ASTVผู้จัดการรายวัน-"มาร์ค"เสียงแข็ง ปัดตรึงดีเซลหาเสียงล่วงหน้า ชี้เป็นแนวทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจและปากท้องประชาชนมากกว่า แต่ "บรรหาร"สวนกลับ หาเสียงชัดๆ เผยล่าสุดกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเหลือเงินแค่ 4,100 ล้านบาท แม้รัฐดึงภาษีสรรพสามิตโปะ คาดดูแลดีเซลลิตรละ 30 บาทได้อีกแค่ 2 เดือน รอลุ้นน้ำมันตลาดโลกลดช่วยต่ออายุ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เรื่องตรึงราคาน้ำมันดีเซล 30 บาทต่อลิตร ว่า เป็นธรรมดา คาดไว้อยู่แล้วว่าจะต้องมีบ้าง แต่ตนเองยืนยันว่าเป็นการตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาเรื่องของเศรษฐกิจในภาพรวม เป็นเรื่องซึ่งอาจจะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้ เพียงแต่ตนเองเห็นว่าในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้และในภาวะความเดือดร้อนของประชาชนมันคุ้มค่าที่จะทำ แต่ตนก็ยอมรับได้ หากมีคนบอกว่าไม่คุ้มค้าที่จะทำ
การตรึงราคาน้ำมันดีเซล เพราะเป็นต้นทุนการขนส่ง เป็นการแก้ไขปัญหาในเรื่องต้นทุนสินค้า และรัฐบาลยังดูแลได้ ก็ต้องดูแล ไม่เช่นนั้นสินค้าจะปรับขึ้นราคา จะเป็นการซ้ำเติมประชาชน โดยรัฐบาลประเมินแล้วว่าจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและประชาชน และไม่กระทบต่อรายได้ของภาครัฐ เนื่องจากโชคดีในช่วง 5-6 เดือนที่ผ่านมา มีการเก็บรายได้เกินเป้า เลยทำมาตรการนี้ได้
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 18 เม.ย.ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ระบุถึงมาตรการดูแลน้ำมันดีเซลว่า จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ลดสรรพสามิตน้ำมันลง 5.84 บาทต่อลิตร ประกอบด้วย ภาษีสรรพสามิตน้ำมัน และภาษีเทศบาล และภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) โดยจะทำให้รายได้หายไป 4.4 หมื่นล้านบาท เพื่อตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกินลิตรละ 30 สตางค์ต่อลิตร
นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวถึงกรณีรัฐบาลจะไม่เก็บภาษีสรรพาสามิตน้ำมันดีเซลว่า ต้องดูว่าเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ชดเชยน้ำมันหายไปเท่าใด การจัดเก็บเงินภาษีหายไปหรือไม่ จะกระทบต่องบประมาณปี 2555 อย่างไร หากเงินในส่วนนี้ลดลงไป จะมีเงินตัวไหนมาชดเชย รัฐบาลต้องคิดด้วย ไม่ให้กระทบ
ต่อข้อถามว่ามีการวิจารณ์ว่าแนวทางดังกล่าวของรัฐบาลเป็นการหาเสียงล่วงหน้า นายบรรหาร กล่าวว่า ไม่รู้ อย่าให้ตอบเลย ผู้สื่อข่าวเลยถามย้ำว่า เป็นการหาเสียงล่วงหน้าใช่หรือไม่ นายบรรหาร พูดซ้ำว่า หาเสียงๆๆๆๆ
น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) วานนี้ (19 เม.ย.) ว่า ขณะนี้ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีเงินสดสุทธิคงเหลือประมาณ 4,100 ล้านบาท หากราคาน้ำมันตลาดโลกไม่ปรับขึ้นอีก และกองทุนฯ ไม่ต้องชดเชยเพิ่ม จะดูแลดีเซลไม่ให้เกินลิตรละ30 บาทได้อีก 2 เดือน ซึ่งการชดเชยดีเซลตั้งแต่ 17ธ.ค.2553ถึงปัจจุบันรวม 16 ครั้ง ใช้เงินไปแล้วทั้งสิ้น 23,301 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการลดภาษีสรรพสามิตดีเซลลงมา รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและเทศบาลรวม 5.84 บาทต่อลิตร ทำให้ฐานะกองทุนฯ ดีขึ้น แต่กองทุนฯ ยังมีภาระในการชดเชยราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ทุกส่วนรวมอีกประมาณ 3,000 ล้านบาท และการชดเชยราคาก๊าซธรรมชาติ (เอ็นจีวี) 400ล้านบาท ขณะที่รายได้ที่ไหลเข้ากองทุนฯ ประมาณ 2,500 ล้านบาท จึงทำให้ฐานะกองทุนฯ ยังคงติดลบ
ดังนั้น หากมีการลอยตัวราคาแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมในเดือนก.ค. ตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กพช.) ก็จะทำให้ฐานะกองทุนฯ ดีขึ้น ประกอบกับคาดหวังว่าราคาน้ำมันตลาดโลกจะลดต่ำลง หลังจากสต็อกน้ำมันทั่วโลกสูงขึ้นมาก
“ขณะนี้รัฐบาล ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร การลอยตัวแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมยังคงเป็นไปตามมติกพช. คือเดือนก.ค.นี้ ซึ่งจะใช้วิธีทยอยปรับขึ้น โดยกำลังศึกษาอยู่ว่าจะใช้เวลาทยอยขึ้นกี่ปี ตอนนี้ยังมีเวลา”น.พ.วรรณรัตน์กล่าว
สำหรับกบง.ครั้งนี้ มีมติปรับลดการชดเชยราคาขายปลีกดีเซลในประเทศลง 40 สตางค์ต่อลิตร ทำให้การชดเชยลดลงเหลือ 6 บาทต่อลิตร เนื่องจากราคาน้ำมันดิบดูไบในตลาดโลกปรับตัวลดลงไปอยู่ที่ 116.02 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดีเซล ลดลงอยู่ที่ 137.82 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ทำให้ค่าการตลาดน้ำมันดีเซล อยู่ที่ 1.538 บาทต่อลิตร
นายศิวนันท์ ณ นคร ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (องค์การมหาชน) กล่าวว่า แม้ว่าการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันลง 5.84 บาทต่อลิตร จะช่วยแบ่งเบาภาระของกองทุนน้ำมันฯ ได้ แต่กองทุนน้ำมันฯ ก็ยังมีภาระอยู่ เพราะยังมีส่วนต่างการชดเชยราคาน้ำมันอีกประมาณ 16 สตางค์ต่อลิตร ตามปริมาณการใช้น้ำมันดีเซล 50 ล้านลิตรต่อวัน ส่งผลให้ต้องมีการชดเชยดังกล่าวรวมประมาณ 10 ล้านบาทต่อวัน หรือ 300 ล้านบาทต่อเดือน และยังมีเงินไหลออกจากการชดเชยราคาพลังงานตัวอื่น โดยเฉพาะแอลพีจี
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เรื่องตรึงราคาน้ำมันดีเซล 30 บาทต่อลิตร ว่า เป็นธรรมดา คาดไว้อยู่แล้วว่าจะต้องมีบ้าง แต่ตนเองยืนยันว่าเป็นการตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาเรื่องของเศรษฐกิจในภาพรวม เป็นเรื่องซึ่งอาจจะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้ เพียงแต่ตนเองเห็นว่าในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้และในภาวะความเดือดร้อนของประชาชนมันคุ้มค่าที่จะทำ แต่ตนก็ยอมรับได้ หากมีคนบอกว่าไม่คุ้มค้าที่จะทำ
การตรึงราคาน้ำมันดีเซล เพราะเป็นต้นทุนการขนส่ง เป็นการแก้ไขปัญหาในเรื่องต้นทุนสินค้า และรัฐบาลยังดูแลได้ ก็ต้องดูแล ไม่เช่นนั้นสินค้าจะปรับขึ้นราคา จะเป็นการซ้ำเติมประชาชน โดยรัฐบาลประเมินแล้วว่าจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและประชาชน และไม่กระทบต่อรายได้ของภาครัฐ เนื่องจากโชคดีในช่วง 5-6 เดือนที่ผ่านมา มีการเก็บรายได้เกินเป้า เลยทำมาตรการนี้ได้
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 18 เม.ย.ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ระบุถึงมาตรการดูแลน้ำมันดีเซลว่า จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ลดสรรพสามิตน้ำมันลง 5.84 บาทต่อลิตร ประกอบด้วย ภาษีสรรพสามิตน้ำมัน และภาษีเทศบาล และภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) โดยจะทำให้รายได้หายไป 4.4 หมื่นล้านบาท เพื่อตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกินลิตรละ 30 สตางค์ต่อลิตร
นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวถึงกรณีรัฐบาลจะไม่เก็บภาษีสรรพาสามิตน้ำมันดีเซลว่า ต้องดูว่าเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ชดเชยน้ำมันหายไปเท่าใด การจัดเก็บเงินภาษีหายไปหรือไม่ จะกระทบต่องบประมาณปี 2555 อย่างไร หากเงินในส่วนนี้ลดลงไป จะมีเงินตัวไหนมาชดเชย รัฐบาลต้องคิดด้วย ไม่ให้กระทบ
ต่อข้อถามว่ามีการวิจารณ์ว่าแนวทางดังกล่าวของรัฐบาลเป็นการหาเสียงล่วงหน้า นายบรรหาร กล่าวว่า ไม่รู้ อย่าให้ตอบเลย ผู้สื่อข่าวเลยถามย้ำว่า เป็นการหาเสียงล่วงหน้าใช่หรือไม่ นายบรรหาร พูดซ้ำว่า หาเสียงๆๆๆๆ
น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) วานนี้ (19 เม.ย.) ว่า ขณะนี้ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีเงินสดสุทธิคงเหลือประมาณ 4,100 ล้านบาท หากราคาน้ำมันตลาดโลกไม่ปรับขึ้นอีก และกองทุนฯ ไม่ต้องชดเชยเพิ่ม จะดูแลดีเซลไม่ให้เกินลิตรละ30 บาทได้อีก 2 เดือน ซึ่งการชดเชยดีเซลตั้งแต่ 17ธ.ค.2553ถึงปัจจุบันรวม 16 ครั้ง ใช้เงินไปแล้วทั้งสิ้น 23,301 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการลดภาษีสรรพสามิตดีเซลลงมา รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและเทศบาลรวม 5.84 บาทต่อลิตร ทำให้ฐานะกองทุนฯ ดีขึ้น แต่กองทุนฯ ยังมีภาระในการชดเชยราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ทุกส่วนรวมอีกประมาณ 3,000 ล้านบาท และการชดเชยราคาก๊าซธรรมชาติ (เอ็นจีวี) 400ล้านบาท ขณะที่รายได้ที่ไหลเข้ากองทุนฯ ประมาณ 2,500 ล้านบาท จึงทำให้ฐานะกองทุนฯ ยังคงติดลบ
ดังนั้น หากมีการลอยตัวราคาแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมในเดือนก.ค. ตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กพช.) ก็จะทำให้ฐานะกองทุนฯ ดีขึ้น ประกอบกับคาดหวังว่าราคาน้ำมันตลาดโลกจะลดต่ำลง หลังจากสต็อกน้ำมันทั่วโลกสูงขึ้นมาก
“ขณะนี้รัฐบาล ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร การลอยตัวแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมยังคงเป็นไปตามมติกพช. คือเดือนก.ค.นี้ ซึ่งจะใช้วิธีทยอยปรับขึ้น โดยกำลังศึกษาอยู่ว่าจะใช้เวลาทยอยขึ้นกี่ปี ตอนนี้ยังมีเวลา”น.พ.วรรณรัตน์กล่าว
สำหรับกบง.ครั้งนี้ มีมติปรับลดการชดเชยราคาขายปลีกดีเซลในประเทศลง 40 สตางค์ต่อลิตร ทำให้การชดเชยลดลงเหลือ 6 บาทต่อลิตร เนื่องจากราคาน้ำมันดิบดูไบในตลาดโลกปรับตัวลดลงไปอยู่ที่ 116.02 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดีเซล ลดลงอยู่ที่ 137.82 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ทำให้ค่าการตลาดน้ำมันดีเซล อยู่ที่ 1.538 บาทต่อลิตร
นายศิวนันท์ ณ นคร ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (องค์การมหาชน) กล่าวว่า แม้ว่าการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันลง 5.84 บาทต่อลิตร จะช่วยแบ่งเบาภาระของกองทุนน้ำมันฯ ได้ แต่กองทุนน้ำมันฯ ก็ยังมีภาระอยู่ เพราะยังมีส่วนต่างการชดเชยราคาน้ำมันอีกประมาณ 16 สตางค์ต่อลิตร ตามปริมาณการใช้น้ำมันดีเซล 50 ล้านลิตรต่อวัน ส่งผลให้ต้องมีการชดเชยดังกล่าวรวมประมาณ 10 ล้านบาทต่อวัน หรือ 300 ล้านบาทต่อเดือน และยังมีเงินไหลออกจากการชดเชยราคาพลังงานตัวอื่น โดยเฉพาะแอลพีจี