนบริหารจัดการร่วมกันระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งเป็นสิ่งที่ตนไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว ที่สำคัญยังเห็นว่าเป็นการเลยขั้นตอนนี้มาแล้ว เพราะถ้าไปทำแผนจัดการร่วมกันสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียอำนาจอธิปไตยของประเทศ และจะเป็นจุดอ่อนช่องว่างในการเจรจาที่กำลังจะเกิดขึ้นในเดือนพ.ค.นี้
“ต้องการให้การเจรจากรณีการขึ้นทะเบียนมรดกโลกปราสาทพระวิหารในส่วนของประเทศไทย มีความเป็นเอกภาพ เพราะที่ผ่านมาการทำงานของประเทศไทยยังไม่มีความเป็นเอกภาพ ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาจึงต้องการลาออก เพื่อมอบให้กระทรวงการต่างประเทศในฐานะผู้รับผิดชอบดำเนินการแต่ฝ่ายเดียว เพราะตำแหน่งหัวหน้าคณะเจรจาฯ ไม่ได้ผูกพันกับตำแหน่งรัฐมนตรี ที่เป็นรองประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกที่เป็นโดยตำแหน่ง อีกทั้งการเป็นหัวหน้าคณะเจรจาฯ ก็เป็นการอาสากับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพราะเคยเป็นผู้คัดค้านในรัฐบาลชุดก่อน อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ ตนจะคุยกับนายกรัฐมนตรี โดยยังยืนยันให้ยึดเอาผลประโยชน์เป็นที่ตั้ง เพื่อไม่ให้ไทยต้องเสียอธิปไตย” นายสุวิทย์กล่าว
** ชี้"สุวิทย์"ไม่อยากเป็นแพะ
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า สิ่งที่เราได้พูดถึงปัญหาในคณะกรรมการมรดกโลกนั้นมีอยู่จริง จึงเป็นเหตุทำให้นายสุวิทย์ ในฐานะผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีในการไปเจรจากับคณะกรรมการมรดกโลกได้ตัดสินใจลาออก เพราะในความเป็นจริงนายสุวิทย์ ได้พยายามขอถอนตัวมาเป็นครั้งที่ 4 แล้ว ตั้งแต่เมื่อครั้งการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก เมื่อวันที่ 29 ก.ค.2553 ที่ประเทศบราซิล โดยครั้งนั้น ได้เกิดความขัดแย้งอย่างสูงระหว่างนายสุวิทย์ กับนายอภิสิทธิ์ เนื่องจากนายสุวิทย์ เห็นว่าในเวลานั้นคณะกรรมการมรดกโลก เตรียมที่จะอนุมัติปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาเพียงฝ่ายเดียว และเสนอให้ถอนตัวออกจากการเป็นภาคีมรดกโลก แต่ในที่สุดนายกฯ ได้สั่งการให้นายสุวิทย์ลงนาม ในร่างประนีประนอม 3 ฝ่าย ระหว่างไทย-กัมพูชา และคณะกรรมการมรดกโลก ทำให้มีผลผูกพันมาถึงทุกวันนี้ว่า ไทยไม่ปฏิเสธในมติคณะกรมการมรดกโลกก่อนหน้านั้น และพร้อมที่จะเดินหน้าในการตั้งคณะกรรมการ 7 ชาติ ที่จะมาบริหารจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร
ส่วนเหตุการณ์ความขัดแย้งครั้งที่ 2 เกิดจากการปีนเกลียวกันระหว่างนายสุวิทย์ กับกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งหลายครั้งในที่ประชุมครม. นายสุวิทย์ ไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอ จากกระทรวงการต่างประเทศ เนื่องจากมาจากคนละพรรคการเมือง และมีแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องมรดกโลกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
นอกจากนี้ ยังมีความขัดแย้งในกรณีที่นายสุวิทย์ พยายามเสนอให้มีการใช้กำลังทหารผลักดันกองกำลัง และชุมชนกัมพูชาออกจากพื้นที่ และตรึงอยู่ในพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร เพื่อไม่ให้กัมพูชาสามารถขออนุมัติแผนบริหารจัดการมรดกโลกได้ รวมทั้งการเสนอให้ตัดการส่งน้ำมัน และพลังงานให้แก่กัมพูชา แต่ไม่ได้รับการตอบสนองแม้แต่น้อย
"หลายปัจจัยเหล่านี้ หากคุณสุวิทย์ ยังทำหน้าที่ในฐานะเป็นผู้เจรจาต่อไป ก็ต้องเผชิญหน้ากับการเป็นแพะรับบาป จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ในปลายเดือน มิ.ย.นี้ จึงน่าจะเป็นสาเหตุหลักที่คุณสุวิทย์ ตัดสินใจลาออก"
**พธม.ย้ำต้องถอนตัวจากมรดกโลก
ผู้สื่อข่าวถามว่า การถอนตัวของนายสุวิทย์ จะส่งผลดีหรือเสียอย่างไรในเวทีมรดกโลก นายปานเทพ กล่าวว่า บทบาทของนายสุวิทย์ ไม่ได้อยู่ในส่วนของคณะกรรมการมรดกโลกฝ่ายไทย ซึ่งมีนางโสมสุดา ลียะวณิช เป็นประธานฝ่ายไทย แต่นายสุวิทย์ ทำหน้าที่ในนามตัวแทนของรัฐบาลไทย ที่ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรี เพื่อไปบอกกับคณะกรรมการมรดกโลกว่า พื้นที่เขาพระวิหารนั้นมีปัญหา แต่เมื่อตัวแทนรัฐบาลไทยไปลงนามผูกพันในร่างประนีประนอม ตามคำสั่งของนายกฯ ก็มีผลเสียหายอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมมรดกโลกเดือน มิ.ย.นี้ นอกจากนางโสมสุดา ที่เป็นตัวแทนฝ่ายไทยแล้ว รัฐบาลก็ควรที่จะส่งตัวแทนของรัฐบาล เข้าร่วมการประชุมด้วย เพื่อยืนยันว่าไม่สามารถอนุมัติแผนบริหารจัดการมรดกโลกได้ และควรดำเนินการตามที่พันธมิตรฯ เสนอในการถอนตัวออกจากภาคีอนุสัญญามรดกโลก ตามที่นายสุวิทย์ เสนอไว้ด้วย แต่หากไม่ทำรัฐบาล ก็ต้องรับผิดชอบด้วยตัวเอง
เมื่อถามว่า การถอนตัวของนายสุวิทย์ เป็นการผลักภาระหรือไม่ นายปานเทพ กล่าวว่า ไม่ควรมองว่าเป็นการผลักภาระ เพราะนายสุวิทย์ตั้งใจอาสาไปดำเนินการภารกิจนี้ตั้งแต่แรก แต่ในช่วงหลังมีความขัดแย้งกับกระทรวงการต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะนโยบายในเรื่องมรดกโลก หากดูจากเมื่อครั้งที่ผู้แทนมรดกโลกเดินทางมาเยือนประเทศไทย นายสุวิทย์กลับไม่ได้เป็นผู้เจรจา คนที่ไปเจรจากลับเป็น นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ที่ไปเห็นชอบเห็นดีเห็นงามกับแผนบริหารจัดการ และยังบอกด้วยว่า ไม่เคยคิดให้ถอนปราสาทพระวิหารออกจากบัญชีมรดกโลกอีกด้วย โดยแลกเปลี่ยนเพียงแค่ให้เปิดพื้นที่ท่องเที่ยวให้คนไทยไปได้เท่านั้น บ่งบอกได้ว่า หากมีการเจรจาตามกรอบนี้จริง นายสุวิทย์ ที่ไม่ได้มีส่วนร่วม แต่ให้ไปรับผิดชอบคงไม่ได้
ต่อข้อถามที่ว่า หากกระทรวงการต่างประเทศ ทำหน้าที่ตัวแทนรัฐบาลไทยในเวทีมรดกโลกมีผลแตกต่างอย่างไร นายปานเทพ กล่าวว่า ถือว่าน่าเป็นห่วง เพราะปัญหาเดิมที่ไปลงนามในร่างประนีประนอม ตั้งแต่วันที่ 29 ก.ค.2553 นั้น มีผลผูกพันในระดับนานาชาติ เพราะหากคนที่ไปเจรจาไม่มีความเข้าใจอย่างแท้จริงก็จะเพลี่ยงพล้ำในเวทีมรดกโลก เมื่อเป็นเช่นนี้ภาคประชาชนจึงได้เสนอให้ถอนตัวออกมานานแล้ว เพราะเป็นอันตรายหากไปเข้าร่วมประชุมสร้างความชอบธรรมให้กับกัมพูชา โดยที่เราเป็นเสียงส่วนน้อยที่ต้องยอมรับกติกาเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก
** ถอนบันทึกเจบีซี 3 ฉบับจากสภา
ในวันเดียวกันนี้ เมื่อเวลา 09.30 น. ที่รัฐสภา มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา มีนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม โดยประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ กรณีนายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ กับคณะรวม 80 คน อาศัยอำนาจตามบทบัญญติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ประกอบมาตรา 154 (1) เข้าชื่อเสนอคำร้องต่อประธานรัฐสภา เพื่อขอให้พิจารณาวินิจฉัยว่า บันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา รวม 3 ฉบับ เป็นหนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 190 หรือไม่
นายชัยกล่าวว่า ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยเป็นคำสั่งที่ 10/2554 ลงวันที่ 30 มี.ค. โดยศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ครม.นำบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) รวม 3 ฉบับ เสนอต่อรัฐสภา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยมีข้อเท็จจริงปรากฏตามคำร้องและเอกสารที่ประธานรัฐสภาส่งต่อศาลว่าคณะผู้แทนทั้ง 2 ฝ่ายยังต้องการเจรจากันต่อไป กรณียังไม่ถึงขั้นตอนที่จะต้องเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาด เนื่องจากยังมีขั้นตอนอื่นๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติจะต้องพิจารณาดำเนินการเสียก่อน ในชั้นนี้จึงยังไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 วรรคหก ประกอบมาตรา 154 วรรคหนึ่ง (1) ที่จะเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาด ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคำร้อง
จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณารายงานผลการพิจารณาศึกษาของคณะกรรมาธิการพิจารณาศึกษาบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) 3 ฉบับ ที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว โดยเป็นการพิจารณาต่อจากการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เมื่อวันที่ 29 มี.ค. โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ ด้วยคะแนน 240 ต่อ 12 งดออกเสียง 86 และไม่ลงคะแนน 9 เสียง
ทั้งนี้ ข้อสังเกตดังกล่าว เสนอให้รัฐบาลไทยเร่งเจรจากับประเทศกัมพูชา เพื่อให้ย้ายทหารในพื้นที่พิพาทออกไป เพื่อเตรียมพร้อมในการทำหลักเขตแดนให้แล้วเสร็จ พร้อมทั้งให้เร่งเยียวยาคนไทยที่มีปัญหาเกี่ยวกับที่ดินในพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อน และเห็นว่าผู้แทนเจบีซี ฝั่งกัมพูชา กล่าวความเท็จในเรื่องพื้นที่ทับซ้อนหลายอย่าง ดังนั้น ขอให้ประธาน เจบีซี ฝั่งไทย ดำเนินการโต้แย้งในการประชุม เจบีซีครั้งต่อไป
นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ กล่าวว่า รัฐสภาพิจารณาเจบีซี มา 3 ปี มีปัญหาทั้งในและนอกสภา มีส.ส.ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า เข้าข่ายรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ต้องให้รัฐสภาพิจารณาหรือไม่ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การเจรจาเขตแดนยังไม่ถึงที่สุด จึงยังไม่เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาขั้นสุดท้ายในรัฐสภา ดังนั้น จากการปรึกษาหารือระหว่างรัฐบาล และรัฐสภา รัฐบาลจึงเสนอขอถอนเจบีซี 3 ฉบับ ออกจากที่ประชุม และฝ่ายบริหารจะดำเนินการต่อไป ซึ่งที่ประชุมเสียงข้างมากได้มีมติให้ถอน เจบีซี ทั้ง 3 ฉบับ ออกจากการพิจารณาของรัฐสภา
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีนายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกาศจะลาออกจากการเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการไปประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 19-29 มิ.ย. ที่ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวานนี้ (19 เม.ย.) ว่า นายสุวิทย์ยังไม่ได้บอกตนอย่างนั้น และเมื่อวันที่ 18 เม.ย.ที่ผ่านมา ทราบจากนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี และที่คุยกับนายสุวิทย์ เพียงแต่บอกว่าพูดคุยกันในเรื่องของคณะกรรมการมรดกโลก และได้มีการพูดคุยหลายเรื่อง ซึ่งยังไม่ได้ข้อยุติอะไร
"ความจริงตอนประมาณสายๆ ได้โทรศัพท์คุยกับนายสุวิทย์อยู่แล้ว ตั้งแต่เมื่อวานว่าอยากให้มีการประชุมกันทุกหน่วยงาน เพื่อเตรียมในการประชุมทั้งในเดือนพ.ค.และมิ.ย. ซึ่งได้ตกลงกันว่าจะคุยกันหลังการประชุมครม.ในวันนี้ และค่ำวันที่ 18 เม.ย. ก็ได้พบกับนายสุวิทย์ ก็ยืนยันกันว่าวันพุธนี้จะคุยกัน"นายกรัฐมนตรีกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายสุวิทย์ได้ให้สัมภาษณ์เหมือนยอมรับแล้วว่า จะไม่ทำหน้าที่นี้ต่อไป นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า นายสุวิทย์ บอกยังไม่ได้ให้สัมภาษณ์อะไร นายสุวิทย์ บอกกับตนอย่างนี้
ผู้สื่อข่าวย้ำว่า ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 18 เม.ย.ที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า นายสุวิทย์ บอกว่าพูดในประชุม และมีบางเรื่องเห็นไม่ตรงกัน นายไตรรงค์ ก็รายงานว่าบางเรื่องอาจจะเห็นไม่ตรงกัน ตนก็ได้พูดไปแล้วว่า ทั้งหมดต้องมีความเป็นเอกภาพ ฉะนั้นวันพุธนี้ ควรมาคุยกัน ก็ตกลงกันตามนั้น
เมื่อถามว่าถ้านายสุวิทย์ ไม่ทำหน้าที่ ควรเป็นรัฐมนตรีต่อไปหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า วันนี้คุยกัน เมื่อถามว่าหากเกิดปัญหาจริง มีแผนรองรับอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า แผนมีตลอด เรื่องหลักไม่ได้อยู่ที่ตัวบุคคล เรื่องหลักอยู่ที่งานที่เราต้องไปทำให้ประเทศ ฉะนั้นคงไม่มีปัญหาอะไร เมื่อถามว่างานนี้ควรมีความต่อเนื่อง คนที่ทำอยู่ควรทำต่อไป นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า วันนี้จะคุยกัน เมื่อถามว่าเหมือนเป็นการปัดความรับผิดชอบหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อย่าไปถามว่า ถ้าอย่างนั้น ถ้าอย่างนี้ เดี๋ยวคุยกัน ก็เรียบร้อย
เมื่อถามว่านายสุวิทย์ ได้บอกหรือไม่ว่าจะต้องไปลงพื้นที่หาเสียง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า มีการพูดในที่ประชุมมั้ง แต่ไม่ได้บอกว่ามีอะไรที่ชัดเจน
เมื่อถามว่าเป็นเพราะนายสุวิทย์ กลัวเผือกร้อน เรื่องนี้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ทราบ และยังไม่มีการบอกรายละเอียด
** "เทือก"ลั่นไม่ทำงานก็กลับไปอยู่บ้าน
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายสุวิทย์ยังลาออกไม่ได้ ยังคงต้องไปทำหน้าที่ จะมาอ้างว่าจะไปเตรียมการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นคงไม่ได้ เพราะตรงนี้ถือเป็นหน้าที่ เหมือนกับตนที่ต้องไปดูแลงานด้านยาเสพติด หรือด้านความมั่นคง และอยู่ๆ จะมาบอกว่าไม่ทำ ไม่ได้ ถ้าไม่ทำ ก็ต้องกลับบ้าน
"ผมยังไม่อยากพูดอะไร เพราะนายสุวิทย์ ยังไม่ได้ทำอะไรที่เป็นทางการ และคงไม่จำเป็นที่ต้องนำเรื่องนี้คุยกันในที่ประชุมครม.วันนี้ เพราะนายสุวิทย์ ต้องมีความรับผิดชอบด้วยตัวเอง"
เมื่อถามว่า คนที่จะสามารถตัดสินใจได้ว่า นายสุวิทย์ จะลาออกได้หรือไม่คือใคร นายสุเทพ ย้อนถามว่า ออกจากรัฐบาลหรือ ผู้สื่อข่าวตอบว่า ออกจากหัวหน้าคณะเจรจา นายสุเทพ กล่าวว่า เอาเป็นว่า ตราบใดที่นายสุวิทย์ ยังเป็นรัฐมนตรีอยู่ มีหน้าที่อยู่ ก็ต้องทำหน้าที่
เมื่อถามว่าแสดงว่าถ้านายสุวิทย์ไม่ทำหน้าที่ ก็ต้องออกจากรัฐมนตรี ใช่หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ตนไม่ได้พูด แต่สื่อพูดเอง เมื่อถามว่าถ้านายสุวิทย์ จะอ้างกรณีเดียวกับนายสุเทพ ที่เคยลาออกไปเพื่อแก้ปัญหาภายในพรรค จะได้หรือไม่ นายสุเทพ อ้ำอึ้งก่อนตอบว่า ก็ได้ครับ ถ้าถามผมอย่างนี้ ผมก็ต้องตอบว่าได้ สื่อพยายามตะล่อมผมให้จนมุม เดี๋ยวก็ไปพาดหัวกัน ว่าผมบีบให้นายสุวิทย์ ออกจากรัฐบาล สื่อพยายามตะล่อมให้ผมตกหลุมพราง ขอย้ำว่าคุณต้องทำหน้าที่ของคุณ คนที่เป็นรัฐมนตรีแม้ว่าจะอยู่ในระหว่างการเลือกตั้ง ก็ต้องทำหน้าที่ของตัวเองให้สมบูรณ์
เมื่อถามว่ามีกระแสข่าวว่า นายสุวิทย์ ขัดแย้งกับนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ จริงหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่เคยได้ยินข่าวนี้
**"กษิต"โยน"สุวิทย์" ลาออกอยู่ที่นายกฯ
นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ กล่าวว่า เรื่องนี้ นายอภิสิทธิ์ ได้ยืนยันให้นายสุวิทย์ ทำหน้าที่ต่อไป แต่หากนายสุวิทย์ ยืนยันจะลาออก คงต้องให้เป็นเรื่องที่นายไตรรงค์ และนายสุวิทย์ ไปหารือกับนายกฯ เพราะเมื่อวันที่ 18 เม.ย. ตนได้คุยกันในการประชุมเตรียมความพร้อมก่อนประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งใช้เวลาประชุม 2-3 ชั่วโมง ได้คุยแบบเปิดอก ก็ไม่มีปัญหาอะไร ส่วนแรงกดดันจากการชุมนุมนอกสภา จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้นายสุวิทย์ ลาออกหรือไม่นั้น ตนไม่ทราบ แต่เชื่อว่านายสุวิทย์ เป็นนักการเมืองที่มีความอาวุโส
เมื่อถามว่าเหตุผลที่นายสุวิทย์ ลาออกเพราะความขัดแย้งทางความคิดเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก นายกษิต กล่าวว่า ไม่จริง แค่ยอมรับว่าความคิดที่แตกต่างมีอยู่บ้างเป็นระยะ แต่การทำงานก็มีคณะกรรมการประสานงาน ทั้งนี้ การทำงานก็ไม่ได้มีเพียงกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงทรัพย์ฯ เท่านั้น แต่ยังมีหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และการตัดสินใจใดๆ นอกจากคณะกรรมการมรดกโลกแล้ว ต้องนำเข้าที่ประชุมครม. หรือรัฐสภาด้วย ทั้งนี้จะกระทบต่อการประชุมมรกดโลกในเดือนมิ.ย.หรือไม่ ตนมองว่าหากทำงานด้วยความมีสปิริต ต้องทำงานเป็นทีม
"การขึ้นทะเบียนมรดกโลก พื้นที่รอบปราสาทพระวิหารนั้น ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ ซึ่งยังไม่ได้ข้อยุติ ส่วนการศึกษาแนวทางจะเข้าไปมีบทบาทในตัวปราสาทพระวิหาร มีแนวทางเข้าได้ 2 แนวทาง ได้แก่ 1.การข้ามเขตแดน และ 2.วิธีซีเรียล แอพพลิเคชั่น ทั้งนี้ พื้นที่โดยรอบเป็นพื้นที่ทางด้านประวัติศาสตร์ เป็นป่าเขาตามธรรมชาติที่คาบเกี่ยวกับชายแดน แต่ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศเกี่ยวกับตัวปราสาทนั้นยอมรับว่ามีแต่เป็นเรื่องภายในของเรา โดยผลการศึกษาคาดว่าจะไม่เสร็จทันการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกในเดือนมิ.ย.นี้”นายกษิตกล่าว
เมื่อถามถึงแนวทางการเจรจา รมว.ต่างประเทศ กล่าวว่า ยืนยันในท่าทีเดิม คือ ควรชะลอและระงับการขึ้นทะเบียนไว้ก่อน เนื่องจากการเจรจาว่าด้วยเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชา ยังไม่แล้วเสร็จ และแผนบริหารจัดการของกัมพูชา ทำนอกปราสาทนั่นเป็นการละเมิดอธิปไตยไทย
***"สุวิทย์"เผยไม่อยากทำไทยเสียแผ่นดิน
นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงกรณีการถอนตัวออกจากหัวหน้าคณะผู้แทนเจรจามรดกโลกฝ่ายไทย ว่า สาเหตุที่ที่ถอนตัวต่อที่ประชุมคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกเมื่อวันที่ 18 เม.ย.ที่ผ่านมานั้น ข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกับการออกไปเพื่อเตรียมเลือกตั้งครั้งใหม่ แต่มีสาเหตุจากนโยบายของกระทรวงการต่างประเทศกับของตนไม่ตรงกัน เพราะมีนโยบายการดำเนินการเป็น 2 แนวทาง คือ ในส่วนของตนต้องการให้มีการปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชาให้ชัดเจนก่อน เนื่องจากในแผนบริหารจัดการพื้นที่ของกัมพูชาที่เสนอเข้ามายังมีการรุกล้ำชายแดนไทยอยู่ ขณะที่ความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ กลับต้องการทำให้มีการจัดทำแผนบริหารจัดการร่วมกันระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งเป็นสิ่งที่ตนไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว ที่สำคัญยังเห็นว่าเป็นการเลยขั้นตอนนี้มาแล้ว เพราะถ้าไปทำแผนจัดการร่วมกันสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียอำนาจอธิปไตยของประเทศ และจะเป็นจุดอ่อนช่องว่างในการเจรจาที่กำลังจะเกิดขึ้นในเดือนพ.ค.นี้
“ต้องการให้การเจรจากรณีการขึ้นทะเบียนมรดกโลกปราสาทพระวิหารในส่วนของประเทศไทย มีความเป็นเอกภาพ เพราะที่ผ่านมาการทำงานของประเทศไทยยังไม่มีความเป็นเอกภาพ ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาจึงต้องการลาออก เพื่อมอบให้กระทรวงการต่างประเทศในฐานะผู้รับผิดชอบดำเนินการแต่ฝ่ายเดียว เพราะตำแหน่งหัวหน้าคณะเจรจาฯ ไม่ได้ผูกพันกับตำแหน่งรัฐมนตรี ที่เป็นรองประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกที่เป็นโดยตำแหน่ง อีกทั้งการเป็นหัวหน้าคณะเจรจาฯ ก็เป็นการอาสากับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพราะเคยเป็นผู้คัดค้านในรัฐบาลชุดก่อน อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ ตนจะคุยกับนายกรัฐมนตรี โดยยังยืนยันให้ยึดเอาผลประโยชน์เป็นที่ตั้ง เพื่อไม่ให้ไทยต้องเสียอธิปไตย” นายสุวิทย์กล่าว
** ชี้"สุวิทย์"ไม่อยากเป็นแพะ
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า สิ่งที่เราได้พูดถึงปัญหาในคณะกรรมการมรดกโลกนั้นมีอยู่จริง จึงเป็นเหตุทำให้นายสุวิทย์ ในฐานะผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีในการไปเจรจากับคณะกรรมการมรดกโลกได้ตัดสินใจลาออก เพราะในความเป็นจริงนายสุวิทย์ ได้พยายามขอถอนตัวมาเป็นครั้งที่ 4 แล้ว ตั้งแต่เมื่อครั้งการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก เมื่อวันที่ 29 ก.ค.2553 ที่ประเทศบราซิล โดยครั้งนั้น ได้เกิดความขัดแย้งอย่างสูงระหว่างนายสุวิทย์ กับนายอภิสิทธิ์ เนื่องจากนายสุวิทย์ เห็นว่าในเวลานั้นคณะกรรมการมรดกโลก เตรียมที่จะอนุมัติปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาเพียงฝ่ายเดียว และเสนอให้ถอนตัวออกจากการเป็นภาคีมรดกโลก แต่ในที่สุดนายกฯ ได้สั่งการให้นายสุวิทย์ลงนาม ในร่างประนีประนอม 3 ฝ่าย ระหว่างไทย-กัมพูชา และคณะกรรมการมรดกโลก ทำให้มีผลผูกพันมาถึงทุกวันนี้ว่า ไทยไม่ปฏิเสธในมติคณะกรมการมรดกโลกก่อนหน้านั้น และพร้อมที่จะเดินหน้าในการตั้งคณะกรรมการ 7 ชาติ ที่จะมาบริหารจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร
ส่วนเหตุการณ์ความขัดแย้งครั้งที่ 2 เกิดจากการปีนเกลียวกันระหว่างนายสุวิทย์ กับกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งหลายครั้งในที่ประชุมครม. นายสุวิทย์ ไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอ จากกระทรวงการต่างประเทศ เนื่องจากมาจากคนละพรรคการเมือง และมีแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องมรดกโลกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
นอกจากนี้ ยังมีความขัดแย้งในกรณีที่นายสุวิทย์ พยายามเสนอให้มีการใช้กำลังทหารผลักดันกองกำลัง และชุมชนกัมพูชาออกจากพื้นที่ และตรึงอยู่ในพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร เพื่อไม่ให้กัมพูชาสามารถขออนุมัติแผนบริหารจัดการมรดกโลกได้ รวมทั้งการเสนอให้ตัดการส่งน้ำมัน และพลังงานให้แก่กัมพูชา แต่ไม่ได้รับการตอบสนองแม้แต่น้อย
"หลายปัจจัยเหล่านี้ หากคุณสุวิทย์ ยังทำหน้าที่ในฐานะเป็นผู้เจรจาต่อไป ก็ต้องเผชิญหน้ากับการเป็นแพะรับบาป จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ในปลายเดือน มิ.ย.นี้ จึงน่าจะเป็นสาเหตุหลักที่คุณสุวิทย์ ตัดสินใจลาออก"
**พธม.ย้ำต้องถอนตัวจากมรดกโลก
ผู้สื่อข่าวถามว่า การถอนตัวของนายสุวิทย์ จะส่งผลดีหรือเสียอย่างไรในเวทีมรดกโลก นายปานเทพ กล่าวว่า บทบาทของนายสุวิทย์ ไม่ได้อยู่ในส่วนของคณะกรรมการมรดกโลกฝ่ายไทย ซึ่งมีนางโสมสุดา ลียะวณิช เป็นประธานฝ่ายไทย แต่นายสุวิทย์ ทำหน้าที่ในนามตัวแทนของรัฐบาลไทย ที่ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรี เพื่อไปบอกกับคณะกรรมการมรดกโลกว่า พื้นที่เขาพระวิหารนั้นมีปัญหา แต่เมื่อตัวแทนรัฐบาลไทยไปลงนามผูกพันในร่างประนีประนอม ตามคำสั่งของนายกฯ ก็มีผลเสียหายอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมมรดกโลกเดือน มิ.ย.นี้ นอกจากนางโสมสุดา ที่เป็นตัวแทนฝ่ายไทยแล้ว รัฐบาลก็ควรที่จะส่งตัวแทนของรัฐบาล เข้าร่วมการประชุมด้วย เพื่อยืนยันว่าไม่สามารถอนุมัติแผนบริหารจัดการมรดกโลกได้ และควรดำเนินการตามที่พันธมิตรฯ เสนอในการถอนตัวออกจากภาคีอนุสัญญามรดกโลก ตามที่นายสุวิทย์ เสนอไว้ด้วย แต่หากไม่ทำรัฐบาล ก็ต้องรับผิดชอบด้วยตัวเอง
เมื่อถามว่า การถอนตัวของนายสุวิทย์ เป็นการผลักภาระหรือไม่ นายปานเทพ กล่าวว่า ไม่ควรมองว่าเป็นการผลักภาระ เพราะนายสุวิทย์ตั้งใจอาสาไปดำเนินการภารกิจนี้ตั้งแต่แรก แต่ในช่วงหลังมีความขัดแย้งกับกระทรวงการต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะนโยบายในเรื่องมรดกโลก หากดูจากเมื่อครั้งที่ผู้แทนมรดกโลกเดินทางมาเยือนประเทศไทย นายสุวิทย์กลับไม่ได้เป็นผู้เจรจา คนที่ไปเจรจากลับเป็น นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ที่ไปเห็นชอบเห็นดีเห็นงามกับแผนบริหารจัดการ และยังบอกด้วยว่า ไม่เคยคิดให้ถอนปราสาทพระวิหารออกจากบัญชีมรดกโลกอีกด้วย โดยแลกเปลี่ยนเพียงแค่ให้เปิดพื้นที่ท่องเที่ยวให้คนไทยไปได้เท่านั้น บ่งบอกได้ว่า หากมีการเจรจาตามกรอบนี้จริง นายสุวิทย์ ที่ไม่ได้มีส่วนร่วม แต่ให้ไปรับผิดชอบคงไม่ได้
ต่อข้อถามที่ว่า หากกระทรวงการต่างประเทศ ทำหน้าที่ตัวแทนรัฐบาลไทยในเวทีมรดกโลกมีผลแตกต่างอย่างไร นายปานเทพ กล่าวว่า ถือว่าน่าเป็นห่วง เพราะปัญหาเดิมที่ไปลงนามในร่างประนีประนอม ตั้งแต่วันที่ 29 ก.ค.2553 นั้น มีผลผูกพันในระดับนานาชาติ เพราะหากคนที่ไปเจรจาไม่มีความเข้าใจอย่างแท้จริงก็จะเพลี่ยงพล้ำในเวทีมรดกโลก เมื่อเป็นเช่นนี้ภาคประชาชนจึงได้เสนอให้ถอนตัวออกมานานแล้ว เพราะเป็นอันตรายหากไปเข้าร่วมประชุมสร้างความชอบธรรมให้กับกัมพูชา โดยที่เราเป็นเสียงส่วนน้อยที่ต้องยอมรับกติกาเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก
** ถอนบันทึกเจบีซี 3 ฉบับจากสภา
ในวันเดียวกันนี้ เมื่อเวลา 09.30 น. ที่รัฐสภา มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา มีนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม โดยประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ กรณีนายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ กับคณะรวม 80 คน อาศัยอำนาจตามบทบัญญติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ประกอบมาตรา 154 (1) เข้าชื่อเสนอคำร้องต่อประธานรัฐสภา เพื่อขอให้พิจารณาวินิจฉัยว่า บันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา รวม 3 ฉบับ เป็นหนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 190 หรือไม่
นายชัยกล่าวว่า ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยเป็นคำสั่งที่ 10/2554 ลงวันที่ 30 มี.ค. โดยศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ครม.นำบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) รวม 3 ฉบับ เสนอต่อรัฐสภา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยมีข้อเท็จจริงปรากฏตามคำร้องและเอกสารที่ประธานรัฐสภาส่งต่อศาลว่าคณะผู้แทนทั้ง 2 ฝ่ายยังต้องการเจรจากันต่อไป กรณียังไม่ถึงขั้นตอนที่จะต้องเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาด เนื่องจากยังมีขั้นตอนอื่นๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติจะต้องพิจารณาดำเนินการเสียก่อน ในชั้นนี้จึงยังไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 วรรคหก ประกอบมาตรา 154 วรรคหนึ่ง (1) ที่จะเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาด ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคำร้อง
จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณารายงานผลการพิจารณาศึกษาของคณะกรรมาธิการพิจารณาศึกษาบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) 3 ฉบับ ที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว โดยเป็นการพิจารณาต่อจากการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เมื่อวันที่ 29 มี.ค. โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ ด้วยคะแนน 240 ต่อ 12 งดออกเสียง 86 และไม่ลงคะแนน 9 เสียง
ทั้งนี้ ข้อสังเกตดังกล่าว เสนอให้รัฐบาลไทยเร่งเจรจากับประเทศกัมพูชา เพื่อให้ย้ายทหารในพื้นที่พิพาทออกไป เพื่อเตรียมพร้อมในการทำหลักเขตแดนให้แล้วเสร็จ พร้อมทั้งให้เร่งเยียวยาคนไทยที่มีปัญหาเกี่ยวกับที่ดินในพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อน และเห็นว่าผู้แทนเจบีซี ฝั่งกัมพูชา กล่าวความเท็จในเรื่องพื้นที่ทับซ้อนหลายอย่าง ดังนั้น ขอให้ประธาน เจบีซี ฝั่งไทย ดำเนินการโต้แย้งในการประชุม เจบีซีครั้งต่อไป
นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ กล่าวว่า รัฐสภาพิจารณาเจบีซี มา 3 ปี มีปัญหาทั้งในและนอกสภา มีส.ส.ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า เข้าข่ายรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ต้องให้รัฐสภาพิจารณาหรือไม่ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การเจรจาเขตแดนยังไม่ถึงที่สุด จึงยังไม่เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาขั้นสุดท้ายในรัฐสภา ดังนั้น จากการปรึกษาหารือระหว่างรัฐบาล และรัฐสภา รัฐบาลจึงเสนอขอถอนเจบีซี 3 ฉบับ ออกจากที่ประชุม และฝ่ายบริหารจะดำเนินการต่อไป ซึ่งที่ประชุมเสียงข้างมากได้มีมติให้ถอน เจบีซี ทั้ง 3 ฉบับ ออกจากการพิจารณาของรัฐสภา